หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
28 มิถุนายน–4 กรกฎาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75: “ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกรานเจ้าจะจำเริญได้”


“28 มิถุนายน–4 กรกฎาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75: ‘ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกรานเจ้าจะจำเริญได้’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“28 มิถุนายน–4 กรกฎาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2021

ภาพ
พระเยซูกับแกะ

ของรักจากใจพระผู้เลี้ยงแกะ โดย ไซมอน ดิวอีย์

28 มิถุนายน–4 กรกฎาคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75

“ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกรานเจ้าจะจำเริญได้”

เด็กที่ท่านสอนเรียนรู้ได้มากในชั้นเรียน แต่พวกเขาจะเรียนรู้มากยิ่งขึ้นถ้าพัฒนานิสัยของการศึกษาพระคัมภีร์ที่บ้าน พิจารณาว่าท่านจะกระตุ้นและสนับสนุนการเรียนพระกิตติคุณในบ้านได้อย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้เด็กนั่งเป็นวงกลมบนพื้น และกลิ้งลูกบอลให้เด็กคนหนึ่ง ขอให้เด็กคนนั้นแบ่งปันบางอย่างที่เขาเพิ่งเรียนรู้เกี่ยวกับพระกิตติคุณที่บ้านหรือในปฐมวัย จากนั้นให้เด็กคนดังกล่าวกลิ้งลูกบอลให้คนอื่น ทำซ้ำจนกว่าเด็กทุกคนมีโอกาสแบ่งปัน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 72:2, 10

พระเจ้าทรงเรียกอธิการมาช่วยฉัน

เด็กเล็กอาจรู้ไม่มากว่าอธิการทำอะไรเพื่อรับใช้พวกเขาและสมาชิกคนอื่นๆ ในวอร์ด ท่านสามารถช่วยให้พวกเขาชื่นชมการรับใช้ของอธิการ

กิจกรรมที่ทำได้

  • นำของต่างๆ แทนหน้าที่รับผิดชอบของอธิการมาชั้นเรียน เช่น ใบบริจาคส่วนสิบ พระคัมภีร์ หรือภาพอธิการกำลังให้คำปรึกษา (ดูภาพท้าย โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 72:2 และอธิบายว่าพระเจ้าทรงเรียกอธิการมาช่วยเรา ใช้ของที่ท่านนำมาช่วยให้เด็กเข้าใจบางสิ่งบางอย่างที่อธิการทำเพื่อรับใช้วอร์ด

  • พาเด็กเดินไปห้องทำงานของอธิการ (ท่านอาจต้องประสานงานกับครูคนอื่นๆ) อธิบายสถานการณ์บางอย่างที่พวกเขาจะพบกับอธิการในห้องทำงานของท่าน (เช่นการสัมภาษณ์บัพติศมาหรือการสัมภาษณ์สรุปส่วนสิบ) บอกเด็กว่าท่านได้รับพรจากการรับใช้ของอธิการอย่างไร

  • ช่วยเด็กๆ ทำการ์ดมอบให้อธิการเพื่อขอบคุณสำหรับสิ่งที่ท่านทำเพื่อช่วยงานของพระเจ้า

หลักคำสอนและพันธสัญญา 75:3

ฉันจะพยายามสุดความสามารถเพื่อพระเจ้า

แม้จะอายุยังน้อย แต่เด็กจะพบปีติในการรักษาพระบัญญัติของพระเจ้าสุดความสามารถ

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชิญเด็กแต่ละคนผลัดกันทำท่าสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อรับใช้ เช่น ทำความสะอาดห้องหนึ่งในโบสถ์หรือล้างจานที่บ้าน อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 75:3 และขอให้เด็กแสดงท่าทำงานอย่างเกียจคร้านเมื่อท่านพูดว่า “ทั้งไม่เกียจคร้าน” และแสดงท่าทำงานหนักเมื่อท่านพูดว่า “แต่ทำงานด้วยสุดกำลังของเจ้า” เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะทำสุดความสามารถเมื่อรับใช้พระเจ้า?

  • เล่าเรื่องของประธาน ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟเกี่ยวกับการทำงานจาก “หลักธรรมสองข้อสำหรับเศรษฐกิจ” ให้เด็กฟัง ( เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 55–58) เรารู้สึกอย่างไรเมื่อรู้ว่าเราได้ทำสุดความสามารถแล้ว?

  • ร้องเพลงหนึ่งเพลงด้วยกันเกี่ยวกับการทำงาน เช่น “เมื่อเราช่วยเหลือ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 108) ช่วยเด็กคิดท่าประกอบเนื้อร้อง

    ภาพ
    ถังอาหารและถุงอาหาร

    บางครั้งสมาชิกศาสนจักรสมัยแรกมอบอาหารให้ศาสนจักรช่วยเหลือคนอื่นๆ

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

หลักคำสอนและพันธสัญญา 71

ฉันสามารถปกป้องความจริงโดยแบ่งปันประจักษ์พยานของฉัน

พระเจ้าไม่ทรงคาดหวังให้เด็กตอบโต้คนวิพากษ์วิจารณ์ศาสนจักรเช่นที่พระองค์ทรงขอให้โจเซฟ สมิธกับซิดนีย์ ริกดันทำ แต่ท่านสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจว่าประจักษ์พยานอันเรียบง่ายของพวกเขาเกี่ยวกับความจริงจะมีผลอย่างมากต่อผู้อื่น

กิจกรรมที่ทำได้

หลักคำสอนและพันธสัญญา 72:8

พระเจ้าทรงเรียกอธิการมาช่วยทำงานของพระองค์

อธิการสามารถมีอิทธิพลเชิงบวกในชีวิตคนที่อายุยังน้อย ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้เด็กเห็นว่าอธิการเป็นตัวแทนของพระเจ้าพระเยซูคริสต์?

กิจกรรมที่ทำได้

  • อธิบายว่าในปี 1831 พระเจ้าทรงเรียกเอดเวิร์ด พาร์ทริจอธิการของศาสนจักรให้ย้ายจากเคิร์ทแลนด์ โอไฮโอไปเป็นอธิการในอินดิเพนเดนซ์ มิสซูรี (ดู “บทที่ 17: อธิการคนแรกของศาสนจักรเรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา, 64–66) อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 72:8 กับเด็กๆ และขอให้พวกเขาฟังว่าพระเจ้าทรงเรียกใครให้รับใช้เป็นอธิการคนใหม่ในเคิร์ทแลนด์ เหตุใดพระเจ้าทรงเรียกอธิการ? เล่าประสบการณ์เมื่อท่านได้รับพรจากการรับใช้ของอธิการให้เด็กฟัง

  • เชื้อเชิญให้เด็กเขียนบางสิ่งที่พวกเขาเคยเห็นอธิการทำเพื่อช่วยคนในวอร์ด ขอให้พวกเขาวาดภาพอธิการทำสิ่งที่พวกเขากล่าวถึง แสดงประจักษ์พยานของท่านว่าอธิการของท่านได้รับเรียกจากพระเจ้าให้เป็นผู้รับใช้ของพระองค์ เหตุใดเราจึงสำนึกคุณที่พระเจ้าทรงเรียกอธิการในวอร์ดของเรา?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 73:3

พระเจ้าทรงบัญชาโจเซฟ สมิธให้ฟื้นฟูความจริงอันล้ำค่าที่สูญหายไปจากพระคัมภีร์ไบเบิล

การเรียกส่วนหนึ่งของโจเซฟ สมิธในฐานะศาสดาพยากรณ์คือพระเจ้าทรงบัญชาท่านให้แก้ไขพระคัมภีร์ไบเบิลด้วยการดลใจ การแก้ไขเหล่านี้ซึ่งพระเจ้าทรงเรียกว่าการ “แปล” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 90:13) ได้ฟื้นฟูความจริงสำคัญๆ ที่สูญหายไปหรือถูกเอาออกจากพระคัมภีร์ไบเบิลตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา

กิจกรรมที่ทำได้

  • อธิบายว่าเมื่อโจเซฟ สมิธและซิดนีย์ ริกดันกลับจากงานเผยแผ่ระยะสั้นใกล้ เคิร์ทแลนด์ โอไฮโอ พระเจ้าทรงต้องการให้พวกท่านกลับมาทำโครงการสำคัญอย่างหนึ่ง เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 73:3 เพื่อหาว่าโครงการนั้นคืออะไร เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่พระเจ้าทรงต้องการให้โจเซฟกับซิดนีย์แปล ให้อ่านข้อมูล “งานแปลของโจเซฟ สมิธ (ปจส.)” ในคู่มือพระคัมภีร์

  • ส่งพระคัมภีร์ไบเบิลเวียนไปรอบๆ และให้เด็กเปิดดูว่าในนั้นมีกี่หน้า เชื้อเชิญให้พวกเขาจิตนาการว่าพระเจ้าทรงขอให้พวกเขาแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นอีกภาษาหนึ่ง โอกาสที่พวกเขาจะทำผิดพลาดมีอะไรบ้าง? อธิบายว่าเมื่อคนแปลหรือคัดลอกพระคัมภีร์ไบเบิลก่อนสมัยของโจเซฟ สมิธ พวกเขาทำผิดพลาดบางอย่าง และบางครั้งก็เอาความจริงสำคัญๆ ออกไป พระเจ้าทรงบัญชาศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธให้ทำการแก้ไขด้วยการดลใจ เหตุใดงานของโจเซฟ สมิธจึงมีค่าต่อเรา?

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กเลือกบางอย่างที่พวกเขาจะทำเพราะสิ่งที่เรียนรู้วันนี้ เช่น ขอบคุณอธิการสำหรับการรับใช้ของท่านหรือเตรียมปกป้องความเชื่อของพวกเขาโดยเรียนรู้หลักแห่งความเชื่อ

ปรับปรุงการสอนของเรา

ให้ใช้ประสาทสัมผัส “เด็กๆ ส่วนใหญ่ (และผู้ใหญ่ด้วย) เรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อมีการใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่าง หาวิธีช่วยให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสแห่งการมองเห็น ได้ยิน และจับต้องเมื่อพวกเขาเรียนรู้” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25)