จงตามเรามา
16–22 กันยายน 2 โครินธ์ 8–13: ‘พระ‍เจ้า​ทรง​รัก​คน​ที่​ให้​ด้วย​ใจ​ยินดี’


“16–22 กันยายน 2 โครินธ์ 8–13: ‘พระ‍เจ้า​ทรง​รัก​คน​ที่​ให้​ด้วย​ใจ​ยินดี’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“16–22 กันยายน 2 โครินธ์ 8–13,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2019

ภาพ
พระเยซูตรัสกับเด็กเล็ก

16–22 กันยายน

2 โครินธ์ 8–13

“พระ‍เจ้า​ทรง​รัก​คน​ที่​ให้​ด้วย​ใจ​ยินดี”

เมื่อท่านอ่าน 2 โครินธ์ 8–13 ให้นึกถึงคนที่ท่านสอนและวางแผนกิจกรรมเพื่อช่วยพวกเขาค้นพบหลักธรรมในบทเหล่านี้ จากนั้นให้ทบทวนโครงร่างนี้เพื่อหาแนวคิดเพิ่มเติม

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

นี่คือวิธีหนึ่งที่จะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จาก 2 โครินธ์ 8–13 ขอให้สมาชิกชั้นเรียนสองสามคนเขียนวลีหนึ่งที่พวกเขาชื่นชอบจากการอ่านบนกระดาน แล้วขอให้คนที่เหลือในชั้นเรียนหาวลีนั้นในพระคัมภีร์ เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันว่าเหตุใดวลีเหล่านี้จึงมีความหมายต่อพวกเขา

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

2 โครินธ์ 8:1–15; 9:6–15

วิสุทธิชนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขามีด้วยใจยินดีเพื่อเป็นพรแก่คนยากจนและคนขัดสน

  • พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาให้วิสุทธิชนของพระองค์ช่วยดูแลคนขัดสน และข้อความใน 2 โครินธ์ 8–9 สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านในความพยายามของพวกเขา เพื่อช่วยพวกเขาพบข้อเหล่านี้ ท่านอาจจะเขียนคำถามทำนองนี้บนกระดาน เหตุใดเราจึงให้ และ เราควรให้อย่างไร ชั้นเรียนครึ่งหนึ่งอาจค้นหาคำตอบใน 2 โครินธ์ 8:1–15 และอีกครึ่งหนึ่งอาจค้นใน 2 โครินธ์ 9:6–15 (ท่านอาจอธิบายว่าใน บทที่ 8 ข้อ 1–5 เปาโลพูดกับวิสุทธิชนชาวมา‌ซิ‌โด‌เนียว่าเป็นแบบอย่างของการให้อย่างเอื้อเฟื้อ) หลักธรรมที่สอนโดยเปาโลอาจช่วยเราดูแลคนยากจนกับคนขัดสนได้ดีขึ้นอย่างไร

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจวิธีหาทางช่วยเหลือตามความต้องการทางโลกของวิสุทธิชนของพระเจ้า มีแหล่งช่วยมากมายอยู่ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” บางทีท่านอาจมอบหมายให้สมาชิกชั้นเรียนสองสามคนทบทวนแหล่งช่วยเหล่านี้หนึ่งแหล่งหรือมากกว่านั้นและแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาประทับใจ สมาชิกชั้นเรียนหาแนวคิดใน 2 โครินธ์ 8:1–15; 9:6–15 ที่แสดงว่าวิสุทธิชนในสมัยของเปาโลดูแลคนยากจนในแบบเดียวกันกับที่เราทำในสมัยนี้ได้หรือไม่

2 โครินธ์ 11:13–33

ผู้เผยวจนะเทียมเท็จหมายมั่นจะหลอกลวง

  • เช่นเดียวกับวิสุทธิชนชาวมา‌ซิ‌โด‌เนีย เนื่องจากเราอาจอ่อนไหวต่อคำสอนเท็จ เราอาจได้รับประโยชน์จากการทบทวนคำเตือนของเปาโลที่ให้แก่ชาวโครินธ์เกี่ยวกับ “ผู้เผยวจนะเทียมเท็จ” สมาชิกชั้นเรียนอาจหาตัวอย่างของคำสอนเท็จที่มีอิทธิพลต่อเราในปัจจุบันในข่าวสารของเอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก “องอาจในประจักษ์พยานถึงพระเยซู” ( เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 40–43) บางทีท่านอาจมอบหมายให้บางคนอ่านข่าวสารนี้มาล่วงหน้าและแบ่งปันกับชั้นเรียนว่าข่าวสารดังกล่าวสอนเกี่ยวกับวิธีที่เราจะหลีกเลี่ยง “สิ่งที่กีดขวาง” ซึ่งนำเราออกจากพระกิตติคุณได้อย่างไร มีคำสอนอื่นๆ ทั่วไปในโลกทุกวันนี้ที่จะนำเราออกไปจากความจริงของพระกิตติคุณ ท่านอาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนทบทวน 2 โครินธ์ 11:21–33 และแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากข้อเหล่านี้เกี่ยวกับ “​คน​ปรน‌นิ‌บัติ​ของ​พระ‍คริสต์​” ที่แท้จริง

2 โครินธ์ 11:3; 13:5–8

เราควร “พิจารณา” ความซื่อสัตย์ของเราในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

  • บางครั้งสมาชิกศาสนจักรรู้สึกหนักใจกับภาวะจำเป็นของชีวิต—รวมถึงสิ่งที่พวกเขาอาจเห็นเป็นภาระของการเป็นวิสุทธิชนยุคสุดท้าย คำแนะนำของเปาโลให้ “​พิจาร‌ณา​ตัว‍เอง​ดู​ว่า​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ดำรง​อยู่​ใน​ความ​เชื่อ​หรือ​ไม่” อาจช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านมุ่งความสนใจไปที่ “ความ​บริ‌สุทธิ์​ต่อ​พระ‍คริสต์​” (2 โครินธ์ 13:5; 11:3) บางทีท่านอาจจะอ่าน 2 โครินธ์ 11:3 ด้วยกันและสนทนาว่าวลี “ความ​บริ‌สุทธิ์​ต่อ​พระ‍คริสต์” หมายความว่าอย่างไร ท่านอาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนจินตนาการเช่นกันว่าพวกเขาได้รับเชิญให้เขียนคำบรรยายถึงพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เพื่อลงหนังสือพิมพ์โดยจำกัดความยาวอยู่ที่ 100 คำ ให้เวลาพวกเขาเขียนคำบรรยายและให้พวกเขาแบ่งกันอ่านสิ่งที่พวกเขาเขียน หากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ท่านอาจให้พวกเขาอ่าน ยอห์น 3:16–17; 3 นีไฟ 27:13–21; และ แน่วแน่ต่อศรัทธา, 175 เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขากำลังซื่อสัตย์ต่อหลักธรรมพื้นฐานของพระกิตติคุณหรือไม่

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียน “พิจารณา” ว่าพวกเขาจะทำให้ชีวิตของพวกเขาเรียบง่ายเพื่อเป็นสานุศิษย์ที่ดีขึ้นได้อย่างไร ท่านอาจแบ่งปันคำกล่าวของเอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” สมาชิกชั้นเรียนอาจสนทนาว่าพวกเขาจะประยุกต์ใช้คำเชื้อเชิญของเอ็ลเดอร์อุคท์ดอร์ฟที่ให้ “เน้นหลักคำสอนพื้นฐาน หลักธรรม และการประยุกต์ใช้พระกิตติคุณ” ได้อย่างไร สมาชิกชั้นเรียนมีแนวคิดอะไรเพิ่มเติมอีกเกี่ยวกับวิธีที่เราจะพิจารณาตนเองเพื่อให้แน่ใจว่าเรายังคงแน่วแน่ต่อศรัทธา

2 โครินธ์ 12:5–10

พระคุณของพระผู้ช่วยให้รอดเพียงพอที่จะช่วยเราค้นพบความเข้มแข็งในความอ่อนแอของเรา

  • เราควรพูดอะไรกับเพื่อนที่สวดอ้อนวอนทูลขอการบรรเทาความเจ็บป่วยทางกายแต่รู้สึกว่าคำสวดอ้อนวอนนี้ไม่ได้รับคำตอบ ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองคำถามนี้ขณะที่พวกเขาอ่าน 2 โครินธ์ 12:5–10 ในใจ จากนั้นพวกเขาสามารถแบ่งปันข้อคิดจากข้อเหล่านี้ที่อาจช่วยในสถานการณ์ดังกล่าว พวกเขาอาจแบ่งปันประสบการณ์เช่นกันเมื่อพวกเขาพบความเข้มแข็งในความอ่อนแอผ่านพระคุณของพระเยซูคริสต์ ประสบการณ์นั้นส่งผลต่อชีวิตพวกเขาอย่างไร

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านอ่านกาลาเทีย ท่านอาจจะถามว่าพวกเขารู้จักใครที่หลงไปจากพระกิตติคุณหรือไม่ หากรู้จัก พวกเขาจะต้องการอ่านวิธีที่เปาโลเชื้อเชิญชาวกาลาเทียผู้ที่หลงไปจากพระกิตติคุณให้กลับมา

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

2 โครินธ์ 8–13

วิธีของพระเจ้าในการจัดหาให้คนยากจนและคนขัดสน

เราสามารถทำให้วิธีดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของเราเรียบง่าย

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟสอนว่า

“พี่น้องทั้งหลาย การดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณไม่จำเป็นต้องซับซ้อน

“มันตรงไปตรงมามาก และสามารถอธิบายได้ดังนี้

  • “การฟังพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าด้วยเจตนาแท้จริงนำเราให้เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าและวางใจคำสัญญาของพระองค์

  • “ยิ่งเราวางใจพระผู้เป็นเจ้า ใจเราจะยิ่งเปี่ยมด้วยความรักต่อพระองค์และความรักต่อกัน

  • “เพราะเรารักพระผู้เป็นเจ้า เราจึงปรารถนาจะติดตามพระองค์และทำให้การกระทำของเราสอดคล้องกับพระวจนะของพระองค์

  • “เพราะเรารักพระผู้เป็นเจ้า เราต้องการรับใช้พระองค์ เราต้องการเป็นพรให้ชีวิตผู้อื่นและช่วยเหลือผู้ที่ยากจนและขัดสน

  • “ยิ่งเราเดินในเส้นทางของการเป็นสานุศิษย์มากขึ้นเท่าไร เรายิ่งปรารถนาจะเรียนรู้พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นเท่านั้น

“ด้วยเหตุนี้แต่ละก้าวจึงนำเราให้ก้าวต่อไปและทำให้เราเปี่ยมด้วยศรัทธา ความหวัง และจิตกุศลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

“เส้นทางนี้เรียบง่าย สวยงาม และมีผลดีอย่างยิ่ง

“พี่น้องทั้งหลาย ถ้าท่านเคยคิดว่าพระกิตติคุณไม่มีผลดีต่อท่าน ข้าพเจ้าเชื้อเชิญให้ท่านถอยกลับไปมองดูชีวิตท่านจากมุมมองที่สูงกว่าและทำให้วิธีของท่านเรียบง่ายสู่การเป็นสานุศิษย์ เน้นหลักคำสอนพื้นฐาน หลักธรรม และการประยุกต์ใช้พระกิตติคุณ ‹ƒข้าพเจ้าสัญญาว่าพระผุ้เป็นเจ้าจะทรงนำทางและทรงอวยพรท่านบนเส้นทางสู่ชีวิตที่บรรลุผลสำเร็จ และพระกิตติคุณจะมีผลดีต่อท่านมากขึ้น” (“มีผลดีมากทีเดียว,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 22)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ทำงานร่วมกับสมาชิกครอบครัว “คนที่มีอิทธิพลอันทรงอานุภาพมากที่สุดต่อบุคคลหนึ่ง—ทั้งในทางดีและไม่ดี—โดยปกติคือผู้ที่อยู่ในบ้านของเขา เพราะบ้านคือศูนย์กลางของการเรียนรู้และดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ความพยายามของท่านในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สมาชิกชั้นเรียนจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อท่านทำงานร่วมกับ… สมาชิกครอบครัว” (ดูการสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 8)