จงตามเรามา
30 กันยายน–13 ตุลาคม เอเฟซัส: ‘เพื่อเตรียมธรรมิกชนสำหรับการปรนนิบัติ’


“30 กันยายน–13 ตุลาคม เอเฟซัส: ‘เพื่อเตรียมธรรมิกชนสำหรับการปรนนิบัติ’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“30 กันยายน–13 ตุลาคม เอเฟซัส,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2019

ภาพ
ครอบครัวกำลังดูรูปภาพ

30 กันยายน–13 ตุลาคม

เอเฟซัส

“เพื่อเตรียมธรรมิกชนสำหรับการปรนนิบัติ”

ความคิดและความประทับใจเกี่ยวกับสิ่งที่จะสอนและวิธีที่จะสอนจะมาสู่ท่านเมื่อท่านศึกษาเอเฟซัส คำปราศรัยการประชุมใหญ่สามัญ โครงร่างนี้และ จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว ร่วมกับการสวดอ้อนวอน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนสรุปสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในการศึกษาของพวกเขาสัปดาห์นี้หนึ่งประโยค จากนั้นติดข้อสรุปของพวกเขาไว้บนกระดาน สุ่มเลือกข้อสรุปมาสองสามข้อ เชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนที่เขียนข้อสรุปนั้นมาแบ่งปันความคิดของพวกเขา

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เอเฟซัส 2:19–22; 4:4–8, 11–16

ศาสดาพยากรณ์และอัครสาวก—และเราทุกคน—เสริมสร้างและทำให้ศาสนจักรเป็นหนึ่งเดียวกัน

  • ท่านและชั้นเรียนของท่านสร้างบางสิ่งด้วยกันได้หรือไม่เพื่อแสดงให้เห็นว่าศาสนจักร “ก่อร่างสร้างขึ้นบนรากฐานของบรรดาอัครทูตและบรรดาผู้เผยพระวจนะ” และพระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็น “ศิลาหัวมุม” อย่างไร (เอเฟซัส 2:20) บางทีสมาชิกชั้นเรียนอาจเขียนบนท่อนไม้หรือแก้วกระดาษและก่อขึ้นเป็นหอคอยหรือพีระมิด โดยมีพระเยซูคริสต์ อัครสาวก และศาสดาพยากรณ์สร้างเป็นฐาน จากนั้นท่านอาจแสดงให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเรานำเอาพระคริสต์หรืออัครสาวกหรือศาสดาพยากรณ์ออกไป เหตุใดศิลาหัวมุมจึงเป็นอุปลักษณ์ที่ดีในการเปรียบเทียบพระเยซูคริสต์และบทบาทของพระองค์ในศาสนจักร (สำหรับคำบรรยายเกี่ยวกับศิลาหัวมุม ดู “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) สมาชิกชั้นเรียนอาจค้น เอเฟซัส 2:19–22; 4:11–16 เพื่อหาพรที่เราได้รับเนื่องจากอัครสาวก ศาสดาพยากรณ์ และผู้นำศาสนจักรคนอื่นๆ เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อสร้างชีวิตเราบนคำสอนของพวกท่าน

    ภาพ
    ศิลาหัวมุมของพระวิหาร

    พระเยซูคริสต์ทรงเป็นศิลาหัวมุมของศาสนจักร

  • เพื่อแสดงให้เห็นว่าจะมีการเข้าใจหลักคำสอนผิดอย่างไรหากปราศจากการนำทางอย่างต่อเนื่องจากศาสดาพยากรณ์และอัครสาวก ท่านอาจเล่มเกมที่ท่านเล่าเรื่องสั้นๆ ให้สมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งฟังโดยไม่ให้คนอื่นได้ยิน จากนั้นเชื้อเชิญสมาชิกคนนั้นเล่าเรื่องนั้นให้สมาชิกชั้นเรียนอีกคนฟังและทำต่อไปเรื่อยๆ จนมีการเล่าเรื่องให้หลายคนฟัง จากนั้นขอให้คนสุดท้ายที่ได้ยินเรื่องนี้เล่าให้ชั้นเรียนที่เหลือฟังสิ่งที่เขาได้ยิน รายละเอียดของเรื่องเปลี่ยนหรือไม่ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าครูสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ตลอดเวลาที่เล่าต่อๆ กัน กิจกรรมนี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับสาเหตุที่ศาสนจักรของพระคริสต์ต้อง “ก่อร่างสร้างขึ้นบนรากฐานของบรรดาอัครทูตและบรรดาผู้เผยพระวจนะ”

  • หากสมาชิกของชั้นเรียนท่านได้ฟังการประชุมใหญ่สามัญตั้งแต่ครั้งสุดท้ายที่ท่านเจอกัน ให้เชื้อเชิญพวกเขาแบ่งปันว่าสิ่งที่สอนในการประชุมใหญ่สามัญช่วยทำให้จุดประสงค์ใน เอเฟซัส 4:11–16 เกิดสัมฤทธิผลอย่างไร

  • บางทีท่านอาจให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสักครู่เพื่อเขียนรายการ “การทรงเรียก” หรือความรับผิดชอบที่ท่านได้รับเรียกเพื่อทำให้สิ่งนี้เกิดสัมฤทธิผลในศาสนจักร (ดู เอเฟซัส 4:1)—ตัวอย่างเช่น ผู้สอนหรือผู้เยี่ยมสอนประจำบ้าน บิดามารดา สานุศิษย์ของพระคริสต์ และอื่นๆ จากนั้นพวกเขาอาจแลกเปลี่ยนรายการกับสมาชิกชั้นเรียนอีกคน อ่าน เอเฟซัส 4:4–8, 11–16 และแบ่งปันว่าการเรียกและงานมอบหมายในรายการของพวกเขาช่วย​เสริม‍สร้าง​พระ‍กาย​ของ​พระ‍คริสต์อย่างไร เราสามารถทำงานด้วยกันเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้ “องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​องค์​เดียว ความ​เชื่อ​เดียว บัพ‌ติศ‌มา​เดียว” ได้อย่างไร

เอเฟซัส 5:22–6:4

การทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

  • แม้ว่าชาวเอเฟซัสจะอยู่ในวัฒนธรรมที่ภรรยาไม่ได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับสามี แต่สาส์นนี้ยังคงมีคำแนะนำที่มีค่าสำหรับคู่สมรสในปัจจุบัน ท่านอาจเขียนคำถามเหมือนกับคำถามต่อไปนี้ไว้บนกระดานและเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนสนทนาคำถามเหล่านั้นขณะที่พวกเขาอ่าน เอเฟซัส 5:22–33 ในกลุ่ม : พระคริสต์ทรงแสดงความรักของพระองค์ต่อศาสนจักรอย่างไร เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำตามแบบอย่างของพระองค์ในวิธีที่เราปฏิบัติต่อคู่สมรสของเรา ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันตัวอย่างที่เขาเห็นคู่สามีภรรยาปฏิบัติต่อกันในวิธีที่เหมือนพระคริสต์ เราจะประยุกต์ใช้หลักธรรมเหล่านี้ในความสัมพันธ์อย่างอื่นในครอบครัวได้อย่างไร

  • ขณะที่คำแนะนำของเปาโลบอกว่า “จงให้เกียรติบิดามารดาของเจ้า” (เอเฟซัส 6:2) มุ่งสอนเด็กๆ แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้กับเราแต่ละคนได้ ไม่ว่าจะอายุเท่าใดหรือมีสถานการณ์ในครอบครัวเป็นอย่างไร เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนนึกถึงวิธีที่พวกเขาจะประยุกต์ใช้คำแนะนำของเปาโลใน เอเฟซัส 6:1–3 กับสถานการณ์ของตนเอง ตัวอย่างเช่น เราจะให้เกียรติบิดามารดาของเราได้อย่างไรหากการเลือกของพวกเขาไม่สอดคล้องกับคำสอนของพระเยซูคริสต์ ท่านอาจให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสองสามนาทีเขียนสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อให้เกียรติบิดามารดามากขึ้น

  • หากมีบิดามารดา—หรือคนที่กำลังจะเป็นบิดามารดา—ของเด็กเล็กในชั้นเรียนของท่าน พวกเขาอาจได้รับประโยชน์จากการสนทนาเกี่ยวกับ เอเฟซัส 6:4 การเลี้ยงดูลูก “​ด้วย​การ​สั่ง‍สอน​และ​การ​เตือน‍สติ​ตาม​หลัก​ของ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า” หมายความว่าอย่างไร บางทีสมาชิกชั้นเรียนที่มีลูกโตแล้วอาจแบ่งปันว่าสิ่งนี้หมายความว่าอย่างไรสำหรับพวกเขาและพวกเขาได้พยายามประยุกต์ใช้คำแนะนำนี้ในครอบครัวของพวกเขาอย่างไร

เอเฟซัส 6:10–18

ยุทธภัณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้าจะช่วยคุ้มครองเราจากความชั่วร้าย

  • สิ่งใดจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกขั้นเรียนพยายามสวมยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระผู้เป็นเจ้าในแต่ละวัน ท่านอาจเตรียมกิจกรรมหนึ่งซึ่งให้สมาชิกชั้นเรียนจับคู่ยุทธภัณฑ์กับหลักธรรมหรือคุณค่าที่เป็นความหมายของยุทธภัณฑ์ใน เอเฟซัส 6:14–17 ยุทธภัณฑ์แต่ละชิ้นจะช่วยคุ้มครองเราจากความชั่วร้ายได้อย่างไร (หากต้องการความช่วยเหลือ ให้ดู “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) สมาชิกชั้นเรียนสวมยุทธภัณฑ์นี้อย่างไร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาเรื่องนี้ ท่านอาจแบ่งปันคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เอ็น. เอ็ลดัน แทนเนอร์ ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อค้นหาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้จุดอ่อนอย่างใดอย่างหนึ่งในยุทธภัณฑ์ของเรา

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนอ่านฟีลิปปีและโคโลสี ท่านอาจบอกพวกเขาว่าข้อหนึ่งของหลักแห่งความเชื่อมาจากข้อที่อยู่ในสาส์นฉบับหนึ่งในบรรดาสาส์นเหล่านี้ พวกเขาจะหาข้อนั้นในการศึกษาสัปดาห์นี้ได้หรือไม่

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

เอเฟซัส

ศิลาหัวมุมคืออะไร

ศิลาหัวมุมคือศิลาก้อนแรกที่วางลงในรากฐาน ศิลาก้อนนี้เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการวัดหรือวางศิลาก้อนอื่นๆ ซึ่งต้องเข้ากับศิลาหัวมุม เนื่องจากมันรับน้ำหนักของทั้งอาคาร ศิลาหัวมุมต้องแกร่ง มั่นคง และเชื่อถือได้ (ดู “The Cornerstone,” Ensign, Jan. 2016, 74–75)

ยุทธภัณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้า

คาดเอวไว้ด้วยความจริง:ยุทธภัณฑ์ชิ้นนี้เป็นเหมือนเข็มขัดที่รัดรอบเอว

​เกราะ​ป้อง‍กัน​อก:เกาะป้องกันอกป้องกันหัวใจและอวัยวะสำคัญอื่นๆ

​รอง‍เท้า:หมายถึงการปกปิดเพื่อป้องกันเท้าของทหาร

โล่:โล่สามารถปกป้องการโจมตีได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย

หมวกเหล็ก:หมวกเหล็กป้องกันศีรษะ

ดาบ:ดาบทำให้เราต่อสู้กับศัตรูได้

“จงสำรวจยุทธภัณฑ์ของท่าน”

ประธานเอ็น. เอ็ลดัน แทนเนอร์ รับใช้เป็นที่ปรึกษาในฝ่ายประธานสูงสุด เชื้อเชิญให้สมาชิกของศาสนจักรประเมินความแข็งแรงของยุทธภัณฑ์ของพวกเขาโดยการไตร่ตรองความพากเพียรในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ จากนั้นท่านอธิบายว่า:

“หาก … ยุทธภัณฑ์ของเราอ่อนแอ จะมีพื้นที่ซึ่งเราปกปิดไม่มิด บริเวณที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตี เราอาจได้รับบาดเจ็บหรือถูกทำลายโดยซาตาน ผู้ที่จะหาจนกระทั่งเขาพบความอ่อนแอของเรา หากเรามี

“จงสำรวจยุทธภัณฑ์ของท่าน มีจุดไหนที่ไม่ได้คุ้มกันหรือปกป้องหรือไม่ พิจารณาเดี๋ยวนี้เพื่อเพิ่มเติมส่วนใดก็ตามที่ขาดหายไป ไม่ว่ายุทธภัณฑ์ของท่านจะมีชิ้นใดเก่าหรือไม่สมประกอบอย่างไร พึงระลึกว่าท่านมีอำนาจที่จะแก้ไขในส่วนที่จำเป็นเพื่อให้ยุทธภัณฑ์ของท่านสมบูรณ์

“โดยผ่านหลักธรรมสำคัญของการกลับใจท่านสามารถเปลี่ยนชีวิตท่านและเริ่มสวมใส่ยุทธภัณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้า ผ่านการศึกษา การสวดอ้อนวอน และการมุ่งมั่นรับใช้พระผู้เป็นเจ้าและรักษาพระบัญญัติของพระองค์” (“Put on the Whole Armor of God,” Ensign, May 1979, 46)

ปรับปรุงการสอนของเรา

พยายามให้มีความรักเหมือนพระคริสต์ การปฏิสัมพันธ์ของท่านกับคนที่ท่านสอนควรมีแรงจูงใจจากความรัก ท่านและผู้เรียนของท่านจะได้รับพรเมื่อท่านสวดอ้อนวอนเพื่อพัฒนาความรักเหมือนพระคริสต์และแสวงหาวิธีแสดงออก (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 6; โมโรไน 7:48)