พันธสัญญาใหม่ 2023
27 กุมภาพันธ์–5 มีนาคม มัทธิว 8; มาระโก 2–4; ลูกา 7: “ความเชื่อของเธอทำให้เธอรอด”


“27 กุมภาพันธ์–5 มีนาคม มัทธิว 8; มาระโก 2–4; ลูกา 7: ‘ความเชื่อของเธอทำให้เธอรอด,’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“27 กุมภาพันธ์–5 มีนาคม มัทธิว 8; มาระโก 2–4; ลูกา 7,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2023

ภาพ
พระเยซูทรงทำให้ชายคนหนึ่งลุกขึ้นจากเตียง

27 กุมภาพันธ์–5 มีนาคม

มัทธิว 8; มาระโก 2–4; ลูกา 7

“ความเชื่อของเธอทำให้เธอรอด”

ขณะท่านอ่าน มัทธิว 8; มาระโก 2–4; และ ลูกา 7 ในสัปดาห์นี้ ลองนึกถึงเด็กที่ท่านสอน สวดอ้อนวอนให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงดลใจท่านด้วยแนวคิดที่จะช่วยให้พวกเขาค้นพบความจริงในบทเหล่านี้

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ขอให้เด็กแบ่งปันเรื่องราวของพระเยซูทรงทำปาฏิหาริย์ (ดูรายการปาฏิหาริย์ใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) นอกจากนี้ท่านอาจให้ดูภาพที่เกี่ยวข้อง (เช่น หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 40)

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

มัทธิว 8; มาระโก 2–3; ลูกา 7

พระเยซูทรงมีเดชานุภาพในการทำปาฏิหาริย์

ขณะที่ท่านอ่านเรื่องปาฏิหาริย์การรักษาของพระผู้ช่วยให้รอด ให้ไตร่ตรองว่าจะแบ่งปันปาฏิหาริย์เรื่องใด ท่านจะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนเข้าใจบทบาทของศรัทธาในปาฏิหาริย์ที่พระเยซูทรงทำได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • แบ่งปันเรื่องราวของชายที่เป็นง่อยจาก มาระโก 2:1–12 เพื่อขอความช่วยเหลือ ดู “บทที่ 23: ชายที่เดินไม่ได้” (ใน เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, 57–58 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ ChurchofJesusChrist.org) บอกเด็กว่าชายที่เป็นง่อยเดินไม่ได้ ช่วยให้พวกเขารับรู้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงรักษาชายคนนี้

  • เชื้อเชิญให้เด็กพูดคุยเกี่ยวกับเวลาที่พวกเขาป่วย เล่าเรื่องราวเรื่องหนึ่งของพระเยซูที่ทรงรักษาคนป่วยเช่น มัทธิว 8:1–4, 5–13, 14–15; มาระโก 3:1–5; ลูกา 7:11–16 เชิญให้เด็กผลัดกันเล่าเรื่องนี้ด้วยคำพูดของพวกเขาเอง เป็นพยานว่าเดชานุภาพของพระเยซูจะรักษา ให้พร และปลอบโยนเราได้

มัทธิว 8; มาระโก 2–3; ลูกา 7

ฉันสามารถแสดงความรักต่อผู้อื่นเหมือนกับพระเยซู

พระเยซูทรงแสดงความรักยิ่งใหญ่โดยทรงรักษาผู้ป่วยและคนมีทุกข์ ไตร่ตรองว่าท่านจะสอนเด็กให้แสดงความเมตตาสงสารต่อคนขัดสนได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • เลือกเรื่องราวอย่างน้อยหนึ่งเรื่องที่พระเยซูทรงแสดงความรักต่อคนขัดสน เช่นคนใน มัทธิว 8:1–4, 5–13, 14–15; มาระโก 2:1–12; 3:1–5; ลูกา 7:11–16 แบ่งปันประสบการณ์เวลามีคนแสดงความรักต่อท่านในเวลาที่ท่านต้องการและท่านรู้สึกอย่างไร เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขา

  • เด็กๆ ในวีดิทัศน์เหล่านี้ทำตามแบบอย่างของพระเยซูอย่างไร? ให้เด็กแบ่งปันสถานการณ์อื่นเมื่อมีคนทุกข์ยาก เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยพวกเขา?

  • ร้องเพลงเกี่ยวกับการแสดงความรักและความเมตตาต่อผู้อื่น เช่น “ความเมตตาเริ่มที่เรา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 83)

ภาพ
พระเยซูทรงอยู่ในเรือ ทรงห้ามพายุ

จากความกลัวสู่ศรัทธา โดย ฮาเวิร์ด ลีออน

มาระโก 4:35–41

เมื่อฉันกลัวหรืออยู่ในอันตราย พระเยซูทรงสามารถช่วยให้ฉันรู้สึกถึงสันติ

เรื่องพระเยซูทรงห้ามพายุจะช่วยให้เด็กรู้ว่าพระองค์สามารถประทานสันติเมื่อพวกเขารู้สึกกลัว

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยเด็กจินตนาการว่าพวกเขาอยู่บนเรือขณะที่ท่านอ่าน มาระโก 4:35–41 (ดู “บทที่ 21: พระเยซูทรงสั่งคลื่นลม,” ใน เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, 53 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ ChurchofJesusChrist.org) ขอให้เด็กบรรยายว่าพวกเขาจะรู้สึกอย่างไรถ้าพวกเขาอยู่ที่นั่น เด็กเคยรู้สึกกลัวมากเมื่อใด? พวกเขาพบความอุ่นใจอย่างไร?

  • เชื้อเชิญให้เด็กทำเสียงพายุและหยุดเมื่อมีคนพูดว่า “จงสงบเงียบ” เป็นพยานว่าเฉกเช่นพระเยซูทรงสามารถทำให้เราเกิดความสงบเมื่อมีพายุภายนอก พระองค์ทรงสามารถทำให้เราเกิดสันติภายในเมื่อเรารู้สึกไม่ดีในใจ

  • สอนเด็กทำท่าทางประกอบข้อสามของ “เล่าเรื่องพระเยซูให้ฉันฟังที” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 36) และร้องข้อนั้นด้วยกันขณะทำท่าทาง

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

มัทธิว 8; มาระโก 2–3; ลูกา 7

พระเยซูทรงทำปาฏิหาริย์ในชีวิตฉันได้เมื่อฉันมีศรัทธาในพระองค์

พระเยซูทรงทำปาฏิหาริย์มากมายในช่วงการปฏิบัติศาสนกิจขณะทรงเป็นมรรตัย ท่านจะช่วยให้เด็กทราบได้อย่างไรว่าปาฏิหาริย์เกิดขึ้นในปัจจุบัน?

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กเลือกอ่านปาฏิหาริย์ต่อไปนี้หนึ่งเรื่องและวาดรูป: มัทธิว 8:1–4, 5–13, 14–15; มาระโก 2:1–12; 3:1–5; ลูกา 7:11–16 เชื้อเชิญให้เด็กอธิบายภาพวาดของพวกเขากับชั้นเรียน เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูจากเรื่องเหล่านี้?

  • ขอให้เด็กแสดงท่าทางประกอบความรู้สึกเมื่อป่วย เศร้า กลัว หรือวิตกกังวล พระเยซูจะทรงช่วยเราได้อย่างไรเมื่อเรามีความรู้สึกเหล่านี้? เป็นพยานว่าพระเยซูทรงสามารถช่วยเด็กในสถานการณ์ทั้งหมดนี้

  • เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขาหรือคนรู้จักได้รับพรฐานะปุโรหิต บุคคลนั้นได้รับการรักษาหรือได้รับพรอย่างไร?

มาระโก 2:15–17; ลูกา 7:36–50

พระเยซูทรงรักเราแม้ว่าเราจะทำบาปและทรงต้องการช่วยให้เรากลับใจ

เรื่องราวใน มาระโก 2:15–17 และ ลูกา 7:36–50 สามารถช่วยให้เด็กเข้าใจว่าพระเยซูคริสต์ทรงรักเราแม้ว่าเราจะทำบาป พระองค์ทรงต้องการช่วยให้เรากลับใจและเข้าใกล้พระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • เขียน พระเยซูทรงรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับบาป? และ พระเยซูทรงรู้สึกอย่างไรเมื่อเราทำบาป? บนกระดาน ให้เด็กคิดเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้ขณะที่อ่าน มาระโก 2:15–17 ด้วยกันแล้วแบ่งปันคำตอบของพวกเขา (ท่านอาจต้องการอ่าน “คนเก็บภาษี” ด้วยกันในคู่มือพระคัมภีร์ [scriptures.ChurchofJesusChrist.org]) เหตุใดจึงสำคัญที่จะต้องรู้ว่าพระเยซูทรงรักเราแม้ว่าเราจะไม่ดีพร้อม? การรู้สิ่งนี้จะช่วยเราได้อย่างไรเมื่อเราจำเป็นต้องกลับใจ?

  • ก่อนชั้นเรียนสองสามวัน ให้เชิญเด็กคนหนึ่งและสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่งมาชั้นเรียนพร้อมแบ่งปันเรื่องราวใน ลูกา 7:36–50 พวกเขาอาจวาดภาพอธิบายส่วนต่างๆ ของเรื่องราวเพื่อให้ชั้นเรียนดู สนทนากับเด็กว่าพระเจ้าอาจทรงต้องการให้เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้

มาระโก 4:35–41

เมื่อฉันกลัวหรืออยู่ในอันตราย พระเยซูทรงสามารถช่วยให้ฉันรู้สึกถึงสันติ

เด็กจำเป็นต้องรู้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดประทานสันติให้พวกเขาได้เมื่อพวกเขาเผชิญพายุชีวิต—เวลานี้และในอนาคต

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กคนหนึ่งใช้ มาระโก 4:35–41 และภาพ พระเยซูทรงห้ามพายุ (หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 40) เพื่อเล่าเรื่องราวที่พระเยซูทรงห้ามพายุ ขอให้เด็กบรรยายว่าพวกเขาจะรู้สึกอย่างไรถ้าพวกเขาอยู่ที่นั่น

  • เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขารู้สึกถึงสันติหลังจากสวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ เตือนพวกเขาว่าสันตินี้มาจากพระผู้ช่วยให้รอด

  • แจกเมฆฝนกระดาษให้เด็กแต่ละคน และขอให้พวกเขาเขียนการทดลองที่บางคนอาจจะประสบไว้บนนั้น ติดเมฆทั้งหมดไว้บนกระดานทับภาพพระผู้ช่วยให้รอด เชื้อเชิญให้เด็กคนหนึ่งหยิบเมฆแผ่นหนึ่งออก และบอกวิธีที่เราจะช่วยให้คนที่มีการทดลองนั้นพบสันติ เมื่อเอาเมฆออกหมดแล้ว ให้เป็นพยานถึงเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดในการห้ามพายุในชีวิตเรา

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

ช่วยเด็กจดการรับใช้ที่พวกเขาจะทำให้บางคนในสัปดาห์นี้

ปรับปรุงการสอนของเรา

เด็กกระตือรือร้น บางครั้งท่านอาจรู้สึกว่าความซุกซนของเด็กทำให้พวกเขาไม่มีจิตใจจะเรียนรู้ แต่ท่านสามารถอาศัยธรรมชาติที่กระตือรือร้นนี้ให้พวกเขาแสดงเรื่องราวหรือทำท่าให้ตรงกับเหตุการณ์ในเพลงหรือพระคัมภีร์ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25)