2019
การเดินทางผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
ธันวาคม 2019


การสอนวัยรุ่นและเด็กเล็ก

การเดินทางผ่าน ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

ภาพ
life transitions

ภาพประกอบโดย เดวิด กรีน

เริ่มเข้าโรงเรียน จบปฐมวัย ไปพระวิหาร ได้งานใหม่ จบจากโรงเรียนมัธยมปลาย รับใช้งานเผยแผ่

สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุการณ์สำคัญบางส่วนที่ลูกๆ ของท่านจะพบเจอในชีวิตและทุกอย่างต้องใช้การเตรียมเป็นพิเศษ การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องน่ากลัวแต่เครื่องมือสองสามอย่างจะช่วยเราเดินทางผ่านไปด้วยความสำเร็จ ต่อไปนี้เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ บางข้อที่จะช่วยท่านนำทางลูกของท่านผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต

  • ฟังความรู้สึกของพวกเขา เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่าน ถามพวกเขาว่าพวกเขาตื่นเต้นเกี่ยวกับอะไรและพวกเขากังวลเกี่ยวกับอะไร ให้กำลังใจแต่ให้เข้าใจความกังวลของพวกเขา บางครั้งพวกเขาแค่ต้องการคนฟังอย่างเห็นอกเห็นใจเพื่อรู้สึกสบายใจขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง

  • ให้ข้อมูลกับพวกเขามากเท่าที่ทำได้ เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาสามารถคาดหวังกับสิ่งใหม่ ตัวอย่างเช่น หากลูกของท่านจะไปทำบัพติศมาที่พระวิหารเป็นครั้งแรก ทบทวนทีละขั้นตอนกับพวกเขาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาอยู่ในพระวิหาร หากท่านจะย้ายไปเมืองใหม่ ให้หาข้อมูลที่หาได้เกี่ยวกับโรงเรียน วอร์ด และเพื่อนบ้านใหม่ของพวกเขา เมื่อท่านลดสิ่งที่ท่านไม่รู้ ท่านขจัดที่มาของความกังวล ความรู้ใหม่ของพวกเขาจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจประสบการณ์ใหม่ที่จะมี

  • วางแผน จัดการสถานการณ์ใหม่ ให้คาดการณ์ถึงปัญหาที่เป็นไปได้และระดมความคิดเกี่ยวกับวิธีจัดการกับปัญหา ช่วยลูกๆ คิดการแก้ปัญหากับคำถาม “ถ้าเกิดว่า” ของพวกเขา เช่น “ถ้าเกิดฉันขึ้นรถโดยสารผิดล่ะ” “ถ้าเกิดฉันรู้สึกเหงาที่ค่ายล่ะ” “ถ้าเกิดฉันไม่ชอบครูใหม่ของฉันล่ะ” ให้คิดแผนสำรองไว้เพื่อว่าพวกเขาจะรู้สึกสบายใจมากขึ้น เช่น “หากลูกเครียด ให้โทรหาพ่อ (แม่)” “ถ้าชั้นเรียนยากเกินไป เราพูดกับครูของลูกเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้”

  • ให้พลังพวกเขา โดยเตือนความจำพวกเขาถึงเหตุการณ์สำคัญที่พวกเขาผ่านมาก่อนหน้าและเครื่องมือที่พวกเขามีตอนนี้ที่จะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จ ใช้ภาษาเชิงบวก ให้กำลังใจ เช่น “ลูกผ่านตรงนั้นมาได้แล้ว ลูกจะผ่านตรงนี้ไปได้!” “ลูกทำเรื่องยากๆ ได้!” “ลูกมีสิ่งที่ลูกจะเป็น ลูกพร้อมแล้ว” “พ่อ (แม่) เชื่อในตัวลูก”

  • ให้ความมั่นใจกับพวกเขา ว่าทุกสิ่งจะดี ผู้คนมากมายเอาชนะปัญหาที่คล้ายกัน เราก็จะเอาชนะได้เช่นกัน! เตือนพวกเขาว่าพวกเขาสามารถสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์เพื่อทูลขอความช่วยเหลือเวลาใด ที่ใด หรือเกี่ยวกับอะไรก็ได้

  • สร้างระบบสนับสนุน เพื่อให้ลูกของท่านไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อพวกเขามีปัญหา หากท่านเคยประสบสิ่งที่คล้ายกัน เล่าให้พวกเขาฟัง ท่านรู้สึกอย่างไร ท่านปรับตัวอย่างไร พยายามหาบางคนที่จะเป็น “คู่หูช่วงเปลี่ยนผ่าน” ของลูกท่าน พวกเขาหาเพื่อนสักคนที่จะอยู่กับพวกเขาในชั้นเรียนปฐมวัยใหม่ได้หรือไม่ มีใครสักคนที่ท่านรู้จักที่อาจเป็นพี่เลี้ยงพวกเขาผ่านการทำงานหรือชั้นเรียนของพวกเขาหรือไม่ ใครจะเป็นเพื่อนร่วมห้องพักในวิทยาลัยของพวกเขา

  • ไปตามอัตราความเร็วของพวกเขา ลูกของท่านอาจจำเป็นต้องถูกผลักให้เดินไปข้างหน้าหรือได้รับการเตือนให้เดินช้าลง แต่พยายามอย่าเปลี่ยนความเร็วตามธรรมชาติของพวกเขามากเกินไป เดินตามพวกเขา หากพวกเขาต้องการทำด้วยตนเอง พึงแน่ใจว่าพวกเขามีทุกสิ่งที่พวกเขาจำเป็นเพื่อทำเช่นนั้น หากพวกเขายังไม่รู้สึกพร้อมที่จะก้าวต่อไป อย่าบังคับพวกเขาทำทุกอย่าง กระตุ้นพวกเขาอย่างอ่อนโยนให้ออกจากอาณาเขตที่พวกเขาคุ้นเคยและค่อยๆ ไป ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกท่านและแสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณเพื่อรู้วิธีที่จะช่วยได้ดีที่สุด