หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
13–19 ธันวาคม ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก: “ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อแผนของพระผู้สร้าง”


“13–19 ธันวาคม ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก: ‘ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อแผนของพระผู้สร้าง’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“13–19 ธันวาคม ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2021

ภาพ
ครอบครัว

13–19 ธันวาคม

ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก

“ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อแผนของพระผู้สร้าง”

ท่านพบหลักธรรมอะไรบ้างใน “ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” ที่ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้แบ่งปันกับเด็กๆ? ขณะเตรียมสอน ให้บันทึกความประทับใจที่ท่านได้รับจากพระวิญญาณ

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้เด็กนำภาพครอบครัวมาให้ชั้นเรียนดู ขอให้พวกเขาแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขารักเกี่ยวกับครอบครัวและที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัวสัปดาห์นี้

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

ครอบครัวสำคัญในแผนของพระบิดาบนสวรรค์

ท่านจะใช้ ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ช่วยให้เด็กเข้าใจได้อย่างไรว่าครอบครัวสำคัญเพียงใดในแผนของพระผู้เป็นเจ้า?

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยให้เด็กนึกถึงสิ่งที่มีความสำคัญมากจนพวกเขาต้องการบอกทุกคนเกี่ยวกับสิ่งนั้น ให้เด็กดูสำเนา “ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” และอธิบายว่าศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกเขียนถ้อยแถลงนี้เพื่อบอกทุกคนว่าครอบครัวสำคัญเพียงใดต่อพระบิดาบนสวรรค์ ถามเด็กว่าพวกเขาคิดว่าเหตุใดครอบครัวจึงสำคัญต่อพระบิดาบนสวรรค์ แบ่งปันบางอย่างจากถ้อยแถลงที่ท่านรู้สึกว่าทุกคนต้องรู้

  • ให้เด็กดูภาพพระวิหารและภาพครอบครัว ให้เด็กถือภาพขณะที่ท่านอ่านประโยคสุดท้ายของ ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ย่อหน้าที่สาม ขอให้เด็กชี้ภาพให้ถูกเมื่อท่านอ่านคำว่า “พระวิหาร” และ “ครอบครัว” เป็นพยานว่าเพราะศาสนพิธีของพระวิหาร ครอบครัวเราจึงสามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียวตลอดไป ร้องเพลงๆ หนึ่งด้วยกันเกี่ยวกับครอบครัวนิรันดร์ เช่น “ฉันชอบมองดูพระวิหาร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 99) และช่วยให้เด็กฟังคำอย่างเช่น “พระวิหาร” และ “ครอบครัว”

  • ถามเด็กว่าเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำสิ่งต่างๆ ให้แข็งแรง—เช่น ฟัน ร่างกายของเรา หรือตึก เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้ครอบครัวเราเข้มแข็ง? ช่วยให้เด็กเข้าใจหลักธรรมที่ทำให้เกิดความสุขในชีวิตครอบครัว ตามที่พบในย่อหน้าเจ็ดของ ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว (ดูหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้ด้วย) ช่วยเด็กวางแผนวิธีที่พวกเขาจะทำให้ครอบครัวเข้มแข็ง

    ภาพ
    ครอบครัวกำลังทำอาหาร

    บิดามารดาควรเลี้ยงดูบุตรธิดาในความรักและความชอบธรรม

ฉันเป็น “ปิยบุตรและปิยธิดาทางวิญญาณของพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์”

ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว สอนว่าเราทุกคนเป็นลูกของพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์และเราอยู่ที่นี่บนแผ่นดินโลกเพื่อเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น

กิจกรรมที่ทำได้

  • ร้องเพลง “ฉันลูกพระผู้เป็นเจ้า” ด้วยกัน (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 2–3) จากนั้นให้โยนลูกบอลหรือของนุ่มๆ ให้เด็กคนหนึ่งขณะที่ท่านพูดว่า “ฉันรู้จักลูกของพระผู้เป็นเจ้าชื่อ [ชื่อเด็ก]” ขอให้เด็กโยนของชิ้นนั้นให้กัน โดยพูดเหมือนเดิมและใส่ชื่อเด็ก ทำกิจกรรมนี้ซ้ำจนกว่าทุกคนได้พูด เป็นพยานว่าเด็กแต่ละคนเป็น “ปิยบุตรและปิยธิดาทางวิญญาณของพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์”

  • คิดหาวิธีที่ท่านสามารถแสดงให้เห็นว่าเพราะเราเป็นลูกของพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์ เราจึงสามารถเป็นเหมือนพระองค์ ตัวอย่างเช่น ให้ดูภาพสัตว์และลูกสัตว์ หรือภาพตัวท่านกับบิดามารดาหรือบุตรของท่าน และช่วยให้เด็กเห็นความคล้ายคลึงกัน เป็นพยานว่าเช่นเดียวกับเด็กเติบโตเป็นเหมือนพ่อแม่ สักวันเราจะเป็นเหมือนพระบิดาพระมารดาบนสวรรค์

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

ครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อแผนของพระบิดาบนสวรรค์

ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ยืนยันความจริงนิรันดร์อีกครั้งเกี่ยวกับครอบครัว พิจารณาว่าท่านจะช่วยให้เด็กมีประจักษ์พยานลึกซึ้งเกี่ยวกับความจริงเหล่านี้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ถามเด็กว่าพวกเขารู้หรือไม่ว่าใครเขียน ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว (ในข่าวสารของประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์เรื่อง “แผนและถ้อยแถลง,” [ เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 28–31] ท่านอธิบายว่าเขียนอย่างไร) ช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของคำว่า “ประกาศด้วยความเคารพ” ในย่อหน้าแรก ขอให้พวกเขาแบ่งปันความคิดว่าเหตุใดศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกจึงต้องการ “ประกาศ [ความจริง] ด้วยความเคารพ” เกี่ยวกับครอบครัวในสมัยของเรา

  • แบ่งปันสองสามข้อความจาก ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ที่มีความหมายต่อท่านเป็นพิเศษ เชิญเด็กแบ่งปันความรู้สึกของพวกเขาเกี่ยวกับความจริงเหล่านั้น ชีวิตเราจะต่างจากนี้อย่างไรถ้าเราไม่รู้เรื่องเหล่านี้? ร้องเพลงๆ หนึ่งด้วยกันเกี่ยวกับความจริงในถ้อยแถลง เช่น “ฉันจะทำตามแผนของพระเจ้า” หรือ “ครอบครัวสามารถอยู่ด้วยกันชั่วนิรันดร์” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 86–87, 98)

  • ให้เด็กดูภาพ (หรือเชื้อเชิญให้พวกเขาวาดภาพ) แสดงความจริงที่พบใน ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว อาจจะเป็นภาพพระวิหาร ภาพครอบครัวกำลังสวดอ้อนวอนหรือเล่นด้วยกัน หรือภาพคู่ชายหญิงกำลังแต่งงาน ให้เด็กหาประโยคใน ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ที่เกี่ยวกับภาพ ประโยคเหล่านี้สอนอะไรเรา?

  • เตรียมคำถามบางข้อที่มีคำตอบใน ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว เช่น “พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้สึกอย่างไรกับการแต่งงาน?” และ “อะไรทำให้ครอบครัวมีความสุข?” ให้เด็กเลือกคำถามคนละข้อ และช่วยพวกเขาหาคำตอบในถ้อยแถลง

  • เชิญมารดาและบิดาของเด็กคนหนึ่งมาแบ่งปันกับชั้นเรียนว่าพวกเขา “ช่วยเหลือกันในฐานะเป็นหุ้นส่วนเท่าๆ กัน” ใน “ความรับผิดชอบอันศักดิ์สิทธิ์” ของพวกเขาในครอบครัวอย่างไร ให้เด็กสนทนาว่าพวกเขาจะทำอะไรได้บ้างตอนนี้เพื่อเตรียมเป็นภรรยาและสามี มารดาและบิดาที่ชอบธรรม

ครอบครัวมีความสุขที่สุดเมื่อพวกเขาทำตามพระเยซูคริสต์

พระบิดาบนสวรรค์ทรงรักบุตรธิดาแต่ละคนของพระองค์ และทรงต้องการให้พวกเขามีความสุข ท่านจะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนเข้าใจได้อย่างไรว่าความสุขที่แท้จริงเกิดจากการทำตามคำสอนและแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์

กิจกรรมที่ทำได้

  • วาดรูปหัวใจรูปใหญ่ๆ บนกระดาน และให้เด็กอ่านย่อหน้าที่เจ็ดของถ้อยแถลง ขอให้พวกเขามองหาสิ่งที่พวกเขาจะทำได้เพื่อช่วยให้ครอบครัวของพวกเขามีความสุข และเขียนคำตอบไว้ในหัวใจ ให้เด็กเลือกบางอย่างที่พวกเขาจะทำต่อเนื่องเพื่อทำให้บ้านของพวกเขามีความสุขมากขึ้น

  • เชิญเด็กแบ่งปันประสบการณ์เวลาที่พวกเขารู้สึกว่าสมาชิกครอบครัวรักพวกเขา ช่วยเด็กระบุหลักธรรมจากย่อหน้าเจ็ดของถ้อยแถลงที่สามารถช่วยให้สมาชิกครอบครัวรู้สึกว่ามีคนรักพวกเขา ความรู้ของเราในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ควรส่งผลต่อวิธีที่เราปฏิบัติต่อครอบครัวเราอย่างไร?

  • ถามเด็กว่าพวกเขาจะตอบอย่างไรถ้าเพื่อนคนหนึ่งถามพวกเขาว่าทำไมการแต่งงานหรือการมีบุตรจึงสำคัญ เราจะช่วยให้เพื่อนคนนี้เข้าใจได้อย่างไรว่าครอบครัวสำคัญเพียงใดต่อพระบิดาบนสวรรค์? ช่วยเด็กหาข้อความใน ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว ที่จะช่วยตอบ ดูวีดิทัศน์เรื่อง “What Is the Purpose of Family?” ด้วย (ChurchofJesusChrist.org)ChurchofJesusChrist.org

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กวางแผนทำบางอย่างเพื่อทำให้ครอบครัวของพวกเขาเข้มแข็ง กระตุ้นให้พวกเขาบอกแผนกับสมาชิกครอบครัวที่บ้าน

ปรับปรุงการสอนของเรา

จงละเอียดอ่อน ขณะสอนความจริงที่สอนใน ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว โปรดคำนึงว่าเด็กหลายคนเติบโตในครอบครัวที่ไม่ตรงกับหลักการที่กล่าวไว้ในถ้อยแถลง จงระวังอย่าพูดสิ่งใดที่อาจทำให้เด็กรู้สึกท้อแท้หรือน้อยเนื้อต่ำใจ