หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
1–7 พฤศจิกายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 125–128: “เสียงแห่งความยินดีสำหรับคนเป็นและคนตาย”


“1–7 พฤศจิกายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 125–128: ‘เสียงแห่งความยินดีสำหรับคนเป็นและคนตาย’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“1–7 พฤศจิกายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 125–128” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2021

ภาพ
ครอบครัวกับบรรพชนในโลกวิญญาณ

เรากับพวกเขาและพวกเขากับเรา โดย เคทลิน คอนนอลลี

1–7 พฤศจิกายน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 125–128

“เสียงแห่งความยินดีสำหรับคนเป็นและคนตาย”

ถ้าท่านสอนเด็กเล็กและต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม ให้ดู “การตอบรับความต้องการของเด็กเล็ก” ที่อยู่ต้นหนังสือเล่มนี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ช่วยให้เด็กนึกถึงสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้สัปดาห์นี้ที่บ้านหรือในปฐมวัย ให้เวลาพวกเขาสองสามนาทีวาดรูปสิ่งที่พวกเขานึกถึงและแบ่งปันกับชั้นเรียน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 126:3

ฉันรักครอบครัวของฉัน

หลังจากบริคัม ยังก์กลับบ้านจากการสั่งสอนพระกิตติคุณ พระเจ้ารับสั่งให้เขาใส่ใจดูแลครอบครัว

กิจกรรมที่ทำได้

  • แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับบริคัม ยังก์ใน “บทที่ 50: วิสุทธิชนในนอวู” ให้กับเด็กๆ (เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา, 184) หรือสรุป หลักคำสอนและพันธสัญญา 126 ด้วยคำพูดของท่านเอง จากนั้นอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 126:3 ให้เด็กฟัง โดยเน้นวลี “เอาใจใส่ครอบครัวของเจ้าเป็นพิเศษ” เอาใจใส่ดูแลครอบครัวของเราหมายความว่าอย่างไร? ช่วยเด็กคิดวิธีที่พวกเขาจะแสดงความรักต่อสมาชิกครอบครัวของพวกเขา

  • ก่อนชั้นเรียน ให้เด็กนำภาพครอบครัวมา (หรือขอให้พวกเขาวาด) จากนั้นให้เด็กบอกบางอย่างที่พวกเขารักเกี่ยวกับครอบครัวของพวกเขา ให้ดูภาพครอบครัวของท่าน และทำเช่นเดียวกัน อธิบายว่าเหตุใดพระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้เราดูแลสมาชิกครอบครัวของเรา ร้องเพลงๆ หนึ่งที่สอนความจริงนี้ เช่น “เมื่อเราช่วยเหลือ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 108)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:5, 12

บุตรธิดาทุกคนของพระผู้เป็นเจ้าจำเป็นต้องมีโอกาสรับบัพติศมา

นอกจากจะช่วยเด็กๆ เตรียมทำพันธสัญญาบัพติศมาของพวกเขาแล้ว ให้สอนพวกเขาด้วยว่าเราสามารถช่วยคนที่สิ้นชีวิตไปแล้วโดยไม่ได้รับบัพติศมาให้ได้รับพรเดียวกัน

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพพระเยซูคริสต์ทรงรับบัพติศมา (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 35) หรือฉายวีดิทัศน์เรื่อง “The Baptism of Jesus” (ChurchofJesusChrist.org) ถามเด็กว่าพวกเขาเคยเห็นคนรับบัพติศมาหรือไม่ พวกเขาจำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับบัพติศมาของคนนั้น? ใช้ภาพหรือวีดิทัศน์แสดงให้เด็กเห็นว่าเมื่อเรารับบัพติศมา เราลงไปใต้น้ำทั้งตัวแล้วกลับขึ้นมาเช่นเดียวกับพระเยซูทรงทำ เปิดไปที่ หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:12 และอธิบายว่าโจเซฟ สมิธสอนว่าการรับบัพติศมาเตือนให้เรานึกถึงการฟื้นคืนชีวิต

  • เล่าให้เด็กฟังเกี่ยวกับคนที่ท่านรู้จัก (เช่นบรรพชนคนหนึ่ง) ที่สิ้นชีวิตโดยไม่ได้รับบัพติศมา อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:5 และให้พวกเขาผลัดกันถือภาพอ่างบัพติศมาในพระวิหาร (ดู โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) เป็นพยานว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงยอมให้เรารับบัพติศมาบนแผ่นดินโลกแทนคนที่สิ้นชีวิตแล้ว วิธีนี้ทำให้บุตรธิดาทุกคนของพระผู้เป็นเจ้าได้รับบัพติศมาและทำพันธสัญญากับพระองค์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:18

พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติครอบครัวของฉัน

มีวิธีง่ายๆ ให้เด็กเล็กได้มีส่วนร่วมในงานประวัติครอบครัว ช่วยให้พวกเขารู้สึกรักคนในสาแหรกตระกูลของพวกเขา

กิจกรรมที่ทำได้

  • ทำห่วงโซ่กระดาษที่มีชื่อคนในครอบครัวท่าน (ดูหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้) และนำมาให้ชั้นเรียนดู บอกสองสามอย่างเกี่ยวกับคนในห่วงโซ่ของท่าน อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:18 ให้เด็กฟังและอธิบายว่าโจเซฟ สมิธสอนว่า “มีห่วง … เชื่อมระหว่างบรรพบุรุษกับลูกหลาน” ช่วยเด็กๆ ทำห่วงโซ่ครอบครัวของพวกเขา และให้พวกเขานำห่วงโซ่กลับบ้านไปให้บิดามารดาช่วยเติมชื่อบรรพชน

  • ขอให้เด็กแบ่งปันบางอย่างเกี่ยวกับปู่ย่าตายายคนหนึ่งของพวกเขา เล่าเรื่องที่ท่านชื่นชอบเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับบิดามารดาหรือปู่ย่าตายายของท่าน ให้ดูภาพหากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ กระตุ้นเด็กให้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับปู่ย่าตายายและบรรพชนคนอื่นๆ

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

หลักคำสอนและพันธสัญญา 126

ฉันสามารถช่วยดูแลครอบครัวของฉัน

ท่านจะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนรับใช้สมาชิกครอบครัวของพวกเขาในวิธีที่มีความหมายได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 126:3 ด้วยกัน เหตุใดพระบิดาบนสวรรค์ทรงขอให้บริคัม ยังก์ “เอาใจใส่ครอบครัว [ของเขา] เป็นพิเศษ”? เราจะเอาใจใส่ครอบครัวเราแบบเดียวกันได้อย่างไร? เขียนรายการสิ่งที่เราสามารถทำตอนนี้ได้เพื่อรับใช้ครอบครัวเรา การทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์มากขึ้นอย่างไร?

  • เล่าเรื่องของซิสเตอร์แคโรล เอ็ม. สตีเฟนส์เกี่ยวกับพอร์เทอร์หลานชายของเธอให้เด็กๆ ฟัง (ดู “เรามีเหตุผลสำคัญที่จะชื่นชมยินดีเลียโฮนา, พ.ย. 2013, 115) พอร์เทอร์ทำอะไรเพื่อดูแลครอบครัวของเขา? เราจะทำตามแบบอย่างของเขาได้อย่างไร?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:1, 15–18

บัพติศมาแทนคนตายสร้าง “ห่วงเชื่อม” ระหว่างฉันกับบรรพชนของฉัน

โจเซฟ สมิธสอนว่าบัพติศมาแทนคนตายผูกเราไว้กับบรรพชนเหมือนห่วงโซ่ ท่านจะช่วยให้เด็กรู้สึกถึงปีติที่มาจากการเรียนรู้เกี่ยวกับบรรพชนของเราและการแน่ใจว่าได้ทำงานพระวิหารให้พวกเขาได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • แบ่งชั้นเรียนออกเป็นสองกลุ่ม และขอให้กลุ่มแรกอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:1 เพื่อหาดูว่าเรื่องใดครอบงำจิตใจโจเซฟ สมิธ ขอให้อีกกลุ่มอ่าน ข้อ 17 และหาดูว่าเรื่องใดที่โจเซฟเห็นว่า “ล้ำเลิศที่สุด” ให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบและพูดคุยกันว่าเหตุใดเรื่องนี้จึงล้ำเลิศ หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ให้เชิญเยาวชนคนหนึ่งที่เคยรับบัพติศมาแทนคนตายมาเล่าประสบการณ์และอธิบายว่าเหตุใดเราจึงทำงานนี้

  • ท่านอาจจะใช้บทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริงแสดงให้เห็นว่าเราต้องช่วยเหลือบรรพชนของเราที่ยังไม่ได้รับบัพติศมา ตัวอย่างเช่น ให้ดูของขวัญหรือขนม แต่วางไว้ไม่ให้เด็กคนหนึ่งเอื้อมถึง บอกเด็กคนนั้นให้หยิบของชิ้นนั้นแต่ห้ามลุกจากที่นั่ง ถามเด็กที่เหลือว่าพวกเขาจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้เด็กคนนั้นได้รับของขวัญหรือขนม อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:15 ด้วยกันและพูดคุยกันว่าข้อนี้เกี่ยวข้องกับบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริงอย่างไร

  • ให้เด็กทำห่วงโซ่กระดาษที่มีชื่อบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด เป็นต้น (ดูหน้ากิจกรรมสำหรับบทนี้) ถ้าเด็กไม่รู้จักชื่อบรรพชนของพวกเขา ให้พวกเขาหาชื่อที่บ้านแล้วเขียนบนห่วงโซ่ อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 128:18 ด้วยกันเพื่อหาดูว่าอะไรเป็น “ห่วงเชื่อม” ที่ทำให้ประวัติตรอบครัวของเรา “สมบูรณ์และครบถ้วน” เล่าเรื่องเกี่ยวกับบรรพชนคนหนึ่งที่ช่วยให้ท่านรู้สึกเชื่อมโยงกับเขา หรือฉายวีดิทัศน์เรื่อง “Courage: I Think I Get It from Him” (ChurchofJesusChrist.org)

  • ให้เด็กดูใบรับรองพระวิหาร และบอกพวกเขาว่าท่านได้มาอย่างไร ช่วยให้พวกเขาตั้งตารอได้ใบรับรองพระวิหารของพวกเขาเองเพื่อพวกเขาจะได้ไปพระวิหารและรับบัพติศมาแทนบรรพชนของพวกเขา

    ภาพ
    เยาวชนชายกับบัตรชื่อครอบครัว

    เราสามารถหาชื่อบรรพชนของเราและประกอบศาสนพิธีพระวิหารแทนพวกเขา

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กขอให้คนที่บ้านช่วยพวกเขาเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับประวัติครอบครัวของพวกเขา พวกเขาอาจจะขอฟังเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับบรรพชนหรือใช้ FamilySearch.org หาชื่อบรรพชนที่ยังไม่ได้รับบัพติศมา

ปรับปรุงการสอนของเรา

ช่วยเด็กแสดงความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเด็กสร้าง วาด หรือระบายสีบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องเล่าหรือหลักธรรมที่กำลังเรียนรู้ พวกเขามักจะจำได้ดีขึ้น พวกเขาสามารถใช้งานสร้างสรรค์ของตนสอนคนอื่นๆ ได้เช่นกัน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25)