พันธสัญญาเดิม 2022
18–24 กรกฎาคม เอสรา 1; 3–7; เนหะมีย์ 2; 4–6; 8: “ข้าพเจ้ากำลังทำงานใหญ่”


“18–24 กรกฎาคม เอสรา 1; 3–7; เนหะมีย์ 2; 4–6; 8: ‘ข้าพเจ้ากำลังทำงานใหญ่’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“18–24 กรกฎาคม เอสรา 1; 3–7; เนหะมีย์ 2; 4–6; 8” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
พระวิหารของเศรุบบาเบล

ภาพประกอบของพระวิหารเศรุบบาเบล โดย แซม ลอว์เลอร์

18–24 กรกฎาคม

เอสรา 1; 3–7; เนหะมีย์ 2; 4–6; 8

“ข้าพเจ้ากำลังทำงานใหญ่”

เมื่อท่านเชิญสมาชิกในชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาประทับใจในหนังสือเอสราและเนหะมีย์ ให้แบ่งปันความประทับใจที่ท่านได้รับขณะศึกษาด้วย

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

บางครั้งการเขียนคำหรือวลีสำคัญๆ ไว้บนกระดานสามารถเตือนสมาชิกชั้นเรียนให้นึกถึงสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากพระคัมภีร์และทำให้พวกเขาแบ่งปันได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ท่านอาจเขียน สร้างใหม่ ซ่อมใหม่ และ สถาปนาใหม่ ไว้บนกระดานและเชิญสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข้อพระคัมภีร์จากการอ่านของพวกเขาที่เกี่ยวข้องกับคำใดคำหนึ่งเหล่านี้หรือมากกว่านั้น

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เอสรา 3:8–13; 6:16–22

พระวิหารสามารถนำปีติมาสู่เรา

  • การอ่านเกี่ยวกับปีติที่ชาวยิวรู้สึกขณะสร้างพระวิหารของพวกเขาขึ้นใหม่อาจช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนรู้สึกเห็นคุณค่าของพระวิหารในสมัยของเรามากขึ้น ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนทบทวน เอสรา 3:8–13 และ 6:16–22 แล้วสนทนาวิธีที่ชาวยิวฉลองการสร้างพระวิหารขึ้นมาใหม่และการอุทิศพระวิหาร เหตุใดการสร้างพระวิหารจึงเป็นเหตุให้ต้องฉลอง? ท่านอาจเชิญสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันว่าพระวิหารและงานที่เราทำในนั้นนำปีติมาสู่พวกเขาอย่างไร ข้อความใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” สามารถกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนประสบปีติของงานพระวิหาร

    ภาพ
    ครอบครัวเดินบนสนามรอบพระวิหาร

    พระวิหารเป็นแหล่งของปีติในชีวิตเรา

เอสรา 4–5; เนหะมีย์ 2; 4; 6

เราสามารถช่วยให้งานของพระผู้เป็นเจ้าก้าวหน้าแม้มีการต่อต้าน

  • หนังสือเอสราและเนหะมีย์พูดถึงคนที่ทำงานสำคัญสำเร็จแม้มีการต่อต้านจากศัตรู เพื่อเริ่มการสนทนาท่านอาจจะถามสมาชิกชั้นเรียนว่า “งานใหญ่” (เนหะมีย์ 6:3) ของเนหะมีย์เปรียบได้กับอะไรในชีวิตเรา พระผู้เป็นเจ้าประทานงานสำคัญอะไรให้เราทำ? จากนั้นท่านอาจจะอ่าน เอสรา 4:4 และสนทนาว่าซาตานพยายามทำให้มือเราอ่อนแรงและทำให้เราทุกข์ใจในการทำงานของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร เราเรียนรู้อะไรจากเนหะมีย์และคนที่ทำงานกับเขาใน เนหะมีย์ 2:18–20; 4:6–9; และ 6:1–3? การมี “ใจที่จะทำงาน” ในการรับใช้พระผู้ช่วยให้รอดหมายความว่าอย่างไร? (เนหะมีย์ 4:6) ท่านอาจแบ่งปันข่าวสารส่วนหนึ่งของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟเรื่อง “ข้าพเจ้ากำลังทำงานใหญ่ ลงมาไม่ได้” (เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 73–77) โดยเฉพาะสองหัวข้อสุดท้าย

  • ท่านอาจรู้สึกได้รับการดลใจให้นำการสนทนาโดยเปรียบเทียบความพยายามของเศรุบบาเบลเพื่อสร้างพระวิหารขึ้นมาใหม่กับความพยายามของเราเพื่อเข้าพระวิหารและทำงานแห่งความรอดในนั้น ตัวอย่างเช่น ท่านอาจเขียนหัวข้อสองหัวข้อไว้บนกระดาน: เศรุบบาเบล และ เรา ใต้ เศรุบบาเบล สมาชิกชั้นเรียนอาจจะเขียนสิ่งที่ “ศัตรูของยูดาห์และเบนยามิน” (เอสรา 4:1) ทำเพื่อพยายามหยุดยั้งเศรุบบาเบลกับชาวยิวไม่ให้สร้างพระวิหารขึ้นมาใหม่ (ดู เอสรา 4) ใต้ เรา สมาชิกชั้นเรียนอาจจะเขียนวิธีที่ศัตรูพยายามหยุดยั้งเราไม่ให้เข้าพระวิหาร จากนั้นพวกเขาอาจแบ่งปันคำแนะนำให้กันว่าเราจะแสวงหาความช่วยเหลือจากพระเจ้าในการเอาชนะการต่อต้านนั้นได้อย่างไร

เนหะมีย์ 8:1–12

เราได้รับพรเมื่อเราศึกษาพระคัมภีร์

  • สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่าน เนหะมีย์ 8:1–12 ด้วยกันและสนทนาว่าเอสรากับผู้คนของเขารู้สึกอย่างไรกับพระผู้เป็นเจ้าและพระวจนะของพระองค์ กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนอ้างข้อพระคัมภีร์ที่แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านั้นรู้สึกอย่างไร เชื้อเชิญให้พวกเขาบอกว่ารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า เราจะปรับปรุงความพยายามของเราในการศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร?

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ประสบปีติของพระวิหาร

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า

“เราสามารถรับการดลใจตลอดวันเกี่ยวกับประสบการณ์พระวิหารและประวัติครอบครัวที่คนอื่นเคยได้รับ แต่เราต้องทำบางอย่างเพื่อประสบปีติด้วยตัวเราเอง ผมต้องการท้าทายเราแต่ละคนเพื่อให้ความรู้สึกวิเศษสุดของงานนี้มีอยู่ต่อเนื่องและเพิ่มขึ้น ผมเชื้อเชิญให้ท่านพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าท่านจะเสียสละแบบใด—โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสละเวลา—เพื่อทำงานประวัติครอบครัวและงานพระวิหารมากขึ้นในปีนี้

“เราร่วมงานของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ พระองค์ทรงพระชนม์ พระเยซูคือพระคริสต์ นี่คือศาสนจักรของพระองค์ เราเป็นบุตรธิดาในพันธสัญญาของพระองค์ พระองค์ทรงพึ่งเราได้” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันกับเวนดี ดับเบิลยู. เนลสัน, “เปิดฟ้าสวรรค์ผ่านงานพระวิหารและประวัติครอบครัว,” เลียโฮนา, ต.ค. 2017, 19)

ปรับปรุงการสอนของเรา

รวมบิดามารดาของเยาวชนด้วย ถ้าท่านสอนเยาวชน ให้แบ่งปันสิ่งที่ท่านสอนกับบิดามารดาของพวกเขา บิดามารดาสามารถช่วยให้ท่านเข้าใจความต้องการของเยาวชนและวิธีช่วยเยาวชน นี่เป็นวิธีที่ดีที่จะกระตุ้นให้ครอบครัวสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่เยาวชนกำลังเรียนรู้ในชั้นเรียนเช่นกัน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 27)