จงตามเรามา
14–20 มกราคม ลูกา 2; มัทธิว 2: เรามานมัสการพระองค์


“14–20 มกราคม ลูกา 2; มัทธิว 2: เรามานมัสการพระองค์,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“14–20 มกราคม ลูกา 2; มัทธิว 2:” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2019

ภาพ
นักปราชญ์เดินทางบนหลังอูฐ

เชิญมาสักการะพระองค์ โดย ดานา มาริโอ วูด

14-20 มกราคม

ลูกา 2; มัทธิว 2

เรามานมัสการพระองค์

เริ่มโดยอ่าน ลูกา 2 และ มัทธิว 2และเอาใจใส่ข้อคิดทางวิญญาณที่ท่านได้รับ แนวคิดการศึกษาในโครงร่างนี้จะช่วยให้ท่านค้นพบหลักธรรมที่เกี่ยวข้องและสำคัญที่สุดบางประการในบทเหล่านี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

นับจากวันประสูติ เห็นชัดว่าพระเยซูไม่ใช่เด็กธรรมดา ไม่เพียงดาวดวงใหม่ในท้องฟ้าหรือคำประกาศอันน่ายินดีของทูตสวรรค์เท่านั้นที่ทำให้วัยทารกของพระเยซูหาใครเสมอเหมือน แต่เป็นความจริงเช่นกันที่คนซื่อสัตย์หลายคน—จากประเทศ อาชีพ และภูมิหลังต่างกัน—ต่างรู้สึกสนใจพระองค์ทันที พวกเขามาก่อนพระองค์จะมีพระดำรัสเชื้อเชิญให้ “กลับมาติดตามเรา” ด้วยซ้ำ (ลูกา 18:22) แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนมาหาพระองค์—มีมากมายที่ไม่สนใจพระองค์ และผู้ปกครองที่มีใจริษยาถึงกับหมายมั่นจะเอาชีวิตพระองค์ แต่ผู้แสวงหาความชอบธรรมที่อ่อนน้อมถ่อมตน บริสุทธิ์ และอุทิศตนพบสิ่งที่พวกเขาแสวงหาในพระองค์ การอุทิศตนของพวกเขาสร้างแรงบันดาลใจให้เราอุทิศตนของเราเอง เพราะ “ข่าวดี [อัน] เป็นความยินดีอย่างยิ่ง” ที่มาถึงคนเลี้ยงแกะมีไว้ให้ “คนทั้งหลาย” และ “พระผู้ช่วยให้รอดของพวกท่านคือพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า” ประสูติวันนั้นเพื่อเราทุกคน (ดู ลูกา 2:10–11)

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

ลูกา 2:1–7

พระเยซูคริสต์ประสูติในสภาพต่ำต้อย

ถึงแม้พระเยซูคริสต์ทรงมีรัศมีภาพร่วมกับพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา “ก่อนที่โลกนี้มีมา” (ยอห์น 17:5) แต่พระองค์เต็มพระทัยประสูติในสภาพต่ำต้อยและทรงพระชนม์บนแผ่นดินโลกในหมู่พวกเรา ขณะที่ท่านอ่าน ลูกา 2:1–7ท่านสังเกตเห็นอะไรเกี่ยวกับสภาพต่ำต้อยของการประสูติ พยายามระบุรายละเอียดหรือข้อคิดในเรื่องนี้ที่ท่านไม่เคยสังเกตมาก่อน ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากสภาพการประสูติของพระองค์ ข้อคิดเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อความรู้สึกที่ท่านมีต่อพระองค์

ดูวีดิทัศน์เรื่อง “The Nativity” (LDS.org) ด้วย

ลูกา 2:8–38; มัทธิว 2:1–12

มีพยานหลายคนยืนยันการประสูติของพระคริสต์

การประสูติและวัยทารกของพระคริสต์เป็นที่สนใจของพยานและผู้นมัสการจากหลายชนชั้น—คนเลี้ยงแกะผู้ต่ำต้อยซึ่งมาเยือนคอกสัตว์ นักปราชญ์ผู้มั่งคั่งซึ่งนำของมาถวายพระองค์ที่บ้าน หญิงม่ายผู้รับใช้ในพระวิหาร และสาวกผู้ซื่อสัตย์คนหนึ่งที่ตั้งตารอพระเมสสิยาห์เสด็จมา ขณะท่านสำรวจเรื่องราวของพวกเขา ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับวิธีนมัสการและเป็นพยานของพระคริสต์

พยานของพระคริสต์

ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการนมัสการและการเป็นพยาน

พยานของพระคริสต์

คนเลี้ยงแกะ (ลูกา 2:8–20)

ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการนมัสการและการเป็นพยาน

พยานของพระคริสต์

สิเมโอน (ลูกา 2:25–35)

ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการนมัสการและการเป็นพยาน

พยานของพระคริสต์

อันนา (ลูกา 2:36–38)

ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการนมัสการและการเป็นพยาน

พยานของพระคริสต์

นักปราชญ์ (มัทธิว 2:1–12)

ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการนมัสการและการเป็นพยาน

ดู 1 นีไฟ 11:13–23; 3 นีไฟ 1:5–21; “Shepherds Learn of the Birth of Christ” and “The Christ Child Is Presented at the Temple” (วีดิทัศน์, LDS.org) ด้วย

มัทธิว 2:13–23

บิดามารดาสามารถรับการเปิดเผยเพื่อคุ้มครองครอบครัวของตน

โยเซฟจะทำสิ่งที่ขอให้ท่านทำไม่ได้—นั่นคือ คุ้มครองพระเยซูในวัยเด็ก—หากปราศจากความช่วยเหลือของสวรรค์ เช่นเดียวกับนักปราชญ์ เขาได้รับการเปิดเผยที่เตือนให้เขารู้ว่ามีอันตราย ขณะท่านอ่านประสบการณ์ของโยเซฟ ให้นึกถึงอันตรายทางกายและทางวิญญาณที่ครอบครัวพบเจอในปัจจุบัน ไตร่ตรองประสบการณ์เมื่อท่านรู้สึกถึงการนำทางจากพระผู้เป็นเจ้าในการคุ้มครองท่านและครอบครัวท่านหรือคนที่ท่านรัก ท่านอาจจะแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้กับผู้อื่น ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อรับการนำทางเช่นนั้นในอนาคต

นอกจากนี้ ท่านอาจจะดูวีดิทัศน์เรื่อง “The First Christmas Spirit” (LDS.org) เพื่อให้เห็นภาพว่าโยเซฟอาจรู้สึกอย่างไรขณะเผชิญความรับผิดชอบของการดูแลพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า

ลูกา 2:40–52

พระเยซูตั้งพระทัยทำตามพระประสงค์ของพระบิดาตั้งแต่วัยเยาว์

ขณะทรงเป็นเยาวชน พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนพระกิตติคุณอย่างมีพลังจนกระทั่งผู้สอนในพระวิหารประหลาดใจกับ “สติปัญญาและคำตอบ” ของพระองค์ (ลูกา 2:47) ท่านเรียนรู้อะไรจากข้อเหล่านี้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดขณะทรงเป็นเยาวชน เยาวชนที่ท่านรู้จักกำลังพยายาม “ทำงานของพระบิดา [ของพวกเขา]” อย่างไร (ลูกา 2:49) เยาวชนและเด็กเคยช่วยให้ท่านเข้าใจพระกิตติคุณลึกซึ้งขึ้นอย่างไร ท่านเรียนรู้อะไรอีกบ้างจากแบบอย่างในวัยเด็กของพระเยซูใน ลูกา 2:40–52 และใน งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 3:24–26 (ท้ายคู่มือพระคัมภีร์)

ภาพ
พระเยซูเมื่อครั้งทรงเป็นเด็กชายกับผู้สอนในพระวิหาร

“พ่อกับแม่ไม่รู้หรือว่าลูกต้องทำงานของพระบิดาของลูก” (ดู ลูกา 2:49)

งานแปลของโจเซฟ สมิธคืออะไร

เพราะความจริง “ที่แจ้งชัดและมีค่า“ สูญหายไปจากพระคัมภีร์ไบเบิลมาหลายศตวรรษ (1 นีไฟ 13:28; ดู โมเสส 1:41 ด้วย) พระเจ้าจึงทรงบัญชาโจเซฟ สมิธให้ทำการแก้ไขพระคัมภีร์ไบเบิลด้วยการดลใจ ซึ่งเรียกกันว่างานแปลของโจเซฟ สมิธ การแก้ไขมากมายที่ท่านศาสดาพยากรณ์ทำไว้รวมอยู่ในภาคผนวกของพระคัมภีร์ฉบับวิสุทธิชนยุคสุดท้าย พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับคิงเจมส์ของวิสุทธิชนยุคสุดท้ายมีเชิงอรรถกับการแก้ไขของท่านศาสดาพยากรณ์ด้วย การแปล มัทธิว 24 ของโจเซฟ สมิธที่รู้กันในชื่อว่า โจเซฟ สมิธ—มัทธิว อยู่ในพระคัมภีร์ไข่มุกอันล้ำค่า ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Bible Dictionary, “Joseph Smith Translation”; “Bible, Inerrancy of,” Gospel Topics, topics.lds.org

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว

ขณะที่ท่านอ่านพระคัมภีร์กับครอบครัว พระวิญญาณจะทรงช่วยให้ท่านรู้ว่าจะเน้นและสนทนาหลักธรรมใดจึงจะตอบรับความต้องการของครอบครัวท่าน ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะบางประการ:

ลูกา 2

เชื้อเชิญให้สมาชิกครอบครัวเลือกคนหนึ่งที่ ลูกา 2 พูดถึง อ่านสองสามข้อเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของบุคคลนั้นกับพระผู้ช่วยให้รอด และแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ซึ่งเพิ่มพูนศรัทธาของพวกเขาในพระเยซูคริสต์ ร้องเพลง “แมรีย์กล่อมพระกุมาร” หรือ “เพลงประสูติกาล” หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 28–29, 32–33 ด้วยกัน เราเรียนรู้อะไรจากเพลงเหล่านี้เกี่ยวกับการประสูติของพระผู้ช่วยให้รอด

ลูกา 2:49

“งานของพระบิดา” คืออะไร (ดู โมเสส 1:39) เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับงานนั้นจากเรื่องนี้และจากสิ่งอื่นที่พระเยซูทรงทำและสอนตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ท่านอาจจะจดวิธีการบางอย่างที่ครอบครัวท่านสามารถมีส่วนในงานของพระบิดาและใส่ไว้ในขวดโหล ในช่วงสัปดาห์ที่จะมาถึง เมื่อครอบครัวท่านมองหาวิธีทำงานของพระบิดาบนสวรรค์ พวกเขาจะเลือกแนวคิดจากขวดโหลได้ วางแผนเวลาที่ท่านจะแบ่งปันประสบการณ์ของท่าน

ลูกา 2:52

เราเรียนรู้อะไรได้บ้างจาก ลูกา 2:52 เกี่ยวกับวิธีที่พระเยซูทรงพัฒนาในพระชนม์ชีพของพระองค์ สมาชิกครอบครัวจะเพิ่มพูน “สติ‍ปัญญาและด้านร่าง‍กาย เป็นที่ ชอบต่อ‍พระ‍พักตร์พระ‍เจ้าและต่อ‍หน้าคนทั้ง‍หลาย” ในวิธีใดได้บ้าง

สำหรับแนวคิดการสอนเด็กเพิ่มเติม ดู โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

ใช้สิ่งช่วยศึกษาพระคัมภีร์ เพื่อให้ได้ข้อคิดเพิ่มเติมขณะศึกษาพระคัมภีร์ ให้ใช้แหล่งข้อมูลเช่น เชิงอรรถ, Topical Guide, Bible Dictionary, คู่มือพระคัมภีร์, และสิ่งช่วยศึกษาอื่นๆ เช่น LDS.org และ คู่มือนักเรียนพันธสัญญาใหม่ (ระบบการศึกษาของศาสนจักร, 2014)

ภาพ
มารีย์ โยเซฟ และพระกุมารเยซู

พระผู้ช่วยให้รอดของโลกเสด็จมาแผ่นดินโลกในสภาพต่ำต้อย