จงตามเรามา
10–16 สิงหาคม แอลมา 53–63: “ได้รับการปกปักรักษาโดยเดชานุภาพอันอัศจรรย์ของพระองค์”


“10–16 สิงหาคม แอลมา 53–63: ‘ได้รับการปกปักรักษาโดยเดชานุภาพอันอัศจรรย์ของพระองค์’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“10–16 สิงหาคม แอลมา 53–63” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

ภาพ
นักรบหนุ่มสองพันคน

นักรบหนุ่มสองพันคน โดย อาร์โนลด์ ไฟร์บูร์ก

10–16 สิงหาคม

แอลมา 53–63

“ได้รับการปกปักรักษาโดยเดชานุภาพอันอัศจรรย์ของพระองค์”

ขณะท่านสำรวจแนวคิดการสอนในโครงร่างนี้ ให้คิดว่าอะไรจะได้ผลในชั้นเรียนของท่าน และดัดแปลงหรือปรับเปลี่ยนกิจกรรมตามความต้องการของสมาชิกชั้นเรียน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อกระตุ้นสมาชิกชั้นเรียนให้แบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จาก แอลมา 53–63 ท่านอาจจะขอให้พวกเขาอ่านบทเหล่านี้เพื่อเก็บข้อมูล และมองหาข้อที่พวกเขาจะแบ่งปันกับคนที่กำลังประสบความท้าทาย เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันข้อเหล่านี้กับคนนอกชั้นเรียน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

แอลมา 53:17–21; 56:43–48, 55–56; 57:20–27; 58:39–40

เมื่อเราใช้ศรัทธาและวางใจในพระผู้เป็นเจ้า พระองค์จะทรงทำให้เราเข้มแข็ง

  • ท่านสามารถเพิ่มความลึกซึ้งและคุณภาพของการสนทนาในชั้นเรียนเกี่ยวกับนักรบของฮีลามันโดยวาดสิ่งที่สมาชิกชั้นเรียนเรียนรู้ที่บ้าน วิธีหนึ่งที่จะทำได้คือเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนบอกคุณสมบัติของนักรบหนุ่มที่พวกเขาประทับใจ (คุณสมบัติบางข้ออยู่ใน แอลมา 53:17–21; 56:45–48; 57:20–21, 26–27; 58:40) คุณสมบัติเหล่านี้ช่วยนักรบหนุ่มระหว่างการสู้รบของพวกเขาอย่างไร และจะช่วยเราระหว่างการสู้รบทางวิญญาณได้อย่างไร สมาชิกชั้นเรียนจะเล่าเรื่อง “นักรบหนุ่ม” ยุคปัจจุบันด้วย

  • บิดามารดาในชั้นเรียนของท่านอาจจะหวังว่าบุตรธิดาของพวกเขาจะพัฒนาศรัทธาเหมือนนักรบหนุ่มของฮีลามัน เพื่อช่วยให้บิดามารดาและบิดามารดาในอนาคตเรียนรู้จากเรื่องราวของนักรบหนุ่ม ท่านจะจัดการอภิปรายโดยให้หลายคนแบ่งปันแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างศรัทธาในบุตรธิดา ขอให้สมาชิกในกลุ่มอภิปรายอ่าน แอลมา 56:47–48 และ 57:20–27 ล่วงหน้าและเตรียมแบ่งปันข้อคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ช่วยนักรบหนุ่มพัฒนาศรัทธา ให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนได้แบ่งปันข้อคิดขณะสมาชิกในกลุ่มอภิปรายนำเสนอแนวคิด อีกแหล่งหนึ่งที่จะยกระดับการสนทนาเรื่องนี้คือคำพูดของซิสเตอร์จอย ดี. โจนส์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” และข่าวสารของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันเรื่อง “คำวิงวอนต่อพี่น้องสตรีของข้าพเจ้า” ( เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 95–97) ตอนท้ายการสนทนาท่านจะให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองคำถามทำนองนี้สองสามนาที: ใครอาจจะกำลังพึ่งประจักษ์พยานของท่าน ท่านจะพูดและทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้พวกเขาเข้มแข็ง

ภาพ
เด็กชาวนีไฟกับมารดาของพวกเขา

วีรบุรุษ (สอนโดยมารดาของพวกเขา) โดย ลิซ เลมอน สวินเดิล

แอลมา 58:1–12, 30–3761

เราสามารถเลือกนึกถึงส่วนดีที่สุดของผู้อื่นและไม่ขุ่นเคือง

  • ปฏิกิริยาของฮีลามันเมื่อกองทัพของเขาไม่ได้รับการสนับสนุนสามารถเป็นตัวอย่างอันทรงพลังสำหรับเราเมื่อเรารู้สึกว่าผู้อื่นทำผิดต่อเรา เพื่อกระตุ้นให้สนทนาเกี่ยวกับแบบอย่างของเขา ท่านสามารถเชิญสมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งเตรียมมาสรุปสถานการณ์ของฮีลามันและเหตุผลที่ฝ่ายปกครองไม่ขานรับความต้องการของเขา (ดู แอลมา 58:1–9, 30–37; 61:2–8) ท่านจะเขียนบนกระดานว่า การตอบสนองของฮีลามัน และ การตอบสนองอื่นที่อาจทำได้ จากนั้นให้ชั้นเรียนค้นคว้า แอลมา 58:1–12 และ 30–37 เขียนคำอธิบายใต้แต่ละหัวข้อว่าฮีลามันคิด พูด และทำอย่างไรต่อสถานการณ์ของเขา และสิ่งที่เขาจะคิด พูด หรือทำในทางตรงกันข้าม เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำตามแบบอย่างของฮีลามันเมื่อเรารู้สึกว่าผู้อื่นทำผิดต่อเราหรือถูกละเลย

  • เมื่อโมโรไนวิพากษ์วิจารณ์เพโฮรันใน แอลมา 60 เพโฮรันจะเลือกขุ่นเคืองก็ได้ แต่เขากลับตอบไปว่าเขา “ไม่โกรธ” และ “ชื่นชมยินดีในความประเสริฐของใจ [ของโมโรไน]” (แอลมา 61:9) เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนได้เรียนรู้จากแบบอย่างของเพโฮรัน ท่านอาจจะขอให้พวกเขาสมมติว่ามีคนขอให้พวกเขาเขียนบทความเรื่องหนึ่งให้นิตยสารศาสนจักรที่ใช้แบบอย่างของเพโฮรันใน แอลมา 61 สอนวิธีหลีกเลี่ยงไม่ไห้ผู้อื่นทำให้เราขุ่นเคือง จากนั้นท่านจะแบ่งสมาชิกชั้นเรียนออกเป็นกลุ่มๆ และขอให้พวกเขาอ่าน แอลมา 61:3–14 และเขียนบางประเด็นที่พวกเขาจะรวมไว้ในบทความ คำแนะนำของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” จะช่วยได้เช่นกัน

แอลมา 60:7–14

เรามีความรับผิดชอบต่อการหนุนใจคนรอบข้าง

  • โมโรไนเขียนว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงให้เพโฮรันรับผิดชอบถ้าเขาจงใจละเลยความต้องการของกองทัพชาวนีไฟ ท่านอาจจะให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน แอลมา 60:7–14 ด้วยกัน และจากนั้นให้พวกเขานึกถึงคนรู้จักที่อาจจะเดือดร้อนและรู้สึกถูกละเลย เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อรับรู้และขานรับความต้องการของผู้อื่น ผู้อื่นรวมไปถึงบราเดอร์และซิสเตอร์ผู้ปฏิบัติศาสนกิจขานรับความต้องการของเราอย่างไร

แอลมา 62:39–41, 48–51

เราควรระลึกถึงพระเจ้าในช่วงเวลาของความยากลำบากและความรุ่งเรือง

  • ปฏิกิริยาของชาวนีไฟทั้งต่อช่วงที่ยากลำบากและช่วงที่รุ่งเรือง (ดู แอลมา 62:39–41, 48–51) แสดงให้เห็นว่าเราเลือกนอบน้อมถ่อมตนได้ไม่ว่าเรากำลังประสบความยากลำบากหรือความรุ่งเรือง ท่านจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนอ่านข้อเหล่านี้และแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาประทับใจ ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาสนทนาความคิดของตนกับคู่ก่อนขอให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันกับทั้งชั้น

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อให้เกิดความสนใจใน ฮีลามัน 1–6 ท่านจะอธิบายให้ชั้นเรียนฟังว่าในบทเหล่านี้ชาวนีไฟกลายเป็นคนชั่วร้ายและชาวเลมันกลายเป็นคนชอบธรรม การสลับกันนี้มีบทเรียนสำคัญสำหรับเราในยุคสุดท้ายที่น่ากลัวนี้

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ทำให้เด็กๆ ของเราเป็นผู้ต้านบาป

ซิสเตอร์จอย ดี. โจนส์ ประธานปฐมวัยสามัญพูดถึงหลักการเลี้ยงดู “อนุชนที่ต้านบาป” ดังนี้

“อันดับแรก … เราต้องช่วยให้ [เด็กๆ ของเรา] รู้โดยไม่มีข้อสงสัยว่าพวกเขาคือบุตรธิดาของพระบิดาบนสวรรค์ผู้ทรงรักเราและรู้ว่าพระองค์ทรงมีความคาดหวังอันสูงส่งกับพวกเขา

“สอง การเข้าใจหลักคำสอนเรื่องการกลับใจเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสามารถในการต้านบาป “การต้านบาปไม่ได้หมายความว่าไม่มีบาป แต่มีนัยที่บ่งบอกว่ากลับใจ ระมัดระวัง และองอาจอยู่เสมอ บางทีการต้านบาปอาจเป็นพรที่มาจากการต้านบาปครั้งแล้วครั้งเล่า …

“… สิ่งสำคัญประการที่สามในการช่วยให้เด็กต้านบาปคือเริ่มสอนหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณพื้นฐานให้พวกเขาด้วยความรักเมื่ออายุยังน้อย—สอนจากพระคัมภีร์ หลักแห่งความเชื่อ จุลสาร เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน เพลงปฐมวัย เพลงสวด และประจักษ์พยานส่วนตัวของเรา—สิ่งเหล่านี้จะช่วยนำเด็กไปหาพระผู้ช่วยให้รอด

“… การช่วยให้เด็กเข้าใจ ทำ และรักษาพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์คือสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการสร้างอนุชนที่ต้านบาป … การสอนให้เด็กรักษาคำสัญญาที่เรียบง่ายเมื่อพวกเขาอายุยังน้อยจะทำให้พวกเขามีพลังที่จะรักษาพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ต่อไปในภายหน้า” (“อนุชนที่ต้านบาป,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 88–89)

วิธีหลีกเลี่ยงความขุ่นเคือง

ในข่าวสารของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์เรื่อง “ไม่มีสิ่งใดทำให้พวกเขาขุ่นเคืองได้” ( เลียโฮนา, พ.ย. 2006, 112–116) ท่านให้คำแนะนำดังนี้

  • รับรู้ว่าความขุ่นเคืองเป็นการเลือก “การเชื่อว่าบางคนหรือบางสิ่ง ทำ ให้เรารู้สึกขุ่นเคือง โกรธ เจ็บใจ หรือเจ็บแค้นจะบั่นทอนสิทธิ์เสรีทางศีลธรรมของเราและเปลี่ยนเราเป็นวัตถุที่ถูกกระทำ ในฐานะตัวแทน ท่านและข้าพเจ้ามีอำนาจที่จะกระทำและเลือกว่าเราจะตอบสนองอย่างไรต่อสถานการณ์ที่ทำให้ขุ่นเคืองหรือเจ็บใจ”

  • มองไปที่พระผู้ช่วยให้รอด “พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างอันดีเลิศผู้ทรงแสดงให้เราเห็นวิธีตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อาจทำให้เราขุ่นเคือง” [ดู 1 นีไฟ 19:9]

  • เข้าใจความอ่อนแอของผู้อื่น “ตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของวุฒิภาวะทางวิญญาณของเราดูได้จากวิธีที่เราตอบสนองความอ่อนแอ ความอ่อนหัด และการกระทำที่อาจทำให้เราขุ่นเคืองของผู้อื่น”

  • สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา “ถ้าใครบางคนพูดหรือทำบางอย่างให้เราขุ่นเคือง ข้อผูกมัดประการแรกของเราคือไม่ขุ่นเคือง และจากนั้นก็พูดคุยกับบุคคลดังกล่าวเป็นการส่วนตัว ด้วยความซื่อสัตย์ และตรงไปตรงมา วิธีนี้จะเชื้อเชิญการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ทำให้ความเข้าใจผิดกระจ่างชัดและเข้าใจเจตนาที่แท้จริง”

ปรับปรุงการสอนของเรา

ดึงประสบการณ์ในบ้านมาใช้ เพราะบ้านเป็นศูนย์กลางของการเรียนพระกิตติคุณ ลองพิจารณาว่าประสบการณ์ชั้นเรียนของท่านจะดึงสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านมาใช้ได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถดัดแปลงกิจกรรมมากมายใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว มาใช้ในชั้นเรียนเพื่อเสริมการศึกษาเป็นส่วนตัวและกับครอบครัวของสมาชิกชั้นเรียน