หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
28 มิถุนายน–4 กรกฎาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75: “ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกรานเจ้าจะจำเริญได้”


“28 มิถุนายน–4 กรกฎาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75: ‘ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกรานเจ้าจะจำเริญได้’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“28 มิถุนายน–4 กรกฎาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2021

ภาพ
พระเยซูกับแกะ

ของรักจากใจพระผู้เลี้ยงแกะ โดย ไซมอน ดิวอีย์

28 มิถุนายน–4 กรกฎาคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75

“ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกรานเจ้าจะจำเริญได้”

ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75 ให้นึกถึงคนที่ท่านสอน ท่านรู้อะไรเกี่ยวกับพวกเขา? พวกเขาต้องการอะไร?

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันความจริงบางประการที่พวกเขาพบระหว่างศึกษา หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75 พวกเขาเคยมีประสบการณ์อะไรบ้างกับความจริงเหล่านี้?

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 71

เราสามารถทำตามการนำทางของพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะปกป้องความเชื่อของเรา

  • เราเคยรู้สึกกลัวหรือประหม่าในการปกป้องความเชื่อของเราหรือไม่? ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนคำและวลีที่พบใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 71 ไว้บนกระดานซึ่งพูดถึงวิธีที่พระเจ้าทรงขอให้โจเซฟกับซิดนีย์โต้ตอบคำวิพากษ์วิจารณ์ของเอซรา บูธและคนอื่นๆ จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนจะสนทนาเป็นกลุ่มเล็กๆ ว่าคำแนะนำเหล่านี้มีความหมายต่อเราในทุกวันนี้อย่างไร เหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องทำ “ตามส่วนนั้นของพระวิญญาณ” ที่พระเจ้าประทานแก่เรา? (ข้อ 1)

    อาจเป็นประโยชน์เช่นกันถ้าดูวีดิทัศน์เรื่อง “Everyday Example: When Beliefs Are Questioned” (ChurchofJesusChrist.org) สมาชิกชั้นเรียนจะมองหาวิธีแสดงให้เห็นความจริงใน ภาค 71 ในวีดิทัศน์ พวกเขาอาจจะยกตัวอย่างวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงโต้ตอบคนที่วิพากษ์วิจารณ์พระองค์ (ดูตัวอย่างใน มัทธิว 22:15–22; 26:59–64; ยอห์น 10:37–38)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 72:8–16

อธิการคือผู้พิทักษ์ดูแลกิจจานุกิจทางวิญญาณและทางโลกของอาณาจักรของพระเจ้า

  • พระดำรัสที่พระเจ้าทรงแนะนำนูเวล เค. วิทนีย์เมื่อเขาได้รับเรียกเป็นอธิการในเคิร์ทแลนด์จะช่วยคนที่ท่านสอนให้ยกย่องอธิการผู้ได้รับเรียกให้รับใช้พวกเขาได้อย่างไร? ท่านจะขอให้สมาชิกชั้นเรียนค้นคว้า หลักคำสอนและพันธสัญญา 72:8–16 เพื่อหาความรับผิดชอบบางอย่างของอธิการวิทนีย์แล้วเปรียบเทียบกับความรับผิดชอบของอธิการในปัจจุบัน (ดูคำอธิบายของประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบของอธิการใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” หรือวีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องเรื่อง “The Office of Bishop” [ChurchofJesusChrist.org]) สมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันว่าพวกเขาได้รับพรอย่างไรจากการรับใช้ของอธิการ เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อสนับสนุนอธิการของเราอย่างเต็มที่มากขึ้น?

    ภาพ
    ถังอาหารและถุงอาหาร

    อธิการช่วยสมาชิกตามความจำเป็นทางโลกของพวกเขา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 73

เราสามารถแสวงหาโอกาสแบ่งปันพระกิตติคุณ

  • พระเจ้ารับสั่งกับโจเซฟ สมิธและซิดนีย์ ริกดันให้สั่งสอนพระกิตติคุณ “ตราบเท่าที่ปฏิบัติได้” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 73:4) ขณะทำงานแปลพระคัมภีร์ไบเบิลไปด้วย สมาชิกชั้นเรียนอาจจะบอกวิธีแบ่งปันพระกิตติคุณบางวิธีที่พวกเขาพบว่า “ปฏิบัติได้”—หรือเป็นไปได้จริง—ในบรรดาความรับผิดชอบอื่นของพวกเขา พวกเขาอาจจะหาคำแนะนำที่เป็นประโยชน์บางอย่างในข่าวสารของเอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟเรื่อง “งานเผยแผ่ศาสนา: แบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจท่าน,” ( เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 15–18)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 75:2–16

พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้เรา “ทำงานด้วยสุดกำลัง [ของเรา]”

  • พระดำรัสที่พระเจ้าทรงแนะนำเอ็ลเดอร์หลายคนเกี่ยวกับวิธีแบ่งปันพระกิตติคุณจะสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันพระกิตติคุณอย่างขยันหมั่นเพียรมากขึ้น ท่านจะเขียนบนกระดานว่า ทำงานด้วยสุดกำลังของเจ้า และขอให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนคำและวลีที่นึกออกเมื่อพวกเขานึกถึงคนที่ทำงานสุดกำลังของเขาในการแบ่งปันพระกิตติคุณ พวกเขาจะสนทนาเช่นกันว่า “ชักช้า” หรือ “เกียจคร้าน” ในการแบ่งปันพระกิตติคุณหมายความว่าอย่างไร หลักคำสอนและพันธสัญญา 75:2–16 สอนอะไรเกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสนับสนุนคนที่รับใช้พระองค์อย่างซื่อสัตย์?

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ความรับผิดชอบของอธิการ

ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ สอนว่า

“ข้าพเจ้าชื่นชมอธิการของเราอย่างมาก และสำนึกในพระกรุณาธิคุณสำหรับการเปิดเผยจากพระผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ในการจัดตั้งและการดำเนินงานของตำแหน่งนี้

“… เราคาดหวังให้ท่านเป็นมหาปุโรหิตควบคุมของวอร์ด ที่ปรึกษาของผู้คน ผู้ปกป้องและผู้ช่วยเหลือคนเดือดร้อน ผู้ปลอบโยนคนโศกเศร้า ผู้จัดหาให้คนขัดสน เราคาดหวังให้ท่านยืนเป็นผู้พิทักษ์และปกป้องคำสอนที่ใช้สอนกันในวอร์ดของท่านตลอดจนคุณภาพการสอน และการเรียกให้รับใช้ในตำแหน่งมากมายที่จำเป็น …

“… ท่านต้องคอยสอดส่องว่าไม่มีใครหิวโหย ปราศจากเครื่องนุ่งห่มหรือที่พักพิง ท่านต้องรู้สถานการณ์ของทุกคนที่ท่านกำกับดูแลพวกเขา

“ท่านต้องเป็นผู้ปลอบโยนและผู้นำทางให้กับผู้คนของท่าน ประตูของท่านต้องเปิดรับเสียงร้องของผู้ทุกข์ใจเสมอ หลังของท่านต้องแข็งแรงในการแบ่งรับภาระของพวกเขา ท่านต้องยื่นมือช่วยเหลือแม้แต่ผู้ทำผิดด้วยความรัก” (ดู “ผู้ดูแลฝูงแกะ,” เลียโฮนา, ก.ค. 1999, 73, 75)

ปรับปรุงการสอนของเรา

เป็นครูเหมือนพระคริสต์มากขึ้น ท่านอาจจะใช้คำถามประเมินตนเองใน หน้า 37 ของ การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด เพื่อช่วยให้ท่านเรียนรู้วิธีสอนเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น