เซมินารี
มัทธิว 27:24–66; มาระโก 15:15–38


มัทธิว 27:24–66; มาระโก 15:15–38

ภาพ
พระเยซูถูกตรึงกางเขนระหว่างโจรสองคน

ขณะพระผู้ช่วยให้รอดทรงประสบความเจ็บปวดอันโหดร้ายของการถูกตรึงกางเขน ศัตรูเหน็บแนมพระองค์และบอกให้พระองค์ปลดปล่อยพระองค์เองจากความทรมาน แต่พระองค์ทรงอดทนอย่างชอบธรรมโดยทรงทนทุกข์ทรมานเพื่อเราต่อไป บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจดีขึ้นและสำนึกคุณต่อความทุกข์ทรมานและการสิ้นพระชนม์บนกางเขนของพระผู้ช่วยให้รอดอันเป็นส่วนสำคัญของการชดใช้ของพระองค์

พระเยซูคริสต์พลีพระชนม์ชีพเพื่อเรา

ในบทเรียนนี้ท่านจะศึกษาเกี่ยวกับการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ ใช้เวลาสักครู่ไตร่ตรองว่าท่านรู้อะไรและรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการสิ้นพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอด ท่านเชื่อหรือไม่ว่าพระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อช่วยท่านให้รอด? ถ้าเชื่อ ท่านจะแสดงความสำนึกคุณต่อการพลีพระชนม์ชีพของพระองค์ได้อย่างไร? ขณะศึกษา ให้แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อช่วยท่านตอบคำถามเหล่านี้

การตรึงกางเขนงพระเยซูคริสต์

หลังจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงถูกชาวยิวตามด้วยเฮโรดและปีลาตสอบสวนแล้ว พระองค์ถูกโบยอย่างโหดเหี้ยมและถูกพาไปตรึงกางเขนที่กลโกธา (หรือที่รู้จักกันในชื่อคัลวารี)

ท่านอาจทำเครื่องหมายวลี “เมื่อตรึงพระองค์ที่กางเขนแล้ว” ใน มัทธิว 27:35 อ่านข้อมูลใน คู่มือพระคัมภีร์ หรือ Bible Dictionary ใต้ “ตรึงกางเขน (การ)” เพื่อดูว่าการปฏิบัตินี้เกี่ยวข้องกับอะไร

ภาพ
พระเยซูคริสต์กับโจรสองคนถูกตรึงกางเขน

อ่านข้อต่อไปนี้เกี่ยวกับการตรึงกางเขนของพระผู้ช่วยให้รอด ทำเครื่องหมายรายละเอียดที่ท่านรู้สึกว่าสำคัญ

  • มัทธิว 27:27–31 พวกทหารโรมันเยาะเย้ยพระผู้ช่วยให้รอด

  • มัทธิว 27:35–44 พระผู้ช่วยให้รอดทรงถูกเยาะเย้ยบนกางเขน

  • มัทธิว 27:45–46, 50 พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์และสิ้นพระชนม์บางกางเขน หมายเหตุ: พระเยซูทรงถูกตรึงกางเขนใน “เวลาสามโมงเช้า” (9:00 น.; ดู มาระโก 15:25) “เวลาหกโมง” หมายถึง 12:00 เที่ยงวัน; “เวลาเก้าโมง” หมายถึง 15:00 น.

เพื่อช่วยให้ท่านเห็นภาพเหตุการณ์นี้ ท่านอาจต้องการดูวีดิทัศน์เรื่อง “Jesus Is Scourged and Crucified” ที่ ChurchofJesusChrist.org ตั้งแต่ช่วงเวลา 1:04 ถึง 4:48

เอ็ลเดอร์ เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่าเหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดทรงถามว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ ทำไมพระองค์ทรงทอดทิ้งข้าพระองค์เสีย?” (มัทธิว 27:46)

ดู “ไม่มีใครอยู่กับพระองค์” บน ChurchofJesusChrist.org, ตั้งแต่ช่วงเวลา 9:00 ถึง 12:46 หรืออ่านคำกล่าวต่อไปนี้

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

ด้วยความเชื่อมั่นสุดจิตวิญญาณ ข้าพเจ้าเป็นพยานว่า … พระบิดาผู้ทรงดีพร้อม ไม่ ได้ทรงทอดทิ้งพระบุตรของพระองค์ในโมงนั้น โดยแท้แล้ว ความเชื่อส่วนตัวของข้าพเจ้าคือในการปฏิบัติศาสนกิจทั้งหมดของพระคริสต์ขณะประทับบนแผ่นดินโลก พระบิดาอาจไม่เคยใกล้ชิดพระบุตรของพระองค์มากไปกว่าในช่วงเวลาสุดท้ายของความทุกข์ทรมานเหล่านี้ กระนั้นก็ตาม … พระบิดาทรงถอนการปลอบประโลมจากพระวิญญาณ ทรงถอนการสนับสนุนจากการประทับอยู่ของพระองค์ไปจากพระเยซูช่วงสั้นๆ แต่สิ่งจำเป็น สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการชดใช้คือพระบุตรผู้ทรงดีพร้อมพระองค์นี้ ผู้ไม่เคยพูดให้ร้ายใคร หรือไม่เคยทำผิด หรือไม่เคยสัมผัสสิ่งไม่สะอาดต้องทรงรู้ว่ามนุษยชาติ—เรา เราทุกคน—จะรู้สึกอย่างไรเมื่อเราทำบาปเช่นนั้น เพราะการชดใช้ของพระองค์ไม่มีขอบเขตและเป็นนิรันดร์ พระองค์จึงทรงรู้สึกว่าความตายเป็นอย่างไร ไม่ใช่ตายทางร่างกายเท่านั้นแต่ทางวิญญาณด้วย ทรงรู้สึกได้ว่าพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทรงถอนตัวโดยทรงปล่อยให้เรารู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายอย่างน่าเวทนาและสิ้นหวังนั้นเป็นอย่างไร

(ดู เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “ไม่มีใครอยู่กับพระองค์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 105–108)

  • เอ็ลเดอร์ฮอลแลนด์ช่วยให้ท่านเข้าใจอะไรดีขึ้นเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์?

  • ท่านประทับใจอะไรมากที่สุดเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากเหตุการณ์เหล่านี้? เพราะเหตุใด?

ข้ออ้างโยง

พระผู้ช่วยให้รอดทรงมีเดชานุภาพในการปลดปล่อยพระองค์เองออกจากประสบการณ์ที่น่าอับอายและเจ็บปวดแสนสาหัสบนกางเขน (ดู มัทธิว 26:52–54) แต่พระองค์ไม่ทรงทำเช่นนั้น

อ่านพระคัมภีร์ต่อไปนี้อย่างน้อยสามข้อเพื่อค้นหาสาเหตุ ท่านอาจสร้างแผนภูมิดังต่อไปนี้เพื่อจัดระเบียบความคิดและความรู้สึกของท่าน ท่านอาจเชื่อมโยงหรืออ้างโยงข้อพระคัมภีร์เหล่านี้กับ มัทธิว 27:26 หรือสร้างแท็กที่มีข้ออ้างอิงเหล่านี้กับชื่อเรื่องที่ท่านเลือก

สาเหตุที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงยอมถูกตรึงกางเขน

พรที่มีให้เราเพราะพระองค์ทรงยอมเช่นนั้น

สาเหตุที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงยอมถูกตรึงกางเขน

พรที่มีให้เราเพราะพระองค์ทรงยอมเช่นนั้น

หลักคำสอนและพันธสัญญา 35:2

หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:40–42

โรม 5:6–9

2 โครินธ์ 5:21

โคโลสี 1:20

1 เปโตร 2:24

3 นีไฟ 27:13–14

  • ข้อใดมีความหมายต่อท่านมากที่สุด? เพราะเหตุใด?

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับสาเหตุที่พระผู้ช่วยให้รอดเต็มพระทัยถูกตรึงกางเขนเพื่อเรา?

  • พรใดในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ที่ท่านสำนึกคุณมากที่สุด? เพราะเหตุใด?

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่า ส่วนหนึ่งของการชดใช้คือพระเยซูคริสต์ทรงถูกตรึงกางเขนเพื่อบาปของโลก ความทุกข์ทรมานของพระผู้ช่วยให้รอดที่เริ่มต้นในสวนเกทเสมนีสิ้นสุดบนกางเขนที่กลโกธา หากพระผู้ช่วยให้รอดมิได้สิ้นพระชนม์เพื่อบาปของเรา เราจะไม่สามารถกลับไปหาพระบิดาในสวรรค์ของเราได้

  • ท่านจะอธิบายให้คนบางคนฟังอย่างไรว่าการตรึงกางเขนของพระผู้ช่วยให้รอดเป็นส่วนหนึ่งของการชดใช้ของพระองค์อย่างไร? ท่านจะอธิบายสาเหตุที่การชดใช้มีความหมายต่อท่านว่าอย่างไร?

อธิการเจราลด์ คอสเซ อธิบายว่าการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดเป็นเรื่องเฉพาะตัวเราแต่ละคนอย่างไร

ภาพ
อธิการเจราล์ด คอสเซ

แม้ว่าการชดใช้ของพระเจ้าไม่มีขอบเขตและมีผลต่อทุกคน แต่เป็นของประทานเฉพาะตัวและเป็นส่วนตัวอย่างยิ่งเหมาะกับเราแต่ละคนเป็นรายตัว เฉกเช่นพระเยซูทรงเชื้อเชิญสานุศิษย์ชาวนีไฟแต่ละคนให้สัมผัสรอยแผลของพระองค์ พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อเราแต่ละคนเป็นรส่วนตัวราวกับว่าท่านหรือข้าพเจ้าเป็นเพียงบุคคลเดียวบนแผ่นดินโลก พระองค์ทรงเชื้อเชิญเราเป็นการส่วนตัวให้มาหาพระองค์และดึงพรอันน่าอัศจรรย์จากการชดใช้ของพระองค์มาใช้

(เจราลด์ คอสเซ, “พยานที่มีชีวิตของพระเยซูคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 40)

  • เหตุใดท่านรู้สึกว่าสำคัญที่ต้องรับรู้ความเฉพาะตัวของการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด?

1. เพื่อช่วยให้ท่านรู้สึกและจดจำความเฉพาะตัวของการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อท่าน ให้เขียนลงในสมุดบันทึก เขียนดังนี้ด้วย:

  • พรที่ท่านได้รับเนื่องจากความทุกข์ทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดบนกางเขนเพื่อท่าน

  • การสิ้นพระชนม์เพื่อท่านเป็นส่วนตัวมีความหมายอะไรต่อท่าน

  • ความคิดและความประทับใจที่ท่านได้รับจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?

สถานที่และเวลาในการตรึงกางเขนของพระผู้ช่วยให้รอดสำคัญอย่างไร?

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันอธิบายว่า:

ภาพ
ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน

การชดใช้ระยะที่สองของพระองค์บังเกิดผลบนกางเขน…

ปีลาตมอบพระเมษโปดกของพระผู้เป็นเจ้าให้ถูกตรึงกางเขนในเวลาเดียวกับที่ลูกแกะปัสกาใกล้ๆ นั้นกำลังถูกเตรียมเป็นเครื่องพลีบูชา (ดู ยอห์น 19:13–14)

การตรึงกางเขนเกิดขึ้นที่เนินเขาเรียกว่ากลโกธา (ภาษากรีก) หรือคัลวารี (ภาษาละติน) หมายถึง “กะโหลก” กะโหลกเป็นสัญลักษณ์แทนความตาย ณ สถานที่เช่นนั้น การพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้เสร็จสมบูรณ์ บนกางเขน พระผู้ช่วยให้รอดของโลกทรงถูกยกขึ้นเหนือความตายในความยิ่งใหญ่ที่สุดของความสำคัญที่เป็นไปได้ทั้งหมด—ความตระหนักรู้และความเป็นจริงแห่งเดชานุภาพของพระเจ้าเหนือความตาย

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “Why This Holy Land?,” Ensign, Dec. 1989, 18–19)

เหตุใดพระเยซูคริสต์ไม่ทรงช่วยพระองค์เองให้รอด?

เอ็ลเดอร์โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์

“จงลงมาจากกางเขนเถิด” กลุ่มคนไม่เชื่อเย้ยหยันพระองค์บนคัลวารี [มัทธิว 27:40] พระองค์จะทรงทำปาฏิหาริย์เช่นนั้นก็ได้ แต่ทรงทราบจุดจบนับแต่กาลเริ่มต้น และทรงตั้งพระทัยจะซื่อสัตย์ต่อแผนของพระบิดา แบบอย่างนั้นควรบังเกิดผลต่อเรา

(ดู โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์, “ดูเถิด! เราคือพระผู้เป็นเจ้าแห่งปาฏิหาริย์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 111)

กี่คนได้รับผลจากความทุกข์ทรมานและการตรึงกางเขนของพระผู้ช่วยให้รอด?

เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก

พระผู้ช่วยให้รอด … ทรงทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดจนสุดพรรณนาในเกทเสมนีและบนกางเขนเพื่อทำให้การชดใช้ของพระองค์สมบูรณ์ … พระองค์ทรงทำสิ่งนี้เพื่อชายหญิงทุกคนที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างหรือจะทรงสร้างขึ้น

(เควนทิน แอล. คุก, “นิรันดรทุกวัน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 52)

พระผู้ช่วยให้รอดอาจจะทรงประสบอะไรบ้างบนกางเขน?

เอ็ลเดอร์เจมส์ อี. ทัลเมจ (1862–1933) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจมส์ อี. ทาลเมจ

ดูเหมือนว่านอกจากความทุกข์ทรมานอันน่าสะพรึงกลัวที่ประสบในช่วงตรึงกางเขนแล้ว ความปวดร้าวของเกทเสมนียังเกิดขึ้นอีกและทวีความรุนแรงเกินกว่าพลังมนุษย์จะทนได้ ในโมงอันขมขื่นที่สุดนั้นพระคริสต์ผู้ใกล้สิ้นพระชนม์ทรงโดดเดี่ยว โดดเดี่ยวในความเป็นจริงอันเลวร้ายที่สุด เพื่อให้การพลีพระชนม์สูงสุดของพระบุตรเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด ดูเหมือนพระบิดาทรงถอนการสนับสนุนจากการประทับของพระองค์ทันที โดยทรงเหลือความรุ่งโรจน์แห่งชัยชนะอันสมบูรณ์เหนือพลังของบาปและความตายให้พระผู้ช่วยให้รอดของมนุษย์

(Jesus the Christ [1916], 661)

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกี (1915–1985) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกี

จากนั้นท้องฟ้าเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ ความมืดปกคลุมแผ่นดินเป็นเวลาสามชั่วโมง เช่นที่ปกคลุมในบรรดาชาวนีไฟ มีพายุโหมกระหน่ำราวกับว่าพระผู้เป็นเจ้าแห่งธรรมชาติพระองค์นั้นทรงกำลังทุกข์ทรมานแสนสาหัส

พระองค์ทรงทุกข์ทรมานแสนสาหัสจริงๆ เพราะขณะทรงถูกตรึงกางเขนอีกสามชั่วโมง ตั้งแต่เที่ยงถึงบ่ายสาม ความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและความเจ็บปวดอันไร้เมตตาในเกทเสมนีเกิดขึ้นอีก

(Bruce R. McConkie, “The Purifying Power of Gethsemane,” Ensign, May 1985, 10)