เซมินารี
โรม 1


โรม 1

“ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ”

ภาพ
Young man wearing eyeglasses, sitting outside reading scriptures. (horiz)

ไม่ครั้งใดก็ครั้งหนึ่ง เราทุกคนจะต้องยืนหยัดในสิ่งที่เราเชื่อ เปาโลประกาศต่อวิสุทธิชนที่อาศัยอยู่ในกรุงโรมว่าเขา “ไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ” ( โรม 1:16) ความกระตือรือร้นของเขาที่จะแบ่งปันข่าวสารของพระกิตติคุณนั้นเป็นหลักฐาน บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านไม่มีความละอายที่จะเป็นที่รู้จักในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์

ท่านทราบอะไรอยู่แล้วบ้าง?

ลองจินตนาการว่าท่านบอกเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวคริสต์ที่มีความเชื่ออื่นว่า ท่านกำลังศึกษาพันธสัญญาใหม่ในเซมินารี เธอบอกท่านว่า เธอชอบพันธสัญญาใหม่แต่บางครั้งก็ประสบปัญหาในการทำความเข้าใจสาส์นต่างๆ เธอถามท่านว่าท่านทราบอะไรบ้าง ตอบคำถามต่อไปนี้เพื่อดูว่าท่านสามารถตอบเธอได้ดีเพียงใด

ตอบคำถามในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน คำตอบที่ถูกต้องจะอยู่ตอนท้ายของบทเรียน

  1. สาส์นคืออะไร?

    1. ถ้อยคำจากศาสดาพยากรณ์ซึ่งเป็นข้อประกาศอย่างเป็นทางการของศาสนจักร

    2. คำปราศรัยของผู้นำศาสนจักรที่เก็บรวบรวมไว้เป็นเวลาหลายปี

    3. จดหมายหลายฉบับที่ผู้นำศาสนจักรเขียนถึงวิสุทธิชนทั้งหลาย

  2. ใครเป็นผู้เขียนสาส์น 14 ฉบับจากทั้งหมด 21 ฉบับที่รวมอยู่ในพันธสัญญาใหม่?

    1. เปโตร

    2. เปาโล

    3. ลูกา

  3. สาส์น 13 ฉบับแรกมีการจัดระเบียบอย่างไร?

    1. ตามลำดับเวลา (ณ เวลาที่เขียน)

    2. ตามความสำคัญ

    3. ตามความยาว

  4. มีใครอีกบ้างที่เป็นผู้เขียนสาส์น?

    1. ยากอบ เปโตร ยอห์น และยูดา

    2. ยากอบ เปโตร ยอห์น และสเทเฟน

    3. ยากอบ เปโตร ยอห์น และทิโมธี

สาส์นถึงชาวโรมัน

หนังสือโรมเป็นสาส์นที่เปาโลเขียนถึงวิสุทธิชนในกรุงโรมใกล้กับช่วงสิ้นสุดการเดินทางเผยแผ่ศาสนาของเขา กรุงโรม—เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมัน—เต็มไปด้วยปรัชญาทางโลกและเป็นสถานที่ซึ่งยากต่อการสั่งสอนและดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เปาโลเขียนถึงวิสุทธิชนชาวโรมันเพื่อเสริมสร้างศรัทธา เตรียมพวกเขาสำหรับการมาถึงของเขา เพื่อชี้แจงและปกป้องคำสอนของเขา และเพื่อส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชาวยิวกับสมาชิกคนต่างชาติของศาสนจักร

ขณะที่ท่านศึกษา โรม 1 ให้มองหาความจริงที่สามารถกระตุ้นท่านได้ขณะท่านมุ่งมั่นที่จะเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์

ข้าพเจ้าไม่มีความละอาย

. .

อ่าน โรม 1:15–17 โดยมองหาว่าเปาโลรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพระกิตติคุณของพระคริสต์ ท่านอาจทำเครื่องหมายที่ถ้อยคำหรือวลีในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ที่ท่านพบว่าเปี่ยมไปด้วยความหมาย

ท่านอาจทำเครื่องหมายที่ถ้อยคำนี้ “ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ” ใน โรม 1:16

  • จากสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับเปาโลในหนังสือกิจการของอัครทูต เขาได้แสดงตนว่าเขาไม่มีความละอายกับการเป็นที่รู้จักในฐานะชาวคริสต์อย่างไร?

  • ในปัจจุบันนี้มีสถานการณ์ใดบ้างที่เยาวชนจะต้องเผชิญ ซึ่งพวกเขาจะต้องยืนหยัดและไม่มีความละอายต่อพระกิตติคุณของพระคริสต์?

เปาโลทราบว่าโรมเป็นสถานที่ยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตและสั่งสอนพระกิตติคุณ และเขายังต้องเผชิญกับการคัดค้านจากผู้ที่เข้าใจผิดหรือปฏิเสธคำสอนของเขาด้วย อย่างไรก็ตาม เปาโลกระตือรือร้นที่จะเดินทางไปยังโรมและสั่งสอนที่นั่นเพื่อนำผู้อื่นมาหาพระคริสต์ (ดู โรม 1:15)

ลองนึกถึงประสบการณ์ที่ท่านเคยมีโอกาสยืนหยัดหรือแบ่งปันศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์ เฉกเช่นเปาโล เขียนรายการสั้นๆ ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน เขียนความคิดและความรู้สึกของท่านว่า ท่านต้องการแบ่งปันศรัทธาในสถานการณ์เหล่านั้นมากเพียงใด

  • เหตุใดเยาวชนคนหนึ่งจึงอาจรู้สึกละอายกับการเป็นที่รู้จักในฐานะชาวคริสต์? พวกเขาจะทำอะไรได้บ้างหากมีความคิดหรือความรู้สึกเหล่านั้น?

ตัวอย่างจากพระคัมภีร์และตัวอย่างในยุคสมัยใหม่

ทบทวนตัวอย่างต่อไปนี้เกี่ยวกับผู้คนที่ไม่มีความละอายที่จะทำให้ศรัทธาของตนในพระผู้เป็นเจ้าเป็นที่รู้จัก นึกถึงสถานการณ์ที่ผู้คนเหล่านั้นประสบ และมองหาความคล้ายคลึงกันระหว่างชีวิตของผู้คนเหล่านั้นกับชีวิตท่านเอง

  • เมื่อผู้อื่นตัดสินท่าน: สตรีผู้ชำระล้างพระบาทของพระเยซูด้วยน้ำตาของเธอ ( ลูกา 7:36–50)

  • เมื่อท่านจำเป็นต้องยืนหยัดต่อสหายของท่าน: อบินาไดและแอลมา ( โมไซยาห์ 13:1–9 ; 17:1–4 ; 18:1–3)

  • .

  • ท่านประทับใจอะไรจากตัวอย่างเหล่านี้?

  • บุคคลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ละอายต่อพระกิตติคุณของพระคริสต์อย่างไร?

  • ผู้ใดในชีวิตของท่านเป็นตัวอย่างของคนที่ไม่มีความละอายในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์? พวกเขาแสดงศรัทธาของตนอย่างไร?

โรม 1:15–17 บอกเราว่า ความกระตือรือร้นของเปาโลที่มีต่อพระกิตติคุณของพระคริสต์ส่วนหนึ่งมาจากความเข้าใจของเขาว่า “[พระกิตติคุณ] เป็นฤทธานุภาพของพระเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด” สำหรับบุตรธิดาทุกคนของพระผู้เป็นเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่ง เพราะเปาโลทราบว่าไม่มีใครจะรอดได้หากปราศจากพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เขาจึงต้องการแบ่งปันกับทุกคน

1. ตอบคำถามต่อไปนี้อย่างน้อยสองข้อลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • การจดจำว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเคยทำอะไรให้ท่าน ช่วยให้ท่านไม่มีความละอายต่อพระองค์และพระกิตติคุณของพระองค์ได้อย่างไร?

  • แม้อาจมีบางครั้งที่เราได้รับเรียกให้ปกป้องศรัทธาของเราด้วยวิธีที่ยิ่งใหญ่หรือประจักษ์แจ้ง แต่โดยส่วนใหญ่ศรัทธาของเราจะแสดงได้ดีที่สุดด้วยวิธีที่เล็กน้อยและเรียบง่าย (ดู แอลมา 37:6–7) การ “ไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ” อาจเป็นอย่างไร ฟังดูอย่างไร หรือรู้สึกอย่างไรในชีวิตประจำวันของท่าน?

  • จงเติมประโยคต่อไปนี้ให้สมบูรณ์: ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ เพราะว่า

คำตอบของคำถาม:

(1) ค; (2) ข; (3) ค; (4)ก

ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?

ฉันจะแบ่งปันประจักษ์พยานของฉันในวิธีที่ปกติและเป็นธรรมชาติได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

ภาพ
Official portrait of Elder Dieter F. Uchtdorf of the Quorum of the Twelve Apostles, 2006. Called as Second Counselor in the First Presidency, 3 February 2008. Made official portrait in 2008 replacing portrait taken in 2004.

ข้าพเจ้าทราบดีว่าพวกเราบางคนชอบเข้าสังคมมากกว่าคนอื่น ไม่เป็นไร พระเจ้าทรงทำให้เป็นไปได้ที่เราแต่ละคนจะเชื้อเชิญให้ผู้อื่น มาดู และ มาช่วย ด้วยวิธีของเราเอง แล้วพระผู้เป็นเจ้าก็จะทรงปฏิบัติงานความรอดของพระองค์ แล้วพวกเขาก็จะ มาอยู่

ขอแนะนำห้าสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้เพื่อมีส่วนร่วมในภารกิจอันสำคัญยิ่งของพระผู้ช่วยให้รอดในการช่วยรวมอิสราเอล

1. เข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้า

2. เติมใจท่านด้วยความรักที่มีต่อผู้อื่น

3. พยายามเดินบนเส้นทางแห่งการเป็นสานุศิษย์

4. แบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจท่าน

5. วางใจพระเจ้าในการทำปาฏิหาริย์ของพระองค์

(ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “Sharing the Gospel in Normal and Natural Ways,” ChurchofJesusChrist.org)

.