จงตามเรามา
18–24 กุมภาพันธ์ มัทธิว 5; ลูกา 6: ‘ท่านก็เป็นสุข’


“18–24 กุมภาพันธ์ มัทธิว 5; ลูกา 6: ‘ท่านก็เป็นสุข’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“18–24 กุมภาพันธ์ มัทธิว 5; ลูกา 6,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2019

ภาพ
คำเทศนาบนภูเขา

คำเทศนาบนภูเขา โดย จอร์จ ค็อคโค

18–24 กุมภาพันธ์

มัทธิว 5; ลูกา 6

“ท่านก็เป็นสุข”

บันทึกความประทับใจทางวิญญาณของท่านขณะท่านศึกษา มัทธิว 5 และ ลูกา 6 การเปิดเผยจะมาเมื่อท่านพยายามตอบรับความต้องการของชั้นเรียน โครงร่างนี้จะช่วยให้แนวคิดเพิ่มเติม

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธกล่าวว่าคำเทศนาบนภูเขาเป็น “[คำเทศนา] ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยสั่งสอนมา ตามที่เราทราบ” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ [2013], 234) เหตุใดสมาชิกชั้นเรียนจึงรู้สึกว่านี่เป็นความจริง พวกเขาจะแบ่งปันอะไรได้บ้าง

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

มัทธิว 5:1–12

ความสุขอันยั่งยืนมาจากการดำเนินชีวิตตามวิธีที่พระเยซูทรงสอนและดำเนินพระชนม์ชีพตามนั้น

  • คำเทศนาบนภูเขาของพระผู้ช่วยให้รอดซึ่งตรัสในเบื้องต้นกับเหล่าสาวกคนสนิท เริ่มด้วยข้อความที่รู้กันว่าผู้เป็นสุข ซึ่งในนั้นพระคริสต์ทรงเชื้อเชิญให้เราคิดทบทวนว่าการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข—ชีวิตที่มีความสุขอันยั่งยืนหมายความว่าอย่างไร เพื่อเริ่มสนทนาเกี่ยวกับความสุขอันยิ่งยืน ท่านอาจจะขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่ทำให้พวกเขามีความสุข ตามที่กล่าวไว้ในผู้เป็นสุข พระเยซูตรัสว่าอะไรทำให้บุคคล “เป็นสุข” หรือมีความสุขนิรันดร์ คำสอนของพระเยซูต่างจากวิธีอื่นที่ผู้คนพยายามหาความสุขอย่างไร

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจคำอย่างเช่น ใจบริสุทธิ์ หรือ สรัางสันติ ท่านอาจจะเขียนคำบางคำจาก ข้อ 3–12 ไว้บนกระดาน จากนั้นให้สมาชิกชั้นเรียนเสนอคำตรงข้ามของแต่ละคำและสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับแต่ละคำโดยทำสิ่งนี้ ขอให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาจะเปลี่ยนอะไรได้บ้างเพื่อจะเป็นคนในแบบที่ข้อเหล่านี้พูดถึง 3 นีไฟ 12:3, 6 เพิ่มเติมความเข้าใจใน มัทธิว 5:3, 6 ของเราอย่างไร

  • วิธีสำรวจข้อเหล่านี้อีกวิธีหนึ่งคือเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนศึกษาพระคัมภีร์เพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เป็นสุขหนึ่งแบบและแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้กับชั้นเรียน คนที่พวกเขารู้จักเป็นแบบอย่างของหลักธรรมนั้นอย่างไร

ภาพ
คำเทศนาบนภูเขา

คำเทศนาบนภูเขา โดย แฟรงค์ อดัมส์

มัทธิว 5:14–16

เหล่าสาวกของพระผู้ช่วยให้รอดต้องเป็นความสว่างของโลก

  • สมาชิกชั้นเรียนของท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อพวกเขาอ่านพระดำรัสของพระเยซูที่ว่าพวกเขาเป็น “ความสว่างของโลก” “เอาถังครอบ” ความสว่างของเราหมายความว่าอย่างไร และเหตุใดเราจึงอาจจะถูกล่อลวงให้ทำเช่นนั้น คำกล่าวของเอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจให้กำลังใจได้ ใครเคยเป็น “ความสว่าง” ให้สมาชิกชั้นเรียนของท่าน

  • คิดหาวิธีสาธิตคำสอนของพระคริสต์ที่ว่าเราเป็นความสว่างให้โลก ท่านจะให้ดูภาพเมืองที่มีแสงไฟสว่างไสวตอนกลางคืนได้ไหม ท่านจะนำไฟฉายมาแล้วเอาถังครอบไว้ได้หรือไม่ เหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดทรงเปรียบเทียบเหล่าสาวกของพระองค์กับความสว่าง เราจะใช้ความเข้าใจนี้เป็นความสว่างให้ผู้อื่นได้อย่างไร (ดู คพ. 103:9–10) สมาชิกชั้นเรียนอาจจะสนทนาหรือแสดงบทบาทสมมติให้เห็นวิธีซึ่งความสว่างของพระกิตติคุณสามารถส่องในชีวิตพวกเขาและเป็นพรแก่ผู้อื่น

  • พระคัมภีร์ข้ออื่นที่อาจจะเสริมการสนทนาของท่านเรื่องความสว่างได้แก่ 3 นีไฟ 18:24; หลักคำสอนและพันธสัญญา 50:24; 84:44–47; 88:50, 67; และ 93:36–40 สมาชิกชั้นเรียนอาจจะชอบร้องเพลงสวดเกี่ยวกับความสว่างเช่น “พระเจ้าเป็นแสงฉัน” และ “แสงอันเมตตาโปรดนำ,” เพลงสวด, บทเพลงที่ 37, 42 เพลงสวดและข้อพระคัมภีร์เหล่านี้เพิ่มอะไรให้แก่ความเข้าใจ มัทธิว 5:14–16 ของเรา

มัทธิว 5:17–48

พระเยซูคริสต์ทรงสอนกฎสูงกว่าที่สามารถนำเราไปสู่ความดีพร้อม

  • สถานการณ์ที่บรรยายไว้ใน มัทธิว 5 เกิดขึ้นเฉพาะในสมัยของพระผู้ช่วยให้รอด แต่หลักธรรมที่พระองค์ทรงสอนใช้ได้กับทุกคน เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นวิธีประยุกต์ใช้กับชีวิต ให้พวกเขาเลือกข้อต่อไปนี้หนึ่งช่วงและนึกถึงแบบอย่างยุคปัจจุบันซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอน: ข้อ 21–24; 27–30; 33–37; 38–39; 40–42; และ 43–44 พวกเขาอาจจะทำสิ่งนี้เป็นส่วนตัวหรือเป็นกลุ่ม และแบ่งปันตัวอย่างกับชั้นเรียน

  • เยาวชนอาจจะชอบเกมจับคู่ที่ช่วยให้พวกเขาเห็นว่าคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดใน มัทธิว 5:21–48 ใช้แทนกฎของโมเสส ท่านอาจจะทำบัตรวลีหนึ่งชุดที่เริ่มด้วยคำว่า “ท่านทั้งหลายได้ยิน” (อธิบายกฎของโมเสส) จาก มัทธิว 5:21–44 ทำบัตรวลีอีกหนึ่งชุดจากข้อที่เริ่มด้วยคำว่า “แต่เราบอก” (อธิบายกฎที่สูงกว่าของพระคริสต์) คว่ำบัตรทั้งสองชุดลง และให้สมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งเลือกบัตรชุด “ท่านทั้งหลายได้ยิน” มาหนึ่งใบ ตามด้วยบัตรหนึ่งใบจากอีกชุดหนึ่ง โดยหาบัตรที่เข้าคู่กัน ทำต่อไปจนกว่าสมาชิกชั้นเรียนจับคู่กฎของโมเสสกับคำสอนใหม่ของพระคริสต์ได้ ในการจับคู่แต่ละครั้งให้สนทนาว่าเหตุใดยุคของเราจึงต้องการคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอด

  • ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นได้อย่างไรว่าพระบัญชาของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “ดีพร้อม” หมายความตามที่ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันอธิบายว่า “สมบูรณ์” หรือ “สำเร็จ” (มัทธิว 5:48; “Perfection Pending,” Ensign, Nov. 1995, 86–88) แนวคิดมีดังนี้: ตัดภาพพระเยซูเป็นภาพปริศนา และเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนคำสอนจาก มัทธิว 5 ที่พวกเขารู้สึกได้รับการดลใจให้ประยุกต์ใช้กับชีวิตพวกเขาไว้ด้านหลังของแต่ละชิ้น ขอให้พวกเขาช่วยกันต่อภาพปริศนาจนสมบูรณ์ การชดใช้ของพระเยซูคริสต์ช่วยให้เรา “สมบูรณ์” หรือ “สำเร็จ” อย่างไร (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “พระคุณ”)

  • ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนตั้งเป้าหมายทำตามการกระตุ้นเตือนที่พวกเขาได้รับขณะศึกษา มัทธิว 5เช่นกัน พิจารณาว่าท่านจะทำตามผลของคำเชื้อเชิญนี้ในบทเรียนครั้งต่อๆ ไปได้อย่างไร

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน มัทธิว 6–7 ระหว่างสัปดาห์ที่จะมาถึง ท่านอาจบอกพวกเขาว่าประธานฮาโรลด์ บี. ลีเรียกคำเทศนาบนภูเขาว่า “องค์ประกอบของชีวิตที่ดีรอบคอบ” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: ฮาโรลด์ บี. ลี [2000], 186

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

มัทธิว 5; ลูกา 6

การเป็นความสว่าง

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์สอนว่า “ท่านเคยฉุกคิดหรือไม่ว่าบางทีท่านอาจจะเป็นความสว่างที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงส่งมาให้นำอีกคนกลับบ้านอย่างปลอดภัยหรือเป็นไฟสัญญาณที่อยู่ไกลคอยส่องทางกลับสู่ทางคับแคบและแคบที่นำสู่ชีวิตนิรันดร์ ความสว่างของท่านเป็นไฟสัญญาณและไม่ควรดับหรือนำคนที่กำลังมองหาทางกลับบ้านไปผิดทาง” (“That Ye May Be the Children of Light” [Brigham Young University fireside, Nov. 3, 1996], 9; speeches.byu.edu)

การแสวงหาความดีพร้อม

ประธานฮาโรลด์ บี. ลีสอนว่า “ท่านคิดว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงกำลังแนะนำเป้าหมายที่ไม่อาจบรรลุได้และทรงเย้ยหยันความเพียรพยายามของเราที่จะดำเนินชีวิตให้บรรลุความดีรอบคอบอย่างนั้นหรือ เป็นไปไม่ได้ที่เราจะบรรลุถึงสภาพของความดีรอบคอบในชีวิตมรรตัยดังที่พระอาจารย์ตรัสไว้ แต่ในชีวิตนี้เราวางรากฐานซึ่งเราจะสร้างในนิรันดร ดังนั้น เราจึงต้องแน่ใจว่ารากฐานของเราวางอยู่บนความจริง ความชอบธรรม และศรัทธา” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: ฮาโรลด์ บี. ลี, 182)

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธกล่าวว่า “[ความดีพร้อม] จะไม่มาพร้อมกันทีเดียว แต่จะเป็นบรรทัดมาเติมบรรทัด และกฎเกณฑ์มาเติมกฎเกณฑ์ แบบอย่างมาเติมแบบอย่าง แม้จะไม่ดีพร้อมตราบเท่าที่เราอยู่ในชีวิตมรรตัยนี้ก็ตาม … แต่ที่นี่เราวางราฐานไว้ นี่คือที่ซึ่งเราได้รับการสอนถึงความจริงอันเรียบง่ายเหล่านี้ของพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ในสถานะแห่งการทดสอบเพื่อเตรียมเราสำหรับความดีพร้อมนั้น นี่เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะเป็นคนดีขึ้นในวันนี้มากกว่าเมื่อวาน เป็นหน้าที่ของท่านที่จะเป็นคนดีขึ้นในวันนี้มากกว่าเมื่อวาน และในวันพรุ่งนี้ต้องดีขึ้นไปอีกให้มากกว่าวันนี้” (คำสอนของประธานศาสนจักร: โจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ [2013], 234–235)

ปรับปรุงการสอนของเรา

เพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกชั้นเรียน ท่านสามารถทำกิจกรรมหลายอย่างกับชั้นเรียน เป็นกลุ่มเล็ก เป็นคู่ หรือเป็นการอภิปรายกลุ่ม ใช้หลายๆ วิธีให้คนที่อาจจะไม่เคยมีโอกาสเข้าร่วมได้เข้ามามีส่วนร่วม (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 33)