จงตามเรามา
11–17 มีนาคม มัทธิว 10–12; มาระโก 2; ลูกา 7; 11: ‘สิบสองคนนี้พระเยซูทรงใช้ให้ออกไป’


“11–17 มีนาคม มัทธิว 10–12; มาระโก 2; ลูกา 7; 11: ‘สิบสองคนนี้พระเยซูทรงใช้ให้ออกไป’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“11–17 มีนาคม มัทธิว 10–12; มาระโก 2; ลูกา 7; 11,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2019

ภาพ
พระเยซูทรงแต่งตั้งเปโตร

11–17 มีนาคม

มัทธิว 10–12; มาระโก 2; ลูกา 711

“สิบสองคนนี้พระเยซูทรงใช้ให้ออกไป”

การอ่าน มัทธิว 10–12; มาระโก 2; และ ลูกา 7;  11 พร้อมกับนึกถึงผู้เรียนของท่านจะช่วยให้ท่านได้รับการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ บันทึกความประทับใจทางวิญญาณที่ท่านได้รับ และอ่านโครงร่างนี้เพื่อหาข้อคิดเพิ่มเติมและแนวคิดการสอน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชิญสมาชิกชั้นเรียนสองสามคนเตรียมมาแบ่งปันคำถามที่พวกเขามีเกี่ยวกับ มัทธิว 11:28–30 (ดูตัวอย่างคำถามบางข้อใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) พวกเขาพบคำตอบอะไรบ้าง

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

มัทธิว 10

พระเจ้าประทานอำนาจให้ผู้รับใช้ของพระองค์ทำงานของพระองค์

  • งานมอบหมายที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานแก่อัครสาวกของพระองค์จะช่วยเราในความรับผิดชอบส่วนตัวของเรา สมาชิกชั้นเรียนอาจมีข้อคิดเกี่ยวกับหัวข้อนี้ผ่านการศึกษาส่วนตัวของพวกเขา ตัวอย่างเช่น มีกิจกรรมหนึ่งเกี่ยวกับหัวข้อนี้ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็กในชั้นเรียน เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขารู้สึกถึงเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดขณะพวกเขาทำการเรียกของตนให้เกิดสัมฤทธิผล

  • อีกวิธีหนึ่งที่สมาชิกชั้นเรียนจะทบทวน มัทธิว 10 คือค้นคว้าบทนี้เพื่อหาบางอย่างที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงขอให้อัครสาวกทำและวาดรูปที่หมายถึงสิ่งนั้น พวกเขาอาจจะให้ดูภาพวาดและแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับงานมอบหมายของอัครสาวกสิบสอง

  • การศึกษางานมอบหมายที่พระคริสต์ประทานแก่อัครสาวกของพระองค์ใน มัทธิว 10 จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจบทบาทของศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกยุคสุดท้ายได้อย่างไร อาจจะเป็นประโยชน์ถ้าเปรียบเทียบงานมอบหมายที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานแก่อัครสาวกกับงานมอบหมายที่ประทานแก่โควรัมแรกของอัครสาวกสิบสองในสมัยการประทานนี้ ดูได้ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” สมาชิกชั้นเรียนได้รับอิทธิพลอย่างไรจากการปฏิบัติศาสนกิจของอัครสาวกที่มีชีวิตอยู่ แสดงประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับการเรียกอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกที่มีชีวิตอยู่ เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประจักษ์พยานของพวกเขา

  • เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ดำรงฐานะปุโรหิตทุกคนสามารถสืบสายอำนาจย้อนกลับไปถึงช่วงเวลาที่พระเยซูทรงแต่งตั้งอัครสาวกของพระองค์ ให้เชิญผู้ดำรงฐานะปุโรหิตคนหนึ่งมาแบ่งปันสายอำนาจของเขา

ภาพ
โควรัมอัครสาวกสิบสอง

อัครสาวกสิบสองทำงานของพระเจ้าในปัจจุบัน

มัทธิว 10:17–20

เมื่อเราอยู่ในการรับใช้พระเจ้า พระองค์จะทรงดลใจเราด้วยคำที่ต้องพูด

  • บางครั้งเรารู้สึกประหม่าเมื่อสอนหรือพูดคุยกับคนอื่นๆ เกี่ยวกับพระกิตติคุณ แต่พระเจ้าทรงสัญญากับเหล่าสาวกของพระองค์ว่าพระองค์จะทรงช่วยให้พวกเขารู้ว่าจะพูดอะไร เราต้องทำอะไรจึงจะได้รับความช่วยเหลือที่พระเจ้าทรงสัญญาด้วยตัวเราเอง เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน มัทธิว 10:19–20; หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:85; และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 100:5–8 เพื่อหาคำตอบของคำถามนี้ พระวิญญาณบริสุทธิ์เคยช่วยให้ท่านรู้สิ่งที่ต้องพูดเมื่อใด ท่านอาจจะแบ่งปันประสบการณ์ของท่านหรือเชิญสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันได้เช่นกัน

มัทธิว 12:1–13; มาระโก 2:23–28

สะบาโตเป็นวันทำดี

  • เพื่อช่วยรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์ พวกฟาริสีปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เคร่งครัดและประเพณีที่มนุษย์กำหนดไว้ ซึ่งสุดท้ายแล้วทำให้ความเข้าใจของพวกเขาคลุมเครือเกี่ยวกับจุดประสงค์แท้จริงของสะบาโต คนที่ท่านสอนจะได้ประโยชน์จากการสนทนาว่าเหตุใดพระเจ้าประทานวันสะบาโตแก่เราหรือไม่ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนทบทวนเรื่องราวใน มัทธิว 12:1–13 และ มาระโก 2:23–28 แบ่งปันสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนเกี่ยวกับวันสะบาโต (ดู Joseph Smith Translation, Mark 2:26–27 [ใน Bible appendix] ด้วย) เราได้ข้อคิดเพิ่มเติมอะไรบ้างเกี่ยวกับสะบาโตจาก อพยพ 31:16–17; อิสยาห์ 58:13–14; และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:9–13 ประเพณีหรือกฎระเบียบอะไรบ้างที่ทำให้เราเขวจากจุดประสงค์แท้จริงของสะบาโต

  • แม้พวกฟาริสีจะเน้นกฎระเบียบละเอียดยิบมากมายเกี่ยวกับสะบาโต แต่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนหลักธรรมอันเรียบง่ายว่า “อนุญาตให้ทำการดีได้ในวันสะบาโต” (มัทธิว 12:12) คนที่ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมนี้มักจะมีปัญหาน้อยมากกับการรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์ หลักธรรมอะไรอีกบ้างที่จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์ ในการพัฒนาการพึ่งพาตนเองทางวิญญาณเหตุใดการสอนหลักธรรมจึงได้ผลมากกว่าการตั้งกฎ (ดูคำกล่าวของศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) มีหลักธรรมใดอีกหรือไม่ที่ช่วยเราเชื่อฟังพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า ตัวอย่างเช่น หลักธรรมอะไรจะช่วยพ่อแม่สร้างแรงบันดาลใจให้ลูกๆ เชื่อฟังพระคำแห่งปัญญาหรือทำการค้นคว้าประวัติครอบครัว

  • ข่าวสารของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันเรื่อง “สะบาโตคือวันปีติยินดี” ( เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 129–132) และวีดิทัศน์กับคำแนะนำของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจจะเสริมการสนทนาเรื่องวันสะบาโต

  • อาจจะเป็นประโยชน์ถ้าสมาชิกชั้นเรียนได้ทบทวน “การถือปฏิบัติวันสะบาโต” ใน เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน พวกเขาอาจจะแสดงบทบาทสมมติว่าพวกเขาจะอธิบายให้คนที่นับถือศาสนาอื่นเข้าใจได้อย่างไรว่าเหตุใดพวกเขาจึงรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์

ลูกา 7:36–50

เมื่อเราได้รับการให้อภัยบาปของเรา ความรักที่เรามีต่อพระผู้ช่วยให้รอดจะลึกซึ้งขึ้น

  • เราสามารถเรียนรู้อะไรจากตัวอย่างของหญิงคนนั้นและคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดใน ลูกา 7:36–50 เมื่อเราแสวงหาการให้อภัยบาปของเราเอง การกลับใจกระชับความสัมพันธ์ของเรากับพระคริสต์อย่างไร เราจะใช้เรื่องนี้สอนคนบางคนให้รู้ความหมายของการแสวงหาการให้อภัยได้อย่างไร

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

ท่านอาจจะท้าทายสมาชิกชั้นเรียนให้อ่านอุปมาใน มัทธิว 13 และ ลูกา 813 เตรียมแบ่งปันข้อคิดในสัปดาห์หน้าเกี่ยวกับหลักธรรมพระกิตติคุณที่พวกเขาได้จากอุปมาหนึ่งเรื่อง

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

มัทธิว 10–12; มาระโก 2; ลูกา 711

พรของการถือปฏิบัติวันสะบาโต

ในชุดวีดิทัศน์สามเรื่อง เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์สอนเกี่ยวกับพรของการถือปฏิบัติวันสะบาโต ได้แก่เรื่อง “Upon My Holy Day—Getting Closer to God,” “Upon My Holy Day—Honoring the Sabbath” และ “Upon My Holy Day—Rest and Renewal” (LDS.org)

งานมอบหมายให้อัครสาวกยุคสุดท้าย

เมื่อสมาชิกโควรัมอัครสาวกสิบสองชุดแรกบางคนในสมัยการประทานนี้ได้รับเรียก ออลิเวอร์ คาวเดอรีให้งานมอบหมายพวกเขาคล้ายกับที่พระเยซูประทานไว้ใน มัทธิว 10 เขากล่าวว่า

“‘ท่านจะต้องต่อสู้กับอคติทั้งหลายของชนทุกชาติ … ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเตือนให้ท่านบ่มเพาะความอ่อนน้อมถ่อมตนให้มาก เพราะข้าพเจ้ารู้จักความจองหองของใจมนุษย์ จงระวัง เกลือกคนประจบสอพลอของโลกจะยกยอปอปั้นท่าน จงระวังเกลือกอารมณ์ความรู้สึกของท่านจะหลงใหลสิ่งของทางโลก จงให้การปฏิบัติศาสนกิจของท่านมาก่อน … ท่านจำเป็นต้องได้รับประจักษ์พยานจากสวรรค์ด้วยตัวท่านเอง ทั้งนี้เพื่อท่านจะสามารถแสดงประจักษ์พยานถึงความจริงได้ …

“‘… ท่านต้องนำข่าวสารนี้ไปให้คนที่คิดว่าตนฉลาด และคนเช่นนั้นอาจข่มเหงท่าน พวกเขาอาจหมายมั่นเอาชีวิตท่าน ปฏิปักษ์หมายมั่นเอาชีวิตผู้รับใช้ของพระผู้เป็นเจ้าเสมอ ด้วยเหตุนี้ ท่านจงพร้อมตลอดเวลาที่จะสละชีวิตหากพระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกร้องในการเสริมสร้างและทำให้อุดมการณ์ของพระองค์ก้าวหน้า …

“จากนั้นพระองค์จะทรงจูงมือพวกท่านไปทีละคนและตรัสถามว่า ‘ท่านมีส่วนร่วมในการปฏิบัติศาสนกิจนี้ด้วยความตั้งใจเด็ดเดี่ยว ประกาศพระกิตติคุณสุดความขยันหมั่นเพียรร่วมกับพี่น้องชายเหล่านี้ตามความหมายและเจตนาของหน้าที่รับผิดชอบที่ท่านได้รับหรือไม่’ แต่ละคนให้คำตอบยืนยันว่าทำแล้ว” (ใน Joseph Smith Papers, Documents, Volume 4: April 1834–September 1835, ed. Matthew C. Godfrey and others [2016], 243–44, 247; ปรับตัวสะกดและเครื่องหมายวรรคตอนตามมาตรฐานในปัจจุบัน)

การสอนหลักธรรมที่ถูกต้อง

มีคนเคยถามศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธว่าท่านสามารถปกครองคนมากมายในนอวูอย่างมีประสิทธิผลได้อย่างไร ท่านศาสดาพยากรณ์อธิบายว่า “ผมสอนหลักธรรมที่ถูกต้องแก่พวกเขา และพวกเขาปกครองตนเอง” (ดู คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ [2007], 307)

ปรับปรุงการสอนของเรา

สัญญาพร เมื่อท่านเชื้อเชิญให้ปฏิบัติ จงเป็นพยานต่อผู้เรียนว่าพวกเขาจะได้รับพรที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาไว้เมื่อพวกเขาปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ด้วยศรัทธา พรไม่ควรเป็นแรงจูงใจหลักสำหรับการเชื่อฟังของเรา แต่พระบิดาบนสวรรค์ทรงปรารถนาจะอวยพรบุตรธิดาทุกคนของพระองค์ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 35)