หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
29 มีนาคม–4 เมษายน อีสเตอร์: “เราคือเขาผู้นั้นที่มีชีวิต, เราคือเขาผู้นั้นที่ถูกประหาร”


“29 มีนาคม–4 เมษายน อีสเตอร์: ‘เราคือเขาผู้นั้นที่มีชีวิต, เราคือเขาผู้นั้นที่ถูกประหาร’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“29 มีนาคม–4 เมษายน อีสเตอร์” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2021

ภาพ
รูปปั้นพระคริสต์

29 มีนาคม–4 เมษายน

อีสเตอร์

“เราคือเขาผู้นั้นที่มีชีวิต, เราคือเขาผู้นั้นที่ถูกประหาร”

ขณะที่ท่านเตรียมเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดในวันอาทิตย์อีสเตอร์ พึงไตร่ตรองว่าการเปิดเผยในยุคปัจจุบันทำให้ศรัทธาของท่านที่ว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตรองค์เดียวที่ถือกำเนิดจากพระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่ของโลกลึกซึ้งขึ้นอย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1836 เป็นวันอาทิตย์อีสเตอร์ หลังจากช่วยปฏิบัติศีลระลึกให้วิสุทธิชนซึ่งมารวมกันในพระวิหารเคิร์ทแลนด์ที่เพิ่งได้รับการอุทิศ โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรีพบที่เงียบสงัดหลังม่านในพระวิหารและก้มศีรษะสวดอ้อนวอนในใจ จากนั้น ในวันศักดิ์สิทธิ์นี้เมื่อชาวคริสต์ทุกหนแห่งกำลังเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดผู้คืนพระชนม์แล้วทรงปรากฏในพระวิหารของพระองค์ ทรงประกาศว่า “เราคือเขาผู้นั้นที่มีชีวิต, เราคือเขาผู้นั้นที่ถูกประหาร” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 110:4)

การพูดว่าพระเยซูคริสต์คือ “เขาผู้นั้นที่มีชีวิต” หมายความว่าอย่างไร? ทั้งนี้ไม่เพียงหมายความว่าพระองค์ทรงลุกออกจากอุโมงค์ในวันที่สามและปรากฏต่อเหล่าสาวกชาวกาลิลีของพระองค์เท่านั้น แต่หมายความว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ทุกวันนี้ พระองค์ตรัสผ่านศาสดาพยากรณ์ทุกวันนี้ พระองค์ทรงนำศาสนจักรทุกวันนี้ พระองค์ทรงรักษาจิตวิญญาณที่บาดเจ็บและใจที่ชอกช้ำทุกวันนี้ เราจึงสามารถกล่าวย้ำประจักษ์พยานอันทรงพลังของโจเซฟ สมิธที่ว่า “หลังจากประจักษ์พยานจำนวนมากที่ให้ไว้ถึงพระองค์, นี่คือประจักษ์พยาน … ซึ่งเราให้ไว้ถึงพระองค์: ว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่!” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:22) เราสามารถได้ยินสุรเสียงของพระองค์ในการเปิดเผยเหล่านี้ เราสามารถเป็นพยานถึงพระหัตถ์ของพระองค์ในชีวิตเรา และเราแต่ละคนสามารถรู้สึกว่า “ข้อความหวานนี้แสนสุขล้น ‘ฉันรู้พระผู้ไถ่ทรงพระชนม์!’”(เพลงสวด บทเพลงที่ 59)

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:5; 38:7; 62:1; 76:11–14, 20–24; 110:1–10

พระเยซูคริสต์ทรงพระชนม์

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธเห็นพระผู้ช่วยให้รอดผู้คืนพระชนม์แล้วหลายครั้ง และประสบการณ์สองครั้งบันทึกไว้ในพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันสัญญา ขณะที่ท่านอ่าน ภาค 76:11–14, 20–24; 110:1–10 ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับประจักษ์พยานของโจเซฟ สมิธ? เหตุใดประจักษ์พยานของโจเซฟจึงมีค่าต่อท่าน?

ทั่วพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญา พระผู้ช่วยให้รอดทรงกล่าวคำพยานถึงพระพันธกิจและความเป็นพระเจ้าของพระองค์เอง ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์จากพระดำรัสของพระองค์ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:5; 38:7; 62:1? ท่านอาจจะบันทึกคำประกาศทำนองนี้ที่ท่านพบขณะศึกษาพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญา

ดู โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:17 ด้วย

หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:26–27; 42:45–46; 63:49; 88:14–17, 27–31; 93:33–34

เนื่องจากพระเยซูคริสต์ ฉันจึงจะฟื้นคืนชีวิต

โจเซฟ สมิธรู้ว่าความรู้สึกอาลัยรักต่อการสิ้นชีวิตของคนที่เรารักนั้นเป็นอย่างไร อัลวินพี่ชายกับดอน คาร์ลอสน้องชายของท่านสิ้นชีวิตเมื่ออายุยังน้อย โจเซฟกับเอ็มมาฝังลูกหกคน แต่ละคนอายุไม่ถึงสองขวบ แต่จากการเปิดเผยที่ได้รับ โจเซฟได้มุมมองนิรันดร์เกี่ยวกับความตายและแผนนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า พิจารณาความจริงที่เปิดเผยใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:26–27; 42:45–46; 63:49; 88:14–17, 27–31; 93:33–34 การเปิดเผยเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อท่าทีที่ท่านมองความตาย? และส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่ท่านดำเนินชีวิต?

ดู 1 โครินธ์ 15; เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด “นิมิตเรื่องการไถ่คนตาย” หรือ เลียโฮนา พ.ย. 2018, 71–74; คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ (2007), 186–188ด้วย

หลักคำสอนและพันธสัญญา 18:10–13; 19:16–19; 45:3–5; 76:69–70

พระเยซูคริสต์ทรงทำ “การชดใช้ที่สมบูรณ์” สำเร็จ

วิธีหนึ่งที่จะให้พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นศูนย์รวมในช่วงเทศกาลอีสเตอร์คือศึกษาการเปิดเผยในพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญาที่สอนเกี่ยวกับการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระองค์ การเปิดเผยบางส่วนเหล่านี้พบใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 18:10–13; 19:16–19; 45:3–5; 76:69–70 ท่านอาจจะเขียนความจริงเกี่ยวกับการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดที่ท่านพบในข้อเหล่านี้ออกมาเป็นข้อๆ เพื่อศึกษาให้ลึกซึ้ง ท่านจะเพิ่มข้อที่เขียนไว้โดยค้นคว้าพระคัมภีร์อ้างอิงที่ระบุไว้ใน “ชดใช้ (การ)” (คู่มือพระคัมภีร์ scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

คำถามบางข้อต่อไปนี้จะให้แนวทางในการศึกษาของท่าน:

  • เหตุใดพระเยซูคริสต์ทรงเลือกทนทุกข์?

  • ฉันต้องทำอะไรจึงจะได้รับพรจากการพลีพระชนม์ชีพของพระองค์?

  • ฉันจะบอกได้อย่างไรว่าการชดใช้มีผลในชีวิตฉันหรือไม่?

ภาพ
พระเยซูทรงสวดอ้อนวอน

พระเจ้าแห่งการสวดอ้อนวอน โดย ยองซุงคิม

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว

การประชุมใหญ่สามัญเพราะการประชุมใหญ่สามัญตรงกับวันอาทิตย์อีสเตอร์ปีนี้ ท่านจึงอาจพิจารณาว่าข่าวสารการประชุมใหญ่ (รวมทั้งบทเพลง) สามารถทำให้ประจักษ์พยานของครอบครัวท่านในพระเยซูคริสต์ลึกซึ้งขึ้นได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น เด็กเล็กจะวาดภาพพระผู้ช่วยให้รอด หรือชูภาพของพระองค์เมื่อพวกเขาได้ยินข่าวสารหรือเพลงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ สมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ จะเขียนความจริงที่พวกเขาได้ยินเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดออกมาเป็นข้อๆ หลังจากนั้นสมาชิกครอบครัวจะแบ่งกันดูภาพวาดหรือข้อที่เขียนไว้และแบ่งปันประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:14–17; 138:17, 50ครอบครัวท่านอาจจะชอบนึกถึงแนวเทียบหรือบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริงเพื่ออธิบายความหมายของความตายและการฟื้นคืนชีวิต—อุปกรณ์ที่แสดงว่าร่างกายกับวิญญาณแยกกันและรวมกัน เช่น มือกับถุงมือ ข้อเหล่านี้ทำให้เราเห็นคุณค่าสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเพื่อเราลึกซึ้งขึ้นอย่างไร

“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก”เพื่อกระตุ้นให้สนทนาเกี่ยวกับประจักษ์พยานในพระผู้ช่วยให้รอดของศาสดาพยากรณ์ยุคปัจจุบัน ท่านจะมอบหมายให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก” คนละส่วน ( เลียโฮนา, พ.ค. 2017 ปกหน้าด้านใน) และแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ ท่านจะฉายวีดิทัศน์เรื่อง “Apostle Testimony Montage” (ChurchofJesusChrist.org) ด้วยก็ได้ เราพบความจริงอะไรที่สร้างแรงบันดาลใจให้เรา?

“ฉันรู้พระผู้ไถ่ทรงพระชนม์!”เพื่อช่วยให้ครอบครัวท่านพิจารณาด้านต่างๆ ที่พระผู้ช่วยให้รอดผู้คืนพระชนม์ประทานพรแก่เราทุกวันนี้ เราจะร้องเพลง “ฉันรู้พระผู้ไถ่ทรงพระชนม์” (เพลงสวด บทเพลงที่ 59) ด้วยกันและเชื่อมโยงความจริงที่สอนในเพลงนี้กับพระคัมภีร์ข้อต่อไปนี้: หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:34; 45:3–5; 84:77; 98:18; 138:23 ครอบครัวท่านอาจจะชอบเขียนคำร้องเพิ่มเติมในเพลงสวดที่แสดงว่าพวกเขารู้ได้อย่างไรว่าพระผู้ไถ่ทรงพระชนม์

ดูวีดิทัศน์อีสเตอร์และแหล่งข้อมูลอื่นได้จาก Easter.ComeUntoChrist.org

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “พระเยซูทรงฟื้น,” หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 44

ปรับปรุงการสอนของเรา

หาบทเรียนในเหตุการณ์ประจำวัน พิจารณาว่าประสบการณ์ประจำวันของสมาชิกครอบครัวจะนำไปสู่การสนทนาที่มีความหมายเกี่ยวกับความจริงพระกิตติคุณได้อย่างไร (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด,4) ตัวอย่างเช่น พายุฝนจะเป็นโอกาสให้พูดคุยกันว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเทพรมาให้บุตรธิดาของพระองค์อย่างไร

ภาพ
พระเยซูทรงปรากฏต่อโจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรี

พระเยซูคริสต์ทรงปรากฏต่อศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธและออลิเวอร์ คาวเดอรี โดย วอลเตอร์ เรน