จงตามเรามา
27 มกราคม–2 กุมภาพันธ์ 1 นีไฟ 16–22: “เราจะเตรียมทางข้างหน้าเจ้า”


“27 มกราคม–2 กุมภาพันธ์ 1 นีไฟ 16–22: ‘เราจะเตรียมทางข้างหน้าเจ้า’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“27 มกราคม–2 กุมภาพันธ์ 1 นีไฟ 16–22” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

ภาพ
ลีไฮมองดูเลียโฮนา

ลีไฮกับเลียโฮนา โดย โจเซฟ บริกคีย์

27 มกราคม–2 กุมภาพันธ์

1 นีไฟ 16–22

“เราจะเตรียมทางข้างหน้าเจ้า”

ขณะที่ท่านอ่าน 1 นีไฟ 16–22 ลองคิดว่าแบบอย่างการเผชิญความท้าทายของนีไฟจะช่วยคนในชั้นเรียนของท่านได้อย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

นีไฟเห็นคุณค่าของการเปรียบพระคัมภีร์กับตัวเขาเองและผู้คนของเขา (ดู 1 นีไฟ 19:23) ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันหลักธรรมที่พวกเขาเรียนรู้จากเรื่องราวการเดินทางของนีไฟไปแผ่นดินที่สัญญาไว้ซึ่งเชื่อมโยงกับชีวิตของพวกเขาเอง

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

1 นีไฟ 16:10–16, 23–31; 18:10–13, 20–22

พระผู้เป็นเจ้าทรงใช้วิธีเล็กน้อยทำสิ่งสำคัญ

  • ท่านหรือบางคนในชั้นเรียนของท่านนึกถึงบางสิ่งที่เล็กน้อยแต่สามารถใช้ทำให้เกิดสิ่งสำคัญได้หรือไม่ (ดู 1 นีไฟ 16:29) ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนสนทนาว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับหลักธรรมนี้จากการอ่านพระคัมภีร์เหล่านี้ด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่ม: 1 นีไฟ 16:25–31; แอลมา 37:3–8; และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:33; 123:12–17 พระผู้เป็นเจ้าทรงใช้วิธีเล็กน้อยทำสิ่งสำคัญให้ลุล่วงในชีวิตเราอย่างไร

  • ชั้นเรียนของท่านอาจได้ประโยชน์จากการสนทนาว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงทำให้วิถีของเราราบรื่นอย่างไร เพื่อเริ่ม ท่านอาจจะขอให้ชั้นเรียนสนทนาหลักธรรมที่ทำให้เลียโฮนาทำงาน (ดู 1 นีไฟ 16:10–16, 23–31; 18:10–13, 20–22; ดู แอลมา 37:38–47ด้วย) หลักธรรมเหล่านี้จะถือเป็น “วิธีเล็กน้อย” ได้อย่างไร สมาชิกชั้นเรียนอาจจะเขียนสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเตรียมไว้นำทางเราบนกระดาน (ดูแนวคิดจาก “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) เราจะทำสิ่งเล็กน้อยอะไรได้บ้างเพื่อรับการนำทางจากพระผู้เป็นเจ้า

ภาพ
ลีไฮใช้เลียโฮนา

หากเจ้าพร้อมเจ้าจะไม่กลัว โดย คลาร์ก เคลลีย์ ไพรซ์

1 นีไฟ 16:18–32; 17:7–16; 18:1–4

เมื่อเรารักษาพระบัญญัติ พระผู้เป็นเจ้าจะทรงช่วยเราเผชิญความท้าทาย

  • สมาชิกในชั้นเรียนของท่านอาจกำลังเผชิญภารกิจและความท้าทายที่ดูเหมือนไม่อยู่ในวิสัยจะทำได้ ท่านจะใช้ประสบการณ์ของนีไฟในการทำภารกิจที่ดูเหมือนไม่อยู่ในวิสัยจะทำได้—หาอาหารให้ครอบครัวของเขาในแดนทุรกันดารและต่อเรือ—ช่วยสมาชิกเหล่านั้นได้อย่างไร สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่าน 1 นีไฟ 16:18–32; 17:7–16; และ 18:1–4 โดยมองหาหลักธรรมที่จะช่วยพวกเขาได้เมื่อพวกเขาเผชิญความยากลำบากที่ท้าทาย (ตัวอย่าง 1 นีไฟ 16:24–26 สอนว่าการสวดอ้อนวอนและความอ่อนน้อมถ่อมตนทำให้เราได้รับการดลใจและการนำทางจากพระผู้เป็นเจ้า) ท่านอาจจะเริ่มโดยยกตัวอย่างของหลักธรรมหนึ่งที่ท่านพบในข้อเหล่านี้ ขณะพวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบ พวกเขาอาจจะแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้องด้วย

1 นีไฟ 16:18–32; 17:7–22

ศรัทธานำไปสู่การปฏิบัติ

  • ประสบการณ์ของลีไฮกับครอบครัวในแดนทุรกันดารแสดงให้เห็นพลังแห่งศรัทธาและผลของการไม่เชื่อ เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนค้นพบความจริงเหล่านี้ ท่านอาจจะเขียนคำถามเหล่านี้ไว้บนกระดาน: นีไฟทำตามศรัทธาของเขาอย่างไร ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับพรอย่างไร ผลจากการไม่เชื่อของเลมันกับเลมิวเอลคืออะไร เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งกลุ่มค้นหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ใน 1 นีไฟ16:18–32 หรือ 17:7–22 และแบ่งปันสิ่งที่พบ

1 นีไฟ 19:22–24

เราสามารถเปรียบพระคัมภีร์กับตัวเรา

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนรู้วิธีเปรียบพระคัมภีร์กับตนเอง พวกเขาอาจจะอ่านตัวอย่างวิธีที่นีไฟทำ อาทิ ใน 1 นีไฟ 4:1–3 และ 17:23–32, 41–45 นีไฟสอนหลักธรรมอะไรโดยเปรียบพระคัมภีร์กับสถานการณ์ของครอบครัวเขา เรื่องที่เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์เล่าใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” แสดงให้เห็นว่าการเปรียบพระคัมภีร์กับตัวเราจะเป็นพรแก่เราได้อย่างไร ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนระบุความท้าทายที่พวกเขาหรือสมาชิกครอบครัวประสบ จากนั้นให้หาเรื่องราวในพระคัมภีร์ที่ให้ข้อคิดและช่วยพวกเขาในสถานการณ์เหล่านั้น ตามที่กล่าวไว้ใน 1 นีไฟ 19:22–24 การเปรียบพระคัมภีร์กับตัวเราจะเป็นพรแก่เราได้อย่างไร

  • การสนทนา 1 นีไฟ 19:22–24 เป็นโอกาสอันดียิ่งให้สมาชิกชั้นเรียนได้แบ่งปันวิธีที่พวกเขา “เปรียบพระคัมภีร์” กับตนเองและครอบครัว รวมถึงพรที่พวกเขาได้รับจากการทำเช่นนั้น ท่านอาจจะเขียนแนวคิดของสมาชิกชั้นเรียนไว้บนกระดานเกี่ยวกับวิธีเปรียบพระคัมภีร์กับตนเอง (ดูข้อเสนอแนะบางประการจากรายการใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) ในชั้นเรียนคราวหน้า ท่านอาจจะเชิญสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขาใช้แนวคิดที่เขียนไว้

1 นีไฟ 20–21

พระเจ้าจะทรงรวมเชื้อสายแห่งอิสราเอลในวันเวลาสุดท้าย

  • เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันคำสอนที่มีความหมายใน 1 นีไฟ 20–21 ท่านอาจจะเขียนหัวข้อทำนองนี้ไว้บนกระดาน: ลูกหลานแห่งอิสราเอล ครอบครัวของลีไฮ และ ผู้คนในสมัยของเรา ให้เวลาพวกเขาทบทวน 1 นีไฟ 20–21 และเขียนใต้แต่ละหัวข้อว่าคำพยากรณ์ของอิสยาห์ประยุกต์ใช้กับกลุ่มเหล่านี้ได้อย่างไร

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน 2 นีไฟ 1–5 เชื้อเชิญให้พวกเขาคิดว่าจะพูดอะไรกับครอบครัวถ้าเวลาของพวกเขาบนแผ่นดินโลกเหลือไม่มาก ชี้ให้เห็นว่าสามสี่บทแรกของ 2 นีไฟมีข่าวสารสุดท้ายที่ลีไฮให้แก่ครอบครัวของเขา

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

วีดิทัศน์พระคัมภีร์มอรมอน

หาวีดิทัศน์บรรยายเหตุการณ์จาก 1 นีไฟ 16–22 ในชุดวีดิทัศน์พระคัมภีร์มอรมอนที่ ChurchofJesusChrist.org หรือแอปพลิเคชันคลังค้นคว้า

“เลียโฮนา” ของเรา

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์สอนว่า “พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงทำงานในชีวิตเราเฉกเช่นเลียโฮนาทำงานให้ลีไฮกับครอบครัว ตามศรัทธา ความพากเพียรและความเอาใจใส่ของเรา” (“เพื่อเราจะมีพระวิญญาณของพระองค์อยู่กับเราตลอดเวลา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2006, 37)

ในการประชุมใหญ่สามัญเดือนตุลาคม 2005 เอ็ลเดอร์โลเวลล์ เอ็ม. สโนว์แห่งสาวกเจ็ดสิบกล่าวว่า “การประชุมใหญ่สามัญนี้คือเลียโฮนาในยุคปัจจุบัน เป็นเวลาและสถานที่ซึ่งได้รับการนำทางและคำแนะนำแห่งการดลใจที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ” (“เข็มทิศของพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2005, 114)

ประธานโธมัส เอส. มอนสันสอนว่า “พระเจ้าองค์เดียวกับที่ทรงจัดเตรียมเลียโฮนาให้ลีไฮทรงจัดเตรียมของประทานอันล้ำค่าหาได้ยากให้ท่านและข้าพเจ้าวันนี้เพื่อนำทางชีวิตเรา … ของประทานที่ข้าพเจ้าพูดถึงมีชื่อว่าปิตุพร” Thomas S. Monson, “Your Patriarchal Blessing: A Liahona of Light,” Ensign, Nov. 1986, 65)

การเปรียบพระคัมภีร์กับตัวเรา

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์สอนว่า

“หลายปีก่อนข้าพเจ้ากำลังสอนลูกชายของเราเกี่ยวกับชีวิตและประสบการณ์ของพี่ชายเจเร็ด แม้เรื่องราวจะน่าสนใจมาก แต่เขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จากนั้นข้าพเจ้าถามว่าเรื่องนี้มีความหมายอะไรต่อเขาเป็นส่วนตัว มันมีความหมายมากเมื่อเราถามลูกว่า ‘เรื่องนี้มีความหมายอะไรต่อลูก’ เขาตอบว่า ‘พ่อก็รู้ว่านั่นไม่ต่างอะไรกับสิ่งที่โจเซฟ สมิธทำในป่าเมื่อท่านสวดอ้อนวอนและได้รับคำตอบ’

“ข้าพเจ้าพูดว่า ‘ลูกอายุเท่าๆ โจเซฟ ลูกคิดว่าการสวดอ้อนวอนอย่างท่านจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหรือเปล่า’ จู่ๆ เราก็ไม่คุยกันถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อเนิ่นนานมาแล้วในดินแดนที่ห่างไกล เราคุยกันเกี่ยวกับบุตรชายของเรา—เกี่ยวกับชีวิตเขา ความต้องการของเขา และวิธีที่การสวดอ้อนวอนจะช่วยเขาได้

“ในฐานะบิดามารดา ความรับผิดชอบของเราคือช่วยให้ลูก ‘เปรียบพระคัมภีร์ทั้งหมด [แท้จริงแล้ว ทุกส่วนของพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์] กับตัวเรา [และกับลูกๆ ของเรา] … เพื่อจะได้เป็นประโยชน์และเป็นการเรียนรู้ [ของครอบครัวเรา]’” (“ด้วยความรู้สึกทั้งหมดของบิดามารดาที่ปรานีบุตร: ข่าวสารแห่งความหวังที่มาถึงครอบครัว,” เลียโฮนา, พ.ค. 2004, 111)

ข้อเสนอแนะสำหรับการเปรียบพระคัมภีร์

  • นึกถึงเหตุการณ์หรือสภาวการณ์ในสมัยของเราซึ่งคล้ายกับในพระคัมภีร์ที่ท่านกำลังอ่าน

  • มองหาสิ่งที่ผู้คนรู้ เรียนรู้ หรือทำในพระคัมภีร์ที่อาจจะช่วยท่านแก้ปัญหาส่วนตัวหรือตอบคำถามในปัจจุบัน

  • ระบุหลักธรรมจากเรื่องนั้นที่จะช่วยท่านได้ในสภาวการณ์ของท่านเอง