พันธสัญญาเดิม 2022
11–17 กรกฎาคม 2 พงศ์กษัตริย์ 17–25: “พระองค์วางพระทัยในพระยาห์เวห์พระเจ้าแห่งอิสราเอล”


“11–17 กรกฎาคม 2 พงศ์กษัตริย์ 17–25: ‘พระองค์วางพระทัยในพระยาห์เวห์พระเจ้าแห่งอิสราเอล’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“11–17 กรกฎาคม 2 พงศ์กษัตริย์ 17–25” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
ผู้คนออกจากเมืองที่ถูกทำลาย

การหนีของนักโทษ โดย เจมส์ ทิสสอท และคนอื่นๆ

11–17 กรกฎาคม

2 พงศ์กษัตริย์ 17–25

“พระองค์วางพระทัยในพระยาห์เวห์พระเจ้าแห่งอิสราเอล”

ทบทวนความประทับใจที่ท่านบันทึกไว้ระหว่างศึกษา 2 พงศ์กษัตริย์ 17–25 เป็นส่วนตัวสัปดาห์นี้ ท่านรู้สึกว่าข้อความใดจากบทเหล่านี้จะมีความหมายต่อสมาชิกในชั้นเรียนของท่านมากที่สุด?

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เมื่อสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ที่บ้านในการศึกษาพระคัมภีร์ของตน สมาชิกชั้นเรียนคนอื่นๆ อาจรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจให้ศึกษาพระคัมภีร์ตลอดสัปดาห์ ท่านอาจเริ่มชั้นเรียนโดยเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนตอบคำถามทำนองนี้ “พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสอนอะไรท่านขณะท่านอ่านบทที่มอบหมายให้อ่านสัปดาห์นี้?”

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

2 พงศ์กษัตริย์ 18:28–36; 19:1–7, 14–19

เราจะยังคงซื่อตรงต่อพระเจ้าได้เมื่อศรัทธาของเราถูกท้าทาย

  • ความจริงใน 2 พงศ์กษัตริย์ 18–19 สามารถช่วยให้เรารู้วิธีตอบสนองเมื่อศรัทธาของเราถูกท้าทาย ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนค้นพบความจริงเหล่านี้อย่างไร? ท่านอาจเชิญพวกเขาแบ่งปันเหตุผลหลายๆ ข้อว่าทำไมพวกเขาเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าและแผนของพระองค์ จากนั้นพวกเขาอาจค้นคว้า 2 พงศ์กษัตริย์ 18:28–35 โดยมองหาเหตุผลที่ชาวอัสซีเรียบอกผู้คนในเยรูซาเล็มไม่ให้วางใจพระเจ้า ซาตานพยายามชักชวนให้เราสงสัยศรัทธาของเราในทุกวันนี้อย่างไร? จากนั้นพวกเขาอาจค้นคว้า 2 พงศ์กษัตริย์ 19:1–7, 14–19 หาสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้จากเฮเซคียาห์เกี่ยวกับวิธีตอบสนองเมื่อศรัทธาของเราถูกท้าทาย พระเจ้าทรงช่วยให้เราเอาชนะสิ่งที่ท้าทายศรัทธาของเราอย่างไร? สมาชิกชั้นเรียนมีข้อเสนอแนะอะไรบ้างสำหรับการสร้างศรัทธาและความวางใจในพระเจ้าของพวกเขาขึ้นมาใหม่?

  • ท่านอาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งเตรียมมาสรุปการสนทนาที่ชาวอัสซีเรียมีกับข้าราชการของเฮเซคียาห์ใกล้กำแพงเมืองเยรูซาเล็ม (ดู 2 พงศ์กษัตริย์ 18:17–36 ก่อนสมาชิกชั้นเรียนเล่าเรื่อง ให้สมมติว่าพวกเขาเป็นชาวเมืองเยรูซาเล็มที่กำลังฟังการสนทนานี้ พวกเขาอาจจะมีความคิดหรือความรู้สึกอะไรบ้าง? พวกเขาอาจทำอะไร? ท่านอาจแจกข่าวสารหลายๆ ตอนของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์เรื่อง “ฉะนั้นพวกเขาจึงข่มความกลัว” (เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 46–49) แก่สมาชิกชั้นเรียนและให้พวกเขามองหาคำแนะนำที่ค้ำจุนพวกเขาในเวลาที่พวกเขากลัวหรือสงสัย ศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์เคยค้ำจุนเราในช่วงเวลาท้าทายอย่างไร?

2 พงศ์กษัตริย์ 22:8–2023

พระคัมภีร์สามารถหันใจเราไปหาพระเจ้า

  • การสนทนาเรื่องพลังอำนาจแห่งพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตกษัตริย์โยสิยาห์และผู้คนของเขาสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนแสวงหาพลังอำนาจเดียวกันนั้นในชีวิตพวกเขาเอง ท่านอาจเริ่มการสนทนาโดยเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนนึกภาพว่าชีวิตพวกเขาจะต่างจากนี้อย่างไรถ้าพวกเขาไม่มีพระคัมภีร์ จากนั้นพวกเขาอาจค้นคว้า 2 พงศ์กษัตริย์ 22:8–11; 23:1–6, 21, 24 เพื่อหาให้พบว่าโยสิยาห์กับผู้คนของเขาเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อได้ยินพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าจากพระคัมภีร์ที่ค้นพบในพระวิหารเมื่อเร็วๆ นี้ พระคัมภีร์เคยช่วยให้เราเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร?

  • การเปลี่ยนแปลงฉับพลันที่พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าทำให้เกิดกับโยสิยาห์และคนมากมายในอาณาจักรของเขาอาจสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านแสวงหาการเปลี่ยนแปลงคล้ายกันในชีวิตพวกเขา หลังจากสนทนาเรื่องการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ (ดู 2 พงศ์กษัตริย์ 23:1–6, 21, 24) สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งข้อพระคัมภีร์หรือเรื่องราวในพระคัมภีร์ทำให้ชีวิตพวกเขาเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น พวกเขาอาจพูดคุยกันว่าเหตุใดพวกเขาจึงเปิดรับข่าวสารของพระคัมภีร์ข้อนั้น ณ เวลานั้นในชีวิตพวกเขา ข้อความใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจเสริมการสนทนาของท่าน

    ภาพ
    ครอบครัวศึกษาพระคัมภีร์

    พระคัมภีร์สามารถช่วยหันใจเราไปหาพระเจ้า

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ค้นพบพระคัมภีร์อีกครั้ง

ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ชั่วระยะเวลาหนึ่งในชีวิตเรา เราแต่ละคนต้องค้นพบพระคัมภีร์ด้วยตัวเราเอง—และไม่เพียงค้นพบครั้งเดียวเท่านั้น แต่ค้นพบครั้งแล้วครั้งเล่า …

“ข้าพเจ้ารู้สึกอย่างแรงกล้าว่าเราทุกคนต้องหันไปหาพระคัมภีร์เช่นเดียวกับกษัตริย์โยสิยาห์และให้พระคัมภีร์ทำงานมากๆ ในตัวเรา โดยผลักดันเราให้มีปณิธานแน่วแน่ว่าจะรับใช้พระเจ้า …

“ข้าพเจ้าพบว่าเมื่อข้าพเจ้ามีความสัมพันธ์เพียงผิวเผินกับพระผู้เป็นเจ้าและเมื่อดูเหมือนว่าไม่มีพระกรรณคอยสดับฟังและไม่มีสุรเสียงรับสั่ง ข้าพเจ้ากำลังห่างไกลออกไปทุกที ถ้าข้าพเจ้าใฝ่ใจศึกษาพระคัมภีร์ระยะทางจะแคบเข้าและความเข้มแข็งทางวิญญาณจะกลับคืนมา ข้าพเจ้าพบว่าตนเองกำลังรักคนที่พึงรักจริงจังมากขึ้นด้วยสุดใจ ความคิด และกำลังของข้าพเจ้า และรักพวกเขามากขึ้น ข้าพเจ้าพบว่าข้าพเจ้าทำตามคำแนะนำของคนเหล่านั้นง่ายขึ้น” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ [2006], 68–69, 73)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ใช้สิ่งช่วยศึกษาพระคัมภีร์ วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจพระคัมภีร์คือชี้ให้พวกเขาเห็นแหล่งข้อมูลเช่น คู่มือพระคัมภีร์ และบทความ Gospel Topics (ChurchofJesusChrist.org) พวกเขาสามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในหัวข้อ “ข้อคิดควรคำนึง” ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว ด้วย