หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
21–27 มิถุนายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 67–70: “สูงค่าเกินกว่าความมั่งคั่งของทั้งแผ่นดินโลก”


“21–27 มิถุนายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 67–70: ‘สูงค่าเกินกว่าความมั่งคั่งของทั้งแผ่นดินโลก’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“21–27 มิถุนายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 67–70” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2021

ภาพ
revelation manuscript book in display case

21–27 มิถุนายน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 67–70

“สูงค่าเกินกว่าความมั่งคั่งของทั้งแผ่นดินโลก”

ก่อนอ่านข้อเสนอแนะในโครงร่างนี้ ให้ศึกษา หลักคำสอนและพันธสัญญา 67–70 และบันทึกความประทับใจทางวิญญาณที่ท่านได้รับ ความประทับใจเหล่านี้จะช่วยท่านสร้างแผนการสอนที่ได้รับการดลใจ จากนั้นให้เสริมแผนดังกล่าวด้วยแนวคิดจากโครงร่างนี้ จาก จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว หรือจากนิตยสารศาสนจักร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้เด็กวาดภาพบางสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากการศึกษาพระคัมภีร์ที่บ้านหรือในปฐมวัย ถ้าพวกเขาคิดไม่ออกว่าจะวาดอะไร ท่านจะให้พวกเขานึกถึงบางหัวข้อใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 67–70 เช่น บัพติศมา การได้รับประจักษ์พยานในพระคัมภีร์ หรือบิดามารดาสอนพระกิตติคุณให้กับบุตร

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 67

พระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญาประกอบด้วยการเปิดเผยจากพระผู้เป็นเจ้า

ในเดือนพฤศจิกายน 1831 ผู้นำศาสนจักรตัดสินใจบรรจุการเปิดเผยของโจเซฟ สมิธไว้ในหนังสือให้ทุกคนอ่าน ปัจจุบันการเปิดเผยเหล่านั้นพิมพ์อยู่ในพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญา

กิจกรรมที่ทำได้

  • เล่าให้เด็กฟังว่าการเปิดเผยของโจเซฟ สมิธพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือได้อย่างไร (ดู “บทที่ 23: หลักคำสอนและพันธสัญญาเรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา, 90–92 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้บน ChurchofJesusChrist.org) แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านว่าพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญาประกอบด้วยการเปิดเผยที่สามารถช่วยเราในปัจจุบัน แบ่งปันข้อโปรดข้อหนึ่งของท่านจากพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญา

  • ให้เด็กดูงานมาตรฐานทีละเล่ม และขณะที่ท่านชูแต่ละเล่มให้แบ่งปันสักเล็กน้อยว่าเราได้มาอย่างไร (ดูข้อมูลของหนังสือแต่ละเล่มใน คู่มือพระคัมภีร์) เมื่อท่านชูพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญา ให้แบ่งปันกับเด็กว่าอะไรทำให้พระคัมภีร์เล่มนี้ไม่เหมือนเล่มอื่น (ตัวอย่างเช่น ประกอบด้วยการเปิดเผยที่ประทานให้ในสมัยของเรา)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 68:25–28

ฉันสามารถรับบัพติศมาเมื่ออายุแปดขวบ

ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 68:25–28 พระเจ้ารับสั่งกับโจเซฟ สมิธว่าเด็กควรเรียนรู้ที่จะมีศรัทธาในพระเยซูคริสต์ กลับใจ และรับบัพติศมาเมื่อพวกเขาอายุแปดขวบ พระองค์ตรัสเช่นกันว่าเด็กควรเรียนรู้ที่จะสวดอ้อนวอนและรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กนับนิ้วถึงแปด อะไรพิเศษเกี่ยวกับอายุแปดขวบ? ช่วยให้เด็กรับรู้ว่าเมื่อพวกเขาอายุแปดขวบ พวกเขาสามารถรับบัพติศมาได้ ใช้คำและวลีที่พบใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 68:25–28 แบ่งปันบางอย่างที่พระเจ้าทรงต้องการให้พวกเขาเรียนรู้ก่อนอายุแปดขวบ (ดู หลักแห่งความเชื่อ 1:4 ด้วย) ช่วยให้พวกเขาเข้าใจแนวคิดที่อาจจะไม่คุ้นเคย

  • ร้องเพลงหนึ่งเพลงด้วยกันเกี่ยวกับบัพติศมา เช่น”บัพติศมา” หรือ “เมื่อฉันรับบัพติศมา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 54, 53) ขอให้เด็กแบ่งปันว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรกับการรับบัพติศมาและพวกเขาจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเตรียม

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

หลักคำสอนและพันธสัญญา 67:4, 9

การเปิดเผยที่ประทานผ่านโจเซฟ สมิธเป็นความจริง

คำสอนส่วนใหญ่ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 67–70 เกี่ยวข้องกับวิสุทธิชนพยายามจัดพิมพ์การเปิดเผยของโจเซฟ สมิธ นี่จะเป็นโอกาสช่วยให้เด็กรับรู้ว่าเราสามารถพบสุรเสียงของพระเจ้าในการเปิดเผยเหล่านี้ซึ่งเวลานี้จัดพิมพ์อยู่ในพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญา

ขณะท่านเตรียมสอน ท่านอาจจะทบทวน วิสุทธิชน, 1:140–143 หรือ “บทที่ 23: หลักคำสอนและพันธสัญญา” (เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา, 90–92)

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูพระคัมภีร์ไบเบิล พระคัมภีร์มอรมอน หลักคำสอนและพันธสัญญา และไข่มุกอันล้ำค่า ช่วยเด็กเขียนสิ่งที่ทำให้พระคัมภีร์แต่ละเล่มต่างกันและสิ่งที่ทำให้คล้ายกันไว้บนกระดาน ถ้าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ให้แบ่งปันคำอธิบายเกี่ยวกับหนังสือเหล่านี้ใน คู่มือพระคัมภีร์ ถามเด็กว่าพวกเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าพระคัมภีร์เป็นความจริง เราเรียนรู้อะไรจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 67:4, 9 เกี่ยวกับการเปิดเผยที่พระเจ้าประทานแก่โจเซฟ สมิธ?

  • แบ่งปันข้อหนึ่งจากพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญาที่เสริมสร้าง “ประจักษ์พยาน [ของท่าน] ถึงความจริงของพระบัญญัติเหล่านี้” (ข้อ 4 เปิดโอกาสให้เด็กแบ่งปันข้อโปรดของพวกเขา อธิบายให้เด็กฟังว่าผู้นำศาสนจักรสมัยนี้ตัดสินใจจัดพิมพ์ประจักษ์พยานของพวกท่านเกี่ยวกับการเปิดเผยที่โจเซฟ สมิธได้รับ เมื่อจัดพิมพ์แล้ว ลีไว แฮนค็อคหนึ่งในผู้นำเหล่านั้นเขียนต่อจากชื่อของเขาว่า “อย่าลบเป็นอันขาด” (ดู “Testimony, circa 2 November 1831,” Revelation Book 1, 121, josephsmithpapers.org) เหตุใดลีไว แฮนค็อคจึงไม่ต้องการให้ “ลบ” ชื่อของเขาออกจากประจักษ์พยานที่จัดพิมพ์ไว้? เปิดโอกาสให้เด็กเขียนประจักษ์พยานของตนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในหลักคำสอนและพันธสัญญามาจนถึงตอนนี้

    ภาพ
    เด็กกำลังอ่าน

    พระผู้เป็นเจ้าทรงขอให้เราศึกษาพระคัมภีร์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 68:3–4

เมื่อผู้นำศาสนจักรของเราพูดโดยการเปิดเผย พวกท่านพูด “พระคำของพระเจ้า”

เมื่อผู้รับใช้ของพระเจ้าพูดโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ คำพูดของพวกท่านเป็นพระประสงค์ พระดำริ พระคำ และสุรเสียงของพระเจ้า (ดู ข้อ 4) การรู้ความจริงนี้จะช่วยให้เด็กอยากฟังและทำตามคำสอนของพวกท่าน

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 68:3–4 เป็นกลุ่มเล็กๆ และแบ่งปันสิ่งพวกเขาเรียนรู้จากข้อเหล่านี้ให้กัน เชื้อเชิญให้เด็กเขียนบางสิ่งที่เรียนรู้ไว้บนกระดาน เหตุใดจึงต้องรู้ความจริงที่สำคัญนี้?

  • หลังจากอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 68:3–4 ด้วยกันแล้ว ท่านจะแจกสำเนาข่าวสารล่าสุดหลายๆ ตอนจากการประชุมใหญ่สามัญ เชื้อเชิญให้พวกเขาหาความจริงที่พระเจ้าทรงสอนเราผ่านผู้รับใช้ของพระองค์ในข่าวสารเหล่านั้น

หลักคำสอนและพันธสัญญา 69:1–2

ฉันสามารถ “แน่วแน่และซื่อสัตย์”

เมื่อออลิเวอร์ คาวเดอรีต้องเดินทางไปมิสซูรี พระเจ้าทรงเรียกจอห์น วิตเมอร์คนที่ “แน่วแน่และซื่อสัตย์” (ข้อ 1) ให้ไปกับเขา เด็กจะแน่วแน่และซื่อสัตย์เหมือนจอห์น วิตเมอร์ได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • บอกเด็กว่าเมื่อพระเจ้าทรงส่งออลิเวอร์ คาวเดอรีไปมิสซูรี พระองค์ตรัสว่าคน “แน่วแน่และซื่อสัตย์” (ข้อ 1) จะไปกับเขา ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงส่งจอห์น วิตเมอร์ไป แน่วแน่และซื่อสัตย์หมายความว่าอย่างไร? เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราแน่วแน่และซื่อสัตย์ทั้งนี้เพื่อพระเจ้าจะทรงสามารถใช้เราเป็นพรแก่ผู้อื่นได้?

  • เชิญเด็กสองสามคนเล่าเกี่ยวกับคนที่พวกเขารู้จักและคิดว่าคนนั้น “แน่วแน่และซื่อสัตย์” พวกเขารู้ได้อย่างไรว่าคนนั้นแน่วแน่และซื่อสัตย์? ช่วยให้พวกเขาเห็นว่าพระเจ้าทรงวางใจจอห์น วิตเมอร์เพราะตอนนั้นเขาแน่วแน่และซื่อสัตย์ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 69:1–2) ร้องเพลงหนึ่งเพลงด้วยกันที่กระตุ้นให้เด็กแน่วแน่และซื่อสัตย์เหมือนพระผู้ช่วยให้รอด เช่น “ฉันพากเพียรเป็นเหมือนเยซู” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 40–41)

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กอธิบายให้คนที่บ้านฟังว่าพระคัมภีร์หลักคำสอนและพันธสัญญาคืออะไร มาจากไหน และเหตุใดจึงสำคัญต่อพวกเขา

ปรับปรุงการสอนของเรา

ปรับกิจกรรมตามอายุของเด็กที่ท่านสอน เด็กเล็กอาจต้องการคำแนะนำมากขึ้นเมื่อเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปัน เด็กโตมีประสบการณ์มากกว่าและอาจแบ่งปันความคิดได้ดีกว่า คิดถึงความแตกต่างนี้ขณะท่านวางแผนกิจกรรม