หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
4–10 ตุลาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 111–114: “เราจะสั่งสิ่งทั้งปวงเพื่อประโยชน์ของเจ้า”


“4–10 ตุลาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 111—114: ‘เราจะสั่งสิ่งทั้งปวงเพื่อประโยชน์ของเจ้า’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“4–10 ตุลาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 111–114” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2021

ภาพ
โจเซฟ สมิธกำลังสั่งสอน

4–10 ตุลาคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 111–114

“เราจะสั่งสิ่งทั้งปวงเพื่อประโยชน์ของเจ้า”

ซิสเตอร์เชอริล เอ. เอสพลิน อดีตที่ปรึกษาในฝ่ายประธานปฐมวัยสามัญสอนว่าเราควร “ช่วยให้บุตรธิดารับหลักคำสอนไว้ในใจพวกเขาจน … สะท้อนในเจตคติและพฤติกรรมตลอดชีวิตของพวกเขา” (“สอนบุตรธิดาของเราให้เข้าใจ,เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 10)

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อกระตุ้นให้เด็กแบ่งปัน ท่านจะนำของหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับบางสิ่งจากบทเรียนคราวก่อนมา แล้วให้พวกเขาพูดคุยกันว่าของแต่ละอย่างเตือนพวกเขาให้นึกถึงอะไร

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 111:2, 10–11

เรื่องของพระผู้เป็นเจ้าสามารถเป็นทรัพย์สมบัติมีค่าต่อเรา

เมื่อเด็กนึกถึงคำว่า ทรัพย์สมบัติ พวกเขาอาจนึกภาพของบางอย่างต่างจากทรัพย์สมบัติที่กล่าวเป็นนัยไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 111:2, 110 ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นเรื่องของพระเจ้ามีคุณค่าได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กวาดสิ่งที่เข้ามาในความคิดเมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า ทรัพย์สมบัติ เปรียบเทียบสิ่งที่โลกเห็นเป็นทรัพย์สมบัติกับสิ่งที่พระเจ้าทรงเห็นคุณค่า (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 111:2, 10–11 เช่นผู้คนของพระองค์ สติปัญญาและความชอบธรรม และการเลือกที่ดี

  • ช่วยพวกเขาทำหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้ให้ครบ เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูจากสิ่งที่พระองค์ทรงเห็นคุณค่า? เราจะเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้นได้อย่างไร?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:10

พระเจ้าจะทรงจูงมือนำฉันไปและทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของฉัน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:10 สามารถช่วยเด็กที่ท่านสอนสร้างศรัทธาว่าพระเยซูคริสต์จะทรงนำและชี้นำพวกเขาตลอดชีวิต

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยให้เด็กนึกถึงสถานการณ์ที่ต้องจูงมือสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว เช่น เมื่อข้ามถนนหรือปลอบใจ พวกเขาอาจจะชอบทำท่าประกอบตัวอย่างที่พวกเขาแบ่งปัน อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:10 เหตุใดเราจึงต้องการให้พระเจ้า “ทรงจูงมือนำ [เรา] ไป”?

  • นำผ้ามาปิดตาเด็กคนหนึ่ง และขอให้เขาเดินไปทั่วห้องขณะเด็กอีกคนหนึ่งจูงมือเขา เล่าประสบการณ์เมื่อท่านรู้สึกว่าพระเจ้าทรงกำลังจูงมือท่าน

    ภาพ
    พระเยซูกับเด็กชายและมารดาของเขา

    ลุกขึ้นและเดิน โดย ไซมอน ดิวอีย์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:11

พระเยซูทรงต้องการให้ฉันรักทุกคน

ช่วยให้เด็กรู้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้เรารักทุกคน แม้แต่คนที่ปฏิบัติไม่ดีต่อเรา

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขณะที่ท่านแบ่งปัน “บทที่ 41: ความลำบากในเคิร์ทแลนด์” (เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา, 158–160) ขอให้เด็กทำมือเป็นรูปหัวใจเมื่อพวกเขาได้ยินเกี่ยวกับคนทำบางสิ่งถูกต้อง ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าพระเจ้าทรงต้องการให้เรารักทุกคนแม้แต่คนที่เลือกผิด

  • วาดรูปหน้าเศร้าบนกระดาน และถามเด็กว่าเราจะแสดงความรักต่อคนที่ไม่มีความสุขได้อย่างไร (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:11) ขณะที่เด็กแบ่งปันความคิด ให้วาดเปลี่ยนหน้าเศร้าเป็นหน้ายิ้ม แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านถึงพลังที่มาจากการรักผู้อื่น ร้องเพลงๆ หนึ่งด้วยกันเกี่ยวกับความรัก เช่น “พระเยซูตรัสจงรักทุกคน” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 39)

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:10

ฉันสามารถอ่อนน้อมถ่อมตนและแสวงหาการนำทางจากพระผู้เป็นเจ้า

พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้เราอ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อพระองค์จะทรงนำทางเราได้ ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าพวกเขาจะแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้าโดยทำสิ่งต่างๆ เช่นสวดอ้อนวอนพระองค์และยอมรับคำแนะนำของพระองค์ได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ถามเด็กว่าอ่อนน้อมถ่อมตนหมายถึงอะไร (พวกเขาอาจจะอ่าน “ความนอบน้อม” ใน แน่วแน่ต่อศรัทธา [หน้า 112–113] หากจำเป็น) ช่วยพวกเขานึกถึงคำหรือวลีเกี่ยวกับ “อ่อนน้อมถ่อมตน” และให้พวกเขาอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:10 โดยใช้คำหรือวลีเหล่านั้นแทนคำว่า “อ่อนน้อมถ่อมตน” ในข้อดังกล่าว เหตุใดพระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้เราอ่อนน้อมถ่อมตน? เพื่อเรียนรู้มากขึ้นเด็กอาจจะอ่านพระคัมภีร์เพิ่มเติมที่ระบุไว้ใต้ “อ่อนน้อม (ความมีใจ)” ในคู่มือพระคัมภีร์ (scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

  • เขียนคำของ หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:10 ไว้บนกระดานและขอให้เด็กๆ อ่านออกเสียง เชิญเด็กคนหนึ่งออกมาขีดเส้นใต้พรสำหรับคนอ่อนน้อมถ่อมตนที่กล่าวไว้ในข้อนี้ กระตุ้นให้เด็กเล่าเวลาที่พวกเขาแสวงหาความช่วยเหลือจากพระเจ้าอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนและพระองค์ทรงนำพวกเขา เช่นเมื่อพวกเขาได้รับคำตอบการสวดอ้อนวอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:11

พระเยซูทรงต้องการให้ฉันรักทุกคน

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีพร้อมของการรักทุกคน แม้แต่คนที่ปฏิบัติไม่ดีต่อพระองค์ โจเซฟ สมิธต้องอดทนต่อการข่มเหงจากคนที่เคยเป็นเพื่อนของท่านเช่นกัน ช่วยให้เด็กเรียนรู้ว่าเราสามารถรักผู้อื่นได้เช่นเดียวกับพระผู้ช่วยให้รอดและโจเซฟ สมิธรัก

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้เด็กผลัดกันอ่านจาก “บทที่ 41: ความลำบากในเคิร์ทแลนด์” (เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา, 158–160) ใครในเรื่องทำให้ปัญหาในเคิร์ทแลนด์แย่ลง? ใครพยายามทำให้ปัญหาดีขึ้น? เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:11 และพูดคุยกันว่าเหตุใดการรักทุกคนจึงสำคัญ

  • เหตุใดการรักคนที่ต่างจากเราจึงสำคัญ? เหตุใดพระบิดาบนสวรรค์ทรงทำให้เราต่างกัน? เราจะ “ให้ความรัก [ของเรา] มีท่วมท้นต่อมนุษย์ทั้งปวง” แม้แต่คนที่ต่างจากเราได้อย่างไร? ร้องเพลงๆ หนึ่งกับเด็กๆ เกี่ยวกับการรักผู้อื่น เช่น “ฉันเดินกับเธอ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 78–79)

  • ช่วยให้เด็กนึกถึงตัวอย่างเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงรักคนที่ปฏิบัติไม่ดีต่อพระองค์ (ดูตัวอย่างใน ลูกา 23:34)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:12–15, 26

คนที่เปลี่ยนใจเลื่อมใสจริงๆ จะรู้จักพระเยซูคริสต์

การเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเยซูคริสต์เป็นกระบวนการชั่วชีวิต และเกี่ยวข้องมากกว่าการ “อ้างว่ารูัจักนาม [ของพระองค์]” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:26) ช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของการรู้จักพระผู้ช่วยให้รอดจริงๆ ดีขึ้น

กิจกรรมที่ทำได้

  • แบ่งปันกับเด็กว่าในปี 1837 อัครสาวกบางคนหันมาต่อต้านศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ เหตุใดการทำตามศาสดาพยากรณ์จึงสำคัญ? (ดู ข้อ 15) ช่วยเด็กเขียนสิ่งที่พระเจ้ารับสั่งให้โธมัส บี. มาร์ชประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองทำ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:12–15) ใช้สิ่งที่เขียนไว้สนทนาว่าเราจะเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเยซูคริสต์มากขึ้นได้อย่างไร

  • ถามเด็กว่าพวกเขาคิดว่าการอ้างว่ารู้จักพระเยซูคริสต์แต่ไม่รู้จักพระองค์จริงๆ หมายความว่าอย่างไร (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 112:26) ข้อ 14 สอนอะไรที่เราสามารถทำได้เพื่อรู้จักพระองค์ดีขึ้น? ช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของการ “ยกกางเขน [ของเรา]” (งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 16:25–26 [ในคู่มือพระคัมภีร์] หรือ “เลี้ยงดูแกะ [ของพระองค์]”

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชิญเด็กสรุปสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียนวันนี้ ช่วยพวกเขาจดบันทึกหรือวาดรูปที่จะเตือนให้พวกเขานึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อจะแบ่งปันกับครอบครัวได้

ปรับปรุงการสอนของเรา

เด็กสนใจใคร่รู้และเรียนรู้ในหลายๆ ด้าน เด็กชอบเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ใหม่หลายๆ แบบ ใช้กิจกรรมที่ช่วยให้พวกเขาได้เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด สำรวจ และลองสิ่งใหม่ๆ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25–26)