จงตามเรามา
28 มกราคม–3 กุมภาพันธ์ มัทธิว 3; มาระโก 1; ลูกา 3: ‘จงเตรียมมรรคาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า’


“28 มกราคม–3 กุมภาพันธ์ มัทธิว 3; มาระโก 1; ลูกา 3: ‘จงเตรียมมรรคาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“28 มกราคม–3 กุมภาพันธ์ มัทธิว 3: มาระโก 1: ลูกา 3,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2019

ภาพ
ยอห์นผู้ถวายบัพติศมาถวายบัพติศมาพระเยซู

หน้าต่างกระจกสีของพระวิหารนอวู อิลลินอยส์ โดย ทอม โฮลด์แมน

28 มกราคม–3 กุมภาพันธ์

มัทธิว 3; มาระโก 1; ลูกา 3

“จงเตรียมมรรคาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า”

ขณะที่ท่านอ่านเรื่องยอห์นผู้ถวายบัพติศมาและบัพติศมาของพระเยซูคริสต์ ให้บันทึกความประทับใจทางวิญญาณที่ท่านได้รับ จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจพระคัมภีร์เหล่านี้ และจะช่วยให้ท่านสนับสนุนการเรียนรู้ที่สมาชิกชั้นเรียนกำลังเรียนรู้ด้วยตนเอง

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้แล้ว ให้ดูภาพพระเยซูกำลังรับบัพติศมา ขอให้พวกเขาบอกท่านว่าเกิดอะไรขึ้นในภาพนี้และพวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการรับบัพติศมา

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กเล็ก

มัทธิว 3:13–17

ฉันสามารถรับบัพติศมาเหมือนพระเยซู

ท่านจะใช้เรื่องบัพติศมาของพระเยซูช่วยให้เด็กเตรียมรับบัพติศมาได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • สรุปเรื่องบัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอด (ดู มัทธิว 3:13–17; ดู “บทที่ 10: พระเยซูทรงรับบัพติศมา,” เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, หน้า 26–29 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ LDS.org) ทบทวนเรื่องนี้หลายๆ ครั้งและเชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันรายละเอียดที่พวกเขาจำได้ อธิบายว่าพระเยซูทรงรับบัพติศมาโดยผู้มีสิทธิอำนาจฐานะปุโรหิต

  • ให้ดูภาพพระเยซูทรงรับบัพติศมาและหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้ ให้เด็กชี้ให้เห็นความคล้ายคลึงระหว่างสองภาพนี้

  • ท่านอาจจะทบทวนสัญญาที่เด็กๆ จะทำเมื่อพวกเขารับบัพติศมา (ดู โมไซยาห์ 18:8–10; คพ. 20:37; แน่วแน่ต่อศรัทธา, 156) ถามพวกเขาว่าในสัญญาเหล่านี้พวกเขาทำข้อใดอยู่แล้ว

  • เชิญสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายอธิการมาบอกเด็กๆ เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ก่อนพวกเขารับบัพติศมา

  • ร้องเพลง “บัพติศมา,” หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, หน้า 54–55 กับเด็กๆ ท่านอาจจะขอให้เด็กคนหนึ่งที่รู้จักเพลงนี้ดีนำเด็กคนอื่นๆ ร้องเพลง

ภาพ
เด็กผู้หญิงรับบัพติศมา

เราสามารถทำตามแบบอย่างของพระเยซูได้โดยการรับบัพติศมา

มัทธิว 3:11, 16

พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยฉัน

นอกจากเตรียมรับบัพติศมาแล้ว เด็กกำลังเตรียมรับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์เช่นกัน ท่านจะช่วยพวกเขาได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ใช้ มัทธิว 3:11, 16 สอนเด็กว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาสถิตบนพระเยซูเมื่อพระองค์ทรงรับบัพติศมา (นกพิราบปรากฏเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นเหตุการณ์นี้) ให้ดูภาพ ของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ (หนังสือภาพพระกิตติคุณ, หน้า 105) และอธิบายว่าเราได้รับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์เมื่อเราได้รับการยืนยัน

  • นำกล่องบรรจุสิ่งต่างๆ เช่น ภาพพระเยซู ผ้าห่ม หรือเข็มทิศมาชั้นเรียน เชื้อเชิญให้เด็กเลือกของหนึ่งอย่างแล้วแบ่งปันว่าของแต่ละอย่างแทนวิธีที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยเราอย่างไร—พระองค์ทรงเป็นพยานถึงพระเยซู ทรงปลอบโยนเรา (ดู ยอห์น 15:26) และแสดงให้เราเห็นทางที่ถูกต้อง (ดู 2 นีไฟ 32:5)

  • แบ่งปันประสบการณ์ของท่านเองกับการได้รับความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

  • เชื้อเชิญให้เด็กฟังวิธีที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยเราขณะที่พวกเขาร้องเพลง “พระวิญญาณบริสุทธิ์,” หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, หน้า 56

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กโต

มัทธิว 3

ฉันได้รับพรจากศาสนพิธีของฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน

ยอห์นผู้ถวายบัพติศมาดำรงฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะสอนเด็กๆ เกี่ยวกับฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและช่วยให้พวกเขารับรู้พรและพลังอำนาจที่มาถึงชายหญิงผ่านฐานะปุโรหิตนี้

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กๆ เขียนหน้าที่ต่างๆ ของฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนออกมาเป็นข้อๆ โดยใช้ หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:46, 58–60; 84:111 อธิบายว่าปุโรหิตในฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนสามารถ “ให้บัพติศมา, และปฏิบัติศีลระลึก” ปุโรหิต ผู้สอน และมัคนายกต้อง “สอน, และเชื้อเชิญให้คนทั้งปวงมาหาพระคริสต์” (คพ. 20:46, 59) ขอให้เด็กดูตัวอย่างของยอห์นทำหน้าที่เหล่านี้ใน มัทธิว 3 เราทุกคนจะเชื้อเชิญให้ผู้อื่นมาหาพระคริสต์เหมือนที่ยอห์นเชื้อเชิญได้อย่างไร

  • ให้ดูภาพผู้ดำรงฐานะปุโรหิตกำลังปฏิบัติศาสนพิธีบัพติศมาและศีลระลึก (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 103, 108) สนทนาว่าศาสนพิธีเหล่านี้เตรียมเราให้พร้อมรับพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์อย่างไร

  • อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 13:1 ด้วยกันและอธิบายว่ายอห์นผู้ถวายบัพติศมานำฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนกลับมาให้โจเซฟ สมิธ ถามเด็กว่าพวกเขาได้รับพรเพราะฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนได้รับการฟื้นฟูอย่างไร

มัทธิว 3:13–17; ลูกา 3:2–18

ฉันสามารถรักษาพันธสัญญาบัพติศมาของฉัน

เรื่องบัพติศมาของพระเยซูเป็นโอกาสดีที่จะช่วยเด็กทบทวนพันธสัญญาบัพติศมาของพวกเขาและให้คำมั่นอีกครั้งว่าจะรักษาพันธสัญญาเหล่านั้น

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กสองคนอ่าน ลูกา 3:7–9, 15–17 คนหนึ่งอ่านคำพูดของยอห์นผู้ถวายบัพติศมาและอีกคนอ่านถ้อยคำที่เหลือ หลังจากอ่านแต่ละข้อ ให้หยุดครู่หนึ่งและช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของข้อนั้น

  • ทบทวนพันธสัญญาที่เด็กทำเมื่อรับบัพติศมาใน โมไซยาห์ 18:8–10 และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37 (ดู แน่วแน่ต่อศรัทธา, หน้า 156–157 ด้วย) เชื้อเชิญให้เด็กเขียนพระคัมภีร์อ้างอิงเหล่านี้ไว้ในหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้

  • เตรียมบัตรหลายๆ คู่ไว้จับคู่วลีหรือภาพที่ใช้แทนพันธสัญญาบัพติศมาของเรา วางบัตรคว่ำหน้า ให้เด็กๆ ผลัดกันหงายบัตรทีละสองใบโดยมองหาบัตรที่คู่กัน หลังจากจับคู่ได้แล้ว ให้เด็กบอกวิธีที่พวกเขารักษาพันธสัญญานั้น

  • แบ่งปันว่าการรักษาพันธสัญญาบัพติศมาของท่านเป็นพรแก่ท่านอย่างไร

มัทธิว 3:11, 16

พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสามารถนำทางฉัน

เด็กกำลังเรียนรู้วิธีรับรู้และทำตามการนำทางของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ท่านจะสอนพวกเขาได้อย่างไรว่าการรักษาพันธสัญญาบัพติศมาจะช่วยให้พวกเขามีค่าควรรับการนำทางนี้

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กเลือกอ่านพระคัมภีร์ต่อไปนี้คนละหนึ่งข้อและอธิบายวิธีที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ตรัสกับเรา หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:23; 8:2–3

  • ขอให้เด็กคนหนึ่งอ่าน มัทธิว 3:11 พระวิญญาณบริสุทธิ์เปรียบเสมือนไฟอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ไฟให้ความอบอุ่น และไฟให้แสงสว่างนำทางเรา (ดู ยอห์น 15:; 2 นีไฟ 32:5)

  • ให้เด็กหลับตาและแบมือ จากนั้นให้นำขนนกหรือเชือกปัดฝามือพวกเขาเบาๆ ให้พวกเขาบอกว่าพวกเขารู้สึกตอนไหน กิจกรรมนี้สอนอะไรเกี่ยวกับการรับรู้การกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์

  • เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยมีกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ เหตุใดการรักษาพันธสัญญาของเราจึงช่วยให้เราได้รับการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

กระตุ้นให้เด็กถามพ่อแม่หรือสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ เกี่ยวกับบัพติศมาของเขาเหล่านั้น

ปรับปรุงการสอนของเรา

แสวงหาการดลใจของเราเอง อย่ามองว่าโครงร่างเหล่านี้เป็นคำแนะนำที่ต้องทำตามขณะที่ท่านสอน แต่จงใช้เป็นแนวคิดเพื่อจุดประกายความคิดของท่านเองขณะท่านไตร่ตรองความต้องการของเด็กที่ท่านสอน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 7)

ภาพ
หน้ากิจกรรม: ฉันสามารถรับบัพติศมาเหมือนพระเยซู