การอบรมหลักสูตร
สร้างการอบรมแนวทางกำหนดอัตราการสอน


“สร้างการอบรมแนวทางกำหนดอัตราการสอน” การอบรมหลักสูตรเซมินารี (2022)

“สร้างการอบรมแนวทางกำหนดอัตราการสอน” การอบรมหลักสูตรเซมินารี

ภาพ
ผู้ชายที่คอมพิวเตอร์

สร้างการอบรมแนวทางกำหนดอัตราการสอน

คำนำ

ในเซมินารี เราตามตารางเวลา จงตามเรามา ซึ่งทำให้เซมินารีมีบทบาทสนับสนุนสิ่งที่นักเรียนกำลังเรียนรู้ที่บ้าน แม้ว่าวิธีนี้จะทำให้การเรียนเซมินารีมีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีใช้หลักสูตรเซมินารีในเขตและโปรแกรมท้องที่ด้วย ในหลายกรณี เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเหล่านี้มีความซับซ้อน จึงควรมีผู้ดูแลเขตพื้นที่ ผู้ประสานงาน หรือผู้ดูแลโปรแกรม ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างแนวทางกำหนดอัตราการสอน เพื่อไม่ให้ครูต้องทำหน้าที่ดังกล่าว การสร้างแนวทางเหล่านี้สำหรับครูจะช่วยประหยัดเวลาให้ครู อย่างไรก็ตาม ครูบางคนยังคงต้องปรับตามแนวทางกำหนดอัตราการสอนที่ท่านให้

คำแนะนำในการสร้างแนวทางกำหนดอัตราการสอน

ให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนก่อน

ในการจัดทำแนวทางกำหนดอัตราการสอน ท่านจะต้องใส่ใจอย่างรอบคอบเมื่อท่านจะทำตารางเวลาสำหรับบทเรียนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ต่อไปนี้เป็นแนวทางสำคัญสำหรับการจัดตารางกิจกรรมการเรียนรู้ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน:

  • พิจารณาว่าเมื่อใดที่ควรสอนการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณภาคที่ 1, 2 และ 3 บทเรียนนี้จะแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับหลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ เป็นการดีที่สุดที่จะสอนในช่วงต้นปีการศึกษาก่อนที่จะมีการสอนบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน

  • พึงแน่ใจว่า บทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน 24 บทเรียนและบทเรียนเชิงบริบทที่เกี่ยวข้องรวมอยู่ในแนวทางกำหนดอัตราการสอน เพื่อจะได้รับการสอนขณะอยู่ในช่วงการเรียนการสอนเซมินารี บทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติระหว่างหลักสูตรของปีขณะอยู่ในช่วงการเรียนการสอนเซมินารี ถือเป็นการดีที่สุดที่เราจะให้บทเรียนเหล่านี้ใกล้เคียงที่สุดกับช่วงพระคัมภีร์ในตาราง จงตามเรามา ที่จะศึกษา พิจารณาว่าบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนบทใดที่นักเรียนจะไม่ได้รับเมื่อไม่ได้อยู่ในช่วงการเรียนการสอนเซมินารี ย้ายบทเรียนเหล่านี้ไปยังสัปดาห์ที่มีการทบทวนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนเพื่อสอนแทนการทบทวน นอกจากการย้ายบทเรียนนี้แล้ว พึงแน่ใจว่าได้ย้ายบทเรียนตามบริบทที่เกี่ยวข้องซึ่งข้อนั้นได้รับการแนะนำในตอนแรกด้วย บทเรียนตามบริบทเหล่านี้พบได้ในหนังสือคู่มือครูเซมินารีในทันทีก่อนบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนแต่ละบท การย้ายบทเรียนทั้งสองนี้หมายความว่าจำเป็นต้องมีการแทนที่การทบทวนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนและอีกบทเรียนหนึ่งระหว่างสัปดาห์นั้น

  • กำหนดตารางเวลาสำหรับการทบทวนการประเมินผลผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนและการประเมินผลผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ครูจะเป็นผู้จัดการทบทวนตอนสิ้นภาคการศึกษาและการประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนประเมินว่าพวกเขาเรียนรู้ข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรดีเพียงใด แนวทางกำหนดอัตราการสอนอาจรวมถึง “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน: การทบทวนการประเมิน 1” หลังจากนักเรียนได้รับบทเรียนทั้งหมดเกี่ยวกับข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ซึ่งสอดคล้องกับข้อต่างๆ ในการประเมินผลผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน: การประเมิน 1” สามารถกำหนดตารางไว้ที่ประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากการทบทวน แนวทางกำหนดอัตราการสอนยังสามารถปรับเพื่อให้สอดคล้องกับ “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน: การทบทวนการประเมิน 2” และ “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน: การประเมิน 2” หลังจากนักเรียนศึกษาบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ซึ่งสอดคล้องกับข้อต่างๆ ในการประเมินผลผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน

  • พึงแน่ใจว่า นักเรียนมีประสบการณ์รายสัปดาห์กับผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ไม่มีบทเรียนการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ บทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน บทเรียนทบทวนการประเมินผลผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน หรือการประเมินผลผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ให้จัดตารางเวลาสำหรับการทบทวนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน มีการทบทวนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนรวมอยู่ในบทเรียนทุกสัปดาห์ของบทเรียนในคู่มือครูเซมินารีแล้วเมื่อไม่มีบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนหรือการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ

ทำตามตาราง จงตามเรามา

โดยส่วนใหญ่ให้ตามตาราง จงตามเรามา เมื่อจัดทำแนวทางกำหนดอัตราการสอน มีช่วงพระคัมภีร์บางข่วงในตารางรายสัปดาห์ของ จงตามเรามา ซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อหามากมายและข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนหลายข้อ เพื่อสร้างความสมดุลแก่ประสบการณ์รายสัปดาห์กับสัปดาห์ที่มีช่วงพระคัมภีร์มากเป็นพิเศษ ท่านอาจต้องการจัดบทเรียนในแนวทางกำหนดอัตราการสอนเพื่อให้นักเรียนเริ่มศึกษาช่วงพระคัมภีร์ในเซมินารีสัปดาห์ก่อนที่มีในตาราง จงตามเรามา หรือศึกษาต่อในสัปดาห์ถัดไป

อย่างไรก็ตาม โอกาสเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ยาก นักเรียนควรศึกษาช่วงพระคัมภีร์เดียวกันในเซมินารีที่พวกเขากำลังเรียนอยู่ที่บ้านกับ จงตามเรามา

สะท้อนให้เห็นถึงตารางเรียนในท้องที่และสนองความต้องการในท้องที่

ระบุวันหยุดของโรงเรียนในท้องที่และวันปิดเรียนอื่นๆ ในกำหนดการของโรงเรียนลงในแนวทางกำหนดอัตราการสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเวลาหนึ่งสัปดาห์ในเซมินารีสั้นลงเนื่องจากตารางเวลาของโรงเรียนในท้องที่ อย่าลืมให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนก่อน ระหว่างช่วงสัปดาห์เหล่านี้ ท่านจะต้องเลือกบทเรียนอื่นๆ ที่ท่านจะกำหนดไว้ในแนวทางกำหนดอัตราการสอน ท่านอาจจำเป็นต้องทบทวนข้อความจุดประสงค์ของบทเรียนต่างๆ ในภาพรวมรายสัปดาห์ หรือแม้แต่ศึกษาบทเรียนด้วยตนเองเพื่อกำหนดว่าประสบการณ์การเรียนรู้ใดที่เหมาะกับนักเรียนมากที่สุด

ในการจัดทำแนวทางกำหนดอัตราการสอน พึงแน่ใจว่าตอบสนองความต้องการของนักเรียนในพื้นที่หรือโปรแกรมของท่าน มีบทเรียนบทนำรวมอยู่ที่ด้านหน้าของคู่มือครูเซมินารีซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกับแนวทางกำหนดอัตราการสอนในระหว่างปีการศึกษา นอกจากนี้ นักเรียนอาจได้รับประโยชน์จากประสบการณ์การเรียนรู้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องรวมอยู่ในคู่มือครู ประสบการณ์เหล่านี้อาจรวมถึงบทเรียนที่ช่วยให้นักเรียนเตรียมตัวหรือทบทวนการประชุมใหญ่สามัญหรือการให้ข้อคิดทางวิญญาณของเยาวชน กิจกรรมเหล่านี้สามารถนำมารวมในแนวทางกำหนดอัตราการสอนได้

กรณีศึกษา

ต่อไปนี้คือตัวอย่างกรณีศึกษาสองกรณีที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการนำแนวทางเหล่านี้ไปใช้ซึ่งได้อธิบายไว้เมื่อทำแนวทางกำหนดอัตราการสอน

อังเดร โมราเลส ผู้ประสานงาน

นักเรียนในเขตพื้นที่ที่บราเดอร์โมราเลสเป็นผู้ประสานงานโปรแกรมเซมินารีเปิดเทอมในวันที่ 6 มีนาคม เขาเริ่มเตรียมแนวทางกำหนดอัตราการสอนสำหรับครูของนักเรียนเหล่านี้เพื่อที่ครูจะได้ไม่ต้องทำ เขาเริ่มต้นด้วยการดูตาราง จงตามเรามา เพื่อดูว่าจะศึกษาช่วงพระคัมภีร์ใดในสัปดาห์นั้น เขาสังเกตว่าตลอดสัปดาห์ของวันที่ 6 มีนาคม ช่วงพระคัมภีร์คือ มัทธิว 9–10, มาระโก 5 และ ลูกา 9 สำหรับสัปดาห์นั้น ในคู่มือครูเซมินารี เขาเห็นบทเรียนห้าบทต่อไปนี้:

ภาพ
ภาพประกอบ 1 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของบราเดอร์โมราเลส

บราเดอร์โมราเลสเข้าใจดีว่า นักเรียนหลายคนยังใหม่กับเซมินารี ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจที่จะเริ่มภาคการศึกษาโดยการเลือกบทเรียนจากเนื้อหาอารัมภบทใน คู่มือครูเซมินารี พันธสัญญาใหม่ เขาเลือก “บทนำของพันธสัญญาใหม่” และ “การศึกษาพระคัมภีร์”

บราเดอร์โมราเลสรู้สึกดีกับบทเรียนสองบทแรกนี้ แต่กำลังพยายามอย่างยิ่งที่จะรู้ว่าบทเรียนอื่นใดอีกที่เขาควรวางแผนไว้สำหรับสัปดาห์แรกนี้ เขาดูเอกสารภาพรวมรายสัปดาห์สำหรับสัปดาห์นี้และทบทวนจุดประสงค์ของบทเรียนในแต่ละบทเรียน เขารู้สึกว่านักเรียนจะได้รับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมจากทั้งสองบทเรียนใน มาระโก 5 แต่เขาก็ตระหนักว่านักเรียนจำเป็นต้องได้รับการแนะนำให้รู้จักกับผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ดังนั้นเขาจึงเพิ่มบทเรียน “บทนำผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน” สำหรับบทเรียนอีกสองบท เขาตัดสินใจที่จะรวมบทเรียนทั้งสองใน มาระโก 5 ดังนั้นสัปดาห์แรกในแนวทางกำหนดอัตราการสอนจะมีลักษณะดังนี้

ภาพ
ภาพประกอบ 2 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของบราเดอร์โมราเลส

สัปดาห์ถัดไปในตาราง บราเดอร์โมราเลสเห็นว่ามีข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนสำหรับ มัทธิว 11:28–30

ภาพ
ภาพประกอบ 3 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของบราเดอร์โมราเลส

เขารู้สึกว่านักเรียนควรเข้าใจอย่างแท้จริงถึงหลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณก่อนที่พวกเขาจะได้รับการสอนบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนใน มัทธิว 11:28–30 เขาตัดสินใจจัดตารางสำหรับบทเรียนทั้งสามบทเกี่ยวกับการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณให้เป็นเนื้อหาส่วนแรกของสัปดาห์นี้ จากนั้นเขาจึงจัดตารางเวลาสำหรับบทเรียนตามบริบทและบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนที่สอดคล้องกันกับ มัทธิว 11:28–30

ภาพ
ภาพประกอบ 4 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของบราเดอร์โมราเลส

สำหรับแต่ละสัปดาห์หลังจากนั้น เขาตัดสินใจที่จะทำตามลำดับบทเรียนที่จัดการไว้แล้วในคู่มือครู โดยมีข้อยกเว้นบางประการ เขามองที่ตาราง จงตามเรามา และสังเกตว่า ขณะที่นักเรียนอยู่ในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนและไม่มีการเรียนการสอนเซมินารี ยังมีข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนอีกสี่ข้อที่รอให้ศึกษา เขายังคงจำเป็นต้องรวมเอาบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนและบทเรียนตามบริบทที่สอดคล้องกันสำหรับทั้ง 4 ข้อเหล่านั้นไว้ในแนวทางกำหนดอัตราการสอนด้วย: ลูกา 2:10–12, ยอห์น 3:5, ยอห์น 3:16 และมัทธิว 5:14–16 สังเกตว่าเขาปรับแก้สองสัปดาห์ต่อมาอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนจะได้รับข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนและบทเรียนตามบริบทที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ภาพ
ภาพประกอบ 5 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของบราเดอร์โมราเลส

หลังจากที่บราเดอร์โมราเลสจัดทำแนวทางกำหนดอัตราการสอนมาถึงจุดนี้ เขาสังเกตว่าสัปดาห์ถัดไปคือวันอีสเตอร์ หนังสือคู่มือครูเซมินารีไม่มีเนื้อหาใดเลยสำหรับสัปดาห์วันอีสเตอร์หรือสัปดาห์วันคริสต์มาสที่รวมอยู่ใน จงตามเรามา ดังนั้น บราเดอร์โมราเลสจึงสามารถกำหนดตารางเวลาสำหรับบทเรียนที่เขาเลือกในสัปดาห์นี้ เขาอาจตัดสินใจที่จะรวมบทเรียนอื่นที่นักเรียนอาจจะพลาดไปในช่วงฤดูร้อนไว้ด้วย เขาตัดสินใจวางกำหนดการระหว่างสัปดาห์นี้ให้เป็นบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนข้อที่เหลือและบทเรียนตามบริบทที่เกี่ยวข้องของข้อเหล่านั้นซึ่งครอบคลุมช่วงปิดเทอมฤดูร้อน เขายังมีตารางว่างสำหรับเนื้อหาอีกบทหนึ่ง และตัดสินใจที่จะเพิ่มบทเรียนจากเนื้อหาอารัมภบทที่นักเรียนยังไม่เคยเรียนมาก่อน

ภาพ
ภาพประกอบ 6 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของบราเดอร์โมราเลส

ขณะนี้ บราเดอร์โมราเลสได้รวมบทเรียนทั้งหมดเกี่ยวกับข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนและบทเรียนตามบริบทที่เกี่ยวข้องไว้ในแนวทางกำหนดอัตราการสอนแล้ว เขาทำตามลำดับของบทเรียนในคู่มือครู บางครั้ง อาจมีหลายสัปดาห์ที่มีการหยุดเรียนหนึ่งวัน ระหว่างช่วงสัปดาห์เหล่านี้ เขายังคงให้ความสำคัญกับประสบการณ์การเรียนรู้ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนก่อน และตัดสินใจว่าบทเรียนใดในสัปดาห์ที่จะไม่รวมไว้ในแนวทางกำหนดอัตราการสอน

ภาพ
ภาพประกอบ 7 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของบราเดอร์โมราเลส

บราเดอร์โมราเลสจะทำตามรูปแบบนี้จนกระทั่งถึงช่วงสองสามสัปดาห์สุดท้ายของครึ่งแรกของหลักสูตร โดยที่เหลือเวลาอีกสองสัปดาห์ เขารวมบทเรียน “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน: การทบทวนการประเมิน 1” แทนบทเรียนการทบทวนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน สัปดาห์ต่อมา ซึ่งคือสัปดาห์สุดท้ายของครึ่งแรกของหลักสูตร เขาตัดสินใจที่จะวางกำหนดการสอนเป็นบทเรียน “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน : การประเมิน 1” เขาจัดตารางเวลาไว้แต่เนิ่นๆ ในสัปดาห์เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาได้อีกสองสามวันหากนักเรียนมีการขาดเรียนในวันประเมินหรือต้องรับการประเมินอีกครั้ง

สเตซี่ ริชาร์ดส์ ครูใหญ่ซมินารีช่วงพัก

ภาคเรียนที่สองของปีการศึกษาในพื้นที่ที่ซิสเตอร์ริชาร์ดส์และคณาจารย์ของเธอสอนอยู่จะเริ่มระหว่างวันที่ 3 มกราคมถึง 27 พฤษภาคม จากนั้นนักเรียนจะหยุดภาคฤดูร้อนจนถึงวันที่ 22 สิงหาคม

ซิสเตอร์ริชาร์ดส์สามารถสร้างแนวทางกำหนดอัตราการสอนที่มีความแตกต่างน้อยที่สุดจากการจัดเรียงเนื้อหาในคู่มือครูสำหรับส่วนแรกของภาคเรียน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เธอเปรียบเทียบตารางสอนของโรงเรียนกับตารางใน จงตามเรามา เธอสังเกตว่านักเรียนจะอยู่ในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนเมื่อมีข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนสองข้อรวมอยู่ในครึ่งแรกของหลักสูตรซึ่งมีตารางการสอนไว้ ข้อเหล่านี้คือ ยอห์น 17:3 และ ลูกา 24:36–39 เนื่องจากหนึ่งในจุดประสงค์ของผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนคือเชื่อมช่องว่างของสิ่งที่นักเรียนจะพลาดเมื่อปิดเรียน เธอจึงตัดสินใจหาที่สำหรับรวมข้อเหล่านี้ไว้ในภาคการศึกษาปัจจุบัน นอกจากนี้เธอยังทราบดีว่าเธอต้องจัดตารางเวลาของบทเรียน “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน : การทบทวนการประเมิน 1” และ “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน : การประเมิน 1” ก่อนที่นักเรียนจะปิดเทอมฤดูร้อน

เพื่อที่จะทำการปรับเปลี่ยนเหล่านี้ เธอตัดสินใจเริ่มต้นในสัปดาห์สุดท้ายของภาคการศึกษาและย้อนกลับมาจนกระทั่งเธอสามารถทำการประเมินผล การทบทวนการประเมินผล บทเรียนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน บทเรียนตามบริบทที่เกี่ยวข้อง และบทเรียนอื่นๆ ที่ต้องการ เธอตัดสินใจที่จะไม่สอนบทเรียน “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน : การประเมิน 1” ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของภาคเรียน เนื่องจากความผันแปรของตารางสอนของโรงเรียนและแนวโน้มที่นักเรียนหลายคนจะขาดในสัปดาห์นั้น ดังนั้น สัปดาห์สุดท้ายจึงเป็นไปตามตาราง

ภาพ
ภาพประกอบ 1 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของซิสเตอร์ริชาร์ดส์

หลังจากทราบว่าบทเรียน “ผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน : การทบทวนการประเมิน 1” ควรสอนก่อนบทเรียนการประเมิน ซิสเตอร์ริชาร์ดส์จึงตัดสินใจที่จะแทรกบทเรียนแรกไปเป็นบทเรียนก่อนสัปดาห์สุดท้ายของภาคการศึกษา และแทรกบทเรียนการประเมินผลไปเป็นบทเรียนสุดท้ายของสัปดาห์นั้น ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีเวลาสองสามวันในการศึกษาข้อพระคัมภีร์ที่พวกเขาอาจไม่คุ้นเคยหลังจากการทบทวนแล้ว

จากนั้นเธอตัดสินใจว่า การทบทวนจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหลังจากนักเรียนศึกษาบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนทั้งหมดแล้ว โดยการย้ายบทเรียนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน มัทธิว 22:36–39 กับบทเรียนตามบริบทที่สอดคล้องกันท้ายสุดของสัปดาห์ก่อนหน้า เธอสามารถบรรลุจุดประสงค์นี้ได้ในขณะที่ยังมีเวลาสองสามวันระหว่างการทบทวนและการประเมินผล

ภาพ
ภาพประกอบ 2 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของซิสเตอร์ริชาร์ดส์

จากนั้น ซิสเตอร์ริชาร์ดส์เห็นโอกาสแทรกบทเรียนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ยอห์น 17:3 พร้อมกับบทเรียนตามบริบทลงในแนวทางกำหนดอัตราการสอน แต่เดิมชั้นเรียนเหล่านี้มีกำหนดการสอนในช่วงปิดฤดูร้อน หลังจากที่ได้อ่านจุดประสงค์ของบทเรียนแต่ละบทเรียนที่เหลืออยู่สำหรับสัปดาห์นั้น เธอเลือกที่จะเก็บบทเรียนทั้งสามที่เธอรู้สึกว่านักเรียนในพื้นที่ของเธอต้องการมากที่สุด เธอไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงใดๆ กับสัปดาห์ของวันที่ 24–30 เมษายน

ภาพ
ภาพประกอบ 3 ของแนวทางกำหนดอัตราการสอนของซิสเตอร์ริชาร์ดส์

ซิสเตอร์ริชาร์ดส์รู้ว่า ยังมีบทเรียนข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนอีกหนึ่งบทเรียนคือ ลูกา 24:36–39 ที่ยังคงต้องแทรกเข้าไป โดยปกติจะสอนระหว่างช่วงพักฤดูร้อนเช่นกัน เธอสังเกตว่าสัปดาห์ของวันที่ 17–23 เมษายนมีบทเรียนการทบทวนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ซึ่งสามารถแทนที่ได้ด้วยบทเรียน ลูกา 24 แต่ขณะที่เธอดูตารางสอนต่อไป เธอสังเกตว่าสัปดาห์วันอีสเตอร์ไม่มีบทเรียนที่จัดตารางไว้

โดยรู้ว่าบทเรียนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ลูกา 24 พร้อมด้วยบทเรียนตามบริบทที่สอดคล้องกันจะเหมาะสำหรับสัปดาห์วันอีสเตอร์ เธอจึงตัดสินใจแทรกบทเรียนนี้ลงไปที่นั่น จากนั้นเธอพิจารณาบทเรียนอื่นๆ ที่นักเรียนอาจจะพลาดไปในช่วงปิดฤดูร้อน และตัดสินใจว่าบทเรียนที่สำคัญที่สุดที่เธอสามารถสอนได้จากบทเรียนเหล่านั้นคือบทเรียนที่สอนเกี่ยวกับความทุกข์ทรมานของพระผู้ช่วยให้รอดในเกทเสมนี การตรึงกางเขนของพระองค์ และการเป็นพยานถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ เธอทำตารางเวลาสำหรับสัปดาห์วันอีสเตอร์ให้เสร็จโดยการแทรกบทเรียนเหล่านั้น

ภาพ
ภาพประกอบ 4 แนวทางกำหนดอัตราการสอนของซิสเตอร์ริชาร์ดส์

ด้วยการเลือกบทเรียนที่เธอเลือก ซิสเตอร์ริชาร์ดส์ จึงสามารถจัดลำดับความสำคัญของผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนให้กับนักเรียน และมอบประสบการณ์การเรียนรู้อันมีค่าที่เน้นไปที่พระผู้ช่วยให้รอดในช่วงสัปดาห์วันอีสเตอร์

สำหรับเวลาส่วนที่เหลือของภาคเรียน เธอสามารถจัดการบทเรียนต่างๆ เพื่อให้บทเรียนเหล่านี้ดำเนินไปตามลำดับในคู่มือครูได้โดยใกล้เคียง