จงตามเรามา
23–29 กันยายน กาลาเทีย: ‘ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ’


“23–29 กันยายน กาลาเทีย: ‘ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“23–29 กันยายน กาลาเทีย,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2019

ภาพ
พระคริสต์ทรงปรากฏต่อเปาโลในคุก

23–29 กันยายน

กาลาเทีย

“ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ”

ขณะที่ท่านอ่านกาลาเทีย ท่านมีความประทับใจว่าเด็กในชั้นเรียนของท่านต้องการเรียนรู้อะไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ให้เวลาเด็กสองสามนาทีในการวาดรูปสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากการสนทนาพระกิตติคุณที่บ้านหรือที่โบสถ์ เก็บรวบรวมภาพวาด และให้เด็กทายว่าแต่ละภาพแสดงถึงอะไร

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กเล็ก

กาลาเทีย 5:22–23

พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยให้ฉันรู้สึกถึงความรัก ความยินดี และสันติสุข

เด็กเล็กสามารถรับรู้ผลของพระวิญญาณ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเขาแสวงหาอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ตลอดชีวิต

กิจกรรมที่ทำได้

  • แสดงหรือให้ดูภาพผลไม้หลายชนิด และให้เด็กบรรยายว่าผลไม้แต่ละอย่างมีรสชาติอย่างไร อธิบายว่าเช่นเดียวกับที่ผลไม้มีหลายรส เราสามารถรู้สึกถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ในหลากหลายวิธี เช่นความรักและสันติสุข ขอให้พวกเขาบรรยายว่าพวกเจารู้สึกอย่างไรเวลาที่พวกเขารู้สึกถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์

    ภาพ
    แอปเปิ้ลบนต้นไม้

    เด็กทุกวัยสามารถประสบกับผลของพระวิญญาณ

  • อ่าน กาลาเทีย 5:22–23 กับเด็กๆ และอธิบายคำที่พวกเขาอาจไม่คุ้นเคย เชื้อเชิญให้เด็กแต่ละคนเลือกผลของพระวิญญาณที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้และเล่าเมื่อครั้งที่เขาประสบกับผลของพระวิญญาณนั้น เชื้อเชิญให้เด็กวาดรูปเรียบง่ายเกี่ยวกับประสบการณ์พวกเขา

กาลาเทีย 6:2

พระเยซูคริสต์ทรงต้องการให้ฉันช่วยเหลือคนขัดสน

คำแนะนำใน กาลาเทีย 6:2 คล้ายกับคำสอนของแอลมาใน โมไซยาห์ 18:8 ต่อผู้คนที่กำลังจะรับบัพติศมา ใช้โอกาสนี้ช่วยเด็กเตรียมรับพันธสัญญาแห่งบัพติศมา

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพเด็กกำลังรับบัพติศมา (เช่น หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 104) ถามเด็กๆ ว่าเด็กคนนี้กำลังทำอะไร อธิบายว่าเมื่อเรารับบัพติศมา เราทำพันธสัญญา หรือสัญญา อ่าน กาลาเทีย 6:2 หรือ โมไซยาห์ 18:8 เพื่อช่วยเด็กเรียนรู้สิ่งหนึ่งที่เราสัญญาจะทำ นั่นคือ รับภาระของกันและกัน เชื้อเชิญให้เด็กวาดรูปวิธีที่พวกเขาสามารถช่วยคนอื่นที่กำลังแบกภาระ

  • อ่านวลีนี้จาก กาลาเทีย 6:2 ให้เด็กฟัง “จง​ช่วย​รับ​ภาระ​ของ​กัน​และ​กัน” เพื่อแสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้หมายความว่าอย่างไร ให้เด็กคนหนึ่งถือของหนักๆ บางอย่าง จากนั้นขออาสาสมัครมาช่วยเด็กคนนั้นถือของ อธิบายให้เด็กฟังว่ามีหลายสิ่งที่อาจรู้สึกเป็นภาระได้ เช่นความเจ็บป่วยหรือรู้สึกเศร้าหรือเหงา เราทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยบุคคลที่มีปัญหาเช่นนี้

กาลาเทีย 6:7–9

การกระทำของเรา ทั้งดีและไม่ดีล้วนมีผลลัพธ์

เป็นสิ่งสำคัญที่เด็กจะเข้าใจว่าการเลือกของเรามีผลลัพธ์ ท่านสามารถใช้ กาลาเทีย 6:7–9 เพื่อแสดงถึงความจริงนี้

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้เด็กดูเมล็ดพืชและผักหนึ่งอย่าง อ่าน กาลาเทีย 6:7–9 ให้เด็กฟัง ขอให้เด็กทำเป็นปลูกเมล็ดพืชเมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า “หว่าน” ขอให้พวกเขาทำเป็นหยิบผักขึ้นมาจากต้นเมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า “เก็บเกี่ยว”

  • ให้เด็กดูผักหลายชนิด และช่วยพวกเขาหาเมล็ดที่อยู่ในผักแต่ละชนิด ใส่เมล็ดไว้ในกล่อง ให้เด็กผลัดกันเลือกคนละหนึ่งเมล็ดและบอกว่าผักอะไรจะงอกขึ้นมาหากพวกเขานำเมล็ดนั้นไปปลูก ช่วยให้พวกเขาเห็นว่าเช่นเดียวกับเมล็ดที่เราปลูกเป็นตัวกำหนดว่าเราจะได้ผักอะไร การเลือกของเราก็กำหนดผลลัพธ์และพรที่เราจะได้รับในที่สุด

  • ติดเทปบนพื้นเป็นเส้นยาว วางหน้ามีความสุขและหน้าเศร้าไว้ตรงปลายเส้นที่อยู่ตรงข้ามกัน เชิญเด็กคนหนึ่งยืนอยู่กลางเส้น และให้เด็กคนอื่นๆ บอกการเลือกที่จะนำไปสู่ความสุขหรือความเศร้า (ท่านอาจต้องให้ตัวอย่างบ้าง) สำหรับการเลือกแต่ละอย่าง ขอให้เด็กที่อยู่ตรงกลางเดินไปฝั่งที่มีความสุขหรือฝั่งที่เศร้า ทำกิจกรรมนี้ซ้ำหลายๆ ครั้ง และให้เด็กคนอื่นๆ ผลัดกันยืนบนเส้น

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กโต

กาลาเทีย 5:1

พระเยซูคริสต์ทรงทำให้เราเป็นอิสระ

บางคนคิดว่าพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์จำกัดอิสรภาพของพวกเขา ไตร่ตรองว่าท่านจะช่วยเด็กอย่างไรให้เห็นว่าที่จริงแล้วพระกิตติคุณนำมาซึ่งอิสรภาพจากบาปและความตาย

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน กาลาเทีย 5:1 พระเยซูทรงทำให้เราเป็นอิสระในวิธีใดเพื่อเราจะกลับไปหาพระบิดาบนสวรรค์ได้ ให้ดูภาพพระเยซูกำลังทนทุกข์ในเกทเสมนีและการฟื้นคืนพระชนม์เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจว่าพระเยซูทรงปลดปล่อยเราจากบาปและความตายอย่างไร (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 5659)

  • ร้องเพลงด้วยกันและทบทวนเนื้อร้องของเพลงที่เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด เช่น “ฉันรู้พระผู้ไถ่ทรงพระชนม์” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 59) ขอให้เด็กหาคำในเพลงที่บรรยายถึงวิธีที่พระเยซูคริสต์ทรงปลดปล่อยเราจากการถูกคุมขังทางวิญญาณ

กาลาเทีย 5:22–23

หากฉัน “ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ” ฉันสามารถเบิกบานใจกับ “ผลของพระวิญญาณ”

ท่านจะช่วยให้เด็กตระหนักได้อย่างไรเมื่อพวกเขารู้สึกถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้กระดาษที่มีรูปทรงผลไม้แก่เด็กแต่ละคน และขอให้พวกเขาหา “ผลของพระวิญญาณ” ที่อยู่ใน กาลาเทีย 5:22–23 เชื้อเชิญพวกเขาเขียนผลหนึ่งลงในกระดาษด้านหนึ่งและคำที่มีความหมายตรงกันข้ามในกระดาษอีกด้านหนึ่ง (ช่วยให้พวกเขาเข้าใจคำที่ไม่คุ้นเคย) เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันผลของพวกเขากับชั้นเรียน

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่านเกี่ยวกับผลของพระวิญญาณใน กาลาเทีย 5:22–23 และเขียนหรือวาดรูปเกี่ยวกับเวลาที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงผลเหล่านั้นอย่างหนึ่ง ขอให้พวกเขาแบ่งปันเรื่องราวหรือภาพวาดกับอีกคนหนึ่งในชั้นเรียน เหตุใดผลจึงเป็นวิธีที่ดีในการช่วยให้เราเข้าใจว่าพระวิญญาณทรงมีอิทธิพลต่อเราอย่างไร

กาลาเทีย 6:7–9

การกระทำของเรา ทั้งดีและไม่ดี ล้วนมีผลลัพธ์

ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าบางครั้งผลของความประพฤติของเราเกิดขึ้นทันทีและบางครั้งเกิดขึ้น “ในเวลาอันสมควร” (ข้อ 9)

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน กาลาเทีย 6:7–9 ด้วยกัน ให้เด็กวาดภาพง่ายๆ ที่มีคนหนึ่งปลูกเมล็ดของผลหนึ่งและเก็บเกี่ยวผลที่แตกต่างกัน ทำไมสิ่งนี้จึงเป็นไปไม่ได้ การเลือกที่ผิดและประสบกับผลลัพธ์เชิงบวกเป็นไปไม่ได้อย่างไร

  • ขอให้ทุกคนในชั้นเรียนช่วยกันทำเขาวงกตเช่นเดียวกับที่อยู่ในหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้ เชื้อเชิญให้เด็กนึกถึงคำอื่นๆ นอกเหนือจากที่อยู่ในเขาวงกตซึ่งแสดงถึงความรู้สึกดีจากพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือการเลือกที่ไม่ดีซึ่งขับไล่พระองค์ออกไป สนทนาถึงผลลัพธ์ของการเลือกที่พวกเขาคิดได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กเขียนพรบางอย่างที่พวกเขาหวังจะได้รับจากพระบิดาบนสวรรค์ ช่วยให้พวกเขานึกถึง “เมล็ด” ที่ต้องหว่านเพื่อจะ “เก็บเกี่ยว” พรเหล่านี้

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กมองหาผลลัพธ์ที่ดี หรือ “ผล” ที่เกิดขึ้นเพราะการตัดสินใจที่ดีที่พวกเขาทำสัปดาห์นี้ บอกพวกเขาว่าสัปดาห์หน้าให้มาแบ่งปันประสบการณ์ของตน

ปรับปรุงการสอนของเรา

ปรับกิจกรรมตามอายุของเด็ก ให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วม แต่จำไว้ว่าความสามารถของพวกเขาจะแตกต่างกันไปตามอายุและวุฒิภาวะ เด็กเล็กอาจต้องการการนำทางและการกำกับดูแลมากกว่า เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น เด็กจะมีส่วนร่วมได้มากขึ้นและอาจจะแบ่งปันความคิดของพวกเขาได้เก่งขึ้น (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25–26)