พันธสัญญาเดิม 2022
27 มิถุนายน–3 กรกฎาคม 1 พงศ์กษัตริย์ 17–19: “ถ้าพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้า จงติดตามพระองค์”


“27 มิถุนายน–3 กรกฎาคม 1 พงศ์กษัตริย์ 17–19: ‘ถ้าพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้า จงติดตามพระองค์’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“27 มิถุนายน–3 กรกฎาคม 1 พงศ์กษัตริย์ 17–19” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
เอลียาห์ยืนใกล้แท่นบูชาที่ลุกเป็นไฟ

เอลียาห์ประลองกับปุโรหิตของพระบาอัล, โดย เจอร์รีย์ ฮาร์สตัน

27 มิถุนายน–3 กรกฎาคม

1 พงศ์กษัตริย์ 17–19

“ถ้าพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้า จงติดตามพระองค์”

จุดประสงค์ของพระคัมภีร์—และชั้นเรียนของท่าน—คือสร้างศรัทธาในพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ จงให้จุดประสงค์นี้ชี้นำการตัดสินใจว่าท่านจะสอนอะไรและถามคำถามอะไรบ้าง

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข้อคิดเกี่ยวกับ 1 พงศ์กษัตริย์ 17–19 ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้พวกเขาคิดชื่อเรื่องของแต่ละบทเหล่านี้ ข้อใดทำให้พวกเขาคิดชื่อเรื่องเหล่านี้ออก?

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

1 พงศ์กษัตริย์ 17:8–16; 19:19–21

การเชิญชวนให้เสียสละเป็นโอกาสให้ใช้ศรัทธา

  • แบบอย่างของหญิงม่ายชาวเศราฟัทอาจสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านในช่วงเวลาที่ศรัทธาของพวกเขาถูกทดสอบ ท่านอาจจะเริ่มโดยขอให้พวกเขาเขียนการเลือกที่เรียกร้องศรัทธาในพระเยซูคริสต์ออกมาเป็นข้อๆ จากนั้นให้อ่านเรื่องราวใน 1 พงศ์กษัตริย์ 17:8–16 และพูดคุยกันว่าเรื่องนี้สอนอะไรพวกเขาเกี่ยวกับการใช้ศรัทธา กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันความรู้สึกของตนเกี่ยวกับหญิงม่ายชาวเศราฟัทและแบบอย่างของเธอสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาใช้ศรัทธาอย่างไร ศรัทธาของเธอคล้ายกับศรัทธาของเอลีชาใน 1 พงศ์กษัตริย์ 19:19–21 อย่างไร? สมาชิกชั้นเรียนอาจจะยินดีเล่าเรื่องการเสียสละที่พวกเขาทำเพื่อพระเจ้าและวิธีที่พระองค์ประทานพรพวกเขา

  • เรื่องราวของหญิงม่ายชาวเศราฟัทสามารถสอนเราได้เช่นกันเกี่ยวกับพรที่มาจากการเสียสละ ท่านอาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาจะตอบสนองอย่างไรต่อคำพูดทำนองนี้ “ฉันจ่ายส่วนสิบไม่ไหว” หรือ “ฉันยุ่งเกินกว่าจะยอมรับงานมอบหมายให้ปฏิบัติศาสนกิจ” 1 พงศ์กษัตริย์ 17:8–16 สอนอะไรเราที่อาจประยุกต์ใช้ได้กับคำพูดเหล่านี้? ความรู้ของเราเรื่องพระผู้ช่วยให้รอดช่วยเราอย่างไรเมื่อขอให้เราเสียสละ? คำพูดของเอ็ลเดอร์ลินน์ จี. รอบบินส์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจช่วยได้เช่นกัน

1 พงศ์กษัตริย์ 18:17–39

“ถ้าพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้า จงติดตามพระองค์”

  • การสนทนาเกี่ยวกับ 1 พงศ์กษัตริย์ 18:17–39 อาจช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนมุ่งมั่นติดตามพระเยซูคริสต์และวางใจพระองค์มากขึ้น หลังจากทบทวนเรื่องนี้กับชั้นเรียนแล้ว ท่านอาจจะเขียนคำถามที่เอลียาห์ถามผู้คนของอิสราเอลไว้บนกระดาน: ท่านทั้งหลายจะลังเลใจอยู่ระหว่างสองฝ่ายนี้นานเท่าไร?” (ข้อ 21) ให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันว่าพวกเขารู้สึกว่าคำถามนี้หมายความว่าอย่างไร ผู้คนอาจมีเหตุผลอะไรให้ “ลังเลใจ” (ซึ่งหมายถึงสองจิตสองใจ หรือตัดสินใจไม่ได้) ระหว่างการติดตามพระเจ้ากับการติดตามพระบาอัล? เหตุใดบางครั้งเราไม่เด็ดขาดกับการติดตามพระเยซูคริสต์? สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยช่วยให้พวกเขาเลือกติดตามพระผู้ช่วยให้รอด

ภาพ
เอลียาห์ยืนอยู่บนโขดหิน

การพรรณนาเชิงสัญลักษณ์ของ 1 พงศ์กษัตริย์ 19:11–12 ศาสดาพยากรณ์ © Robert Booth Charles/Bridgeman Images

1 พงศ์กษัตริย์ 19:1–12

บ่อยครั้งพระเจ้าตรัสอย่างเรียบง่ายแผ่วเบา

  • คนมากมายรับรู้ได้ยากเมื่อพระเจ้าทรงกำลังสื่อสารกับพวกเขา เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนรับรู้สุรเสียงของพระเจ้าได้ดีขึ้น ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาอ่าน 1 พงศ์กษัตริย์ 19:1–12 และแบ่งปันสิ่งที่เอลียาห์เรียนรู้ สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยสอนพวกเขาเกี่ยวกับวิธีต่างๆ ที่พระเจ้าตรัสกับพวกเขา ท่านอาจต้องการให้ดูวีดิทัศน์เรื่อง “How Can I Feel the Holy Ghost More Often?” (จาก “รายการสนทนากันตรงหน้ากับประธานอายริงก์และเอ็ลเดอร์ฮอลแลนด์” [การถ่ายทอดสำหรับเยาวชนทั่วโลก, 4 มี.ค., 2017], ChurchofJesusChrist.org)

  • เพื่อช่วยกระตุ้นการสนทนาเกี่ยวกับวลี “สุรเสียงสงบแผ่วเบา” ท่านอาจให้ดูสิ่งของ (หรือภาพสิ่งของ) ที่อาจช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองวลีดังกล่าว พวกเขาอาจเสนอตัวอย่างอื่นๆ เหตุใดคำว่า “สงบ” และ “แผ่วเบา” จึงเป็นวิธีอธิบายสุรเสียงของพระวิญญาณได้ดี? เพื่อดูคำอธิบายอื่น สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่านข้อพระคัมภีร์เช่น ฮีลามัน 5:30; 3 นีไฟ 11:3–7; หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:22–23; 8:2–3; 9:8–9; 11:12–14; 36:2 พวกเขาสามารถแบ่งปันพระคัมภีร์ข้ออื่นเกี่ยวกับการรับรู้พระวิญญาณ พระคัมภีร์เหล่านี้บอกอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องทำเพื่อได้ยินสุรเสียงของพระเจ้า? วีดิทัศน์เรื่อง “Feeling the Holy Ghost” หรือ “Voice of the Spirit” อาจเป็นประโยชน์ (ChurchofJesusChrist.org)

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

หญิงม่ายชาวเศราฟัท

เอ็ลเดอร์ลินน์ จี. รอบบินส์กล่าวว่า “เอลียาห์เข้าใจหลักคำสอนที่ว่าพรมา หลัง การทดลองศรัทธาของเรา [ดู อีเธอร์ 12:6; หลักคำสอนและพันธสัญญา 132:5] ท่านไม่ได้เห็นแก่ตัว ในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า เอลียาห์อยู่ที่นั่นเพื่อให้ ไม่ใช่เพื่อรับ [ดู 1 พงศ์กษัตริย์ 17:13–16] … เหตุผลหนึ่งที่พระเจ้าทรงอธิบายหลักคำสอนโดยใช้สภาพยากจนสุดขีดคือเพื่อขจัดข้อแก้ตัว หากพระเจ้าทรงคาดหวังให้หญิงม่ายยากจนที่สุดจ่ายเหรียญทองแดงของเธอ แล้วคนอื่นที่พบว่าไม่ สะดวก หรือไม่ง่ายที่จะเสียสละเล่าพระองค์ทรงคาดหวังอะไร?” (“ส่วนสิบ—พระบัญญัติแม้สำหรับคนยากไร้,” เลียโฮนา, พ.ค. 2005, 45)

ปรับปรุงการสอนของเรา

จงเป็นเครื่องมือที่อ่อนน้อมถ่อมตนของพระวิญญาณ “จุดประสงค์ของท่านในฐานะครูคือไม่ใช่เพื่อทำการนำเสนอที่น่าประทับใจ แต่ช่วยให้ผู้อื่นได้รับอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 10)