การอบรมหลักสูตร
นำหลักสูตรเซมินารีมาใช้แล้วปรับ


“นำหลักสูตรเซมินารีมาใช้แล้วปรับ” การอบรมหลักสูตรเซมินารี (2022)

“นำหลักสูตรเซมินารีมาใช้แล้วปรับ” การอบรมหลักสูตรเซมินารี

ภาพ
สตรีกำลังศึกษา

นำหลักสูตรเซมินารีมาใช้แล้วปรับ

มีวิธีที่มีประสิทธิภาพมากมายในการเตรียมตัวเพื่อสอนพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ การเตรียมตัวนี้จะรวมถึงการศึกษาพระคำของพระผู้เป็นเจ้าร่วมกับการสวดอ้อนวอนเสมอ และการแสวงหาการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อให้รู้ถึงวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการช่วยเหลือผู้ที่ท่านสอนให้เปลี่ยนใจเลื่อมใสในพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ อย่าลืมศึกษาช่วงพระคัมภีร์ในตาราง จงตามเรามา สิ่งนี้จะช่วยท่านเตรียมตัวสำหรับบทเรียนของท่านระหว่างที่ท่านทบทวนหลักสูตร หลักสูตรนี้จะช่วยให้ท่านระบุถึงหลักธรรมและหลักคำสอนสำคัญในช่วงพระคัมภีร์ ช่วยให้นักเรียนรู้ รัก และติดตามพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ และปฏิบัติตามรูปแบบที่ได้รับการดลใจของการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

พิจารณาคำแนะนำซึ่งให้ไว้โดยประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ แห่งฝ่ายประธานสูงสุด เกี่ยวกับการใช้หลักสูตรเพื่อเตรียมบทเรียนเซมินารี ดังนี้

ภาพ
ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์

เรานำมาใช้ก่อนแล้วค่อยปรับทีหลัง ถ้าเรารู้จักเนื้อหาบทเรียนที่ต้องสอนเป็นอย่างดี เราจะสามารถทำตามพระวิญญาณให้ปรับบทเรียนได้ แต่เมื่อเราพูดถึงความยืดหยุ่นนี้ มีการล่อลวงให้เริ่มปรับก่อนแทนที่จะนำมาใช้ก่อน นี่คือความสมดุล นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอ แต่วิธีนำมาใช้ก่อนแล้วค่อยปรับเป็นวิธีที่จะช่วยให้อยู่บนฐานที่ปลอดภัย

(“A Panel Discussion with Elder Dallin H. Oaks” [การถ่ายทอดผ่านดาวเทียมของเซมินารีและสถาบันศาสนา 7 ส.ค. 2012], broadcasts.ChurchofJesusChrist.org)

  • การนำมาใช้และปรับหลักสูตรขณะที่ท่านเตรียมบทเรียนมีความหมายอย่างไร?

ภาพ
คำอธิบายของการนำมาใช้กับการปรับ

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์ ช่วยให้เราเข้าใจเหตุผลบางประการที่เราอาจจำเป็นต้องปรับหลักสูตร ดังนี้

ภาพ
ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์

มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมมากมายเกี่ยวกับแนวคิดต่างๆ ในการสอน วิธีสอน และข้ออ้างโยง เพื่อนำมาใช้มากเกินกว่าที่พวกเราคนใดจะนำมาใช้ได้ทั้งหมด … แต่เนื่องจากเราต้องการให้นักเรียนของเราสอบถามจากพระเจ้า เพื่อพวกเขาอาจได้รับความสว่าง เราจึงต้องยกตัวอย่างเพื่อเป็นพรแก่พวกเขา เพื่อให้เราทำเช่นนั้นได้ เราต้องอ่านหลักสูตรทุกคำ เราอาจไม่มีเวลาค้นหาและศึกษาข้ออ้างอิงทั้งหมด แต่พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้จักนักเรียนของเรา …

… พระเจ้าทรงรู้ดีว่า [นักเรียน] รู้อะไรและต้องการอะไร พระองค์ทรงรักพวกเขาและพระองค์ทรงรักเรา และด้วยความช่วยเหลือของพระองค์ เรา … ไม่ได้เลือกเฉพาะส่วนเหล่านั้นของหลักสูตรที่จะช่วยให้เราได้ใช้พลังของเราอย่างเต็มที่ในการสอน แต่เลือกส่วนที่จะนำพลังแห่งสวรรค์มาสู่นักเรียนเหล่านั้นในชั้นเรียนของเราในวันนั้น

(“The Lord Will Multiply the Harvest” [ยามค่ำกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่, 6 ก.พ. 1998], ChurchofJesusChrist.org)

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญในการนำสิ่งที่อยู่ในบทเรียนมาใช้ก่อนการปรับ?

  • วิธีเตรียมบทเรียนจะแตกต่างออกไปอย่างไรสำหรับครูที่ใช้หลักสูตรและครูที่ไม่ได้ใช้หลักสูตร?

สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อปรับบทเรียน

รายการต่อไปนี้เป็นคำถามบางข้อที่ควรพิจารณาเมื่อท่านนำเนื้อหาบทเรียนไปใช้และปรับ:

  1. จุดประสงค์ของบทเรียนโดยรวมและส่วนต่างๆ ของบทเรียนคืออะไร?

  2. เจตนาของผู้เขียนที่ได้รับการดลใจคืออะไร และการปรับของฉันจะสอดคล้องกันหรือไม่?

  3. เหตุผลที่ฉันต้องการปรับบทเรียนคืออะไร? การปรับเป็นเพียงความชอบส่วนบุคคลหรือไม่ หรือการปรับจะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีขึ้นแก่นักเรียน?

  4. การปรับของฉันสอดคล้องกับการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือไม่?

ท่านอาจจำเป็นต้องปรับบทเรียนเพื่อ

กรณีศึกษา

ซิสเตอร์โรดริเกซ

ซิสเตอร์โรดริเกซกำลังเตรียมสอนบทเรียน “มัทธิว 1:18–25; ลูกา 1:26–35” เธอรู้ว่านักเรียนในชั้นเรียนของเธอจะต้องการทราบว่าพระคัมภีร์สอนอะไรเกี่ยวกับมารีย์ พระมารดาของพระเยซู มีวัฒนธรรมของความรู้สึกที่แรงกล้าและความเชื่อที่แตกต่างกันเกี่ยวกับมารีย์ในเมืองของพวกเขา หลายคนเคยนับถือมารีย์เพราะบทบาทของเธอในฐานะมารดาของพระผู้เป็นเจ้า ขณะที่ซิสเตอร์โรดริเกซศึกษาบทเรียนจากหลักสูตรนี้ เธอจะมองหาจุดที่เหมาะสมที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งที่พระคัมภีร์และผู้นำศาสนจักรสอนเกี่ยวกับมารีย์

หนึ่งในกิจกรรมการศึกษาในบทเรียนเชิญชวนให้นักเรียนค้นหาคำสอนเกี่ยวกับพระบิดาพระมารดาของพระผู้ช่วยให้รอดใน ลูกา 1:30–35, มัทธิว 1:18–23 และ แอลมา 7:10

ซิสเตอร์โรดริเกซตัดสินใจที่จะปรับบทเรียนหลังจากนักเรียนอ่าน แอลมา 7:10 ด้วยการเพิ่มคำถามสองข้อต่อไปนี้ไปยังสิ่งที่รวมอยู่ในหลักสูตร

“แอลมาช่วยให้เราเข้าใจเรื่องของ?ได้อย่างไร? ขณะที่เราให้เกียรติและรัก?และบรรดาสาวกผู้เปี่ยมศรัทธาในพระคัมภีร์ แอลมา 7:11–13 ช่วยให้เราเข้าใจสาเหตุที่เรานมัสการเฉพาะพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์เท่านั้นอย่างไร?”

บราเดอร์หลี่

ขณะที่บราเดอร์หลี่กำลังเตรียมการสอนบทเรียน “ยอห์น 1:1–16” เขาเห็นคำแนะนำต่อไปนี้และคำถามสองข้อในตอนต้นของบทเรียน:

บราเดอร์หลี่ยังคงอ่านบทเรียนต่อไปเพื่อเรียนรู้ว่าจุดประสงค์ของการนำลูกบอลเข้าสู่ชั้นเรียนคืออะไร เขาพิจารณาว่าจุดประสงค์คือการช่วยเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าใจว่า ยิ่งเราเรียนรู้ว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นใครก่อนพระชนม์ชีพมรรตัยมากเท่าใด เราจะยิ่งซาบซึ้งกับคุณค่าของพระพันธกิจของพระองค์บนแผ่นดินโลกมากขึ้นเท่านั้น

ด้วยความต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ข้อนี้ด้วยวิธีการที่เปี่ยมประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับนักเรียนของเขา เขาใช้เวลาครุ่นคิดอยู่หนึ่งนาทีว่า เขาสามารถนำสิ่งใดไปใช้ในชั้นเรียนและทำให้นักเรียนของเขาเชื่อมโยงกับสิ่งนั้นได้มากที่สุด เขาตัดสินใจที่จะปรับบทเรียนนี้โดยการนำสร้อยคอเรียบง่ายมาปรับใช้ หลังจากนักเรียนแบ่งปันความคิดของตนเองว่าสร้อยคอนั้นมีค่าเท่าไรแล้ว เขาจะแบ่งปันเรื่องราวว่าใครเป็นผู้ทำสร้อยเส้นนี้ และเหตุใดการรู้ประวัติของสร้อยคอจึงทำให้มันมีค่ากับเขามากกว่าที่คิด

ซิสเตอร์มาร์ติน

ขณะที่ซิสเตอร์มาร์ตินเตรียมสอนบทเรียน “กิจการ 3” เธอสังเกตเห็นคำแนะนำให้เปิดวีดิทัศน์ที่แสดงให้เห็นว่าคนง่อยได้รับการรักษาโดยเปโตรและยอห์นผ่านพลังของพระผู้เป็นเจ้า เธอดูวีดิทัศน์และประทับใจกับผลที่ได้รับ แต่เธอยังรู้ด้วยว่า นักเรียนดูวีดิทัศน์ในชั้นเรียนของเธอแล้วสามครั้งในสัปดาห์นี้ เธอตัดสินใจหาวิธีอื่นในการทำให้วีดิทัศน์บรรลุจุดประสงค์

เธอรู้ว่าโดยพื้นฐานแล้ววีดิทัศน์เป็นการนำเสนอถ้อยคำบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพ เธอสรุปว่า จุดประสงค์ของวีดิทัศน์อาจเป็นการทำให้นักเรียนนึกภาพสิ่งที่เกิดขึ้น แทนที่จะเป็นการอ่านเพียงอย่างเดียว ในการปรับบทเรียน เธอตัดสินใจเชื้อเชิญนักเรียนให้อ่านและแสดงบทบาทสมมติสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องราว ทำให้นักเรียนเป็นผู้เข้าร่วมที่แข็งขัน พักจากการดูวีดิทัศน์ และยังช่วยให้พวกเขาเห็นภาพของเหตุการณ์นี้

บราเดอร์ดูเบ

บราเดอร์ดูเบเตรียมอย่างขยันหมั่นเพียรในวันศุกร์ก่อนการประชุมช่วงสุดสัปดาห์เพื่อสอนบทเรียนในหนังสือโรมันตามที่สรุปไว้ในหลักสูตรสำหรับวันจันทร์ที่กำลังจะมาถึง ด้วยความประหลาดใจ เขาได้ยินศาสดาพยากรณ์ประกาศระหว่างการประชุมว่า พระวิหารแห่งแรกจะสร้างขึ้นในพื้นที่ของพวกเขาในอนาคตอันใกล้นี้ มีนักเรียนของเขาน้อยคนที่เคยเห็นพระวิหารด้วยตัวเอง เขารู้ว่า นักเรียนจะมาชั้นเรียนด้วยความตื่นเต้นที่จะพูดคุยเกี่ยวกับพระวิหาร และหลายคนจะมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้

หลังจากสวดอ้อนวอนแล้วเขารู้สึกถึงการกระตุ้นเตือนโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ว่าให้ข้ามเนื้อหาไปและสอนบทเรียนตามบริบท “1 เปโตร 3:18–22; 4:1–6” และบทเรียนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนที่มาด้วยกันคือ “1 เปโตร 4:6” ในวันจันทร์และวันอังคาร ซึ่งรู้สึกได้ถึงการปรับที่ถูกต้องเนื่องจากบทเรียนตามบริบทมีจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ว่า “บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านสำรวจวิธีที่จะช่วยพระผู้ช่วยให้รอดในงานแห่งการไถ่คนตายของพระองค์” เขารู้สึกว่าช่วงเวลาที่พิเศษนี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกตื่นเต้นกับการเตรียมตัวเพื่อไถ่บรรพชนของพวกเขาในพระวิหารในอนาคต

ขณะที่บราเดอร์ดูเบกำลังเตรียมบทเรียนสำหรับวันจันทร์ เขาสังเกตว่ามีการเชื้อเชิญอย่างหนึ่งที่นำสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้ไปใช้ดังนี้

บราเดอร์ดูเบทราบดีว่า นักเรียนส่วนใหญ่ของเขาไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชันสาแหรกครอบครัว FamilySearch เขาปรับคำเชิญอย่างชาญฉลาดเพื่อนำไปใช้กับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ โดยเริ่มกรอกข้อมูลกลุ่มครอบครัวของนักเรียนลงในกระดาษและพูดคุยกับผู้ให้คำแนะนำด้านประวัติครอบครัวและพระวิหารวอร์ดของพวกเขา เพื่อเรียนรู้วิธีค้นคว้าข้อมูลของชื่อบุคคลอื่นในครอบครัว เพื่อให้พวกเขาสามารถเตรียมรับงานพระวิหารที่กำลังจะมาถึง

ซิสเตอร์ชมิดท์

หลังจากศึกษาบทเรียน “มัทธิว 22:34–40” เกี่ยวกับพระบัญญัติข้อสำคัญสองข้อแล้ว ซิสเตอร์ชมิดส์จำได้ถึงข้อความจากการประชุมใหญ่สามัญครั้งล่าสุดซึ่งน่าจะเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับบทเรียนนี้ เธอสังเกตว่า บางส่วนของบทเรียนนั้นมีข้อความเก่าที่ตั้งใจจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่า เมื่อเรารักพระผู้เป็นเจ้า พระองค์จะทรงหันใจของเราไปห่วงใยความเป็นอยู่ของผู้อื่น เธอเปลี่ยนข้อความนั้นเป็นข้อความต่อไปนี้:

ซิสเตอร์ชมิดส์รู้สึกว่า คำประกาศจากการประชุมใหญ่สามัญเมื่อไม่นานมานี้จะสื่อสารให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันกับคำประกาศที่พบในบทเรียนของหลักสูตรได้ นอกจากนี้ เธอยังรู้ว่า มันสามารถช่วยนักเรียนบางคนที่กำลังพยายามอย่างยากลำบากในการรักตัวพวกเขาเอง เพื่อจะได้เห็นว่าการรักพระผู้เป็นเจ้ายังช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงคุณค่าของตนเองได้เช่นกัน

บราเธอร์เรเยส

ระหว่างการศึกษาบทเรียน “วิวรณ์ 15–19” บราเดอร์เรเยสพบกิจกรรมที่เชื้อเชิญให้นักเรียนเลือกศึกษาสองในสามตัวเลือกดังต่อไปนี้:

  • ตัวเลือก ก: ทูตสวรรค์และภัยพิบัติ

  • ตัวเลือก ข: ความชั่วร้ายและพระเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอด

  • ตัวเลือก ค: งาน​อภิเษก‍สมรส​ของ​พระ‍เมษ‌โป‌ดก

แต่ละทางเลือกประกอบด้วยคำถามต่างๆ ข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง บราเดอร์เรเยสรู้สึกว่า จุดประสงค์ของกิจกรรมนี้คือการช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักธรรมที่เป็นตัวหนาในบทเรียน: พระเยซูคริสต์จะทรงช่วยเราเอาชนะความชั่วร้ายของวันเวลาสุดท้ายได้

ขณะที่บราเธอร์เรเยสชอบตัวเลือกต่างๆ ที่มีอยู่ เขากลับพบว่าแนวคิดต่อไปนี้ช่วยให้บรรลุจุดประสงค์เดียวกันในส่วน “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” ของบทเรียน และเขารู้สึกว่านักเรียนของเขาต้องการมันมากกว่า:

บราเดอร์เรเยสจัดเตรียมช่วงเวลา 10 นาทีของบทเรียนตามแนวคิดเพิ่มเติม เพื่อให้เวลาสำหรับสิ่งนี้ เขาจึงตัดสินใจเชิญนักเรียนให้เลือกศึกษาแค่หนึ่งในสามตัวเลือกที่แนะนำซึ่งพบในเนื้อหาหลักของบทเรียน