คู่มือและการเรียก
38. นโยบายและแนวทางของศาสนจักร


“38. นโยบายและแนวทางของศาสนจักร” คู่มือทั่วไป: การรับใช้ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย (2020)

“38. นโยบายและแนวทางของศาสนจักร” คู่มือทั่วไป

38.

นโยบายและแนวทางของศาสนจักร

38.1

การมีส่วนร่วมในศาสนจักร

พระบิดาในสวรรค์ของเราทรงรักบุตรธิดาของพระองค์ “ทุกคนเหมือนกันหมดสำหรับพระผู้เป็นเจ้า” และพระองค์ทรงเชื้อเชิญทุกคน “ให้มาหาพระองค์และรับส่วนพระคุณความดีของพระองค์” (2 นีไฟ 26:33)

บ่อยครั้งมีคนถามผู้นำศาสนจักรและสมาชิกว่าใครจะเข้าร่วมการประชุมของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายได้บ้าง ใครจะเป็นสมาชิกศาสนจักรได้บ้าง และใครจะเข้าพระวิหารได้บ้าง

38.1.1

การเข้าร่วมการประชุมต่างๆ ของศาสนจักร

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนว่าสานุศิษย์ของพระองค์ควรรักเพื่อนบ้านของตน (ดู มัทธิว 22:39) เปาโลเชิญชวนผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสใหม่มาเป็น “ไม่​ใช่​คน‍นอก​และ​คน‍ต่าง‍ด้าว​อีก‍ต่อ‍ไป แต่​เป็น​พล‍เมือง​เดียว​กับ​บรร‌ดา​ธรร‌มิก‌ชน” (เอเฟซัส 2:19) พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนเช่นกันว่าสมาชิกศาสนจักรต้องไม่ “ขับใครออกไปจากการประชุมสาธารณะ …, ซึ่งมีอยู่ต่อหน้าโลก” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:3)

เรายินดีต้อนรับทุกคนเข้าร่วมการประชุมศีลระลึก การประชุมอื่นๆ ในวันอาทิตย์ และกิจกรรมทางสังคมของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย เจ้าหน้าที่ควบคุมมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำให้แน่ใจว่าผู้เข้าร่วมทุกคนเคารพสภาวะแวดล้อมอันศักดิ์สิทธิ์

ผู้เข้าร่วมควรหลีกเลี่ยงการกระทำใดก็ตามที่รบกวนการนมัสการหรือเบี่ยงเบนจุดประสงค์อื่นของการประชุม ควรเคารพข้อกำหนดเรื่องอายุและพฤติกรรมทุกข้อของการประชุมและกิจกรรมต่างๆ ของศาสนจักร ต้องไม่แสดงพฤติกรรมรักใคร่โจ่งแจ้งเกินงาม เครื่องแต่งกายหรือการแต่งกายต้องไม่เบี่ยงเบนความสนใจ นอกจากนี้ต้องไม่พูดเรื่องการเมืองหรือเรื่องรสนิยมทางเพศหรืออุปนิสัยส่วนตัวอื่นๆ ในลักษณะที่เบี่ยงเบนความสนใจไปจากการประชุมที่จดจ่ออยู่กับพระผู้ช่วยให้รอด

หากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อธิการหรือประธานสเตคให้คำแนะนำเป็นส่วนตัวด้วยวิญญาณของความรัก เขากระตุ้นผู้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะนั้นให้จดจ่ออยู่กับการช่วยรักษาบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อทุกคนที่นั่นโดยเน้นเป็นพิเศษเรื่องการนมัสการพระบิดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอด

อาคารประชุมของศาสนจักรยังคงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวภายใต้นโยบายศาสนจักร เขาขอร้องบุคคลที่ไม่ยอมปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้อย่างสุภาพไม่ให้เข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมต่างๆ ของศาสนจักร

38.1.2

การเป็นสมาชิกศาสนจักร

สมาชิกภาพในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายมีให้คนที่ “ออกมาด้วยใจที่ชอกช้ำและวิญญาณที่สำนึกผิด” “เต็มใจรับพระนามของพระเยซูคริสต์” และปรารถนาจะทำและรักษาพันธสัญญาบัพติศมาอันศักดิ์สิทธิ์ (หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37)

บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะอายุ 8 ขวบขึ้นไปจะรับบัพติศมาได้เมื่อบิดาหรือมารดาที่ดูแลหรือผู้ปกครองตามกฎหมายอนุญาต บิดาหรือมารดาที่ดูแลหรือผู้ปกครองตามกฎหมายควรเข้าใจหลักคำสอนที่ศาสนจักรจะสอนบุตรธิดาของตนและสนับสนุนบุตรธิดาในการทำและรักษาพันธสัญญาบัพติศมา (ดู 38.2.8.2)

38.1.3

การเข้าพระวิหาร

พระวิหารเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งการนมัสการซึ่งเรารับศาสนพิธีที่จำเป็นและทำพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ในนั้น สมาชิกของศาสนจักรถือว่าพระวิหารเป็นบ้านของพระผู้เป็นเจ้า เพราะความศักดิ์สิทธิ์นี้และพันธสัญญาที่ทำ เฉพาะสมาชิกของศาสนจักรที่มีใบรับรองพระวิหารเป็นปัจจุบันเท่านั้นจึงจะเข้าพระวิหารได้ สมาชิกจะได้ใบรับรองพระวิหารเมื่อพวกเขารักษาพระบัญญัติที่กำหนดไว้อย่างซื่อสัตย์และดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ (ดู บทที่ 26)

38.1.4

พรและการมีส่วนร่วมของสมาชิกที่ไม่แต่งงาน

สมาชิกทุกคนแม้ไม่ได้แต่งงานหรือไม่มีครอบครัวในศาสนจักรควรขวนขวายให้บรรลุเป้าหมายของการอยู่ในครอบครัวนิรันดร์ ทั้งนี้หมายถึงการเตรียมผนึกเป็นสามีหรือภรรยาที่มีค่าควรและเป็นบิดาหรือมารดาที่เปี่ยมด้วยความรัก สำหรับบางคนพรเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นจนถึงชีวิตหน้า แต่นี่เป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับทุกคน

สมาชิกที่ซื่อสัตย์ผู้ซึ่งสภาวการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้ได้รับพรของการแต่งงานนิรันดร์และการเป็นบิดามารดาในชีวิตนี้จะได้รับพรที่สัญญาไว้ทั้งหมดในนิรันดร เมื่อสมาชิกรักษาพันธสัญญาที่ทำไว้กับพระผู้เป็นเจ้า (ดู โมไซยาห์ 2:41)

38.1.5

เยาวชนอายุน้อยกว่า 18 ปีที่เป็นบิดามารดาโดยไม่ได้แต่งงาน

เยาวชนชายอายุน้อยกว่า 18 ปีที่จะกลายเป็นบิดาโดยไม่ได้แต่งงานจะเข้าร่วมโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนของเขาหรือโควรัมเอ็ลเดอร์ก็ได้ การตัดสินใจเรื่องนี้อยู่ที่การใช้ดุลพินิจร่วมกับการสวดอ้อนวอนของเยาวชนชาย บิดามารดาของเขา และอธิการ

เยาวชนหญิงอายุน้อยกว่า 18 ปีที่จะกลายเป็นมารดาโดยไม่ได้แต่งงานจะเข้าร่วมเยาวชนหญิงหรือสมาคมสงเคราะห์ก็ได้ การตัดสินใจเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจร่วมกับการสวดอ้อนวอนของเยาวชนหญิง บิดามารดาของเธอ และอธิการ

ในการตัดสินใจดังกล่าว เยาวชน บิดามารดา และผู้นำพิจารณาดังนี้:

  • หากเยาวชนเข้าร่วมชั้นเรียนและกิจกรรมเยาวชน เขาหรือเธอจะไม่พาบุตรมาด้วย

  • เยาวชนที่โตกว่าและเลือกเลี้ยงดูบุตรอาจได้ประโยชน์จากการเข้าสู่โควรัมเอ็ลเดอร์ในฐานะผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์หรือเข้าสู่สมาคมสงเคราะห์

38.2

นโยบายสำหรับศาสนพิธีและการให้พร

หมวดนี้ให้นโยบายสำหรับศาสนพิธีและการให้พร นโยบายเหล่านี้บางอย่างเกี่ยวข้องกับสภาวการณ์พิเศษ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับศาสนพิธีและการให้พรให้ไว้ใน บทที่ 18 ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนพิธีพระวิหารให้ไว้ใน บทที่ 27 และ 28

38.2.1

การเป็นล่ามแปลศาสนพิธีและการให้พรเป็นอีกภาษาหนึ่ง

สำคัญที่ผู้รับศาสนพิธีหรือพรต้องเข้าใจสิ่งที่พูด หากจำเป็น ผู้นำที่เป็นประธานจะขอให้คนหนึ่งเป็นล่ามแปลศาสนพิธีและการให้พรเป็นภาษาที่ผู้รับเข้าใจ ทั้งนี้รวมถึงการเป็นล่ามภาษามือด้วย หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ล่ามควรดำรงฐานะปุโรหิต หากไม่มีผู้ดำรงฐานะปุโรหิต ชายหรือหญิงที่มีความสามารถก็เป็นล่ามได้

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการแปลปิตุพรเป็นลายลักษณ์อักษรใน 38.2.10.5 ดูข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นล่ามแปลปิตุพรเป็นภาษามือใน 38.2.10.6

38.2.2

การถ่ายภาพ การบันทึกเสียง และการถอดความศาสนพิธีและการให้พร

ศาสนพิธีและการให้พรเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ เพราะเหตุนี้จึงไม่ควรถ่ายภาพหรือบันทึกวิดีโอศาสนพิธี การให้พร หรือพิธีบัพติศมา

ครอบครัวอาจบันทึกเสียงและถอดความการให้พรของบิดา การให้พรเหล่านี้อธิบายไว้ใน 18.14.1

ปิตุพรจะถูกถอดความ เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องนี้ ผู้ประสาทพรหรือผู้ถอดความจะทำการบันทึกเสียงของการให้พร

จะไม่บันทึกหรือถอดความศาสนพิธีอื่นๆ และการให้พร

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการสตรีมศาสนพิธีใน 38.2.3

38.2.3

การถ่ายทอดศาสนพิธี

เมื่ออยู่ในวิสัยที่ทำได้คนที่ต้องการดูศาสนพิธีควรพยายามเข้าร่วมด้วยตนเอง เมื่อสมาชิกและเพื่อนๆ มาร่วมศาสนพิธี พวกเขาจะรู้สึกถึงอิทธิพลของพระวิญญาณและผูกมิตรกัน

แต่เมื่อคนใกล้ชิดในครอบครัวไม่สามารถเข้าร่วมด้วยตนเองได้ อธิการหรือประธานสเตคอาจอนุญาตให้ถ่ายทอดศาสนพิธีให้คนนั้น ตัวอย่างเช่น อนุญาตให้ถ่ายทอดเมื่อคนใกล้ชิดในครอบครัว:

  • อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือมีความสามารถในการเดินทางจำกัด

  • มีปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์

  • มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออยู่ในสถานดูแลหรือโรงพยาบาล

  • ต้องการล่ามภาษามือ

  • กำลังรับใช้งานเผยแผ่เต็มเวลา (ต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะเผยแผ่)

อธิการอาจอนุญาตให้ถ่ายทอดการให้พรทารก บัพติศมา การยืนยัน และการแต่งตั้งฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน ประธานสเตคอาจอนุญาตให้ถ่ายทอดการแต่งตั้งฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคและการวางมือมอบหน้าที่ให้ผู้สอนศาสนา

แต่จะไม่ถ่ายทอดศาสนพิธีศีลระลึก ถ้ามีการถ่ายทอดสดการประชุมศีลระลึก จะหยุดถ่ายทอดระหว่างการปฏิบัติศีลระลึก อธิการอาจมอบอำนาจให้ปุโรหิตหรือผู้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคไปปฏิบัติศีลระลึกให้คนที่ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้

การถ่ายทอดศาสนพิธีไม่ควรทำให้เขวจากพระวิญญาณ ควรใช้อุปกรณ์เครื่องเดียวเท่านั้น โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีวอร์ดหรือสเตคจะเป็นผู้ทำการถ่ายทอด ทั้งอุปกรณ์และคนใช้อุปกรณ์ไม่ควรเป็นเป้าสายตา

จะลบถ่ายทอดศาสนพิธีภายในหนึ่งวันหลังศาสนพิธี

38.2.4

ศาสนพิธีสำหรับผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญา

เมื่อพิจารณาว่าจะประกอบศาสนพิธีให้ผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาหรือไม่ บุคคลผู้นั้น บิดามารดาหรือผู้ปกครองของเขา (หากมี) และผู้นำจะปรึกษากัน พวกเขาพิจารณาความปรารถนาและระดับความเข้าใจของบุคคลนั้นร่วมกับการสวดอ้อนวอน ไม่ควรห้ามรับศาสนพิธีหากบุคคลมีค่าควร ต้องการรับ และแสดงให้เห็นว่ามีความรับผิดชอบและสำนึกรับผิดชอบมากพอ

อธิการจะปรึกษากับประธานสเตคหากมีคำถามเกี่ยวกับบุคคลในลักษณะดังกล่าว ประธานสเตคจะติดต่อสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดหากจำเป็น

บุคคลที่ความบกพร่องทางสติปัญญาทำให้พวกเขาไม่สามารถรับผิดชอบได้จะ “รอด​ใน​อาณาจักร​ซี​เลสเชีย​ลแห่งสวรรค์” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 137:10) เพราะเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องประกอบศาสนพิธีให้พวกเขา ยกเว้นศาสนพิธีเดียวคือการผนึกผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ไม่เกิดในพันธสัญญากับบิดามารดา

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบศาสนพิธีให้ผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาดังนี้:

  • บัพติศมาและการยืนยัน ดู 38.2.8.1

  • สำหรับการแต่งตั้งสู่ตำแหน่งปุโรหิต ดู 38.2.9.7

  • สำหรับปิตุพร ดู 38.2.10.1

  • สำหรับเอ็นดาวเม้นท์พระวิหารและการผนึก ดู 27.2.1.3 และ 27.3.1.2

38.2.5

ศาสนพิธีและการให้พรที่ผู้มีร่างกายพิการเป็นผู้ประกอบและเป็นผู้รับ

ผู้มีร่างกายพิการ เช่น สูญเสียแขนขา อัมพาต หรือหูหนวกอาจเป็นผู้ประกอบและผู้รับศาสนพิธีและการให้พร ผู้นำเตรียมการให้บุคคลเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมมากที่สุด หากผู้นำมีคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ ประธานสเตคจะติดต่อสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุด

คนที่หูหนวกหรือหูตึงอาจสื่อสารผ่านภาษามือเมื่อเป็นผู้ประกอบหรือผู้รับศาสนพิธีหรือการให้พร ผู้นำฐานะปุโรหิตที่สอดส่องดูแลศาสนพิธีต้องแน่ใจว่าผู้รับเข้าใจผ่านล่ามหรือโดยวิธีอื่น (ดู 38.2.1)

38.2.6

การทำให้ศาสนพิธีมีผลบังคับใช้หรือการรับรองศาสนพิธี

ข้อมูลต่อไปนี้ให้เหตุผลที่ศาสนพิธีจะไม่มีผลบังคับใช้ อีกทั้งบอกวิธีทำให้มีผลบังคับใช้หรือรับรองศาสนพิธี

ในบางกรณีต้องประกอบศาสนพิธีอีกครั้ง เมื่อประกอบศาสนพิธีอีกครั้งพนักงานลงวันเดือนปีใหม่บนบันทึกสมาชิกภาพ แม้ไม่เรียงวันเดือนปีกับศาสนพิธีอื่นๆ

38.2.6.1

ไม่ได้สร้างบันทึกสมาชิกภาพหรือปีหายไปหรือไม่ถูกต้อง

เพื่อจุดประสงค์ด้านการจัดเก็บบันทึก ศาสนพิธีไม่มีผลบังคับใช้ถ้าปีที่ประกอบศาสนพิธีในบันทึกสมาชิกภาพหายไปหรือไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ บัพติศมาไม่มีผลหากยังไม่ได้สร้างบันทึกสมาชิกภาพ ศาสนพิธีจะมีผลบังคับใช้เมื่อมีใบสำคัญต้นฉบับที่ออกให้เมื่อครั้งประกอบศาสนพิธี เมื่อมีใบสำคัญนี้อธิการสามารถมอบอำนาจให้พนักงานอัปเดตบันทึกสมาชิกภาพได้

หากไม่พบใบสำคัญ ศาสนพิธีจะมีผลบังคับใช้เมื่อมีคำให้การของผู้เป็นพยานสองคนในศาสนพิธี พยานทั้งสองต้อง:

  • มีอายุ 8 ขวบขึ้นไปเมื่อครั้งประกอบศาสนพิธี

  • เคยเห็นหรือได้ยินศาสนพิธี

  • เป็นสมาชิกในบันทึกของศาสนจักร ณ เวลาที่ให้การเป็นพยาน

  • ให้การเป็นลายลักษณ์อักษรโดยระบุ (1) วันเดือนปีที่ประกอบศาสนพิธีหรือ (2) ปีที่ประกอบศาสนพิธีและผู้ประกอบศาสนพิธี

  • เซ็นรับรองคำให้การต่อหน้าสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายอธิการหรือฝ่ายประธานสเตค

เมื่อมีคำให้การแล้วอธิการสามารถมอบอำนาจให้พนักงานสร้างหรืออัปเดตบันทึกสมาชิกภาพได้ จากนั้นให้ทำลายคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรดังกล่าว

หากไม่พบใบสำคัญหรือพยาน ต้องประกอบศาสนพิธีอีกครั้ง

หากสมาชิกได้รับศาสนพิธีอื่นหลังศาสนพิธีที่ไม่มีผลบังคับใช้ ฝ่ายประธานสูงสุดต้องรับรองศาสนพิธีเหล่านั้น ประธานสเตคส่งจดหมายถึงสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดเพื่อขอการรับรองดังกล่าว

38.2.6.2

ไม่ได้รับศาสนพิธีตามลำดับ

ศาสนพิธีถือว่าไม่มีผลบังคับใช้หากบุคคลไม่ได้รับศาสนพิธีตามลำดับ ตัวอย่างเช่น เอ็นดาวเม้นท์ของชายไม่มีผลบังคับใช้หากได้รับเอ็นดาวเม้นท์ก่อนได้รับฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค แต่ฝ่ายประธานสูงสุดอาจรับรองศาสนพิธีดังกล่าว ประธานสเตคส่งจดหมายถึงสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดเพื่อขอการรับรองดังกล่าว

38.2.6.3

ประกอบศาสนพิธีก่อนถึงอายุที่เหมาะสม

ศาสนพิธีไม่มีผลบังคับใช้หากประกอบศาสนพิธีก่อนถึงอายุที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น บัพติศมาไม่มีผลบังคับใช้หากประกอบพิธีก่อนอายุครบ 8 ขวบ

หากไม่ได้รับศาสนพิธีอื่นหลังศาสนพิธีที่ไม่มีผลบังคับใช้ ต้องประกอบศาสนพิธีอีกครั้ง หากได้รับศาสนพิธีอื่น ฝ่ายประธานสูงสุดต้องรับรองศาสนพิธีเหล่านั้นและศาสนพิธีที่ไม่มีผลบังคับใช้ ประธานสเตคส่งจดหมายถึงสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดเพื่อขอการรับรองดังกล่าว

38.2.6.4

ไม่ได้ประกอบศาสนพิธีโดยสิทธิอำนาจที่ถูกต้อง

ศาสนพิธีไม่มีผลบังคับใช้หากประกอบโดยผู้ไม่มีสิทธิอำนาจฐานะปุโรหิตที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การยืนยันไม่มีผลบังคับใช้หากประกอบโดยคนที่ไม่ได้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค ในทำนองเดียวกัน การยืนยันไม่มีผลบังคับใช้หากผู้ประกอบพิธีได้รับฐานะปุโรหิตผิดลำดับหรือไม่ได้รับอนุมัติอย่างถูกต้อง (ดู 38.2.6.2; ดู 32.17ด้วย)

หากไม่ได้รับศาสนพิธีอื่นหลังศาสนพิธีที่ไม่มีผลบังคับใช้ ต้องประกอบศาสนพิธีอีกครั้งโดยผู้มีสิทธิอำนาจที่ถูกต้อง หากได้รับศาสนพิธีอื่น ฝ่ายประธานสูงสุดต้องรับรองศาสนพิธีเหล่านั้นและศาสนพิธีที่ไม่มีผลบังคับใช้ ประธานสเตคส่งจดหมายถึงสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดเพื่อขอการรับรองดังกล่าว ในบางกรณีฝ่ายประธานสูงสุดอาจแนะนำให้ประกอบศาสนพิธีอีกครั้ง

38.2.7

การตั้งชื่อและให้พรเด็ก

ดูข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตั้งชื่อและให้พรเด็กใน 18.6

38.2.7.1

ทารกที่ป่วยขั้นวิกฤต

หากทารกแรกเกิดป่วยขั้นวิกฤต ผู้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคอาจประกอบพิธีตั้งชื่อและให้พรในโรงพยาบาลหรือที่บ้าน เขาไม่ต้องรับมอบอำนาจจากอธิการ หลังจากให้พร เขาแจ้งอธิการทันทีเพื่อจะสร้างบันทึกสมาชิกภาพให้เด็กได้

38.2.7.2

บุตรที่บิดามารดาไม่ได้เป็นสมาชิกของศาสนจักร

บางครั้งบิดามารดาหรือผู้ปกครองขอพรให้บุตรทั้งที่พวกเขาไม่ได้เป็นสมาชิกของศาสนจักร เมื่อเป็นเช่นนี้อธิการจะต้องได้รับอนุญาตด้วยวาจาจากทั้งบิดามารดาหรือผู้ปกครองก่อนให้พร อธิการอธิบายว่า:

  • ศาสนจักรจะสร้างบันทึกสมาชิกภาพให้เด็ก

  • สมาชิกวอร์ดจะติดต่อพวกเขาเป็นระยะๆ

  • อธิการหรือผู้นำคนอื่นๆ ในวอร์ดจะเสนอให้เด็กเตรียมรับบัพติศมาเมื่อเด็กอายุครบ 8 ขวบ

38.2.8

บัพติศมาและการยืนยัน

ดูข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบัพติศมาและการยืนยันใน 18.7 และ 18.8

38.2.8.1

บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

ผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาอาจรับบัพติศมาและการยืนยันหากมีเหตุผลให้เห็นว่าเขารับผิดชอบได้ เขาควรสามารถเข้าใจและรักษาพันธสัญญาบัพติศมาได้

อธิการถือกุญแจสำหรับบัพติศมาของผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาถ้าผู้นั้นเป็น:

  • สมาชิกในบันทึกที่อายุ 8 ขวบขึ้นไป

  • อายุ 8 ขวบและมีบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นสมาชิก (ดู 18.7.1.1)

บุคคล บิดามารดาหรือผู้ปกครองของเขา (หากมี) และอธิการปรึกษากันเพื่อลงความเห็นว่าบุคคลควรรับบัพติศมาและการยืนยันหรือไม่

หากบุคคลกลายเป็นผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใส ประธานคณะเผยแผ่ถือกุญแจสำหรับบัพติศมาของเขา (ดู 18.7.1.2) ในกรณีนี้ผู้สอนศาสนาแจ้งประธานคณะเผยแผ่ เขาปรึกษากับบุคคล บิดามารดาหรือผู้ปกครอง (หากมี) เพื่อลงความเห็นว่าบุคคลนั้นควรรับบัพติศมาและการยืนยันหรือไม่ หากอธิการรู้จักบุคคลนั้นดี ประธานคณะเผยแผ่อาจขอข้อมูลจากอธิการด้วย

คนที่ไม่สามารถรับผิดชอบได้ไม่จำเป็นต้องรับบัพติศมา ไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตาม (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:46–50 และ 38.2.4 ในคู่มือนี้)

ดูข้อมูลเกี่ยวกับบันทึกสมาชิกภาพของบุคคลที่ไม่สามารถรับผิดชอบได้ใน 33.6.10

38.2.8.2

ผู้เยาว์

ผู้เยาว์ตามที่กฎหมายท้องถิ่นกำหนดจะรับบัพติศมาและการยืนยันได้เมื่อบรรลุเงื่อนไขทั้งสองข้อนี้:

  1. ทั้งบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายให้อนุญาต หากบิดามารดาหย่าร้าง ให้ดูคำแนะนำใน 38.2.8.3 สำหรับบุตรบุญธรรม ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากบิดาหรือมารดาที่ไม่มีสิทธิ์ปกครองบุตรหลังขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม

    ผู้ดำเนินการสัมภาษณ์บัพติศมาและการยืนยันจะขอให้เขียนคำอนุญาตหากเขารู้สึกว่าการทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันความเข้าใจผิด ในบางที่ต้องใช้คำอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้นำคณะเผยแผ่และผู้นำภาคสามารถให้คำแนะนำได้

    บิดามารดาหรือผู้ปกครองควรเข้าใจหลักคำสอนที่ศาสนจักรจะสอนบุตรของตน และควรยินดีสนับสนุนบุตรให้ทำและรักษาพันธสัญญาบัพติศมาด้วย

  2. ผู้ดำเนินการสัมภาษณ์มองออกว่าเด็กเข้าใจพันธสัญญาบัพติศมา เขาควรรู้สึกมั่นใจว่าเด็กจะพยายามรักษาพันธสัญญานี้โดยเชื่อฟังพระบัญญัติ รวมทั้งเข้าร่วมการประชุมของศาสนจักร

38.2.8.3

เด็กที่บิดามารดาหย่าร้าง

บุตรที่เป็นผู้เยาว์ที่บิดามารดาหย่าร้างจะรับบัพติศมาและการยืนยันได้ต่อเมื่อทั้งบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายให้อนุญาต แนวทางดังกล่าวนำมาใช้แม้เมื่อบิดาหรือมารดาไม่มีสิทธิในการดูแลบุตร สำหรับบุตรบุญธรรม ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากบิดาหรือมารดาผู้ไม่มีสิทธิ์ปกครองบุตรหลังขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม หากไม่ทราบที่อยู่ของบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายหลังจากพยายามหาสุดความสามารถแล้ว ไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้น

หากเด็กใช้นามสกุลของบิดาบุญธรรม เด็กจะรับบัพติศมาและการยืนยันในนามสกุลนั้น แม้ไม่ได้เป็นบุตรบุญธรรมอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ศาสนจักรจะบันทึกชื่อตามกฎหมายของเด็กดังนิยามตามกฎหมายหรือธรรมเนียมปฏิบัติของท้องที่ลงในบันทึกสมาชิกภาพและใบสำคัญบัพติศมาและการยืนยัน

38.2.8.4

บุคคลที่แต่งงานแล้ว

บุคคลที่แต่งงานแล้วต้องได้รับความเห็นชอบจากคู่สมรสก่อนจะรับบัพติศมา

38.2.8.5

บุคคลที่อยู่กินด้วยกัน

คู่ชายหญิงที่อยู่กินด้วยกันแต่ไม่แต่งงานต้องรับปากว่าจะดำเนินชีวิตตามกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศก่อนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะรับบัพติศมา ทั้งนี้รวมถึงการใช้ศรัทธาจนถึงการกลับใจดังอธิบายไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37 และไม่อยู่ด้วยกันอีกหรือต้องแต่งงานกันในกรณีของชายและหญิง

38.2.8.6

บุคคลที่ถูกถอนสมาชิกภาพหรือลาออกจากสมาชิกภาพ

บุคคลที่ถูกถอนสมาชิกภาพศาสนจักรหรือลาออกจากสมาชิกภาพจะกลับเข้ามาเป็นสมาชิกได้อีกครั้งโดยบัพติศมาและการยืนยัน ไม่ถือว่าพวกเขาเป็นผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใส ผู้สอนศาสนาจะไม่สัมภาษณ์พวกเขาสำหรับบัพติศมา ดูคำแนะนำใน 32.16

38.2.8.7

สถานการณ์ที่ต้องได้รับมอบอำนาจจากประธานคณะเผยแผ่หรือฝ่ายประธานสูงสุด

ต้องได้รับมอบอำนาจจากประธานคณะเผยแผ่ก่อนบุคคลจึงจะรับบัพติศมาได้หากเขาเคย:

  • ทำผิดอาญาร้ายแรง (ดู 38.2.8.8)

  • มีส่วนในการทำแท้ง (ดู 38.6.1)

ในกรณีเหล่านี้ประธานคณะเผยแผ่สัมภาษณ์บุคคลนั้น หากจำเป็นประธานคณะเผยแผ่จะมอบอำนาจให้ที่ปรึกษาคนหนึ่งของเขาดำเนินการสัมภาษณ์ เขามอบอำนาจให้สัมภาษณ์เป็นครั้งๆ ไป ที่ปรึกษาผู้ดำเนินการสัมภาษณ์รายงานต่อประธานคณะเผยแผ่ผู้ซึ่งหลังจากนั้นจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้รับบัพติศมาและการยืนยันก็ได้

ต้องได้รับอนุมัติจากฝ่ายประธานสูงสุดก่อนบุคคลจึงจะรับบัพติศมาได้หากเขา:

  • เคยกระทำฆาตกรรม (ดู 38.2.8.8)

  • เคยต้องโทษคดีอาญาที่พัวพันกับความประพฤติผิดทางเพศ (ดู 38.2.8.8)

  • อยู่ระหว่างการภาคทัณฑ์ตามกฎหมายหรือการคุมประพฤติเพราะความผิดอุกฉกรรจ์หรือคดีอาญาร้ายแรง (ปกติจะมีโทษจำคุกหนึ่งปีหรือนานกว่านั้น) หรือคดีอาญาใดก็ตามที่พัวพันกับความประพฤติผิดทางเพศ (ดู 38.2.8.8)

  • เคยพัวพันกับการสมรสซ้อน (ดู 38.2.8.9)

  • เปลี่ยนเป็นเพศตรงข้ามกับเพศสรีระแต่กำเนิดของตนแล้ว (ดู 38.2.8.10)

หากบุคคลจะขอรับบัพติศมาเป็นครั้งแรก ประธานคณะเผยแผ่ดำเนินการสัมภาษณ์เขา หากเขาพบว่าบุคคลมีค่าควรและหากเขาเสนอให้รับบัพติศมา เขาส่งคำขออนุมัติถึงฝ่ายประธานสูงสุดโดยใช้ LCR

หากบุคคลเป็นอดีตสมาชิกที่ขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกครั้ง ทั้งอธิการและประธานสเตคสัมภาษณ์เขา พวกเขาทำตามคำแนะนำใน 32.16 หากทั้งคู่พบว่าบุคคลมีค่าควรและเสนอให้รับบัพติศมา ประธานสเตคส่งคำขอถึงฝ่ายประธานสูงสุดโดยใช้ LCR

คำขอถึงฝ่ายประธานสูงสุดควรมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ในการสัมภาษณ์

ดู 6.2.3 เกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบของประธานสเตค (หรือประธานคณะเผยแผ่) เมื่อส่งใบแจ้งความจำนงถึงฝ่ายประธานสูงสุด

38.2.8.8

บุคคลที่เคยต้องโทษคดีอาญา

บุคคลที่เคยต้องโทษคดีอาญาจะรับบัพติศมาไม่ได้จนกว่าจะพ้นโทษ เช่นเดียวกับผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสและคนที่ขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกครั้ง

ผู้เคยต้องโทษคดีอุกฉกรรจ์หรือคดีอาญาที่พัวพันกับความประพฤติผิดทางเพศจะรับบัพติศมาและการยืนยันไม่ได้จนกว่าจะพ้นช่วงการคุมประพฤติหรือการภาคทัณฑ์ เฉพาะฝ่ายประธานสูงสุดเท่านั้นจะอนุญาตให้ยกเว้นได้ (ดู 38.2.8.7) ขอให้บุคคลเหล่านี้ทำงานใกล้ชิดกับผู้นำฐานะปุโรหิตระดับท้องที่ พวกเขาจะขวนขวายทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อรับความช่วยเหลือจากพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อจะมีค่าควรรับบัพติศมาและการยืนยัน

ผู้สอนศาสนาเต็มเวลาไม่สอนคนที่อยู่ในเรือนจำหรือคุก

บุคคลที่เคยต้องโทษคดีฆาตกรรมหรือคดีอาญาที่พัวพันกับความประพฤติผิดทางเพศจะรับบัพติศมาไม่ได้เว้นแต่ฝ่ายประธานสูงสุดอนุมัติ (ดู 38.2.8.7) เช่นเดียวกันกับบุคคลที่สารภาพว่าเคยกระทำฆาตกรรมแม้จะสารภาพเป็นส่วนตัวกับผู้นำฐานะปุโรหิตก็ตาม ในที่นี้ ฆาตกรรม ไม่รวมถึงการทำแท้ง หรือการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจหรือทหาร

หากบุคคลจะขอรับบัพติศมาเป็นครั้งแรก ประธานคณะเผยแผ่ทำตามคำแนะนำใน 38.2.8.7 หากบุคคลเป็นอดีตสมาชิกที่ขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกครั้ง อธิการหรือประธานสเตคทำตามคำแนะนำในหมวดเดียวกัน (ดู 32.16)

38.2.8.9

ผู้ใหญ่ที่พัวพันกับการสมรสซ้อน

ผู้ใหญ่ที่เคยสนับสนุน สอน หรือพัวพันกับการสมรสซ้อนต้องได้รับอนุมัติจากฝ่ายประธานสูงสุดก่อนจึงจะรับบัพติศมาได้

หากบุคคลจะขอรับบัพติศมาเป็นครั้งแรก ประธานคณะเผยแผ่ทำตามคำแนะนำใน 38.2.8.7 หากบุคคลเป็นอดีตสมาชิกที่ขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกครั้ง อธิการหรือประธานสเตคทำตามคำแนะนำใน 38.2.8.7 (ดู 32.16 ด้วย)

คำขอควรพูดถึงความพัวพันกับการสมรสซ้อนในอดีตของบุคคลนั้น อีกทั้งพูดถึงการกลับใจและสถานการณ์ครอบครัวปัจจุบันของเขาด้วย

38.2.8.10

บุคคลผู้ระบุตนเป็นคนข้ามเพศ

คนข้ามเพศจะรับบัพติศมาและการยืนยันได้หากเขาไม่ใช้ยาหรือทำศัลยกรรมเพื่อพยายามเปลี่ยนเป็นเพศตรงข้ามกับเพศสรีระแต่กำเนิดของตน (“การแปลงเพศ”)

ประธานคณะเผยแผ่ควรปรึกษากับฝ่ายประธานภาคเพื่อแก้ไขสถานการณ์รายบุคคลด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษและความรักเหมือนพระคริสต์

บุคคลที่แปลงเพศแล้วผ่านการใช้ยาหรือทำศัลยกรรมต้องได้รับอนุมัติจากฝ่ายประธานสูงสุดจึงจะรับบัพติศมาได้ ประธานคณะเผยแผ่จะขออนุมัติเรื่องนี้หากเขาสัมภาษณ์บุคคลนั้นแล้วพบว่ามีค่าควร และสามารถเสนอชื่อให้บัพติศมาได้ บุคคลจะไม่สามารถรับฐานะปุโรหิต ใบรับรองพระวิหาร หรือการเรียกบางอย่างในศาสนจักร แต่เขาสามารถมีส่วนร่วมในศาสนจักรในด้านอื่น

ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน 38.6.23

38.2.9

การแต่งตั้งฐานะปุโรหิต

ดูข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการแต่งตั้งฐานะปุโรหิตใน 18.10

38.2.9.1

สมาชิกใหม่

เมื่อพี่น้องชายรับบัพติศมาและการยืนยัน เขามีสิทธิ์ได้รับแต่งตั้งสู่ตำแหน่งในฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนหากเขาจะอายุอย่างน้อย 12 ปีภายในสิ้นปี อธิการสัมภาษณ์เขาหลังการยืนยันไม่นาน โดยปกติภายในหนึ่งสัปดาห์ สมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายอธิการเสนอชื่อเขาในการประชุมศีลระลึกเพื่อให้สมาชิกวอร์ดได้สนับสนุนการแต่งตั้งที่เสนอ (ดู 18.10.3) จากนั้นเขาจะได้รับแต่งตั้งสู่ตำแหน่งที่เหมาะสม:

  • มัคนายก หากเขาจะอายุครบ 12 หรือ 13 ปีภายในสิ้นปี

  • ผู้สอน หากเขาจะอายุครบ 14 หรือ 15 ปีภายในสิ้นปี

  • ปุโรหิต หากเขาจะอายุครบ 16 ปีขึ้นไปภายในสิ้นปี; หากเขาอายุ 19 ปีขึ้นไป ถือว่าเขาเป็นผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์ด้วย (ดู 38.2.9.3)

สมาชิกใหม่มีสิทธิ์ได้รับฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคและรับการแต่งตั้งเป็นเอ็ลเดอร์เมื่อเขา:

  • อายุ 18 ปีขึ้นไป

  • เคยรับใช้เป็นปุโรหิต (ไม่เจาะจงระยะเวลารับใช้)

  • มีความเข้าใจพระกิตติคุณมากพอ

  • แสดงให้เห็นความมีค่าควร

พี่น้องชายที่เพิ่งรับบัพติศมาจะไม่ได้รับแต่งตั้งในวันที่พวกเขารับบัพติศมาหรือการยืนยัน พวกเขาต้องรับการสัมภาษณ์จากอธิการและสนับสนุนโดยสมาชิกวอร์ดก่อน

ไม่ควรเลื่อนบัพติศมาของสมาชิกในครอบครัวเพื่อให้บิดาได้รับฐานะปุโรหิตและประกอบพิธีบัพติศมาด้วยตนเอง

38.2.9.2

เยาวชนชายที่บิดามารดาหย่าร้าง

เยาวชนชายที่บิดามารดาหย่าร้างจะรับการแต่งตั้งสู่ตำแหน่งฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนได้ก็ต่อเมื่อบิดาหรือมารดาที่เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายอนุญาต

หากเยาวชนชายใช้นามสกุลของบิดาบุญธรรม เขาจะได้รับแต่งตั้งในนามสกุลนั้น แม้ไม่ได้เป็นบุตรบุญธรรมอย่างเป็นทางการก็ตาม อย่างไรก็ดี ศาสนจักรจะบันทึกชื่อตามกฎหมายของเยาวชนชายดังที่นิยามตามกฎหมายหรือธรรมเนียมปฏิบัติของท้องที่ไว้ในใบสำคัญการแต่งตั้ง

38.2.9.3

ผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์

ผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์คือสมาชิกชายอายุ 19 ปีขึ้นไปที่ไม่ได้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค พี่น้องชายที่แต่งงานแล้วและอายุน้อยกว่า 19 ปี และไม่ได้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคคือผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์เช่นกัน

ฝ่ายประธานโควรัมเอ็ลเดอร์ทำงานใกล้ชิดกับผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์ภายใต้การกำกับดูแลของอธิการเพื่อช่วยผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์เตรียมรับฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค หากผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์ไม่ได้เป็นปุโรหิต เขาควรได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตทันทีที่มีค่าควร โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นมัคนายกหรือผู้สอนก่อน ผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเอ็ลเดอร์เมื่อมีความเข้าใจพระกิตติคุณมากพอและแสดงให้เห็นความมีค่าควร อธิการและประธานสเตคสัมภาษณ์เขาเพื่อทำการตัดสินใจนี้ (ดู 31.2.6)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการช่วยผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์เตรียมรับฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคใน 8.4

38.2.9.4

พี่น้องชายที่เปลี่ยนวอร์ดภายในปีที่ผ่านมา

บางครั้งพี่น้องชายที่อยู่ในวอร์ดไม่ถึงหนึ่งปีต้องการหรือปรารถนาจะรับการแต่งตั้งสู่ตำแหน่งฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค ในสถานการณ์นั้นอธิการหรือที่ปรึกษาที่เขามอบหมายจะติดต่ออธิการคนก่อนเพื่อสอบถามว่าต้องพิจารณาเรื่องความมีค่าควรใดหรือไม่ หากที่ปรึกษาทราบว่ามีข้อมูลไม่พึงเปิดเผย เขายุติการสนทนา เขาแจ้งอธิการของเขาให้ติดต่ออธิการคนก่อนก่อนดำเนินการสัมภาษณ์

38.2.9.5

พี่น้องชายในวอร์ดหนุ่มสาวโสดและวอร์ดผู้ใหญ่โสด

ชายอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีค่าควรในวอร์ดหนุ่มสาวโสดและวอร์ดผู้ใหญ่โสดควรได้รับแต่งตั้งเป็นเอ็ลเดอร์ คนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอ็ลเดอร์เป็นส่วนหนึ่งของโควรัมเอ็ลเดอร์ในฐานะผู้หวังเป็นเอ็ลเดอร์

38.2.9.6

ทหารประจำการในเขตสงครามหรือพื้นที่ห่างไกล

โดยปกติทหารประจำการได้รับการสัมภาษณ์และการแต่งตั้งในวอร์ดที่มีบันทึกสมาชิกภาพของตนเอง แต่อาจทำเช่นนี้ไม่ได้หากทหารออกทะเลเป็นเวลานานหรืออยู่ในเขตสงครามหรือพื้นที่ห่างไกล ในกรณีดังกล่าว ทหารจะพบกับหัวหน้ากลุ่มทหารของตน หากหัวหน้ากลุ่มรู้สึกว่าทหารพร้อมรับการแต่งตั้ง เขาจะเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้นำที่เป็นประธานของหน่วยศาสนจักรที่สอดส่องดูแลกลุ่มทหาร (หากไม่มีหน่วยศาสนจักรเช่นนั้น เขาเสนอต่อฝ่ายประธานภาค) ผู้นำท่านนั้นติดต่ออธิการวอร์ดบ้านของทหารให้รับรองความมีค่าควรของทหารดังกล่าว

สำหรับการแต่งตั้งสู่ตำแหน่งฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน ผู้นำที่เป็นประธานอาจมอบอำนาจให้หัวหน้ากลุ่มหรืออนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายสัมภาษณ์และสอดส่องดูแลการแต่งตั้ง สำหรับการแต่งตั้งสู่ตำแหน่งเอ็ลเดอร์ ประธานสเตค ประธานคณะเผยแผ่ หรือฝ่ายประธานภาคอาจมอบอำนาจให้อนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายสัมภาษณ์และสอดส่องดูแลการแต่งตั้ง การแต่งตั้งทุกครั้งควรได้รับการสนับสนุนหรือการรับรองดังอธิบายไว้ใน 18.10.3

38.2.9.7

พี่น้องชายที่พิการทางสมอง

สมาชิกชายที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บิดามารดาของเขา (หากมี) และอธิการปรึกษากันว่าเขาควรได้รับฐานะปุโรหิตหรือไม่ พวกเขาปรึกษากันเกี่ยวกับความปรารถนาของชายดังกล่าวและดูว่าเขามีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับฐานะปุโรหิตและหน้าที่รับผิดชอบของตนหรือไม่

ผู้ดำรงฐานะปุโรหิตที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาควรได้รับความช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาสามารถทำหน้าที่ฐานะปุโรหิตได้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้

38.2.9.8

พี่น้องชายที่กลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกครั้งโดยบัพติศมาและการยืนยัน

เมื่อชายที่ไม่เคยได้รับเอ็นดาวเม้นท์กลับเข้ามาเป็นสมาชิกศาสนจักรอีกครั้งโดยบัพติศมาและการยืนยัน เขาจะได้รับการแต่งตั้งทันทีหลังจากนั้น เขาได้รับการแต่งตั้งสู่ตำแหน่งฐานะปุโรหิตที่เคยดำรงอยู่เมื่อครั้งถูกถอนหรือลาออกจากสมาชิกภาพ

หากเขาเคยรับเอ็นดาวเม้นท์ เขาจะไม่ได้รับแต่งตั้งสู่ตำแหน่งฐานะปุโรหิต แต่จะได้ตำแหน่งเดิมผ่านศาสนพิธีแห่งการฟื้นฟูพร

ดูข้อมูลเพิ่มเติมและคำแนะนำใน 32.17

38.2.9.9

บุคคลผู้ระบุตนเป็นคนข้ามเพศ

สมาชิกที่เคยใช้ยาหรือทำศัลยกรรมเพื่อพยายามเปลี่ยนเป็นเพศตรงข้ามกับเพศสรีระแต่กำเนิดของตน (“การแปลงเพศ”) จะรับหรือใช้ฐานะปุโรหิตไม่ได้ สมาชิกที่เปลี่ยนสถานะทางสังคมเป็นเพศตรงข้ามกับเพศสรีระแต่กำเนิดของตนแล้วจะรับหรือใช้ฐานะปุโรหิตไม่ได้เช่นกัน

ประธานสเตคควรปรึกษากับฝ่ายประธานภาคเพื่อแก้ไขสถานการณ์เป็นรายบุคคลด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษและความรักเหมือนพระคริสต์

สมาชิกชายที่มีค่าควรของศาสนจักรผู้ไม่ได้ใช้ยา ไม่ได้ทำศัลยกรรม หรือไม่ได้ทำการเปลี่ยนสถานะทางสังคมเป็นเพศตรงข้ามกับเพศสรีระแต่กำเนิดของตนอาจได้รับและใช้ฐานะปุโรหิต

ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน 38.6.23

38.2.10

ปิตุพร

ดูข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปิตุพรใน:

  • หมวด 18.17 ของคู่มือนี้

  • ข้อมูลและคำแนะนำสำหรับผู้ประสาทพร

  • การประชุมอบรมผู้นำทั่วโลก: ผู้ประสาทพร

38.2.10.1

สมาชิกที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

สมาชิกที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บิดามารดา หรือผู้ปกครองของสมาชิก (หากมี) และอธิการปรึกษากันว่าสมาชิกควรได้รับปิตุพรหรือไม่ พวกเขาพิจารณาความปรารถนาของสมาชิกและดูว่าเขามีความสามารถพื้นฐานในการเข้าใจพรหรือไม่ หากมีสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายอธิการจะออกใบรับรองปิตุพรให้ คำแนะนำอยู่ใน 18.17

38.2.10.2

ผู้สอนศาสนา

ปิตุพรสามารถเป็นแหล่งพลังทางวิญญาณสำหรับผู้สอนศาสนา หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้สมาชิกควรได้รับปิตุพรก่อนเริ่มรับใช้เป็นผู้สอนศาสนา หากไม่สามารถทำได้ เขาจะรับปิตุพรระหว่างเป็นผู้สอนศาสนา ประธานคณะเผยแผ่สัมภาษณ์ผู้สอนศาสนาและเตรียมใบรับรองปิตุพร คำแนะนำอยู่ใน 18.17

ผู้สอนศาสนาที่ศูนย์ฝึกอบรมผู้สอนศาสนา (MTC) จะรับปิตุพรต่อเมื่อเข้าข่ายทั้งหมดนี้:

  • ผู้สอนศาสนามาจากเขตที่ผู้ประสาทพรไม่สามารถให้พรในภาษาของผู้สอนศาสนาได้

  • ผู้สอนศาสนาจะรับใช้ในคณะเผยแผ่ที่ผู้ประสาทพรไม่สามารถให้พรในภาษาของผู้สอนศาสนาได้

  • ผู้ประสาทพรใกล้ MTC สามารถให้พรในภาษาของผู้สอนศาสนาได้

38.2.10.3

สมาชิกที่เข้าเป็นทหาร

ปิตุพรจะเป็นแหล่งพลังทางวิญญาณสำหรับสมาชิกที่เป็นทหาร หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ สมาชิกที่มีค่าควรควรได้รับปิตุพรก่อนรายงานตัวเข้าประจำการ

หากอยู่ในวิสัยที่ทำเช่นนี้ได้ สมาชิกอาจจะสามารถรับปิตุพรที่ฐานปฏิบัติการถาวร สมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายอธิการที่นั่นสัมภาษณ์สมาชิกและเตรียมใบรับรองปิตุพร คำแนะนำอยู่ใน 18.17

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมประธานสเตคจะติดต่อสำนักงานโควรัมอัครสาวกสิบสองที่ Q12Patriarchs@ChurchofJesusChrist.org.

38.2.10.4

สมาชิกที่อยู่นอกสเตคของผู้ประสาทพร

โดยปกติสมาชิกจะรับปิตุพรจากผู้ประสาทพรในสเตคของตน แต่สมาชิกอาจรับปิตุพรจากผู้ประสาทพรในอีกสเตคหนึ่งหากเขา:

  • เป็นผู้สืบสกุลสายตรงของผู้ประสาทพร (ลูก หลาน หรือเหลน) ผ่านการเกิดหรือการรับบุตรบุญธรรม

  • อาศัยอยู่ในสเตคที่ไม่มีผู้ประสาทพรที่ปฏิบัติหน้าที่ได้

  • อาศัยอยู่ในท้องถิ่น

  • ไม่พูดภาษาเดียวกันกับผู้ประสาทพรสเตค และผู้ประสาทพรในสเตคใกล้เคียงพูดภาษาเดียวกันกับสมาชิก

ในแต่ละกรณีเหล่านี้สมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายอธิการหรือประธานสาขาสัมภาษณ์สมาชิกดังอธิบายไว้ใน 18.17 สมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานสเตคของผู้ประสาทพรและในฝ่ายประธานสเตคหรือฝ่ายประธานคณะเผยแผ่ของผู้รับต้องอนุมัติใบรับรองผ่าน ระบบปิตุพร

38.2.10.5

การแปลปิตุพร

การดลใจและความหมายของปิตุพรถ่ายทอดในการแปลได้ยาก เพราะเหตุนี้สมาชิกจึงควรรับพรของพวกเขาในภาษาที่พวกเขาเข้าใจได้ดีที่สุด ศาสนจักรไม่แปลปิตุพรเป็นลายลักษณ์อักษรให้

และไม่สนับสนุนให้สมาชิกแปลปิตุพร แต่บางครั้งสมาชิกต้องการให้แปลปิตุพรเป็นภาษาที่เขาเข้าใจ สมาชิกจะหาสมาชิกที่มีค่าควรและไว้ใจได้ของศาสนจักรแปลให้ สมาชิกควรเลือกผู้แปลที่มีทักษะผู้เข้าใจลักษณะทางวิญญาณและความลับของพร สำเนาของพรที่แปลแล้วจะไม่เก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่ของศาสนจักร

ประธานสเตคอาจขอให้ถอดความปิตุพรเป็นอักษรเบรลล์ เขาติดต่อสำนักงานโควรัมอัครสาวกสิบสองที่ Q12Patriarchs@ChurchofJesusChrist.org.

38.2.10.6

การเป็นล่ามแปลปิตุพรเป็นภาษามือ

หากสมาชิกหูหนวกหรือหูตึง สามารถให้ล่ามแปลปิตุพรของเขาเป็นภาษามือได้ สมาชิกระบุชื่อล่าม จะดีที่สุดถ้าล่ามเป็นสมาชิกที่มีค่าควรและเชื่อถือได้ผู้เข้าใจประเด็นหลักคำสอนของปิตุพร แต่เมื่อสมาชิกหาล่ามของศาสนจักรไม่ได้ คนที่มีความสามารถอีกคนหนึ่งจะเป็นล่ามให้

38.2.10.7

ปิตุพรครั้งที่สอง

ในสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยมาก สมาชิกที่มีค่าควรอาจขอปิตุพรครั้งที่สอง แต่ไม่สนับสนุนให้ทำเช่นนั้น และอาจไม่อนุมัติคำขอ หากสมาชิกมีเหตุผลสำคัญให้ขอปิตุพรครั้งที่สอง เขาจะหารือเรื่องนี้กับอธิการ หากอธิการรู้สึกว่าพรครั้งที่สองจำเป็น เขาเตรียมใบรับรองปิตุพร คำแนะนำอยู่ใน 18.17

จากนั้นประธานสเตคสัมภาษณ์สมาชิกและอ่านพรครั้งแรกกับสมาชิก หากเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องรับพรครั้งที่สอง เขาขออนุมัติจากสำนักงานโควรัมอัครสาวกสิบสองที่ Q12Patriarchs@ChurchofJesusChrist.org.

ประธานสเตคจะแจ้งผู้รับและผู้ประสาทพรให้ทราบเรื่องการตัดสินใจของสำนักงานโควรัมอัครสาวกสิบสอง หากอนุมัติคำขอ ประธานสเตคอนุมัติใบรับรองในระบบปิตุพร ประธานสเตคบอกผู้รับว่าพรครั้งที่สองจะใช้แทนพรครั้งแรก จากนั้นผู้ประสาทพรจะให้ปิตุพรครั้งที่สอง

38.3

การแต่งงานตามกฎหมาย

ผู้นำศาสนจักรส่งเสริมให้สมาชิกมีคุณสมบัติคู่ควรกับการแต่งงานในพระวิหารแล้วแต่งงานและผนึกในพระวิหาร หากกฎหมายท้องที่อนุญาต ผู้นำศาสนจักรจะประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายในสภาวการณ์ต่างๆ เช่น:

  • คู่ชายหญิงมีแผนจะแต่งงานในพระวิหาร แต่กฎหมายไม่ยอมรับการแต่งงานในพระวิหาร

  • คู่ชายหญิงจะแต่งงานในพระวิหาร แต่การแต่งงานตามกฎหมายจะช่วยให้บิดามารดาหรือสมาชิกครอบครัวใกล้ชิดรู้สึกมีส่วนร่วม

  • ไม่มีพระวิหารให้เข้าเป็นระยะเวลานาน

  • คู่ชายหญิงไม่มีแผนจะแต่งงานในพระวิหาร

การแต่งงานตามกฎหมายมีผลตราบเท่าที่คู่สามีภรรยามีชีวิตอยู่ แต่ไม่มีผลหลังจากชีวิตมรรตัย

การแต่งงานตามกฎหมายควรประกอบพิธีตามกฎหมายของสถานที่ซึ่งประกอบพิธีแต่งงาน

การแต่งงานตามกฎหมายและพิธีทางศาสนาที่เกี่ยวข้องไม่ควรทำในวันสะบาโต ทั้งไม่ควรจัดในยามวิกาล

อธิการปรึกษากับประธานสเตคหากมีคำถามเกี่ยวกับการแต่งงานตามกฎหมายที่ไม่มีคำตอบในหมวดนี้ ประธานสเตคจะส่งคำถามไปสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดโดยตรง

38.3.1

ผู้ประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมาย

เมื่อกฎหมายท้องที่อนุญาต เจ้าหน้าที่ศาสนจักรต่อไปนี้ที่รับใช้อยู่ในปัจจุบันจะทำหน้าที่ในการเรียกของตนเพื่อประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมาย:

  • ประธานคณะเผยแผ่

  • ประธานสเตค

  • ประธานท้องถิ่น

  • อธิการ

  • ประธานสาขา

เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายให้ชายกับหญิงเท่านั้น ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ด้วย:

  • เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวเป็นสมาชิกของศาสนจักรหรือมีวันบัพติศมา

  • บันทึกสมาชิกภาพของเจ้าสาวหรือของเจ้าบ่าวอยู่หรือจะอยู่หลังบัพติศมาในหน่วยศาสนจักรที่เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวเป็นประธาน

  • เจ้าหน้าที่ศาสนจักรได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายในขอบเขตอำนาจที่จะจัดพิธีแต่งงาน

อนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายประจำกองทัพจะประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายโดยไม่ต้องได้รับอนุมัติก่อน

อนุศาสนาจารย์ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลหน่วย Reserve or National Guard (หน่วยทหารกองหนุนหรือหน่วยป้องกันราชอาณาจักร) ต้องได้รับอนุมัติจาก Military Relations and Chaplain Services Division ของศาสนจักรก่อนจึงจะประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายได้ ดูข้อมูลติดต่อใน 38.9.10

อนุศาสนาจารย์ที่ไม่ใช่ทหารผู้รับใช้ในองค์การต่อไปนี้ต้องได้รับอนุมัติจาก Military Relations and Chaplain Services Division ของศาสนจักรก่อนจึงจะประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายได้:

  • โรงพยาบาล

  • องค์กรดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

  • บ้านพักคนชรา

  • เรือนจำ

  • หน่วยลาดตระเวนชายแดน

  • กรมตำรวจหรือหน่วยดับเพลิง

อนุศาสนาจารย์ที่เกษียณแล้วไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายในฐานะอนุศาสนาจารย์

ผู้ประกอบพิธีแต่งงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการเรียกของตนในฐานะผู้นำศาสนจักรหรืออนุศาสนาจารย์จะใช้แนวทางในหมวดนี้ และทำตามข้อกำหนดทางกฎหมายทั้งหมด

อนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายไม่ถือเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมของศาสนจักรเว้นแต่พวกเขากำลังรับใช้เป็นประธานสเตค อธิการ หรือประธานสาขา เมื่ออนุศาสนาจารย์ผู้ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ควบคุมของศาสนจักรประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมาย เขาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลหรือองค์กรพลเรือนที่เขารับใช้ ด้วยเหตุนี้คำที่ใช้ประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายจึงเปลี่ยนเล็กน้อยสำหรับอนุศาสนาจารย์เหล่านี้ตามที่เห็นใน 38.3.6

อนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายจะประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายให้ชายกับหญิงเท่านั้น

เจ้าหน้าที่และอนุศาสนาจารย์ของศาสนจักรผู้ประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายให้สมาชิกของศาสนจักรจะให้ข้อมูลการแต่งงานที่จำเป็นแก่พนักงานวอร์ดหรือพนักงานสาขา พนักงานจะอัปเดตบันทึกสมาชิกภาพ

เจ้าหน้าที่หรืออนุศาสนาจารย์ของศาสนจักรผู้ประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมายตามตำแหน่งหน้าที่ในศาสนจักรจะไม่รับค่าประกอบพิธี

38.3.2

การแต่งงานตามกฎหมายสำหรับสมาชิกจากหน่วยอื่น

เจ้าหน้าที่ศาสนจักรจะไม่ประกอบพิธีแต่งงานให้สมาชิกศาสนจักรเมื่อเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวไม่ได้เป็นสมาชิกของหน่วยซึ่งเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวเป็นผู้ควบคุมดูแล (ดู 38.3.1) แต่มีข้อยกเว้นคืออนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายและเจ้าหน้าที่ศาสนจักรผู้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐสามารถประกอบพิธีให้ได้

38.3.3

การแต่งงานตามกฎหมายสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของศาสนจักร

เจ้าหน้าที่ศาสนจักรจะไม่ประกอบพิธีแต่งงานเมื่อเจ้าสาวหรือเจ้าบ่าวไม่ได้เป็นสมาชิกของศาสนจักรเว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีวันบัพติศมา แต่มีข้อยกเว้นคืออนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายและเจ้าหน้าที่ศาสนจักรผู้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐสามารถประกอบพิธีให้ได้

38.3.4

การแต่งงานตามกฎหมายที่จัดในอาคารศาสนจักร

พิธีแต่งงานอาจจัดในอาคารศาสนจักรหากไม่คาบเกี่ยวกับตารางเวลาปกติของศาสนจักร จะไม่จัดงานแต่งงานในวันสะบาโตหรือเย็นวันจันทร์ งานแต่งงานที่จัดในอาคารศาสนจักรควรเรียบง่ายและสง่างาม เพลงควรศักดิ์สิทธิ์ มีความคารวะ และเบิกบานใจ

อาจจัดพิธีแต่งงานในห้องนมัสการ ห้องวัฒนธรรม หรือห้องอื่นที่เหมาะสม พิธีแต่งงานควรทำตามแนวทางการใช้อาคารประชุมอย่างถูกต้อง ดู 35.5.8 และ 35.5.15)

ศาสนจักรไม่อนุญาตให้ใช้อาคารประชุมหรือทรัพย์สินของศาสนจักรจัดพิธีแต่งงานกับเพศเดียวกัน พหุสมรส การแต่งงานที่ผิดกฎหมาย หรือการแต่งงานอื่นที่ไม่สอดคล้องกับหลักคำสอนหรือนโยบายศาสนจักร

ในสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยมาก อธิการอาจอนุญาตให้ใช้อาคารศาสนจักรจัดพิธีแต่งงานให้กับคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ศาสนจักรหรือคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกศาสนจักร เขาปรึกษากับประธานสเตคก่อน เขาปรึกษากับผู้จะประกอบพิธีเพื่อให้แน่ใจว่าผู้นั้นเข้าใจแนวทางในหมวดนี้ สมาชิกคนหนึ่งของสภาสเตคหรือสภาวอร์ดต้องแน่ใจว่ามีการใช้และดูแลอาคารอย่างถูกต้อง

อธิการอาจอนุญาตให้ถ่ายทอดสดงานแต่งงานในอาคารศาสนจักร (ดู 29.7)

38.3.5

การแต่งงานตามกฎหมายที่ต้องประกอบพิธีโดยข้าราชการหรือในสถานที่ราชการ

ในบางพื้นที่กฎหมายกำหนดให้ข้าราชการเป็นผู้ประกอบพิธีแต่งงาน บางพื้นที่กำหนดให้ประกอบพิธีแต่งงานในอาคารราชการหรือสถานที่ราชการอื่นๆ ในกรณีเหล่านี้เจ้าหน้าที่ฐานะปุโรหิตที่ได้รับมอบอำนาจจะดำเนินพิธีทางศาสนาสั้นๆ หลังจากการแต่งงานตามกฎหมาย ในพิธีนี้เขาจะให้คำแนะนำแก่คู่แต่งงาน

38.3.6

พิธีแต่งงานตามกฎหมาย

การแต่งงานเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ควรให้เกียรติและสง่างาม การแต่งงานสำหรับสมาชิกศาสนจักรที่ประกอบพิธีนอกพระวิหารควรสะท้อนวิญญาณของการให้คำมั่นสัญญาและปีติ

ข้อมูลในหมวดนี้ใช้กับอนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ศาสนจักร ยกเว้นระบุเป็นอื่น

ก่อนประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ศาสนจักรจะแนะนำคู่แต่งงานเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของคำปฏิญาณการแต่งงาน และอาจเพิ่มคำแนะนำอื่นตามที่พระวิญญาณทรงนำ

เพื่อประกอบพิธีแต่งงานตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ศาสนจักรเอ่ยชื่อคู่บ่าวสาวและกล่าวว่า “โปรดจับมือขวาของกันและกัน” แล้วกล่าวต่อจากนั้นว่า “[ชื่อนามสกุลของเจ้าบ่าวและของเจ้าสาว] ท่านทั้งสองจับมือขวาของกันและกันอันเป็นเครื่องหมายแสดงว่าบัดนี้ท่านจะเข้าสู่พันธสัญญาเบื้องพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้าและต่อหน้าพยานเหล่านี้” (คู่บ่าวสาวจะเลือกหรือเสนอชื่อพยานเหล่านี้ล่วงหน้า)

จากนั้นเจ้าหน้าที่เอ่ยชื่อเจ้าบ่าวและถามว่า “[ชื่อนามสกุลของเจ้าบ่าว] ท่านยอมรับ [ชื่อนามสกุลของเจ้าสาว] เป็นภรรยาที่แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และท่านทำพันธสัญญาด้วยความสมัครใจและการเลือกของท่านเองในฐานะคู่ชีวิตและสามีที่แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าท่านจะแนบสนิทกับเธอและไม่มีใครอีก ว่าท่านจะรักษากฎ พันธสัญญา และพันธะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของการสมรส และว่าท่านจะรัก ให้เกียรติ และทะนุถนอมเธอตราบที่ท่านทั้งสองจะมีชีวิตอยู่หรือไม่?”

เจ้าบ่าวตอบ “ครับ” หรือ “ยอมรับครับ”

จากนั้นเจ้าหน้าที่ศาสนจักรเอ่ยชื่อเจ้าสาวและถามว่า “[ชื่อนามสกุลของเจ้าสาว] ท่านยอมรับ [ชื่อนามสกุลของเจ้าบ่าว] เป็นสามีที่แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และท่านทำพันธสัญญาด้วยความสมัครใจและการเลือกของท่านเองในฐานะคู่ชีวิตและภรรยาที่แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าท่านจะแนบสนิทกับเขาและ ไม่มีใครอีก ว่าท่านจะรักษากฎ พันธสัญญา และพันธะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของการสมรส และว่าท่านจะรัก ให้เกียรติ และทะนุถนอมเขาตราบที่ท่านทั้งสองจะมีชีวิตอยู่หรือไม่?”

เจ้าสาวตอบ “ค่ะ ” หรือ “ยอมรับค่ะ”

จากนั้นเจ้าหน้าที่ศาสนจักรเอ่ยชื่อคู่บ่าวสาวและกล่าวว่า “โดยอาศัยสิทธิอำนาจตามกฎที่มอบให้ข้าพเจ้าในฐานะเอ็ลเดอร์ของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ข้าพเจ้าขอประกาศว่าท่านทั้งสอง [ชื่อนามสกุลของเจ้าบ่าว] และ [ชื่อนามสกุลของเจ้าสาว] สามีและภรรยา ได้แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎและกฎหมายสำหรับช่วงชีวิตมรรตัยของท่าน”

[ปรับคำใหม่สำหรับอนุศาสนาจารย์ที่ไม่ได้รับใช้เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมของศาสนจักร: “โดยอาศัยสิทธิอำนาจตามกฎที่มอบให้ข้าพเจ้าในฐานะอนุศาสนาจารย์ใน [สาขาขององค์กรทหารหรือพลเรือน] ข้าพเจ้าขอประกาศว่า [ชื่อนามสกุลของเจ้าบ่าว] และ [ชื่อนามสกุลของเจ้าสาว] สามีและภรรยา ได้แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎและกฎหมายสำหรับช่วงชีวิตมรรตัยของท่าน”)

“ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพรให้ชีวิตสมรสของท่านเกิดปีติในลูกหลานและมีความสุขยืนยาวร่วมกัน และขอพระองค์ทรงช่วยให้ท่านสามารถรักษาพันธสัญญาที่ท่านทำไว้ให้ศักดิ์สิทธิ์ ข้าพเจ้าขอให้พรเหล่านี้บังเกิดแก่ท่านในพระนามของพระเจ้า พระเยซูคริสต์ เอเมน”

ท่านจะเชื้อเชิญให้สามีภรรยาจุมพิตกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานทางวัฒนธรรม

38.4

นโยบายการผนึก

สมาชิกศาสนจักรทำพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์กับพระผู้เป็นเจ้าเมื่อพวกเขารับศาสนพิธีพระวิหาร ศาสนพิธีการผนึกของพระวิหารรวมครอบครัวไว้ชั่วนิรันดร์เมื่อสมาชิกพยายามให้เกียรติพันธสัญญาที่พวกเขาทำเมื่อครั้งรับศาสนพิธี ศาสนพิธีการผนึกได้แก่:

  • การผนึกสามีภรรยา

  • การผนึกบุตรธิดากับบิดามารดา

คนที่รักษาพันธสัญญาจะยังมีพรรายบุคคลที่การผนึกให้ไว้ ถึงแม้คู่สมรสของพวกเขาฝ่าฝืนพันธสัญญาหรือถอนตัวจากการแต่งงานก็ตาม

บุตรธิดาที่ซื่อสัตย์ผู้รับการผนึกกับบิดามารดาหรือเกิดในพันธสัญญายังคงมีพรของการมีบิดามารดานิรันดร์ แม้บิดามารดาของพวกเขายกเลิกการผนึกการแต่งงาน ถูกถอนสมาชิกภาพศาสนจักร หรือลาออกจากสมาชิกภาพก็ตาม

สมาชิกที่มีข้อกังวลเกี่ยวกับความเป็นนิรันดร์ของศาสนพิธีการผนึกและความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาและครอบครัวที่เกี่ยวข้องขอให้ไว้วางใจพระเจ้าและแสวงการปลอบประโลมของพระองค์

สมาชิกควรปรึกษากับอธิการหากพวกเขามีคำถามเรื่องนโยบายการผนึกที่ไม่มีคำตอบในหมวดนี้ อธิการติดต่อประธานสเตคหากมีคำถาม ประธานสเตคจะติดต่อฝ่ายประธานพระวิหารในท้องถิ่นพระวิหารของตน ฝ่ายประธานภาค หรือสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดหากมีคำถาม

38.4.1

การผนึกชายและหญิง

ความต้องการ

หมวด

ความต้องการ

ฉันแต่งงานตามกฎหมายแล้วและอยากผนึกกับคู่สมรส

หมวด

38.4.1.1

ความต้องการ

ฉันหย่าจากคู่สมรสคนก่อนและต้องการผนึกกับคู่สมรสคนปัจจุบัน

หมวด

38.4.1.2

ความต้องการ

คู่สมรสที่ฉันผนึกด้วยสิ้นชีวิต ตอนนี้ฉันจะผนึกกับใคร?

หมวด

38.4.1.3

ความต้องการ

ฉันต้องแจ้งความจำนงขอคำสั่งยกเลิกการผนึกหรือคำสั่งอนุญาตการผนึก

หมวด

38.4.1.4

ความต้องการ

ฉันต้องการให้ถอนข้อจำกัดการผนึกในพระวิหาร

หมวด

38.4.1.5

ความต้องการ

ฉันกับคู่สมรสแต่งงานเพื่อกาลเวลาในพระวิหารเท่านั้น เราจะผนึกกันได้อย่างไร?

หมวด

38.4.1.6

ความต้องการ

สมาชิกครอบครัวของฉันที่ถึงแก่กรรมจะผนึกกับใคร?

หมวด

38.4.1.7

ความต้องการ

การหย่าร้างมีผลต่อการผนึกของฉันอย่างไร?

หมวด

38.4.1.8

ความต้องการ

อะไรคือผลของการยกเลิกการผนึก?

หมวด

38.4.1.9

ความต้องการ

การลาออกหรือการถอนสมาชิกภาพศาสนจักรมีผลต่อการผนึกของฉันอย่างไร?

หมวด

38.4.1.10

38.4.1.1

การผนึกของสมาชิกที่มีชีวิตอยู่หลังจากแต่งงานตามกฎหมาย

ชายหญิงที่แต่งงานตามกฎหมายจะผนึกในพระวิหารทันทีที่สภาวการณ์เอื้ออำนวยหากบรรลุเงื่อนไขต่อไปนี้:

  • ทั้งคู่เป็นสมาชิกของศาสนจักรนานอย่างน้อยหนึ่งปี (ดู 27.3.1 และ 27.2.1)

  • พร้อมและมีค่าควร

เมื่อออกใบรับรองให้คู่สามีภรรยาไปผนึก ผู้นำฐานะปุโรหิตต้องแน่ใจว่าการแต่งงานตามกฎหมายมีผลทางกฎหมาย ดู 26.3 และ 27.3

38.4.1.2

การผนึกของสมาชิกที่มีชีวิตอยู่หลังการหย่าร้าง

หญิง หญิงที่มีชีวิตอยู่จะผนึกกับสามีทีละคนเท่านั้น หากเธอกับสามีผนึกกันและต่อมาหย่าร้าง เธอต้องได้รับคำสั่งยกเลิกการผนึกนั้นก่อนจึงจะผนึกกับชายอื่นในช่วงชีวิตของเธอ (ดู 38.4.1.4)

หญิงที่มีชีวิตอยู่ผู้ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้แต่งงานหรือผนึกกับชายอื่นอาจผนึกกับสามีที่ถึงแก่กรรมผู้ซึ่งเธอหย่าร้างกับเขาในชีวิตนี้ เธอต้องได้รับความยินยอมพร้อมลายเซ็นจากภรรยาม่ายของสามีคนก่อนของเธอ (หากเขามีภรรยา)

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบศาสนพิธีสำหรับคู่สมรสที่ถึงแก่กรรมใน บทที่ 28

ชาย หากชายและหญิงผนึกกันและหย่าร้างในภายหลัง ฝ่ายชายต้องได้รับคำสั่งอนุญาตการผนึกก่อนจึงจะผนึกกับหญิงอื่นได้ (ดู 38.4.1.4) คำสั่งอนุญาตการผนึกจำเป็นแม้ว่า (1) การผนึกครั้งก่อนถูกยกเลิกไปแล้ว หรือ (2) ภรรยาคนก่อนถึงแก่กรรม

ต้องได้รับคำสั่งอนุญาตการผนึกหากชายหย่าจากหญิงที่เพิ่งผนึกกับเขา ตัวอย่างเช่น หากชายได้รับคำสั่งอนุญาตการผนึกเพื่อผนึกกับภรรยาคนที่สองหลังการหย่าร้าง และภรรยาคนที่สองสิ้นชีวิต เขาไม่จำเป็นต้องได้รับคำสั่งอนุญาตการผนึกเพื่อผนึกอีก

ชายที่มีชีวิตอยู่อาจผนึกกับภรรยาที่ถึงแก่กรรมผู้ซึ่งเขาหย่าร้างในชีวิตนี้ เขาต้องได้รับความเห็นชอบพร้อมลายเซ็นจากสามีม่ายของอดีตภรรยาก่อน (หากมีสามี) เขาต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากภรรยาคนปัจจุบันของเขาด้วยหากเขาแต่งงาน

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบศาสนพิธีสำหรับคู่สมรสที่ถึงแก่กรรมใน บทที่ 28

38.4.1.3

การผนึกของสมาชิกที่มีชีวิตอยู่หลังคู่สมรสถึงแก่กรรม

หญิง หากสามีภรรยาผนึกกันแล้วและสามีสิ้นชีวิต ฝ่ายหญิงจะไม่ผนึกกับชายอื่นเว้นแต่เธอได้รับคำสั่งยกเลิกการผนึกครั้งแรก (ดู 38.4.1.4)

หญิงที่มีชีวิตอยู่ผู้ซึ่งปัจจุบันไม่ได้แต่งงานหรือผนึกกับชายอื่นอาจผนึกกับสามีที่ถึงแก่กรรม หากการแต่งงานสิ้นสุดในการหย่าร้าง ดู 38.4.1.2

หญิงที่มีชีวิตอยู่ผู้ซึ่งปัจจุบันแต่งงานแล้วจะไม่ผนึกกับสามีที่ถึงแก่กรรมโดยไม่ได้รับอนุมัติจากฝ่ายประธานสูงสุด

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบศาสนพิธีสำหรับคู่สมรสที่ถึงแก่กรรมใน บทที่ 28

ชาย หากสามีภรรยาผนึกกันแล้วและภรรยาสิ้นชีวิต ชายจะผนึกกับหญิงอื่นได้หากเธอยังไม่เคยผนึกกับชายอื่นมาก่อน ในกรณีนี้ ชายไม่จำเป็นต้องได้รับคำสั่งอนุญาตการผนึกจากฝ่ายประธานสูงสุดเว้นแต่ชายผู้นี้ได้หย่าจากภรรยาคนก่อน ก่อนที่เธอจะสิ้นชีวิต (ดู 38.4.1.2)

ชายที่มีชีวิตอยู่อาจผนึกกับภรรยาที่ถึงแก่กรรม หากการแต่งงานสิ้นสุดในการหย่าร้าง ดู 38.4.1.2 ก่อนผนึกกับภรรยาที่ถึงแก่กรรม ชายคนนั้นต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากภรรยาคนปัจจุบันหากเขาแต่งงาน

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบศาสนพิธีสำหรับคู่สมรสที่ถึงแก่กรรมใน บทที่ 28

38.4.1.4

การแจ้งความจำนงขอคำสั่งยกเลิกการผนึกหรือคำสั่งอนุญาตการผนึก

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการผนึกของสมาชิกที่มีชีวิตอยู่หลังการหย่าร้างใน 38.4.1.2 ดูข้อมูลเกี่ยวกับการผนึกของสมาชิกที่มีชีวิตอยู่หลังการตายของคู่สมรสใน 38.4.1.3

สมาชิกทั้งสองเพศอาจขอคำสั่งยกเลิกการผนึกแม้พวกเขาไม่ได้เตรียมผนึกกับคู่สมรสอีกคน สมาชิกชายต้องได้รับคำสั่งอนุญาตการผนึกจึงจะผนึกกับหญิงอื่นหลังการหย่าร้างได้

ขั้นตอนการขอคำสั่งยกเลิกการผนึกหรือคำสั่งอนุญาตการผนึกระบุไว้ด้านล่าง

  1. สมาชิกพูดกับอธิการเรื่องคำขอ

  2. อธิการต้องแน่ใจว่า:

    1. การหย่าร้างสิ้นสุดแล้ว

    2. ปัจจุบันสมาชิกทำตามข้อกำหนดทางกฎหมายทั้งหมดสำหรับการเลี้ยงดูบุตรและคู่สมรสที่เกี่ยวข้องกับการหย่าร้าง

  3. หากอธิการเสนอให้ยกเลิกการผนึกหรืออนุญาตการผนึก เขา:

    1. กรอกใบแจ้งความจำนงถึงฝ่ายประธานสูงสุดให้กับสมาชิกโดยใช้ แหล่งช่วยผู้นำและพนักงาน (LCR) ผู้นำที่เข้า LCR ไม่ได้ให้ใช้ใบแจ้งความจำนงถึงฝ่ายประธานสูงสุดแบบกระดาษ แบบฟอร์มนี้ขอได้จาก Confidential Records Office (สำนักงานบันทึกที่เป็นความลับ) ที่สำนักงานใหญ่ของศาสนจักร

    2. ส่งใบแจ้งความจำนงให้ประธานสเตค

  4. ประธานสเตคพบกับสมาชิก ประธานสเตคตรวจสอบให้แน่ใจว่า:

    1. การหย่าร้างสิ้นสุดแล้ว

    2. ปัจจุบันสมาชิกทำตามข้อกำหนดทางกฎหมายทั้งหมดสำหรับการเลี้ยงดูบุตรและคู่สมรสที่เกี่ยวข้องกับการหย่าร้าง

  5. หากประธานสเตคเสนอให้ยกเลิกการผนึกหรืออนุญาตการผนึก เขาส่งใบแจ้งความจำนงถึงสำนักงานใหญ่ของศาสนจักรโดยใช้ LCR ดู 6.2.3 เกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบของประธานสเตคเมื่อส่งใบแจ้งความจำนงถึงฝ่ายประธานสูงสุด

  6. หากอนุมัติคำขอ ฝ่ายประธานสูงสุดจะให้จดหมายระบุว่าให้คำสั่งยกเลิกการผนึกหรือคำสั่งอนุญาตการผนึก

  7. หลังจากได้รับจดหมาย สมาชิกจะทำนัดสำหรับการผนึกในพระวิหาร สมาชิกยื่นจดหมายที่พระวิหาร

ดู 38.4.1.9

38.4.1.5

การถอนข้อจำกัดการผนึกในพระวิหาร

บุคคลที่ล่วงประเวณีทั้งที่แต่งงานอยู่กับคู่สมรสที่ตนผนึกด้วยจะผนึกกับคนที่ตนล่วงประเวณีด้วยไม่ได้หากไม่ได้รับอนุมัติจากประธานศาสนจักร

คู่สามีภรรยาอาจขออนุมัติหลังจากแต่งงานกันแล้วอย่างน้อยห้าปี ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอถอนการจำกัดการผนึกในพระวิหารระบุไว้ด้านล่าง

  1. คู่สามีภรรยาพบกับอธิการและประธานสเตคของตน

  2. หากผู้นำเหล่านี้รู้สึกว่าควรถอนการจำกัด พวกเขาเขียนจดหมายถึงฝ่ายประธานสูงสุดพร้อมคำรับรองของพวกเขา จดหมายนั้นควรพูดถึงความมีค่าควรเข้าพระวิหารของผู้แจ้งความจำนงและเสถียรภาพของชีวิตแต่งงานอย่างน้อยห้าปี ดู 6.2.3 เกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบของประธานสเตคเมื่อส่งใบแจ้งความจำนงถึงฝ่ายประธานสูงสุด

  3. คู่สามีภรรยาเขียนจดหมายยื่นคำร้องถึงฝ่ายประธานสูงสุดเช่นกัน

  4. ประธานสเตคส่งจดหมายทั้งหมดนี้ไปให้ฝ่ายประธานสูงสุด เขาอาจส่งคำร้องพร้อมใบแจ้งความจำนงเพื่อขอคำสั่งยกเลิกการผนึกหรือคำสั่งอนุญาตการผนึก (ดู 38.4.1.4)

  5. หากอนุมัติคำร้อง ฝ่ายประธานสูงสุดให้จดหมายระบุว่าได้ถอนการจำกัดการผนึกในพระวิหารแล้ว

  6. หลังจากได้รับจดหมาย คู่สามีภรรยาจะทำนัดเพื่อรับการผนึก พวกเขายื่นจดหมายที่พระวิหาร

38.4.1.6

การผนึกหลังจากแต่งงานในพระวิหารเพื่อกาลเวลาเท่านั้น

คู่สามีภรรยาที่แต่งงานในพระวิหารเพื่อกาลเวลาเท่านั้นมักจะไม่ผนึกในภายหลัง เพื่อให้การผนึกเช่นนั้นเกิดขึ้น ฝ่ายหญิงต้องได้รับคำสั่งยกเลิกการผนึกครั้งก่อนจากฝ่ายประธานสูงสุดก่อน หากทั้งอธิการและประธานสเตครู้สึกเห็นควรให้ยกเลิกการผนึก ประธานสเตคจะส่งใบแจ้งความจำนงถึงฝ่ายประธานสูงสุดโดยใช้ LCR ดู 6.2.3 เกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบของประธานสเตคเมื่อส่งใบแจ้งความจำนงถึงฝ่ายประธานสูงสุด

จะไม่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่อกาลเวลาเท่านั้นในพระวิหารอีก (ดู 27.3.3)

38.4.1.7

การผนึกของบุคคลที่ถึงแก่กรรม

หมวดนี้ใช้กับบุคคลที่ถึงแก่กรรมผู้จะผนึกกับคู่สมรสที่ถึงแก่กรรมด้วย หากคู่สมรสคนหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ ให้ดู 38.4.1.3

หญิงที่ถึงแก่กรรม หญิงที่ถึงแก่กรรมแล้วอาจผนึกกับชายทุกคนที่เธอแต่งงานด้วยอย่างถูกต้องตามกฎหมายในช่วงชีวิตของเธอ ตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าการผนึกเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด

เธอไม่ได้ผนึกกับสามีในชีวิต

เธอจะผนึกกับชายทุกคนที่เธอแต่งงานด้วยที่ยังมีชีวิตอยู่หรือถึงแก่กรรมแล้ว หากชายมีชีวิตอยู่ ภรรยาของเขา (หากเขาแต่งงาน) ต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร หากชายถึงแก่กรรม ภรรยาของเขา (หากมี) ต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

เธอผนึกกับสามีในชีวิต

สามีทุกคนต้องถึงแก่กรรมก่อนเธอจึงจะผนึกกับชายที่แต่งงานด้วยได้ นี่รวมถึงอดีตสามีที่เธอเคยหย่าร้างด้วย ภรรยาม่ายของชายแต่ละคน (หากมี) ต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

ชายที่ถึงแก่กรรม ชายที่ถึงแก่กรรมแล้วอาจผนึกกับหญิงทุกคนที่เขาแต่งงานด้วยอย่างถูกต้องตามกฎหมายระหว่างมีชีวิตหาก (1) หญิงเหล่านั้นถึงแก่กรรม หรือ (2) พวกเธอมีชีวิตอยู่และไม่ได้ผนึกกับชายอื่น

ก่อนชายที่ถึงแก่กรรมจะผนึกกับภรรยาที่ถึงแก่กรรมผู้ซึ่งเขาแต่งงานด้วยในชีวิต สามีม่ายของหญิงคนนั้น (หากมี) ต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

คู่สามีภรรยาที่ถึงแก่กรรมและหย่าร้าง คู่สามีภรรยาที่ถึงแก่กรรมและหย่าร้างอาจผนึกโดยตัวแทนเพื่อให้บุตรธิดาได้ผนึกกับพวกเขา ดู 28.3.5 หากสามีหรือภรรยาถูกถอนสมาชิกภาพศาสนจักรหรือลาออกจากสมาชิกภาพ และไม่ได้รับบัพติศมาใหม่ ณ เวลาตาย

ต้องได้รับอนุมัติจากฝ่ายประธานสูงสุดก่อนผนึกสามีภรรยาที่ถึงแก่กรรมผู้ได้รับคำสั่งยกเลิกการผนึกในชีวิตนี้

38.4.1.8

ผลของการหย่าร้าง

หากคู่สามีภรรยาผนึกและต่อมาหย่าร้าง พรของการผนึกนั้นยังมีผลต่อบุคคลที่มีค่าควรเว้นแต่ยกเลิกการผนึก (ดู 38.4.1.4 และ 38.4.1.9) สมาชิกที่ยังคงซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญาพระวิหารจะได้รับพรทุกประการที่สัญญาไว้ในพระวิหาร แม้คู่สมรสของสมาชิกฝ่าฝืนพันธสัญญาหรือถอนการแต่งงานก็ตาม

ดูข้อมูลเกี่ยวกับบุตรที่เกิดหลังการหย่าร้างใน 38.4.2.1

38.4.1.9

ผลของคำสั่งยกเลิกการผนึก

ทันทีที่ฝ่ายประธานสูงสุดอนุมัติคำสั่งยกเลิกการผนึก พรเกี่ยวกับการผนึกนั้นไม่มีผลอีกต่อไป ผู้นำฐานะปุโรหิตให้คำปรึกษากับสมาชิกที่ขอคำสั่งยกเลิกการผนึกเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจหลักธรรมเหล่านี้ ผู้นำควรให้เกียรติสิทธิ์เสรีของสมาชิกในการตัดสินใจเหล่านี้

บุตรที่เกิดกับฝ่ายหญิงหลังจากยกเลิกการผนึกของเธอกับอดีตสามีไม่ถือว่าเกิดในพันธสัญญาเว้นแต่เธอผนึกกับชายอื่น

38.4.1.10

ผลของการลาออกหรือการถอนสมาชิกภาพศาสนจักร

หลังจากคู่สามีภรรยาผนึกในพระวิหารแล้ว หากคนใดคนหนึ่งลาออกจากสมาชิกภาพศาสนจักรหรือถูกถอนสมาชิกภาพ พรพระวิหารของเขาหรือเธอถูกถอนเช่นกัน แต่พรส่วนตัวของศาสนพิธีการผนึกยังมีผลต่อคู่สมรสและบุตรของบุคคลนั้นหากพวกเขายังคงซื่อสัตย์

บุตรที่เกิดกับคู่สามีภรรยาหลังจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายลาออกจากสมาชิกภาพหรือถูกถอนสมาชิกภาพศาสนจักรไม่ถือว่าเกิดในพันธสัญญา ดู 38.4.2.8

38.4.2

การผนึกบุตรกับบิดามารดา

38.4.2.1

บุตรที่เกิดในพันธสัญญา

บุตรที่เกิดหลังจากมารดารับการผนึกกับสามีในพระวิหารแล้วถือว่าเกิดในพันธสัญญาของการผนึกนั้น พวกเขาไม่ต้องรับศาสนพิธีการผนึกกับบิดามารดา

บางครั้งหญิงที่ผนึกกับชายคนหนึ่งแล้วและต่อมามีบุตรกับชายอีกคนหนึ่ง กรณีนี้ถือว่าบุตรเหล่านี้เกิดในพันธสัญญาของการผนึกแรกเว้นแต่พวกเขาเกิด (1) หลังจากการผนึกถูกยกเลิก หรือ (2) หลังจากการผนึกถูกถอนเนื่องจากการลาออกหรือการถอนสมาชิกภาพศาสนจักร

38.4.2.2

บุตรที่ไม่ได้เกิดในพันธสัญญา

บุตรที่ไม่ได้เกิดในพันธสัญญาจะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวนิรันดร์ได้โดยการผนึกกับบิดามารดาผู้ให้กำเนิดหรือบิดามารดาบุญธรรม บุตรเหล่านี้ได้รับพรเดียวกันประหนึ่งพวกเขาเกิดในพันธสัญญา

บุตรที่มีชีวิตอยู่ บุตรที่มีชีวิตอยู่จะผนึกกับบิดามารดาทั้งสองคน—สามีภรรยา—เท่านั้น ไม่ใช่กับบิดาหรือมารดาคนเดียว ดูข้อมูลเกี่ยวกับการออกใบรับรองพระวิหารสำหรับบุตรที่จะผนึกกับบิดามารดาใน 27.4.1

สมาชิกที่อายุ 21 ปีขึ้นไปต้องรับเอ็นดาวเม้นท์ก่อนผนึกกับบิดามารดาของตน

สมาชิกอายุน้อยกว่า 21 ปีที่แต่งงานแล้วไม่ต้องได้รับเอ็นดาวเม้นท์เพื่อผนึกกับบิดามารดาของตน อย่างไรก็ดี พวกเขาต้องมีใบรับรองพระวิหารที่เป็นปัจจุบัน (ดู 26.4.4)

บุตรที่ถึงแก่กรรม โดยปกติบุตรที่ถึงแก่กรรมจะผนึกกับบิดามารดาผู้ให้กำเนิดหรือบิดามารดาบุญธรรม อย่างไรก็ดี บุตรที่ถึงแก่กรรมจะผนึกกับบุคคลต่อไปนี้ได้เช่นกัน:

  • มารดาผู้ให้กำเนิดและบิดาเลี้ยง

  • บิดาผู้ให้กำเนิดและมารดาเลี้ยง

  • บิดามารดาที่อุปการะหรือปู่ย่าตายายที่เลี้ยงดูบุตร (ดู 38.4.2.4)

  • คู่สามีภรรยาที่ตั้งใจจะรับบุตรบุญธรรมแต่บุตรสิ้นชีวิตก่อนการรับบุตรบุญธรรมเสร็จสมบูรณ์ (ดู 38.4.2.4)

จะทำการผนึกเหล่านี้ได้ถึงแม้บุตรที่ถึงแก่กรรมจะผนึกกับบิดามารดาผู้ให้กำเนิดหรือบิดามารดาบุญธรรมแล้วก็ตาม การผนึกกับคนที่ไม่ใช่บิดามารดาทางสายเลือดหรือบิดามารดาบุญธรรมในสภาวการณ์อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้นต้องได้รับอนุมัติจากฝ่ายประธานสูงสุด

38.4.2.3

บุตรบุญธรรมหรือบุตรในอุปการะที่ยังมีชีวิตอยู่

บุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ผู้เกิดในพันธสัญญาหรือรับการผนึกกับบิดามารดาแล้วจะผนึกกับบิดามารดาคู่อื่นไม่ได้เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากฝ่ายประธานสูงสุด

บุตรธิดาที่ยังมีชีวิตอยู่ผู้เป็นบุตรบุญธรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่ได้เกิดในพันธสัญญาทั้งไม่ได้ผนึกกับบิดามารดาคนก่อนจะผนึกกับบิดามารดาบุญธรรมได้หลังจากการรับบุตรบุญธรรมสิ้นสุดแล้ว ควรนำสำเนาคำสั่งรับบุตรบุญธรรมขั้นสุดท้ายไปยื่นที่พระวิหารด้วย คำสั่งศาลที่อนุญาตให้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายไม่เพียงพอจะขอคำสั่งอนุญาตการผนึก ไม่มีความจำเป็นต้องระบุชื่อบิดามารดาผู้ให้กำเนิดบุตรธิดาเหล่านี้

สมาชิกที่มีชีวิตอยู่ต้องได้รับอนุมัติจากฝ่ายประธานสูงสุดเพื่อผนึกกับบิดามารดาที่อุปการะ ข้อกำหนดนี้ใช้ได้แม้ไม่รู้จักบิดามารดาผู้ให้กำเนิดของบุตรในอุปการะ ประธานสเตคเป็นผู้ยื่นคำขอดังกล่าวโดยใช้ LCR (ดู 6.2.3)

38.4.2.4

บุตรบุญธรรมหรือบุตรในอุปการะที่ถึงแก่กรรม

โดยปกติบุตรบุญธรรมที่ถึงแก่กรรมจะผนึกกับบิดามารดาบุญธรรม

โดยปกติบุตรในอุปการะที่ถึงแก่กรรมจะผนึกกับบิดามารดาผู้ให้กำเนิด

38.4.2.5

การผนึกบุตรธิดาที่ยังมีชีวิตอยู่กับบิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดและบิดาหรือมารดาเลี้ยง

บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและบุตรที่ไม่สามารถรับผิดชอบได้ บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งมีชีวิตอยู่และบุตรที่ไม่สามารถรับผิดชอบได้เนื่องจากความบกพร่องทางสติปัญญาอาจผนึกกับบิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดและบิดาหรือมารดาเลี้ยงหากบรรลุเงื่อนไขทั้งหมดนี้:

  • บุตรไม่ได้เกิดในพันธสัญญาหรือไม่เคยผนึกมาก่อน

  • บุตรไม่ได้เป็นบุตรบุญธรรมของบิดาหรือมารดาอีกคนหนึ่ง

  • บิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดอีกคนเคยให้จดหมายเซ็นยินยอมให้มีการผนึก คำสั่งศาลที่อนุญาตให้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายไม่เพียงพอจะขอคำสั่งอนุญาตการผนึก จดหมายยินยอมควรใช้คำทำนองนี้: “ข้าพเจ้า [ชื่อ–นามสกุลของบิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิด] อนุญาตให้ [ชื่อ–นามสกุลของบุตร] ผนึกในพระวิหารกับ [ชื่อ–นามสกุลของบิดามารดา] ข้าพเจ้าเข้าใจว่าการผนึกเป็นพิธีทางศาสนาและไม่มีผลทางกฎหมาย” ยื่นจดหมายฉบับนี้ที่พระวิหารก่อนการผนึก

หากบิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดอีกคนถึงแก่กรรมหรือหากสิทธิ์การเป็นบิดาหรือมารดาสิ้นสุดตามกระบวนกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องมีจดหมายยินยอม ทำนองเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมหากเด็กได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ใหญ่ในเขตอำนาจศาลที่เขาอาศัยอยู่

หากไม่ทราบที่อยู่ของบิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดอีกคนและพยายามหาสุดความสามารถแล้วแต่ไม่พบ ไม่จำเป็นต้องมีจดหมายยินยอม ในกรณีนี้ อธิการหรือประธานสเตครับรองในกระบวนการตรวจสอบว่าพยายามหาบิดาหรือมารดาที่หายสาบสูญแล้วแต่ไม่พบ หากบิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดปรากฏตัวหลังจากวันนั้น จะต้องทบทวนการผนึก

บุตรที่เป็นผู้ใหญ่ สมาชิกผู้ใหญ่ที่มีชีวิตอยู่อาจผนึกกับบิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดและบิดาหรือมารดาเลี้ยงหากสมาชิกไม่ได้เกิดในพันธสัญญาหรือไม่เคยผนึกกับบิดามารดามาก่อน

สมาชิกที่อายุ 21 ปีขึ้นไปต้องรับเอ็นดาวเม้นท์ก่อนผนึกกับบิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดและบิดาหรือมารดาเลี้ยง

สมาชิกอายุน้อยกว่า 21 ปีที่แต่งงานแล้วไม่ต้องรับเอ็นดาวเม้นท์เพื่อผนึกกับบิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดและบิดาหรือมารดาเลี้ยง อย่างไรก็ดี พวกเขาต้องมีใบรับรองพระวิหารเป็นปัจจุบันจึงจะผนึกกับบิดามารดาได้ (ดู 26.4.4)

38.4.2.6

บุตรที่เกิดจากการผสมเทียมหรือเด็กหลอดแก้ว

บุตรที่เกิดจากการผสมเทียมหรือเด็กหลอดแก้วถือว่าเกิดในพันธสัญญาหากบิดามารดารับการผนึกแล้ว หากบุตรเกิดก่อนบิดามารดารับการผนึก พวกเขาจะผนึกกับบิดามารดาหลังจากบิดามารดาผนึกกันแล้ว

38.4.2.7

บุตรที่เกิดจากมารดาที่ตั้งครรภ์แทน

หากบุตรเกิดจากมารดาที่ตั้งครรภ์แทน ประธานสเตคส่งต่อเรื่องนี้ให้สำนักงานฝ่ายประธานสูงสุด (ดู 38.6.22)

38.4.2.8

สถานะของบุตรเมื่อการผนึกถูกยกเลิกหรือถูกถอน

บุตรที่เกิดในพันธสัญญาหรือผนึกกับบิดามารดาแล้วจะคงสถานะนั้นแม้การผนึกของบิดามารดาจะถูก (1) ยกเลิก หรือ (2) ถอนในเวลาต่อมาเพราะการลาออกหรือการถอนสมาชิกภาพศาสนจักรของบิดาหรือมารดา

บุตรที่เกิดหลังจากการผนึกของบิดามารดาถูกยกเลิกหรือถูกถอนไม่ถือว่าเกิดในพันธสัญญา บุตรเหล่านี้จะผนึกกับบิดามารดาของตนหลังจากฟื้นฟูพรพระวิหารของบิดามารดา (หากยื่นคำร้องได้) และขจัดอุปสรรคทุกอย่างหมดแล้ว

38.5

ชุดและการ์เม้นท์พระวิหาร

38.5.1

ชุดพระวิหาร

สมาชิกศาสนจักรสวมชุดสีขาวระหว่างศาสนพิธีเอ็นดาวเม้นท์และการผนึกในพระวิหาร หญิงสวมชุดสีขาวดังนี้: ชุดกระโปรงแขนยาวหรือแขนสามส่วน (หรือกระโปรงและเสื้อแขนยาวหรือแขนสามส่วน) ถุงเท้าสั้นหรือถุงเท้ายาว และรองเท้าหรือรองเท้าผ้า

ชายสวมชุดสีขาวดังนี้: เสื้อเชิ้ตแขนยาว เน็กไทหรือหูกระต่าย กางเกงขายาว ถุงเท้า และรองเท้าหรือรองเท้าผ้า

ระหว่างศาสนพิธีเอ็นดาวเม้นท์และการผนึกในพระวิหาร สมาชิกสวมชุดพิธีเพิ่มเติมทับชุดสีขาวของตน

38.5.2

การหาซื้อชุดและการ์เม้นท์พระวิหาร

ผู้นำวอร์ดและผู้นำสเตคกระตุ้นสมาชิกที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วให้หาซื้อชุดพระวิหารเป็นของตน ชุดและการ์เม้นท์พระวิหารซื้อได้จากร้านจัดจำหน่ายของศาสนจักรหรือที่ store.ChurchofJesusChrist.org. พนักงานสเตคและพนักงานวอร์ดจะช่วยสมาชิกสั่งซื้อชุด

พระวิหารบางแห่งมีชุดให้เช่า หากพระวิหารไม่มีชุดให้เช่า สมาชิกต้องนำไปเอง ดู temples.ChurchofJesusChrist.org เพื่อทราบว่าทางพระวิหารมีชุดให้เช่าหรือไม่

พระวิหารเก็บชุดพระวิหารจำนวนหนึ่งไว้ให้ผู้สอนศาสนาเต็มเวลาใช้ ไม่คิดค่าเช่าขณะผู้สอนศาสนาอยู่ในศูนย์ฝึกอบรมผู้สอนศาสนาและเมื่อพวกเขาได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมศาสนพิธีพระวิหารขณะรับใช้ในสนามเผยแผ่ หากจำเป็น ผู้สอนศาสนาจะใช้ชุดดังกล่าวรับเอ็นดาวเม้นท์ของตน

ดูข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อผ้าและแบบการ์เม้นท์ใน store.ChurchofJesusChrist.org.

38.5.3

การ์เม้นท์และชุดพระวิหารสำหรับสมาชิกพิการหรือมีอาการแพ้

อาจซื้อการ์เม้นท์พิเศษให้สมาชิกที่นอนติดเตียง ร่างกายพิการขั้นรุนแรง หรือแพ้เนื้อผ้าหรือการ์เม้นท์บางชนิด (ดู “Garments and Sacred Clothing,” store.ChurchofJesusChrist.org).

พระวิหารมีเสื้อคลุมแบบสั้นให้สมาชิกที่ต้องนั่งเก้าอี้เข็นหรือมีความจำเป็นอื่น (ดู store.ChurchofJesusChrist.org).

38.5.4

การตัดเย็บเอพรอนพระวิหาร

สมาชิกอาจตัดเย็บเอพรอนพระวิหารของตนหากตัดตามชุดเอพรอนที่อนุมัติ ชุดเหล่านี้ซื้อได้จากร้านจัดจำหน่ายของศาสนจักรหรือจาก store.ChurchofJesusChrist.org.

สมาชิกจะไม่ตัดเย็บชุดพิธีอื่นๆ หรือการ์เม้นท์พระวิหาร

38.5.5

การสวมใส่และการดูแลรักษาการ์เม้นท์

สมาชิกที่รับเอ็นดาวเม้นท์ทำพันธสัญญาว่าจะสวมการ์เม้นท์พระวิหารตลอดชีวิตพวกเขา

การสวมการ์เม้นท์พระวิหารเป็นสิทธิพิเศษอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นการแสดงออกภายนอกถึงความตั้งใจแน่วแน่ภายในว่าจะติดตามพระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์

การ์เม้นท์เป็นเครื่องเตือนใจให้นึกถึงพันธสัญญาที่ทำในพระวิหาร เมื่อสวมอย่างถูกต้องตลอดชีวิต การ์เม้นท์จะเป็นเครื่องป้องกัน

ควรสวมใส่การ์เม้นท์ไว้ใต้เสื้อผ้าชั้นนอก เป็นเรื่องของความพึงใจส่วนตัวว่าจะสวมชุดชั้นในอื่นทับหรือสวมใต้การ์เม้นท์พระวิหาร

ไม่ควรถอดการ์เม้นท์เพื่อทำกิจกรรมที่ทำได้ขณะสวมการ์เม้นท์ ทั้งไม่ควรดัดแปลงการ์เม้นท์เพื่อให้ใส่กับเสื้อผ้าหลากหลายแบบได้

การ์เม้นท์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และควรปฏิบัติต่อการ์เม้นท์ด้วยความเคารพ สมาชิกที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วควรแสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เพื่อตอบข้อสงสัยส่วนตัวเกี่ยวกับการสวมการ์เม้นท์

38.5.6

การสวมการ์เม้นท์ในกองทัพ หน่วยดับเพลิง หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หรือหน่วยงานคล้ายกัน

แนวทางในหมวดนี้นำมาใช้กับสมาชิกที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วผู้มีข้อกำหนดเฉพาะเรื่องเครื่องแบบขณะรับใช้:

  • ในกองทัพ

  • เป็นพนักงานดับเพลิง

  • เป็นเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

  • เป็นตัวแทนรักษาความปลอดภัยของรัฐ

อธิการต้องแน่ใจว่าสมาชิกที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วผู้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่เหล่านี้เข้าใจแนวทางต่อไปนี้

เมื่อทำได้ พวกเขาควรสวมการ์เม้นท์เหมือนสมาชิกคนอื่นๆ แต่พวกเขาจะไม่ให้คนที่ไม่เข้าใจความสำคัญของการ์เม้นท์เห็นการ์เม้นท์ สมาชิกควรแสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณและใช้ปฏิภาณ ดุลพินิจ และปัญญา จะดีที่สุดหากเก็บการ์เม้นท์ไว้ชั่วคราวและสวมอีกครั้งเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย อย่างไรก็ดี ลำพังความไม่สะดวกในการสวมการ์เม้นท์ไม่พึงเป็นเหตุผลสมควรให้เก็บการ์เม้นท์ไว้ก่อน

บางครั้งข้อบังคับทางทหารทำให้สมาชิกสวมการ์เมนท์ไม่ได้ ในกรณีเหล่านี้ไม่มีผลต่อสถานภาพทางศาสนาของสมาชิกหากสมาชิกยังคงมีค่าควร สมาชิกจะยังได้รับพรอันเกี่ยวเนื่องกับการสวมการ์เม้นท์ หากสมาชิกไม่สามารถสวมการ์เม้นท์ได้ พวกเขาจะสวมอีกครั้งทันทีที่สภาวการณ์เอื้ออำนวย

สมาชิกในองค์กรเหล่านี้ควรปรึกษากับหน่วยของตนเกี่ยวกับข้อกำหนดเฉพาะของเสื้อตัวใน เช่น สีหรือแบบคอเสื้อ สมาชิกเหล่านี้จะส่งเครื่องแต่งกายที่องค์กรอนุมัติอันเป็นไปตามแนวทางการ์เม้นท์มาให้ Beehive Clothing ทำเครื่องหมายให้เป็นการ์เม้นท์ที่ได้รับอนุญาต แนวทางและคำแนะนำเพิ่มเติมมีอยู่ใน Garment Marking Order Form (แบบฟอร์มสั่งทำเครื่องหมายการ์เม้นท์)

38.5.7

การกำจัดการ์เม้นท์และชุดพิธีพระวิหาร

เพื่อกำจัดการ์เม้นท์พระวิหารที่ขาดแล้ว สมาชิกควรตัดและทำลายเครื่องหมาย จากนั้นจึงตัดผ้าที่เหลือจนดูไม่ออกว่าเป็นการ์เม้นท์ แล้วทิ้งผ้าที่เหลือ

เพื่อกำจัดชุดพิธีพระวิหารที่ขาดแล้ว สมาชิกควรตัดจนดูไม่ออกว่าเคยใช้ทำอะไรมาก่อน แล้วค่อยทิ้ง

สมาชิกอาจยกการ์เม้นท์หรือชุดพระวิหารที่ยังอยู่ในสภาพดีให้สมาชิกคนอื่นๆ ที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้ว ผู้นำฐานะปุโรหิตและผู้นำสมาคมสงเคราะห์จะบอกได้ว่าใครต้องการชุดดังกล่าว สมาชิกไม่ควรบริจาคการ์เม้นท์หรือชุดพระวิหารให้ร้านสินค้ามือสอง คลังของอธิการ พระวิหาร หรือองค์กรการกุศล

38.5.8

ชุดพระวิหารสำหรับการฝังศพ

หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ควรฝังสมาชิกผู้ถึงแก่กรรมที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วในชุดพระวิหาร หากขนบประเพณีหรือธรรมเนียมการฝังถือว่าการทำเช่นนี้ไม่เหมาะสมหรือยุ่งยาก อาจพับชุดพระวิหารวางไว้ข้างร่างผู้ตายในหีบศพ

เฉพาะสมาชิกที่รับเอ็นดาวเม้นท์ในชีวิตแล้วเท่านั้นจึงจะถูกฝังหรือฌาปนกิจในชุดพระวิหารได้ อาจฝังหรือฌาปนกิจคนที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วแต่เลิกสวมการ์เม้นท์ก่อนถึงแก่กรรมในชุดพระวิหารหากครอบครัวร้องขอ

คนที่ยังไม่ได้รับการฟื้นฟูพรหลังจากการถอนหรือการลาออกจากสมาชิกภาพศาสนจักรจะไม่ฝังหรือฌาปนกิจในชุดพระวิหาร

คนที่เคยรับเอ็นดาวเม้นท์เมื่อยังมีชีวิตที่ฆ่าตัวตายอาจได้รับการฝังและฌาปนกิจในชุดพระวิหาร

ชุดพระวิหารที่ใช้สำหรับการฝังหรือการฌาปนกิจไม่จำเป็นต้องใหม่แต่ควรอยู่ในสภาพดีและสะอาด จะใช้ชุดพระวิหารของสมาชิกเองก็ได้

สมาชิกครอบครัวเพศเดียวกันที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วหรือคู่สมรสจะเป็นผู้แต่งชุดพระวิหารให้สมาชิกที่จะถูกฝังหรือฌาปนกิจในชุดพระวิหาร หากสมาชิกครอบครัวไม่พร้อมหรือไม่ต้องการแต่งชุดพระวิหารให้ร่างชายที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้ว อธิการอาจขอให้ประธานโควรัมเชิญชายที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วมาแต่งให้หรือมาดูแลให้แต่งอย่างถูกต้อง หากสมาชิกครอบครัวไม่พร้อมหรือไม่ต้องการแต่งชุดพระวิหารให้ร่างหญิงที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้ว อธิการอาจขอให้ประธานสมาคมสงเคราะห์เชิญหญิงที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วมาแต่งให้หรือมาดูแลให้แต่งอย่างถูกต้อง ผู้นำต้องแน่ใจว่าได้มอบหมายงานนี้ให้คนที่จะไม่รังเกียจ

ร่างของชายแต่งด้วยการ์เม้นท์พระวิหารและชุดสีขาวดังนี้: เสื้อเชิ้ตแขนยาว เน็กไทหรือหูกระต่าย กางเกงขายาว ถุงเท้า และรองเท้าหรือรองเท้าผ้า ร่างของหญิงแต่งด้วยการ์เม้นท์พระวิหารและชุดสีขาวดังนี้: ชุดเดรสแขนยาวหรือแขนสามส่วน (หรือกระโปรงกับเสื้อแขนยาวหรือแขนสามส่วน) ถุงเท้าสั้นหรือถุงเท้ายาว และรองเท้าหรือรองเท้าผ้า

สวมชุดพิธีพระวิหารไว้บนร่างตามคำแนะนำในเอ็นดาวเม้นท์ สวมเสื้อคลุมบนไหล่ขวาและผูกสายผ้าที่เอวซ้าย ผูกเอพรอนไว้รอบเอว สวมผ้าคาดเอวไว้รอบเอวและผูกเป็นโบว์ไว้เหนือสะโพกซ้าย ปกติหมวกของชายจะวางไว้ข้างตัวจนถึงเวลาปิดหีบหรือโลงศพ หลังจากนั้นสวมหมวกให้โบว์อยู่เหนือหูซ้าย ผ้าคลุมหน้าของหญิงจะพับวางไว้บนหมอนหลังศีรษะ ส่วนจะคลุมหน้าหญิงก่อนการฝังหรือการฌาปนกิจหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ครอบครัวต้องตัดสินใจ

ในบางพื้นที่จะให้เฉพาะผู้จัดการงานศพที่มีใบอนุญาตหรือลูกจ้างของผู้จัดการเท่านั้นจัดการกับศพผู้ถึงแก่กรรม ในกรณีนี้ สมาชิกครอบครัวที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วหรือคนที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วที่ได้รับเชิญจากอธิการหรือประธานสมาคมสงเคราะห์ต้องแน่ใจว่ามีการสวมชุดพระวิหารไว้บนร่างผู้ตายอย่างถูกต้อง

บางประเทศต้องให้ผู้วายชนม์สวมชุดที่ย่อยสลายได้เมื่อฝัง ชุดพระวิหารที่ย่อยสลายได้มีอยู่ที่ store.ChurchofJesusChrist.org.

ในพื้นที่ซึ่งหาซื้อชุดพระวิหารให้ทันเวลาฝังได้ยาก ประธานสเตคควรมีชุดขนาดกลางเก็บสำรองไว้อย่างน้อยสองชุด ชุดหนึ่งสำหรับชายและอีกชุดสำหรับหญิง

หากไม่มีชุดพระวิหาร สมาชิกที่ถึงแก่กรรมและรับเอ็นดาวเม้นท์แล้วจะสวมการ์เม้นท์และชุดที่เหมาะสมอื่นๆ สำหรับการฝัง

38.6

นโยบายเรื่องประเด็นทางศีลธรรม

บางนโยบายในหมวดนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศาสนจักร “ไม่สนับสนุน” โดยปกติสมาชิกศาสนจักรไม่ประสบกับการจำกัดสมาชิกภาพเนื่องด้วยการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ แต่สุดท้ายแล้วทุกคนต้องรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าสำหรับการตัดสินใจของตน

38.6.1

การทำแท้ง

พระเจ้าทรงบัญชาว่า “เจ้าจะไม่ … ฆ่า, หรือทำอะไรที่เหมือนกันนี้” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:6) ศาสนจักรคัดค้านการเลือกทำแท้งเพื่อความสะดวกสบายส่วนตัวหรือทางสังคม สมาชิกต้องไม่ยอมทำ ดำเนินการ เตรียมการ ออกค่าใช้จ่าย เห็นชอบ หรือสนับสนุนการทำแท้ง ข้อยกเว้นมีเฉพาะในกรณีที่:

  • การตั้งครรภ์เป็นผลมาจากการถูกข่มขืนหรือการร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกัน

  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าชีวิตหรือสุขภาพของมารดาอยู่ในอันตรายร้ายแรง

  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าทารกในครรภ์มีความพิการขั้นรุนแรงซึ่งจะทำให้ไม่สามารถมีชีวิตเองได้หลังคลอด

แม้จะเข้าข่ายยกเว้นข้างต้นแต่ก็ใช่ว่าจะทำแท้งได้โดยพลการ การทำแท้งเป็นเรื่องร้ายแรงที่สุด ควรพิจารณาทำแท้งหลังจากบุคคลที่รับผิดชอบได้รับการยืนยันผ่านการสวดอ้อนวอนแล้วเท่านั้น สมาชิกจะหารือกับอธิการโดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้

เจ้าหน้าที่ควบคุมทบทวนสภาวการณ์อย่างรอบคอบหากสมาชิกศาสนจักรพัวพันกับการทำแท้ง อาจจำเป็นต้องจัดสภาสมาชิกภาพหากสมาชิกยอมทำ ลงมือทำ เตรียมการ ออกค่าใช้จ่าย เห็นชอบ หรือสนับสนุนการทำแท้ง (ดู 32.6.2.5) แต่จะไม่พิจารณาจัดสภาสมาชิกภาพหากสมาชิกพัวพันกับการทำแท้งก่อนบัพติศมา ทั้งจะไม่พิจารณาจัดสภาสมาชิกภาพหรือจำกัดสมาชิกภาพสำหรับสมาชิกที่พัวพันกับการทำแท้งด้วยเหตุผลข้อใดข้อหนึ่งในสามข้อดังระบุไว้ข้างต้นในหมวดนี้

อธิการสอบถามประธานสเตคเป็นกรณีไป ประธานสเตคจะส่งคำถามไปสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดโดยตรงหากจำเป็น

เท่าที่ได้รับการเปิดเผย บุคคลสามารถกลับใจและได้รับการอภัยบาปของการทำแท้ง

38.6.2

การทารุณกรรม

การทารุณกรรมคือการปฏิบัติไม่ดีหรือการปล่อยปละละเลยผู้อื่นอันก่อให้เกิดอันตรายทางร่างกาย ทางเพศ ทางอารมณ์ หรือทางการเงิน จุดยืนของศาสนจักรคือไม่ยอมรับการทารุณกรรมทุกรูปแบบ คนที่กระทำทารุณกรรมต่อคู่สมรส บุตรธิดา สมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว หรือใครก็ตามถือว่าละเมิดกฎของพระผู้เป็นเจ้าและมนุษย์

ศาสนจักรขอให้สมาชิกทุกคน โดยเฉพาะบิดามารดาและผู้นำระมัดระวัง พยายาม และทำสุดความสามารถเพื่อป้องกันไม่ให้บุตรธิดาและคนอื่นๆ ถูกทารุณกรรม หากสมาชิกทราบเรื่องการทารุณกรรม พวกเขาแจ้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองและปรึกษากับอธิการ ผู้นำศาสนจักรควรจริงจังกับการแจ้งเรื่องการทารุณกรรมและไม่เพิกเฉย

ผู้ใหญ่ทุกคนที่ทำงานกับเด็กหรือเยาวชนต้องรับการอบรมเรื่องการคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ครบภายในหนึ่งเดือนหลังจากได้รับการสนับสนุน (ดู ProtectingChildren.ChurchofJesusChrist.org). พวกเขาต้องอบรมซ้ำทุกสามปี

เมื่อเกิดการทารุณกรรม หน้าที่รับผิดชอบประการแรกและทันทีของผู้นำศาสนจักรคือช่วยผู้ถูกทารุณกรรมและคุ้มครองผู้ที่อาจจะถูกทารุณกรรมในอนาคต อีกทั้งไม่ส่งเสริมให้บุคคลยังอยู่ในบ้านหรือสถานการณ์ที่ถูกทารุณกรรมหรือไม่ปลอดภัย

38.6.2.1

สายด่วนรับเรื่องการทารุณกรรม

ในบางประเทศ ศาสนจักรมีสายด่วนลับเพื่อช่วยเหลืออธิการและประธานสเตคเรื่องการทารุณกรรม ผู้นำเหล่านี้ควรโทรสายด่วนทันทีเกี่ยวกับทุกสถานการณ์ซึ่งบุคคลอาจถูกทารุณกรรม—หรือเสี่ยงต่อการถูกทารุณกรรม และควรโทรสายด่วนเช่นกันถ้าทราบว่าสมาชิกดู ซื้อขาย หรือแจกจ่ายสื่อลามกเด็ก

อธิการและประธานสเตคโทรสายด่วนได้ 24 ชั่วโมงตลอด 7 วันในหนึ่งสัปดาห์ หมายเลขโทรศัพท์มีให้ด้านล่าง

  • สหรัฐและแคนาดา: 1-801-240-1911 หรือ 1-800-453-3860 ต่อ 2-1911

  • สหราชอาณาจักร: 0800 970 6757

  • ไอร์แลนด์: 1800 937 546

  • ฝรั่งเศส: 0805 710 531

  • ออสเตรเลีย: 02 9841 5454 (จากภายในประเทศ)

  • นิวซีแลนด์: 09 488 5592 (จากภายในประเทศ)

อธิการและประธานสเตคควรโทรสายด่วนเมื่อกำลังแก้ไขสถานการณ์ที่พัวพันกับการทารุณกรรมทุกรูปแบบ ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายและทางคลินิกจะตอบคำถามของพวกเขา ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะให้คำแนะนำเช่นกันเกี่ยวกับวิธี:

  • ช่วยเหลือผู้เสียหายและช่วยคุ้มครองไม่ให้ถูกทารุณกรรมมากขึ้น

  • ช่วยคุ้มครองผู้อาจจะกลายเป็นผู้เสียหาย

  • ทำตามข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับการแจ้งเรื่องการทารุณกรรม

ศาสนจักรตั้งใจทำตามกฎหมายในการแจ้งเรื่องการทารุณกรรม (ดู 38.6.2.7) กฎหมายแตกต่างกันไปตามสถานที่ และผู้นำศาสนจักรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย อธิการและประธานสเตคจำเป็นต้องโทรสายด่วนเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบของตนในการแจ้งเรื่องการทารุณกรรม

อธิการควรแจ้งประธานสเตคเรื่องการทารุณกรรมด้วย

ในประเทศที่ไม่มีโทรศัพท์สายด่วน อธิการที่ทราบเรื่องการทารุณกรรมควรติดต่อประธานสเตคของตน ประธานสเตคจะขอคำแนะนำจากที่ปรึกษากฎหมายระดับภาคที่สำนักงานภาค อีกทั้งปรึกษากับเจ้าหน้าที่หน่วยงานสนับสนุนครอบครัว หรือผู้จัดการด้านสวัสดิการและการพึ่งพาตนเองที่สำนักงานภาคด้วย

38.6.2.2

การปรึกษาในกรณีของการทารุณกรรม

ผู้เสียหายเนื่องจากการทารุณกรรมมักประสบความบอบช้ำสาหัส ประธานสเตคและอธิการตอบสนองด้วยความสงสารและความเห็นใจ ให้คำปรึกษาและการสนับสนุนทางวิญญาณเพื่อช่วยให้คนเหล่านั้นเอาชนะผลร้ายของการทารุณกรรม

บางครั้งผู้เสียหายมีความรู้สึกอับอายหรือรู้สึกผิด ผู้เสียหายไม่ได้ทำบาป ผู้นำช่วยให้พวกเขาและครอบครัวเข้าใจความรักและการเยียวยาของพระผู้เป็นเจ้าที่ผ่านมาทางพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์ (ดู แอลมา 15:8; 3 นีไฟ 17:9)

ประธานสเตคและอธิการควรช่วยให้ผู้กระทำทารุณกรรมกลับใจและยุติพฤติกรรมดังกล่าว หากผู้ใหญ่ทำบาปทางเพศต่อเด็ก พฤติกรรมอาจเปลี่ยนยากมาก ขั้นตอนการกลับใจอาจยาวนานมาก ดู 38.6.2.3

ประธานสเตคและอธิการควรเอาใจใส่และระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อทำงานกับครอบครัวของผู้เสียหายและผู้กระทำทารุณกรรม

แนวทางการให้คำปรึกษาผู้เสียหายและผู้กระทำผิดมีอยู่ที่ Abuse: How to Help

นอกจากรับความช่วยเหลือด้วยการดลใจของผู้นำศาสนจักรแล้ว ผู้เสียหาย ผู้กระทำผิด และครอบครัวของพวกเขาอาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้วย ดูข้อมูลใน 31.3.6

ดูข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่อธิการและประธานสเตคควรทำเมื่อทราบเรื่องการทารุณกรรมแบบใดก็ตามใน 38.6.2.1 ดูข้อมูลเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาในกรณีของการทารุณกรรมทางเพศ การข่มขืน หรือการคุกคามทางเพศแบบอื่นใน 38.6.18.2

ดู FamilyServices.ChurchofJesusChrist.org ด้วย

38.6.2.3

การทารุณกรรมเด็กหรือเยาวชน

การทารุณกรรมเด็กหรือเยาวชนเป็นบาปร้ายแรงอย่างยิ่ง (ดู ลูกา 17:2) ในที่นี้ การทารุณกรรมเด็กหรือเยาวชน รวมถึง:

  • การทารุณกรรมทางร่างกาย: การทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายโดยการกระทำรุนแรงทางกาย อันตรายบางอย่างอาจมองไม่เห็น

  • การทารุณกรรมทางเพศหรือการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ: การมีกิจกรรมทางเพศแบบใดก็ตามกับเด็กหรือเยาวชนหรือการจงใจยินยอมหรือช่วยให้ผู้อื่นทำกิจกรรมดังกล่าว ในที่นี้ การทารุณกรรมทางเพศไม่รวมถึงกิจกรรมทางเพศโดยสมัครใจระหว่างผู้เยาว์สองคนที่อายุไล่เลี่ยกัน

  • การทารุณกรรมทางอารมณ์: การใช้การกระทำและคำพูดทำลายความรู้สึกเคารพตนเองหรือคุณค่าในตนเองของเด็กหรือเยาวชนอย่างรุนแรง โดยปกติจะเกี่ยวข้องกับการดูหมิ่น การหลอกใช้ และการวิพากษ์วิจารณ์ซ้ำๆ ต่อเนื่องที่ทำให้ขายหน้าและเหยียดหยาม นี่รวมถึงความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงด้วย

  • สื่อลามกเด็ก: ดู 38.6.6

หากอธิการหรือประธานสเตคทราบหรือสงสัยว่ามีการทารุณกรรมเด็กหรือเยาวชน เขาทำตามคำแนะนำใน 38.6.2.1 ทันที เขาดำเนินการช่วยป้องกันไม่ให้มีการทารุณกรรมมากขึ้นด้วย

ต้องจัดสภาสมาชิกภาพและเขียนคำอธิบายประกอบบันทึกหากสมาชิกที่เป็นผู้ใหญ่กระทำทารุณกรรมเด็กหรือเยาวชนดังอธิบายไว้ในหมวดนี้ ดู 32.6.1.1 และ 38.6.2.5 ด้วย

หากผู้เยาว์กระทำทารุณกรรมเด็ก ให้ประธานสเตคติดต่อสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดเพื่อขอคำแนะนำ

ผู้นำวอร์ดควรแก้ไขการกลั่นแกล้งรังแกทางร่างกายหรือทางอารมณ์ระหว่างเด็กหรือเยาวชนที่อายุใกล้เคียงกัน ไม่ต้องจัดสภาสมาชิกภาพ

38.6.2.4

การทารุณกรรมคู่สมรสหรือผู้ใหญ่คนอื่น

การทารุณกรรมคู่สมรสหรือผู้ใหญ่คนอื่นเกิดขึ้นได้หลายวิธี นี่รวมถึงการทารุณกรรมทางร่างกาย ทางเพศ ทางอารมณ์ และทางการเงินด้วย บางครั้งผู้ใหญ่ที่อายุมาก อ่อนแอ หรือพิการมีความเสี่ยงต่อการถูกทารุณกรรมสูง

บ่อยครั้งไม่สามารถใช้นิยามเดียวของการทารุณกรรมในทุกสถานการณ์ แต่มีระดับความรุนแรงในพฤติกรรมการทารุณกรรม ระดับดังกล่าวเริ่มตั้งแต่การใช้วาจารุนแรงเป็นครั้งคราวไปจนถึงการทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง

หากอธิการหรือประธานสเตคทราบเรื่องการทารุณกรรมคู่สมรสหรือผู้ใหญ่คนอื่น เขาทำตามคำแนะนำใน 38.6.2.1 ทันที เขาดำเนินการช่วยป้องกันไม่ให้มีการทารุณกรรมมากขึ้นด้วย

ผู้นำแสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณเพื่อพิจารณาว่าการให้คำปรึกษาส่วนตัวหรือสภาสมาชิกภาพเป็นการดำเนินการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขการทารุณกรรมหรือไม่ พวกเขาอาจปรึกษากับผู้นำฐานะปุโรหิตสายตรงของตนเช่นกันเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว อย่างไรก็ดี การทารุณกรรมคู่สมรสหรือผู้ใหญ่คนอื่นถึงระดับที่ระบุไว้ด้านล่างจะต้องจัดสภาสมาชิกภาพ

  • การทารุณกรรมทางร่างกาย: การทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายโดยการกระทำรุนแรงทางกาย อันตรายบางอย่างอาจมองไม่เห็น

  • การทารุณกรรมทางเพศ: ดูสถานการณ์ที่ระบุไว้ใน 38.6.18.3

  • การทารุณกรรมทางอารมณ์: การใช้การกระทำและคำพูดทำลายความรู้สึกเคารพตนเองหรือคุณค่าในตนเองของบุคคลอย่างรุนแรง โดยปกติจะเกี่ยวข้องกับการดูหมิ่น การหลอกใช้ และการวิพากษ์วิจารณ์ซ้ำๆ ต่อเนื่องที่ทำให้ขายหน้าและเหยียดหยาม

  • การทารุณกรรมทางการเงิน: การเอาเปรียบใครบางคนทางการเงิน อาจรวมถึงการใช้ทรัพย์สินเงินทองหรือของมีค่าอื่นของบุคคลอย่างผิดกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาต อาจรวมถึงการฉ้อโกงเพื่อให้มีอำนาจเงินเหนือใครบางคน รวมถึงการใช้อำนาจเงินบีบบังคับให้ทำบางสิ่งบางอย่างด้วย ดู 32.6.1.3 ด้วย

38.6.2.5

การเรียกในศาสนจักร ใบรับรองพระวิหาร และคำอธิบายประกอบบันทึกสมาชิกภาพ

สมาชิกที่กระทำทารุณกรรมผู้อื่นจะไม่ได้รับการเรียกในศาสนจักร และจะไม่มีใบรับรองพระวิหารจนกว่าจะกลับใจและถูกถอนการจำกัดสมาชิกภาพศาสนจักรแล้ว

หากบุคคลกระทำทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กหรือเยาวชน หรือกระทำทารุณกรรมทางร่างกายหรือทางอารมณ์อย่างรุนแรงต่อเด็กหรือเยาวชน บันทึกสมาชิกภาพของเขาจะมีคำอธิบายประกอบ เขาต้องไม่ได้รับการเรียกหรืองานมอบหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้รวมถึงการไม่มอบหมายให้ปฏิบัติศาสนกิจต่อครอบครัวที่มีเยาวชนหรือเด็กในบ้าน ทั้งไม่ให้เยาวชนเป็นคู่ปฏิบัติศาสนกิจด้วย การจำกัดเหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าฝ่ายประธานสูงสุดจะอนุญาตให้ถอนคำอธิบายประกอบ ดูข้อมูลเกี่ยวกับคำอธิบายประกอบใน 32.14.5

38.6.2.6

สภาสเตคและสภาวอร์ด

ในการประชุมสภาสเตคและการประชุมสภาวอร์ด ฝ่ายประธานสเตคและฝ่ายอธิการทบทวนนโยบายและแนวทางของศาสนจักรเป็นประจำเกี่ยวกับการป้องกันและการตอบสนองการทารุณกรรม พวกเขาสอนข่าวสารหลักๆ ใน “การป้องกันและตอบสนองการทารุณกรรม” เอกสารที่ส่งมาพร้อมกับจดหมายจากฝ่ายประธานสูงสุดลงวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2018 พวกเขาเชิญสมาชิกสภาร่วมการสนทนา ผู้นำและสมาชิกสภาแสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณขณะสอนและสนทนาเรื่องที่ละเอียดอ่อนนี้

สมาชิกสภาพึงรับการอบรมเรื่องการคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ครบเช่นกัน (ดู 38.6.2)

38.6.2.7

ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการทารุณกรรม

หากการทารุณกรรมของสมาชิกละเมิดกฎหมายที่ใช้บังคับ อธิการหรือประธานสเตคจะขอให้สมาชิกแจ้งการกระทำเหล่านี้ต่อผู้บังคับใช้กฎหมายหรือหน่วยงานภาครัฐที่เหมาะสมอื่นๆ อธิการหรือประธานสเตคสามารถขอข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดการแจ้งเหตุในท้องที่ผ่านสายด่วนของศาสนจักร (ดู 38.6.2.1) หากสมาชิกมีคำถามเกี่ยวกับข้อกำหนดการแจ้งเหตุ อธิการหรือประธานสเตคสนับสนุนให้พวกเขาขอคำแนะนำด้านกฎหมายจากผู้ทรงคุณวุฒิ

ผู้นำศาสนจักรและสมาชิกควรทำตามข้อผูกมัดทางกฎหมายทั้งหมดในการแจ้งเรื่องการทารุณกรรมต่อเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในบางพื้นที่ถือว่าผู้นำและครูที่ทำงานกับเด็กและเยาวชนเป็น “ผู้มีหน้าที่แจ้งเหตุ” และต้องแจ้งเรื่องการทารุณกรรมต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ทำนองเดียวกัน ในหลายพื้นที่ บุคคลใดก็ตามที่ทราบเรื่องการทารุณกรรมต้องแจ้งเรื่องนี้ต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย อธิการและประธานสเตคควรโทรสายด่วนเพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่แจ้งเหตุและข้อกำหนดทางกฎหมายอื่นๆ สำหรับการแจ้งเรื่องการทารุณกรรม นโยบายของศาสนจักรคือเชื่อฟังกฎหมาย

38.6.3

การผสมเทียม

ดู 38.6.9

38.6.4

การคุมกำเนิด

ความใกล้ชิดทางกายระหว่างสามีภรรยาเป็นเรื่องสวยงามและศักดิ์สิทธิ์ พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดความใกล้ชิดดังกล่าวไว้เพื่อการให้กำเนิดบุตรและการแสดงความรักระหว่างสามีภรรยา (ดู 2.1.2)

สิทธิพิเศษของชายหญิงที่แต่งงานแล้วคือสามารถให้กำเนิดบุตรเพื่อให้ร่างกายมรรตัยแก่บุตรธิดาทางวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า บุตรที่พวกเขามีหน้าที่อบรมเลี้ยงดูต่อจากนั้น (ดู 2.1.3) การตัดสินใจว่าจะมีบุตรกี่คนและมีเมื่อใดเป็นเรื่องส่วนตัวที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ควรปล่อยให้เป็นเรื่องระหว่างสามีภรรยากับพระเจ้า สมาชิกศาสนจักรไม่ควรตัดสินกันในเรื่องนี้

ศาสนจักรไม่สนับสนุนให้คุมกำเนิดด้วยวิธีผ่าตัดทำหมัน การผ่าตัดทำหมันได้แก่ การทำหมันชายโดยตัดท่อนำอสุจิและการทำหมันหญิงโดยตัดหรือทำให้ท่อนำไข่อุดตัน อย่างไรก็ดี การตัดสินใจดังกล่าวเป็นเรื่องส่วนตัวที่สุดท้ายแล้วต้องปล่อยให้อยู่ในดุลพินิจและการพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนของสามีภรรยา คู่สามีภรรยาควรปรึกษากันด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกันและแสวงหาการยืนยันของพระวิญญาณในการตัดสินใจเรื่องนี้

บางครั้งต้องผ่าตัดทำหมันด้วยเหตุผลทางการแพทย์ สมาชิกอาจได้ประโยชน์จากการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

38.6.5

ความบริสุทธิ์ทางเพศและความซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง

กฎของพระเจ้าเรื่องความบริสุทธิ์ทางเพศคือ:

  • การละเว้นความสัมพันธ์ทางเพศนอกการสมรสตามกฎหมายระหว่างชายหญิง

  • ความซื่อสัตย์ต่อคู่ครองในการแต่งงาน

ความใกล้ชิดทางกายระหว่างสามีภรรยาเป็นเรื่องสวยงามและศักดิ์สิทธิ์ สิ่งนี้พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดไว้สำหรับการให้กำเนิดบุตรและการแสดงความรักระหว่างสามีภรรยา

ความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเรื่องเหมาะสมระหว่างชายหญิงที่แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายฉันสามีภรรยาเท่านั้น ในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า ความสะอาดทางศีลธรรมเป็นเรื่องสำคัญมาก การละเมิดกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศร้ายแรงมาก (ดู อพยพ 20:14; มัทธิว 5:28; แอลมา 39:5) สิ่งเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้สร้างชีวิตในทางที่ผิด

สภาสมาชิกภาพศาสนจักรอาจจำเป็นหากสมาชิก:

  • มีความสัมพันธ์ทางเพศนอกการสมรสตามกฎหมายระหว่างชายหญิง เช่น การล่วงประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ความสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และปฏิสัมพันธ์ทางเพศทางออนไลน์หรือทางโทรศัพท์ (ดู 32.6.2)

  • อยู่ในรูปแบบของการแต่งงานหรือการครองคู่ที่อยู่นอกการแต่งงานตามกฎหมายระหว่างชายหญิง เช่น การอยู่กินด้วยกัน การครองคู่แบบที่กฎหมายรับรอง และการแต่งงานกับเพศเดียวกัน

  • ใช้สื่อลามกอย่างหมกมุ่นหรือขาดความยับยั้งชั่งใจอันเป็นเหตุให้เกิดภัยใหญ่หลวงต่อชีวิตสมรสหรือครอบครัวของสมาชิก (ดู 38.6.13)

การตัดสินใจว่าจะจัดสภาสมาชิกภาพในสถานการณ์เหล่านี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์หลายอย่าง (ดู 32.7) ตัวอย่างเช่น สภาน่าจะจำเป็นมากขึ้นในการช่วยให้สมาชิกกลับใจหากเขาหรือเธอละเมิดพันธสัญญาพระวิหารหรือหากทำบาปซ้ำ

ดู 32.6.1.2 สำหรับกรณีที่ ต้อง จัดสภาสำหรับบาปทางเพศ

ในบางกรณี การให้คำปรึกษาส่วนตัวและการจำกัดสมาชิกภาพอย่างไม่เป็นทางการอาจเพียงพอ (ดู 32.8)

38.6.6

สื่อลามกเด็ก

ศาสนจักรประณามสื่อลามกเด็กทุกรูปแบบ หากอธิการหรือประธานสเตคทราบว่าสมาชิกพัวพันกับสื่อลามกเด็ก เขาทำตามคำแนะนำใน 38.6.2.1 ทันที

ต้องจัดสภาสมาชิกภาพศาสนจักรและเขียนคำอธิบายประกอบบันทึกหากสมาชิกผลิต แบ่งปัน ครอบครอง หรือดูภาพอนาจารเด็กซ้ำๆ (ดู 32.6.1.2 และ 32.14.5) โดยทั่วไปแนวทางนี้ไม่นำมาใช้กับเด็กหรือเยาวชนวัยเดียวกันที่แบ่งปันภาพทางเพศของตนหรือผู้อื่น การให้คำปรึกษาส่วนตัวและการจำกัดสมาชิกภาพอย่างไม่เป็นทางการอาจเหมาะสมในสถานการณ์เหล่านั้น

ดูแนวทางเพิ่มเติมใน 38.6.13

38.6.7

การบริจาคหรือการขายอสุจิหรือไข่

พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดแบบแผนให้สามีภรรยาจัดเตรียมร่างกายให้บุตรธิดาทางวิญญาณของพระองค์ (ดู 2.1.3) ด้วยเหตุนี้ศาสนจักรจึงไม่สนับสนุนให้บริจาคอสุจิหรือไข่ อย่างไรก็ดี นี่เป็นเรื่องส่วนตัวที่สุดท้ายแล้วต้องปล่อยให้อยู่ในดุลพินิจและการพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนของสามีภรรยา ดู 38.6.9 ศาสนจักรไม่สนับสนุนให้ขายอสุจิหรือไข่ด้วย

38.6.8

การขลิบอวัยวะเพศหญิง

ศาสนจักรประณามการขลิบอวัยวะเพศหญิง

38.6.9

การรักษาภาวะมีบุตรยาก

พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดแบบแผนให้สามีภรรยาจัดเตรียมร่างกายให้บุตรธิดาทางวิญญาณของพระองค์ (ดู 2.1.3) เมื่อจำเป็น เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์สามารถช่วยเหลือชายหญิงที่แต่งงานแล้วผู้ปรารถนาจะมีบุตร เทคโนโลยีดังกล่าวได้แก่ การผสมเทียมและการปฏิสนธินอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว

ศาสนจักรไม่สนับสนุนให้ผสมเทียมหรือทำการปฏิสนธินอกร่างกายโดยใช้อสุจิจากใครก็ตามที่ไม่ใช่สามีหรือไข่จากใครก็ตามที่ไม่ใช่ภรรยา อย่างไรก็ดีนี่เป็นเรื่องส่วนตัวที่สุดท้ายแล้วต้องปล่อยให้อยู่ในดุลพินิจและการพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนของชายหญิงที่แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ดู “Adoption” ด้วย (Gospel Topics, topics.ChurchofJesusChrist.org).

38.6.10

การร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกัน

ศาสนจักรประณามการร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกันทุกรูปแบบ ในที่นี้ การร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกัน คือความสัมพันธ์ทางเพศระหว่าง:

  • บิดามารดากับบุตร

  • ปู่ย่าตายายกับหลาน

  • พี่น้อง

  • ลุงป้าน้าอากับหลานสาวหรือหลานชาย

ในที่นี้ บุตร หลาน พี่น้อง หลานสาว และ หลานชาย รวมถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือด รับเป็นบุตรบุญธรรม รับเลี้ยง หรือรับอุปการะ การร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกันเกิดขึ้นได้ระหว่างผู้เยาว์สองคน ผู้ใหญ่กับผู้เยาว์ หรือผู้ใหญ่สองคน หากประธานสเตคมีคำถามว่าความสัมพันธ์นั้นเป็นการร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกันภายใต้กฎหมายในท้องที่หรือไม่ เขาขอคำแนะนำจากสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุด

เมื่อผู้เยาว์เป็นผู้เสียหายเนื่องจากการร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกัน อธิการหรือประธานสเตคโทรสายด่วนรับเรื่องการทารุณกรรมของศาสนจักรในประเทศที่มีสายด่วนนี้ (ดู 38.6.2.1) ในประเทศอื่น ประธานสเตคควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษากฎหมายระดับภาคที่สำนักงานภาค อีกทั้งปรึกษากับเจ้าหน้าที่หน่วยงานสนับสนุนครอบครัว หรือผู้จัดการด้านสวัสดิการและการพึ่งพาตนเองที่สำนักงานภาคด้วย

ต้องจัดสภาสมาชิกภาพศาสนจักรและเขียนคำอธิบายประกอบบันทึกหากสมาชิกทำการร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกัน (ดู 32.6.1.2 และ 32.14.5) การร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกันแทบทุกกรณีเรียกร้องให้ศาสนจักรถอนสมาชิกภาพของบุคคล

หากผู้เยาว์ร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกัน ประธานสเตคติดต่อสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดเพื่อขอคำแนะนำ

ผู้เสียหายเนื่องจากการร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกันมักประสบความบอบช้ำสาหัส ผู้นำตอบสนองด้วยความสงสารและความเห็นใจ ให้คำปรึกษาและการประคับประคองทางวิญญาณเพื่อช่วยคนเหล่านั้นเอาชนะผลร้ายของการร่วมประเวณีกับสายเลือดเดียวกัน

บางครั้งผู้เสียหายมีความรู้สึกอับอายหรือรู้สึกผิด ผู้เสียหายไม่ได้ทำบาป ผู้นำช่วยให้พวกเขาและครอบครัวเข้าใจความรักของพระผู้เป็นเจ้าและการเยียวยาที่ผ่านมาทางพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์ (ดู แอลมา 15:8; 3 นีไฟ 17:9)

นอกจากจะรับความช่วยเหลือด้วยการดลใจจากผู้นำศาสนจักรแล้ว ผู้เสียหายและครอบครัวของพวกเขาอาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้วย ดูข้อมูลใน 38.6.18.2

38.6.11

เด็กหลอดแก้ว

ดู 38.6.9

38.6.12

ศาสตร์มืด

“สิ่งซึ่งมาจากพระผู้เป็นเจ้าเป็นความสว่าง” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 50:24) ศาสตร์มืดเน้นที่ความมืดและนำไปสู่การหลอกลวง อีกทั้งทำลายศรัทธาในพระคริสต์ด้วย

ศาสตร์มืดรวมถึงการนับถือซาตาน และกิจกรรมลึกลับที่ไม่สอดคล้องกับพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เช่นกัน กิจกรรมดังกล่าวได้แก่ (แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้) การดูดวง การสาปแช่ง และการปฏิบัติการรักษาที่เลียนแบบอำนาจฐานะปุโรหิตของพระผู้เป็นเจ้า (ดู โมโรไน 7:11–17)

สมาชิกศาสนจักรไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการนับถือซาตานทุกรูปแบบหรือเกี่ยวข้องกับศาสตร์มืดใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาจะไม่ให้ความสนใจกับความมืดเช่นนั้นในการสนทนาหรือในการประชุมของศาสนจักร

38.6.13

สื่อลามก

ศาสนจักรประณามสื่อลามกทุกรูปแบบ การใช้สื่อลามกทุกประเภททำลายชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และสังคม อีกทั้งขับพระวิญญาณของพระเจ้าออกไปด้วย สมาชิกศาสนจักรพึงหลีกเลี่ยงสื่อลามกทุกรูปแบบและต่อต้านการผลิต การเผยแพร่ และการใช้สื่อลามก

ศาสนจักรจัดเตรียมแหล่งช่วยต่อไปนี้ไว้ช่วยคนที่ชีวิตได้รับผลกระทบจากสื่อลามก:

ประธานสเตคและอธิการให้การสนับสนุนสมาชิกครอบครัวตามต้องการเช่นกัน

บางคนอาจเห็นสื่อลามกโดยไม่ตั้งใจ อาจมีการตั้งใจใช้สื่อลามกเป็นครั้งคราวหรือใช้อย่างหมกมุ่น การใช้สื่อลามกอย่างหมกมุ่นจะกลายเป็นการใช้โดยขาดความยับยั้งชั่งใจ หรือในกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมากคือกลายเป็นการเสพติด

การให้คำปรึกษาส่วนตัวและการจำกัดสมาชิกภาพอย่างไม่เป็นทางการมักเพียงพอเมื่อช่วยให้บุคคลกลับใจจากการใช้สื่อลามก (ดู 32.8) โดยปกติจะไม่จัดสภาสมาชิกภาพ อย่างไรก็ดี สภาอาจจำเป็นในกรณีใช้สื่อลามกอย่างหมกมุ่นและขาดความยับยั้งชั่งใจอันเป็นเหตุให้เกิดภัยใหญ่หลวงต่อชีวิตสมรสหรือครอบครัวของสมาชิก (ดู 38.6.5) ต้องจัดสภาหากสมาชิกผลิต แบ่งปัน ครอบครอง หรือดูภาพลามกเด็กซ้ำๆ (ดู 38.6.6)

นอกจากความช่วยเหลือด้วยการดลใจจากผู้นำศาสนจักรแล้ว สมาชิกบางคนอาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำจะติดต่อขอความช่วยเหลือจากศูนย์ให้คำปรึกษาครอบครัวหากจำเป็น ดูข้อมูลติดต่อใน 31.3.6

38.6.14

อคติ

ทุกคนเป็นลูกของพระผู้เป็นเจ้า ทุกคนเป็นพี่น้องผู้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของพระองค์ (ดู “ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก”) พระผู้เป็นเจ้าทรง “สร้างมนุษย์ทุกชาติมาจากคนๆ เดียว” (กิจการ 17:26) “ทุกคนเหมือนกันหมด” สำหรับพระองค์ (2 นีไฟ 26:33) แต่ละคน “มีค่าเท่ากับอีก [คน]” (เจคอบ 2:21)

อคติไม่สอดคล้องกับพระวจนะที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดเผย การเป็นที่โปรดปรานหรือไม่โปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้าขึ้นอยู่กับความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าและพระบัญญัติของพระองค์ ไม่ใช่สีผิวหรือคุณลักษณะอื่น

ศาสนจักรเรียกร้องให้คนทั้งปวงทิ้งเจตคติและการกระทำที่เป็นอคติต่อกลุ่มคนหรือบุคคลใดก็ตาม สมาชิกของศาสนจักรควรเป็นผู้นำในการส่งเสริมความเคารพบุตรธิดาทุกคนของพระผู้เป็นเจ้า สมาชิกทำตามพระบัญญัติของพระผู้ช่วยให้รอดให้รักผู้อื่น (ดู มัทธิว 22:35–39) พวกเขาพยายามเป็นผู้มีความปรารถนาดีต่อทุกคน โดยไม่มีอคติแต่อย่างใด ทั้งนี้รวมถึงอคติต่อเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ สัญชาติ เผ่าพันธุ์ เพศ อายุ ความพิการ สถานะทางสังคมเศรษฐกิจ ความเชื่อหรือความไม่เชื่อทางศาสนา และรสนิยมทางเพศ

38.6.15

พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันและรักเพศเดียวกัน

ศาสนจักรสนับสนุนครอบครัวและสมาชิกให้ปฏิบัติต่อคนที่เสน่หาเพศเดียวกันด้วยความเข้าอกเข้าใจ ความรัก และความเคารพ ศาสนจักรส่งเสริมความเข้าใจในสังคมส่วนใหญ่ที่สะท้อนคำสอนของศาสนจักรเกี่ยวกับความกรุณาปรานี การยอมรับทุกคน รักผู้อื่น และเคารพมนุษย์ทุกคนเช่นกัน ศาสนจักรไม่มีความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของความเสน่หาเพศเดียวกัน

พระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าห้ามพฤติกรรมที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะกับเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้าม ผู้นำศาสนจักรให้คำปรึกษาแก่สมาชิกที่ฝ่าฝืนกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศ ผู้นำช่วยให้สมาชิกมีความเข้าใจชัดเจนเรื่องศรัทธาในพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์ กระบวนการกลับใจ และจุดประสงค์ของชีวิตบนแผ่นดินโลก พฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศอาจเป็นเหตุให้ต้องจัดสภาสมาชิกภาพศาสนจักร (ดู 38.6.5) พฤติกรรมดังกล่าวจะได้รับการให้อภัยผ่านการกลับใจอย่างแท้จริง

หากสมาชิกรู้สึกเสน่หาเพศเดียวกันและกำลังพยายามดำเนินชีวิตตามกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศ ผู้นำสนับสนุนและให้กำลังใจในความตั้งใจของพวกเขา สมาชิกเหล่านี้อาจได้รับการเรียกของศาสนจักร มีใบรับรองพระวิหาร และได้รับศาสนพิธีพระวิหารหากพวกเขามีค่าควร สมาชิกชายอาจได้รับและใช้ฐานะปุโรหิต

สมาชิกทุกคนที่รักษาพันธสัญญาของตนจะได้รับพรทั้งหมดที่สัญญาไว้ในนิรันดรไม่ว่าสภาวการณ์ของพวกเขาจะอำนวยให้ได้รับพรของการแต่งงานนิรันดร์และการเป็นบิดามารดาในชีวิตนี้หรือไม่ (ดู โมไซยาห์ 2:41)

ศาสนจักรจัดเตรียมแหล่งช่วยต่อไปนี้ไว้ช่วยให้เข้าใจและสนับสนุนคนที่ชีวิตได้รับผลกระทบจากความเสน่หาเพศเดียวกันได้ดีขึ้น:

นอกจากความช่วยเหลือด้วยการดลใจจากผู้นำศาสนจักรแล้ว สมาชิกอาจได้ประโยชน์จากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้วย ผู้นำอาจติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานสนับสนุนครอบครัว ดูข้อมูลติดต่อใน 31.3.6

38.6.16

การแต่งงานกับเพศเดียวกัน

ตามหลักธรรมคำสอนที่อ้างจากพระคัมภีร์ ศาสนจักรยืนยันว่าการแต่งงานระหว่างชายหญิงจำเป็นต่อแผนของพระผู้สร้างเพื่อจุดหมายนิรันดร์ของบุตรธิดาพระองค์ ศาสนจักรยืนยันเช่นกันว่ากฎของพระผู้เป็นเจ้านิยามการแต่งงานว่าเป็นการรวมกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายระหว่างชายหนึ่งคนกับหญิงหนึ่งคน

ความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเรื่องเหมาะสมระหว่างชายหญิงที่แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายฉันสามีภรรยาเท่านั้น ความสัมพันธ์ทางเพศนอกเหนือจากนี้ รวมถึงความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน ถือเป็นบาปและบ่อนทำลายสถาบันครอบครัวที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตั้งไว้

38.6.17

เพศศึกษา

บิดามารดามีหน้าที่รับผิดชอบเบื้องต้นในการให้ความรู้เรื่องเพศแก่บุตรธิดา บิดามารดาควรมีการสนทนาที่ซื่อสัตย์ชัดเจนและต่อเนื่องกับบุตรธิดาเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศที่ชอบธรรม การสนทนาเหล่านี้ควร:

  • เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของบุตรธิดา

  • ช่วยบุตรธิดาเตรียมรับความสุขในชีวิตสมรสและทำตามกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศ (ดู 2.1.2)

  • พูดถึงอันตรายของสื่อลามก ความจำเป็นที่ต้องหลีกเลี่ยง และวิธีตอบสนองเมื่อพบเห็น

ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน “Sex Education and Behavior” (Gospel Topics, topics.ChurchofJesusChrist.org).

หน้าที่รับผิดชอบส่วนหนึ่งของบิดามารดาในการสอนบุตรธิดาคือรับรู้และพยายามมีอิทธิพลอย่างเหมาะสมต่อการสอนเพศศึกษาที่โรงเรียน บิดามารดาสอนหลักธรรมที่ถูกต้องและสนับสนุนการเรียนการสอนของโรงเรียนที่สอดคล้องกับพระกิตติคุณ

38.6.18

การทารุณกรรมทางเพศ การข่มขืน และการคุกคามทางเพศแบบอื่น

ศาสนจักรประณามการทารุณกรรมทางเพศ ในที่นี้ การทารุณกรรมทางเพศ หมายถึงการบังคับทำกิจกรรมทางเพศกับอีกบุคคลหนึ่ง กิจกรรมทางเพศกับบุคคลที่ไม่ให้หรือไม่สามารถให้ความยินยอมตามกฎหมายถือว่าเป็นการทารุณกรรมทางเพศ การทารุณกรรมทางเพศเกิดกับคู่สมรสหรือในความสัมพันธ์ระหว่างออกเดทได้เช่นกัน ดูข้อมูลเกี่ยวกับการทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กหรือเยาวชนใน 38.6.2.3

การทารุณกรรมทางเพศครอบคลุมการกระทำหลากหลาย ตั้งแต่การคุกคามไปจนถึงการข่มขืนและการล่วงเกินทางเพศแบบอื่น เกิดขึ้นได้ทางร่างกาย ทางวาจา และในทางอื่น ดูคำแนะนำเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาสมาชิกที่เคยประสบการทารุณกรรมทางเพศ การข่มขืน หรือการคุกคามทางเพศแบบอื่นใน 38.6.18.2

หากสมาชิกสงสัยหรือทราบเรื่องการทารุณกรรมทางเพศ พวกเขาดำเนินการคุ้มครองผู้เสียหายและผู้อื่นทันทีที่ทำได้ รวมถึงการแจ้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองและให้อธิการหรือประธานสเตคเฝ้าระวังด้วย หากเด็กถูกทารุณกรรม สมาชิกควรทำตามคำแนะนำใน 38.6.2

38.6.18.1

สายด่วนรับเรื่องการทารุณกรรม

หากอธิการหรือประธานสเตคทราบเรื่องการทารุณกรรมทางเพศ การข่มขืน หรือการคุกคามทางเพศแบบอื่น เขาโทรสายด่วนรับเรื่องการทารุณกรรมของศาสนจักรในประเทศที่มีสายด่วนนี้ (ดูข้อมูลติดต่อใน 38.6.2.1) ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายและทางคลินิกจะตอบคำถาม ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะให้คำแนะนำเช่นกันเกี่ยวกับวิธี:

  • ช่วยเหลือผู้เสียหายและช่วยคุ้มครองไม่ให้พวกเขาถูกทารุณกรรมอีก

  • ช่วยคุ้มครองผู้อาจจะกลายเป็นผู้เสียหาย

  • ทำตามข้อกำหนดทางกฎหมายสำหรับการแจ้งเหตุ

ในประเทศที่ไม่มีสายด่วน อธิการที่ทราบเรื่องการทำความผิดเหล่านี้ควรติดต่อประธานสเตคของเขา ประธานสเตคจะขอคำแนะนำจากที่ปรึกษากฎหมายระดับภาคที่สำนักงานภาค อีกทั้งปรึกษากับเจ้าหน้าที่หน่วยงานสนับสนุนครอบครัว หรือผู้จัดการด้านสวัสดิการและการพึ่งพาตนเองที่สำนักงานภาคด้วย

38.6.18.2

การให้คำปรึกษาผู้เสียหายจากการทารุณกรรมทางเพศ การข่มขืน และการคุกคามทางเพศแบบอื่น

ผู้เสียหายจากการทารุณกรรมทางเพศ การข่มขืน และการคุกคามทางเพศแบบอื่นมักประสบความบอบช้ำสาหัส เมื่อสมาชิกเผยความลับกับอธิการหรือประธานสเตค เขาตอบสนองด้วยความสงสารและความเห็นใจ ให้คำปรึกษาและการประคับประคองทางวิญญาณเพื่อช่วยสมาชิกเอาชนะผลร้ายของการทารุณกรรม เขาโทรสายด่วนรับเรื่องการทารุณกรรมของศาสนจักรในประเทศที่มีสายด่วนนี้ (ดู 38.6.18.1)

บางครั้งผู้เสียหายมีความรู้สึกอับอายหรือรู้สึกผิด ผู้เสียหายไม่ได้ทำบาป ผู้นำไม่ตำหนิผู้เสียหาย แต่ช่วยให้ผู้เสียหายและครอบครัวเข้าใจความรักของพระผู้เป็นเจ้าและการเยียวยาที่ผ่านมาทางพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์ (ดู แอลมา 15:8; 3 นีไฟ 17:9)

แม้สมาชิกจะเลือกบอกข้อมูลเกี่ยวกับการทารุณกรรมหรือการคุกคาม แต่ผู้นำไม่ควรให้ความสนใจกับรายละเอียดมากเกินไป เพราะจะเป็นภัยต่อผู้เสียหายได้

นอกจากจะรับความช่วยเหลือด้วยการดลใจจากผู้นำศาสนจักรแล้ว ผู้เสียหายและครอบครัวของพวกเขาอาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้วย ดูข้อมูลใน 31.3.6

38.6.18.3

สภาสมาชิกภาพ

สภาสมาชิกภาพอาจจำเป็นสำหรับบุคคลที่คุกคามหรือกระทำทารุณกรรมผู้อื่นทางเพศ ต้องจัดสภาสมาชิกภาพหากสมาชิกทำการข่มขืนหรือทำผิดฐานคุกคามทางเพศแบบอื่น (ดู 32.6.1.1)

ต้องจัดสภาสำหรับการทำกิจกรรมทางเพศกับผู้ใหญ่ที่อ่อนแอด้วย ในที่นี้ ผู้ใหญ่ที่อ่อนแอ คือบุคคลที่ไม่สามารถยินยอมให้ทำกิจกรรมทางเพศหรือไม่เข้าใจลักษณะของกิจกรรมทางเพศเพราะมีข้อจำกัดทางกายหรือทางจิต

เพื่อแก้ไขการทารุณกรรมทางเพศรูปแบบอื่น ผู้นำแสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณเพื่อให้รู้ว่าการให้คำปรึกษาส่วนตัวหรือสภาสมาชิกภาพเป็นการดำเนินการที่เหมาะสมที่สุดหรือไม่ (ดู 32.6.2.2 และ 32.8) ในกรณีร้ายแรงต้องจัดสภา ผู้นำอาจปรึกษากับผู้นำฐานะปุโรหิตสายตรงของพวกเขาเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว

หากการจำกัดสมาชิกภาพเป็นผลจากสภาสมาชิกภาพที่จัดสำหรับผู้กระทำทารุณกรรมทางเพศ ต้องเขียนคำอธิบายประกอบบันทึกของบุคคลนั้น

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาในกรณีของการทารุณกรรมใน 38.6.2.2 ดูข้อมูลเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผู้เสียหายเนื่องจากการคุกคามทางเพศใน 38.6.18.2

38.6.19

ผู้คาดว่าจะเป็นบิดามารดาตัวคนเดียว

สมาชิกศาสนจักรที่เป็นโสดและตั้งครรภ์ควรไปพบอธิการ ในสหรัฐและแคนาดา หน่วยงานสนับสนุนครอบครัวมีไว้เพื่อ:

  • ปรึกษากับผู้นำศาสนจักร

  • ให้คำปรึกษาผู้คาดว่าจะเป็นบิดามารดาตัวคนเดียวและครอบครัวของพวกเขา

อธิการไม่จำเป็นต้องส่งต่อศูนย์ให้คำปรึกษาครอบครัว ไม่คิดค่าบริการ ดูข้อมูลติดต่อหน่วยงานสนับสนุนครอบครัวใน 31.3.6

ในภูมิภาคอื่น ผู้นำจะติดต่อขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานสนับสนุนครอบครัวหรือผู้จัดการด้านสวัสดิการและการพึ่งพาตนเองในสำนักงานภาค

แนวทางการให้คำปรึกษาผู้คาดว่าจะเป็นบิดามารดาตัวคนเดียวมีให้ที่ “Unwed Pregnancy” (Gospel Topics, topics.ChurchofJesusChrist.org).

38.6.20

การฆ่าตัวตาย

ชีวิตมนุษย์เป็นของประทานล้ำค่าจากพระผู้เป็นเจ้า—ของประทานที่ควรเห็นค่าและปกป้อง ศาสนจักรสนับสนุนการป้องกันการฆ่าตัวตายอย่างแข็งขัน ดูข้อมูลเกี่ยวกับวิธีช่วยเหลือคนที่อยากฆ่าตัวตายหรือคนที่ได้รับผลกระทบจากการฆ่าตัวตายใน suicide.ChurchofJesusChrist.org.

คนส่วนใหญ่ที่คิดจะฆ่าตัวตายต้องการคลายความเจ็บปวดทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ หรือวิญญาณ บุคคลดังกล่าวต้องการความรัก ความช่วยเหลือ และการสนับสนุนจากครอบครัว ผู้นำศาสนจักร และผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณวุฒิ

อธิการให้การสนับสนุนทางศาสนาหากสมาชิกคิดจะฆ่าตัวตายหรือเคยพยายามฆ่าตัวตาย และช่วยให้สมาชิกได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันทีเช่นกัน อีกทั้งสนับสนุนคนใกล้ชิดให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเป็นด้วย

แม้คนที่รักพวกเขา ผู้นำ และผู้เชี่ยวชาญจะพยายามสุดความสามารถแล้วแต่ก็ไม่สามารถป้องกันการฆ่าตัวตายได้เสมอไป การฆ่าตัวตายทิ้งความเสียใจอย่างสุดซึ้ง การเปลี่ยนแปลงอารมณ์โดยฉับพลัน และคำถามที่ไม่มีคำตอบไว้ให้กับคนที่รักพวกเขาและคนอื่นๆ ผู้นำควรให้คำปรึกษาและปลอบประโลมครอบครัว ให้การดูแลเอาใจใส่และการประคับประคอง ครอบครัวอาจต้องการความช่วยเหลือและคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเช่นกัน

บุคคลไม่มีสิทธิ์ปลิดชีวิตตนเอง อย่างไรก็ดี เฉพาะพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นสามารถตัดสินความคิด การกระทำ และระดับความรับผิดชอบของบุคคล (1 ซามูเอล 16:7; หลักคำสอนและพันธสัญญา 137:9)

หลังจากหารือกับอธิการแล้วครอบครัวจะกำหนดสถานที่และรูปแบบพิธีศพสำหรับบุคคลดังกล่าว ครอบครัวอาจเลือกใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของศาสนจักร หากบุคคลรับเอ็นดาวเม้นท์ในชีวิตแล้วอาจฝังหรือฌาปนกิจในชุดพระวิหาร

คนที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปกับการฆ่าตัวตายจะพบความหวังและการเยียวยาผ่านพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตายและการปฏิบัติศาสนกิจใน suicide.ChurchofJesusChrist.org.

38.6.21

การผ่าตัดทำหมัน (รวมถึงการตัดและผูกท่อนำอสุจิ)

ดู 38.6.4

38.6.22

การตั้งครรภ์แทน

พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดแบบแผนให้สามีภรรยาจัดเตรียมร่างกายให้บุตรธิดาทางวิญญาณของพระองค์ (ดู 2.1.3) เพราะเหตุนี้ศาสนจักรจึงไม่สนับสนุนการตั้งครรภ์แทน อย่างไรก็ดี นี่เป็นเรื่องส่วนตัวที่สุดท้ายแล้วต้องปล่อยให้อยู่ในดุลพินิจและการพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนของสามีภรรยา

บุตรธิดาที่เกิดจากมารดาที่ตั้งครรภ์แทนไม่ถือว่าเกิดในพันธสัญญา หลังเกิด พวกเขาจะผนึกกับบิดามารดาได้ต่อเมื่อฝ่ายประธานสูงสุดอนุมัติเท่านั้น (ดู 38.4.2.7) บิดามารดาเขียนจดหมายถึงฝ่ายประธานสูงสุดและมอบให้ประธานสเตค หากเขาสนับสนุนคำขอ เขาส่งจดหมายดังกล่าวพร้อมจดหมายของเขาเอง

38.6.23

คนข้ามเพศ

คนข้ามเพศเผชิญความท้าทายที่ซับซ้อน สมาชิกและผู้ไม่เป็นสมาชิกที่ระบุตนเป็นคนข้ามเพศ—ตลอดจนครอบครัวและเพื่อนๆ ของพวกเขา—ควรได้รับการปฏิบัติด้วยความละมุนละม่อม ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความรักล้นเหลือเหมือนพระคริสต์ เรายินดีให้ทุกคนเข้าร่วมการประชุมศีลระลึก การประชุมอื่นในวันอาทิตย์ และกิจกรรมทางสังคมของศาสนจักร (ดู 38.1.1)

เพศเป็นลักษณะสำคัญในแผนแห่งความสุขของพระบิดาบนสวรรค์ ความหมายของ เพศ ตามเจตนารมณ์ใน ถ้อยแถลงเรื่องครอบครัว คือ เพศสรีระแต่กำเนิด บางคนประสบความรู้สึกขัดแย้งกันระหว่างเพศสรีระของตนกับอัตลักษณ์ทางเพศของตน ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงอาจระบุตนเป็นคนข้ามเพศ ศาสนจักรไม่มีความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของผู้ระบุตนเป็นคนข้ามเพศ

การมีส่วนร่วมส่วนใหญ่ในศาสนจักรและศาสนพิธีฐานะปุโรหิตบางพิธีไม่ระบุเพศ บุคคลข้ามเพศอาจรับบัพติศมาและการยืนยันตามที่ระบุไว้ใน 38.2.8.10 พวกเขาอาจรับส่วนศีลระลึกหรือรับพรฐานะปุโรหิตได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี การแต่งตั้งฐานะปุโรหิตและศาสนพิธีพระวิหารจะได้รับตามเพศสรีระแต่กำเนิด

ผู้นำศาสนจักรแนะนำไม่ให้ใช้ยาหรือทำศัลยกรรมเพื่อพยายามเปลี่ยนเป็นเพศตรงข้ามกับเพศสรีระแต่กำเนิดของตน (“การแปลงเพศ”) ผู้นำแนะนำว่าการดำเนินการเหล่านี้จะเป็นเหตุให้ถูกจำกัดสมาชิกภาพศาสนจักร

ผู้นำแนะนำไม่ให้เปลี่ยนสถานะทางสังคมเช่นกัน การเปลี่ยนสถานะดังกล่าวได้แก่ การเปลี่ยนเครื่องแต่งกายหรือการแต่งกาย หรือการเปลี่ยนชื่อหรือสรรพนาม เพื่อแสดงตนต่างจากเพศสรีระแต่กำเนิด ผู้นำแนะนำว่าคนที่เปลี่ยนสถานะทางสังคมจะถูกจำกัดสมาชิกภาพศาสนจักรบางอย่างในช่วงการเปลี่ยนแปลงนี้

การจำกัดรวมถึงการได้รับหรือการใช้ฐานะปุโรหิต การได้รับหรือการใช้ใบรับรองพระวิหาร และการได้รับการเรียกบางอย่างในศาสนจักร ถึงแม้จะจำกัดเอกสิทธิ์บางอย่างของสมาชิกภาพศาสนจักร แต่ศาสนจักรยินดีให้มีส่วนร่วมด้านอื่น

คนข้ามเพศที่ไม่ได้ใช้ยา ไม่ได้ทำศัลยกรรม หรือไม่ได้ทำการเปลี่ยนสถานะทางสังคมเป็นเพศตรงข้ามและมีค่าควรอาจได้รับการเรียกในศาสนจักร ใบรับรองพระวิหาร และศาสนพิธีพระวิหาร

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่มีใบอนุญาตอาจสั่งให้ใช้ฮอร์โมนบำบัดเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่บางคนเพื่อบรรเทาภาวะทุกข์ใจในเพศสภาพของตนหรือลดความคิดอยากฆ่าตัวตาย ก่อนบุคคลเริ่มการบำบัดดังกล่าว สำคัญที่บุคคล (และบิดามารดาของผู้เยาว์) ต้องเข้าใจความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาจได้รับ หากสมาชิกเหล่านี้ไม่พยายามเปลี่ยนเป็นเพศตรงข้ามและมีค่าควร พวกเขาอาจได้รับการเรียกในศาสนจักร ใบรับรองพระวิหาร และศาสนพิธีพระวิหาร

หากสมาชิกตัดสินใจเปลี่ยนชื่อหรือสรรพนามที่ต้องการใช้ อาจระบุไว้ในช่องชื่อที่ต้องการบนบันทึกสมาชิกภาพ อาจเรียกชื่อบุคคลนั้นในวอร์ดตามชื่อที่ต้องการ

สภาวการณ์ต่างกันมากในแต่ละหน่วยและแต่ละบุคคล สมาชิกและผู้นำปรึกษากันและกับพระเจ้า ฝ่ายประธานภาคจะช่วยผู้นำระดับท้องที่แก้ไขสถานการณ์เป็นรายบุคคลอย่างละมุนละม่อม อธิการปรึกษากับประธานสเตค ประธานสเตคและประธานคณะเผยแผ่ต้องขอคำแนะนำจากฝ่ายประธานภาค (ดู 32.6.3 และ 32.6.3.1)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าใจและการสนับสนุนคนข้ามเพศใน “Transgender” บน ChurchofJesusChrist.org.

38.7

นโยบายการแพทย์และสุขภาพ

38.7.1

การชันสูตรศพ

การชันสูตรศพอาจทำได้หากครอบครัวของผู้ถึงแก่กรรมยินยอมและหากการชันสูตรศพถูกต้องตามกฎหมาย ในบางกรณีต้องชันสูตรศพตามกฎหมาย

38.7.2

การฝังหรือฌาปนกิจ

ครอบครัวของผู้ถึงแก่กรรมตัดสินใจว่าจะฝังหรือฌาปนกิจร่างผู้ถึงแก่กรรม พวกเขาเคารพความปรารถนาของแต่ละบุคคล

ในบางประเทศกฎหมายกำหนดให้ฌาปนกิจ ในบางกรณีครอบครัวไม่สามารถทำการฝังหรือรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ ไม่ว่ากรณีใด ควรปฏิบัติต่อร่างผู้ถึงแก่กรรมด้วยความเคารพและคารวะ สมาชิกควรมั่นใจว่าพลังอำนาจของการฟื้นคืนชีวิตมีผลเสมอ (ดู แอลมา 11:42–45)

ที่ใดทำได้ควรแต่งชุดพระวิหารให้ร่างสมาชิกที่รับเอ็นดาวเม้นท์แล้วเมื่อฝังหรือฌาปนกิจ (ดู 38.5.8)

พิธีศพหรือพิธีรำลึกเปิดโอกาสให้ครอบครัวได้มารวมตัวกันและทำให้ความสัมพันธ์และคุณค่าของครอบครัวคงอยู่ชั่วกาลนาน (ดู 4)

38.7.3

เด็กที่เสียชีวิตก่อนเกิด (เด็กตายคลอดและเด็กที่ตายจากการแท้งเอง)

บิดามารดาผู้ประสบความตายของเด็กที่ยังไม่เกิดมาล้วนประสบความโศกเศร้าและความสูญเสีย ผู้นำ สมาชิกครอบครัว บราเดอร์และซิสเตอร์ผู้ปฏิบัติศาสนกิจให้การประคับประคองทางอารมณ์และทางวิญญาณ

บิดามารดาตัดสินใจว่าจะจัดพิธีรำลึกหรือพิธีข้างหลุมศพหรือไม่

บิดามารดาจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับบุตรไว้ใน FamilySearch.org. คำแนะนำมีอยู่ในเว็บไซต์

ไม่จำเป็นหรือไม่ประกอบศาสนพิธีพระวิหารให้เด็กที่สิ้นชีวิตก่อนเกิด แต่ใช่ว่าเด็กเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวในนิรันดรไม่ได้ ขอให้บิดามารดาวางใจพระเจ้าและแสวงหาการปลอบประโลมจากพระองค์

38.7.4

การุณยฆาต

ชีวิตมนุษย์เป็นของประทานล้ำค่าจากพระผู้เป็นเจ้า การุณยฆาตคือการจงใจจบชีวิตผู้กำลังทุกข์ทรมานจากโรคที่รักษาไม่หายหรืออาการอื่น บุคคลใดมีส่วนในการุณยฆาตรวมถึงการช่วยคนบางคนฆ่าตัวตาย บุคคลนั้นละเมิดพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าและอาจละเมิดกฎหมายบ้านเมืองด้วย

การยุติหรือยกเลิกมาตรการช่วยชีวิตผู้อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตอย่างไม่สมเหตุสมผลไม่ถือเป็นการุณยฆาต (ดู 38.7.11)

38.7.5

การติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์

สมาชิกที่ติดเชื้อเอชไอวี (ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องในคน) หรือเป็นเอดส์ (กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง) ควรได้รับการต้อนรับที่การประชุมและกิจกรรมของศาสนจักร การเข้าร่วมของพวกเขาไม่เป็นภัยต่อสุขภาพของผู้อื่น

38.7.6

การสะกดจิต

สำหรับบางคน การสะกดจิตสามารถละเมิดสิทธิ์เสรีได้ ศาสนจักรไม่สนับสนุนสมาชิกให้เข้าร่วมการสะกดจิตเพื่อการสาธิตหรือความบันเทิง

ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเมื่อคิดจะใช้การสะกดจิตรักษาโรคหรือความผิดปกติทางจิต

38.7.7

บุคคลที่เพศกำเนิดไม่ชัดเจน

มีโอกาสน้อยมากที่เด็กเกิดมาพร้อมอวัยวะเพศที่ไม่เป็นชายหรือหญิงชัดเจน (อวัยวะเพศกำกวม ความกำกวมทางเพศ หรือเพศกำกวม) บิดามารดาหรือผู้อื่นอาจต้องตัดสินใจกำหนดเพศของเด็กด้วยคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การตัดสินใจว่าจะใช้ยาหรือผ่าตัดมักทำในช่วงแรกเกิด อย่างไรก็ดี พวกเขาสามารถเลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อนได้เว้นแต่มีความจำเป็นทางการแพทย์

ต้องมีความเห็นใจและใช้ปัญญามากเป็นพิเศษเมื่อเยาวชนหรือผู้ใหญ่ที่เกิดมาพร้อมความกำกวมทางเพศประสบความขัดแย้งทางอารมณ์เกี่ยวกับการตัดสินใจกำหนดเพศในวัยทารกหรือวัยเด็กและเพศที่ระบุให้พวกเขา

ควรส่งคำถามเกี่ยวกับบันทึกสมาชิกภาพ การแต่งตั้งฐานะปุโรหิต และศาสนพิธีพระวิหารสำหรับเยาวชนหรือผู้ใหญ่ที่เกิดมาพร้อมความกำกวมทางเพศไปสำนักงานฝ่ายประธานสูงสุดโดยตรง

38.7.8

การดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาล

การขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การใช้ศรัทธา และการรับพรฐานะปุโรหิตทำงานร่วมกันเพื่อรักษาตามพระประสงค์ของพระเจ้า

สมาชิกต้องไม่ใช้หรือส่งเสริมเวชปฏิบัติหรือแนวปฏิบัติด้านสุขภาพที่อยู่ในข่ายน่าสงสัยทางจริยธรรม ทางวิญญาณ หรือทางกฎหมาย คนที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตในพื้นที่ซึ่งพวกเขาทำงานอยู่

นอกจากขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ศาสนจักรสนับสนุนให้สมาชิกทำตามคำบัญชาจากพระคัมภีร์ใน ยากอบ 5:14 ให้ “เชิญบรร‌ดาผู้‍ปก‍ครองของคริสต‌จักรมาและให้ท่านเหล่า‍นั้นอธิษ‌ฐานเผื่อเขา และชโลมเขาด้วยน้ำ‍มันในพระ‍นามขององค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า” ผู้ดำรงตำแหน่งฐานะปุโรหิตที่จำเป็นประทานพรแห่งการรักษาของฐานะปุโรหิตให้เมื่อขอ และไม่คิดค่าใช้จ่าย (ดู 18.13)

ศาสนจักรไม่สนับสนุนให้สมาชิกขอการรักษาอันน่าอัศจรรย์หรือเหนือธรรมชาติจากบุคคลหรือกลุ่มที่อ้างว่ามีวิธีพิเศษในการเข้าถึงอำนาจการรักษานอกเหนือจากการสวดอ้อนวอนและการให้พรฐานะปุโรหิตอย่างถูกต้อง เรามักเรียกการปฏิบัติเหล่านี้ว่า “พลังงานบำบัด” หรืออาจมีชื่อเรียกอื่น และมักให้สัญญาว่าจะหายเพื่อแลกกับเงิน

38.7.9

กัญชาทางการแพทย์

ศาสนจักรต่อต้านการใช้กัญชาที่ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ ดู 38.7.14

แต่สมาชิกอาจใช้กัญชาเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ตามเงื่อนไขต่อไปนี้:

  • แพทย์ที่มีใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่กฎหมายรับรองเห็นว่าจำเป็นต้องใช้รักษา

  • สมาชิกใช้ตามขนาดและวิธีที่แพทย์หรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ได้รับอนุญาตระบุ ศาสนจักรไม่อนุมัติให้สูดกัญชาเว้นแต่ผู้ให้บริการทางการแพทย์อนุญาตตามความจำเป็นทางการแพทย์

ศาสนจักรไม่อนุมัติให้สูบกัญชา รวมทั้งเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์

38.7.10

การบริจาคและการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ

การบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อเป็นการกระทำที่ไม่เห็นแก่ตัวซึ่งมักเกิดประโยชน์ใหญ่หลวงต่อบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ

สมาชิกที่มีชีวิตอยู่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนก่อนตัดสินใจบริจาคอวัยวะให้อีกคนหรือรับอวัยวะบริจาค

สมาชิกและครอบครัวของเขาเป็นผู้ตัดสินใจอนุญาตให้ปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อจากคนที่ถึงแก่กรรม

38.7.11

การยืดชีวิต (รวมถึงการใช้เครื่องช่วยหายใจ)

เมื่อเผชิญความเจ็บป่วยร้ายแรง สมาชิกควรใช้ศรัทธาในพระเจ้าและขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ดีเมื่อไม่อาจหลีกเลี่ยงความตายได้ สมาชิกควรมองว่าความตายเป็นพรและเป็นส่วนที่มีจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ (ดู 2 นีไฟ 9:6; แอลมา 42:8)

สมาชิกไม่ควรรู้สึกว่าต้องยืดชีวิตมรรตัยโดยใช้วิธีที่ไม่สมเหตุสมผล หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ บุคคลหรือสมาชิกครอบครัวจะเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้ได้ดีที่สุด พวกเขาควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและการนำทางจากพระเจ้าผ่านการสวดอ้อนวอน

ผู้นำให้การประคับประคองคนที่กำลังตัดสินใจว่าจะถอดเครื่องช่วยหายใจสำหรับสมาชิกครอบครัวหรือไม่

38.7.12

กลุ่มยอมรับตนเอง

กลุ่มเอกชนและองค์กรการค้ามากมายหลายกลุ่มมีโปรแกรมที่อ้างว่าจะเพิ่มการยอมรับตนเอง ความนับถือตนเอง และความเข้มแข็งทางวิญญาณ กลุ่มเหล่านี้มักให้สัญญาว่ามีวิธีแก้ไขปัญหาแบบฉับไวซึ่งปกติต้องใช้เวลา การสวดอ้อนวอน และความเพียรพยายามจึงจะแก้ไขได้ ถึงแม้ผู้เข้าร่วมจะรู้สึกสบายใจหรือเบิกบานใจชั่วคราว แต่ปัญหาเดิมๆ มักจะกลับมา ทำให้เกิดความสิ้นหวังและความผิดหวังมากขึ้น

บุคคลบางกลุ่มเหล่านี้แอบอ้างหรือบอกเป็นนัยว่าศาสนจักรหรือเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ได้ลงนามรับรองโปรแกรมของตน แต่คำแอบอ้างเหล่านี้ไม่จริง

ศาสนจักรเตือนสมาชิกว่าบุคคลบางกลุ่มเหล่านี้สนับสนุนแนวความคิดและใช้วิธีที่จะเป็นอันตรายได้ หลายกลุ่มเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงลิ่วและส่งเสริมให้ทำข้อตกลงระยะยาว บางกลุ่มผสมผสานแนวความคิดทางโลกกับหลักธรรมพระกิตติคุณในลักษณะที่สามารถทำลายความเข้มแข็งทางวิญญาณและศรัทธาทีละน้อย

ผู้นำศาสนจักรต้องไม่จ่ายเงินให้ ส่งเสริม หรือลงนามรับรองกลุ่มหรือการปฏิบัติดังกล่าว และไม่ให้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของศาสนจักรสำหรับกิจกรรมเหล่านี้

สมาชิกที่มีความกังวลทางสังคมหรืออารมณ์จะปรึกษากับผู้นำเพื่อขอคำแนะนำในการค้นหาแหล่งช่วยที่สอดคล้องกับหลักธรรมพระกิตติคุณ ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน 22.3.4

38.7.13

การฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญช่วยปกป้องสุขภาพและรักษาชีวิต ศาสนจักรสนับสนุนสมาชิกให้ป้องกันตนเอง บุตรธิดา และชุมชนผ่านการฉีดวัคซีน

สุดท้ายแล้วบุคคลมีหน้าที่ตัดสินใจด้วยตนเองเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน หากสมาชิกมีความกังวล พวกเขาควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและแสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

ผู้คาดหวังจะเป็นผู้สอนศาสนาที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมีแนวโน้มจะถูกจำกัดงานมอบหมายให้อยู่ในประเทศบ้านเกิดของตน

38.7.14

พระคำแห่งปัญญาและแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อสุขภาพ

พระคำแห่งปัญญาเป็นพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงเปิดเผยเพื่อประโยชน์ทางร่างกายและทางวิญญาณของบุตรธิดาของพระองค์ ศาสดาพยากรณ์ต่างชี้แจงว่าคำสอนใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 89 ครอบคลุมถึงการละเว้นบุหรี่ เครื่องดื่มแรง (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) และเครื่องดื่มร้อน (ชาและกาแฟ)

ศาสดาพยากรณ์สอนเช่นกันให้สมาชิกหลีกเลี่ยงสารที่เป็นอันตราย สารผิดกฎหมาย สารที่ทำให้เสพติดหรือทำให้สูญเสียวิจารณญาณ

มีการปฏิบัติและสารอันตรายอื่นๆ อีกที่ไม่ได้ระบุไว้ในพระคำแห่งปัญญาหรือโดยผู้นำศาสนจักร สมาชิกควรใช้ปัญญาและวิจารณญาณร่วมกับการสวดอ้อนวอนในการเลือกส่งเสริมสุขภาพร่างกาย วิญญาณ และอารมณ์ของตน

อัครสาวกเปาโลกล่าวว่า “ท่านรู้แล้วไม่ใช่หรือว่าร่าง‍กายของพวก‍ท่านเป็นวิหารของพระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์ผู้สถิตในท่าน ผู้ซึ่งพวก‍ท่านได้รับจากพระ‍เจ้า และท่าน‍ทั้ง‍หลายไม่ใช่เจ้า‍ของตัวท่านเอง? เพราะว่าพระเจ้าทรงซื้อท่านไว้แล้วด้วยราคาสูง ฉะนั้นจงถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าด้วยร่างกายของพวกท่านเถิด” (1 โครินธ์ 6:19–20)

พระเจ้าทรงสัญญาพรทางวิญญาณและทางโลกกับคนที่เชื่อฟังพระคำแห่งปัญญาและคำแนะนำของศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตอยู่ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 89:18–21)

38.8

นโยบายการบริหาร

38.8.1

การรับบุตรบุญธรรมและการอุปการะ

การรับบุตรบุญธรรมและการอุปการะสามารถเป็นพรแก่เด็กและครอบครัว เราสร้างครอบครัวนิรันดร์ที่รักกันได้จากการรับบุตรบุญธรรม ไม่ว่าเด็กมาอยู่กับครอบครัวผ่านการรับบุตรบุญธรรมหรือการเกิด พวกเขาเป็นพรที่มีค่าเท่าเทียมกัน

สมาชิกผู้ประสงค์จะรับบุตรบุญธรรมหรือรับอุปการะเด็กจะต้องทำตามกฎหมายที่บังคับใช้ทั้งหมดของประเทศและรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง

ศาสนจักรไม่อำนวยความสะดวกเรื่องการรับบุตรบุญธรรม แต่ในสหรัฐและแคนาดาผู้นำสามารถให้สมาชิกติดต่อขอคำปรึกษาจากหน่วยงานสนับสนุนครอบครัว ดูข้อมูลติดต่อใน 31.3.6

ดูข้อมูลเกี่ยวกับผู้คาดว่าจะเป็นบิดามารดาตัวคนเดียวใน 38.6.19

ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน “Adoption” (Gospel Topics, topics.ChurchofJesusChrist.org).

38.8.2

การฉ้อโกงโดยอาศัยความสัมพันธ์

การฉ้อโกงโดยอาศัยความสัมพันธ์เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งใช้ประโยชน์จากความไว้วางใจหรือความเชื่อมั่นของอีกคนหนึ่งเพื่อฉ้อโกง เกิดขึ้นได้เมื่อทั้งสองฝ่ายเป็นสมาชิกของกลุ่มเดียวกันเช่นศาสนจักร อีกทั้งเกิดขึ้นได้จากการใช้ตำแหน่งที่ได้รับความเป็นเพื่อนและความไว้วางใจโดยมิชอบ เช่นการเรียกในศาสนจักรหรือความสัมพันธ์ในครอบครัว การฉ้อโกงโดยอาศัยความสัมพันธ์มักเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน

สมาชิกศาสนจักควรซื่อสัตย์ในการคบค้าสมาคมและทำหน้าที่ด้วยความสุจริต การฉ้อโกงโดยอาศัยความสัมพันธ์คือการทรยศอย่างน่าละอายต่อความไว้วางใจและความเชื่อมั่น ผู้ฉ้อโกงอาจถูกดำเนินคดีทางอาญา สมาชิกศาสนจักรที่ทำการฉ้อโกงโดยอาศัยความสัมพันธ์อาจต้องถูกจำกัดหรือถูกถอนสมาชิกภาพด้วย ดูแนวทางเกี่ยวกับสภาสมาชิกภาพสำหรับการฉ้อโกงโดยอาศัยความสัมพันธ์ใน 32.6.1.3 และ 32.6.2.3

สมาชิกจะไม่บอกกล่าวหรือบอกเป็นนัยว่าศาสนจักรอุปถัมภ์และรับรองการดำเนินธุรกิจของพวกเขาหรือพวกเขาดำเนินธุรกิจแทนศาสนจักรหรือผู้นำศาสนจักร

38.8.3

โสตทัศนอุปกรณ์

โสตทัศนอุปกรณ์สามารถช่วยอัญเชิญพระวิญญาณและยกระดับการสอนพระกิตติคุณในชั้นเรียนและการประชุมต่างๆ ของศาสนจักร ตัวอย่างของอุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ วีดิทัศน์ รูปภาพ และเพลงที่บันทึกเสียง การใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ควรเบี่ยงเบนความสนใจหรือกลายเป็นจุดสนใจหลักของชั้นเรียนหรือการประชุม

สมาชิกจะไม่ใช้โสตทัศนอุปกรณ์ในการประชุมศีลระลึกหรือในการประชุมใหญ่สเตคภาคทั่วไป แต่อาจใช้เพลงที่บันทึกไว้ในการประชุมเหล่านี้หากต้องการดนตรีเพื่อร้องเพลงสวด

สมาชิกควรเชื่อฟังกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งหมดเมื่อใช้โสตทัศนอุปกรณ์ (ดู 38.8.11) และจะใช้อุปกรณ์ที่สอดคล้องกับพระกิตติคุณและช่วยอัญเชิญพระวิญญาณเท่านั้น

38.8.4

การขอลายเซ็นและการถ่ายรูปเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ เจ้าหน้าที่ระดับสามัญ และสาวกเจ็ดสิบภาค

สมาชิกศาสนจักรไม่ควรขอลายเซ็นจากเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ เจ้าหน้าที่ระดับสามัญ หรือสาวกเจ็ดสิบภาค ทั้งไม่ขอให้ผู้นำเหล่านี้เซ็นพระคัมภีร์ หนังสือเพลงสวด หรือโปรแกรมต่างๆ ของตน การกระทำดังกล่าวจะลดคุณค่าการเรียกอันศักดิ์สิทธิ์และทำลายวิญญาณของการประชุม และจะทำให้ท่านเหล่านี้ไม่ได้ทักทายสมาชิกคนอื่นๆ

สมาชิกไม่ควรถ่ายรูปเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ เจ้าหน้าที่ระดับสามัญ หรือสาวกเจ็ดสิบภาคในห้องนมัสการ

38.8.5

ธุรกิจต่างๆ

จะไม่ใช้อาคารประชุมและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ของศาสนจักร การประชุมและชั้นเรียนต่างๆ ของศาสนจักร ตลอดจนเว็บไซต์และช่องโซเชียลมีเดียของศาสนจักรเพื่อส่งเสริมธุรกิจหรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่ของศาสนจักร

และจะไม่ให้รายชื่อกลุ่มต่างๆ ของศาสนจักรหรือข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับสมาชิกแก่ธุรกิจหรือนิติบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้รวมถึง (แต่ไม่จำกัดเฉพาะ) ธุรกิจที่ส่งเสริมโอกาสในการออกเดท การศึกษา และงานอาชีพ ดู 38.8.31

38.8.6

ลูกจ้างศาสนจักร

ลูกจ้างศาสนจักรพึงดำเนินชีวิตและรักษามาตรฐานศาสนจักรตลอดเวลา พวกเขาต้องปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานในท้องที่

เพื่อเริ่มเป็นลูกจ้างศาสนจักรหรือเป็นต่อไปสมาชิกต้องมีค่าควรถือใบรับรองพระวิหาร ตัวแทนจาก Church Human Resource Department (แผนกทรัพยากรบุคคลของศาสนจักร) จะติดต่อประธานสเตคหรืออธิการเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบความมีค่าควรในการเข้าพระวิหารของลูกจ้างปัจจุบันหรือผู้จะเป็นลูกจ้างของศาสนจักร ผู้นำควรตอบทันที

38.8.7

นิตยสารศาสนจักร

นิตยสารศาสนจักรได้แก่:

ฝ่ายประธานสูงสุดสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนอ่านนิตยสารศาสนจักร นิตยสารจะช่วยให้สมาชิกเรียนรู้พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ศึกษาคำสอนของศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตอยู่ รู้สึกเชื่อมโยงกับครอบครัวศาสนจักรทั่วโลก เผชิญความท้าทายต่างๆ ด้วยศรัทธา และเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น

ผู้นำช่วยให้สมาชิกเข้าถึงนิตยสารดังนี้:

  • ช่วยสมาชิกสั่งซื้อนิตยสารเป็นเล่มและต่ออายุการสั่งซื้อ

  • แสดงให้สมาชิกเห็นวิธีเข้าไปอ่านเนื้อหานิตยสารบน ChurchofJesusChrist.org แอปพลิเคชันคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ และแอปพลิเคชัน Gospel Living เนื้อหาดิจิทัลนี้มีให้อ่านฟรี

  • แสดงให้สมาชิกใหม่เห็นวิธีเข้าไปอ่านนิตยสารดิจิทัลของศาสนจักรทันทีหลังจากพวกเขารับบัพติศมา หากพวกเขาชอบอ่านนิตยสารเป็นเล่มมากกว่า ให้ใช้เงินงบประมาณหน่วยสั่งซื้อให้พวกเขาหนึ่งปี

  • สมัครสมาชิกอย่างต่อเนื่องให้เด็กและเยาวชนทุกคนที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ได้มาโบสถ์ด้วย ใช้เงินงบประมาณหน่วยซื้อ

อธิการอาจเรียกตัวแทนนิตยสารให้ช่วยสมาชิกเข้าถึงนิตยสาร หรืออาจมอบหมายให้เลขาธิการวอร์ดช่วยเหลือ (ดู 7.3)

ตัวแทนนิตยสารหรือเลขาธิการสามารถช่วยรวบรวมประสบการณ์และประจักษ์พยานที่ส่งเสริมศรัทธาจากสมาชิกในท้องที่มาแบ่งปันกับนิตยสารได้เช่นกัน

สั่งซื้อนิตยสารเป็นเล่มได้ที่ store.ChurchofJesusChrist.org, Global Services Department และ ร้านค้าปลีกของศูนย์บริการสื่อสิ่งพิมพ์และวัสดุอุปกรณ์ ในบางพื้นที่ หน่วยสั่งในนามสมาชิกและแจกจ่ายนิตยสารที่อาคารประชุม ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ Global Services Department หรือร้านค้าของศูนย์บริการสื่อสิ่งพิมพ์และวัสดุอุปกรณ์

38.8.8

ชื่อ โลโก้ตัวอักษร และสัญลักษณ์ของศาสนจักร

ภาพ
โลโก้ตัวอักษรและสัญลักษณ์ของศาสนจักร

ชื่อ โลโก้ตัวอักษร และสัญลักษณ์ของศาสนจักรเป็นตัวระบุหลักของศาสนจักร ได้รับการจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าหรืออีกนัยหนึ่งคือได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายทั่วโลก ใช้ระบุงานเขียน ข่าว และเหตุการณ์ที่เป็นทางการของศาสนจักร

พึงใช้ตัวระบุหลักของศาสนจักรตามแนวทางที่ให้ไว้ด้านล่างเท่านั้น

ชื่อที่เป็นลายลักษณ์อักษรของศาสนจักร หน่วยท้องที่จะใช้ชื่อที่เป็นลายลักษณ์อักษรของศาสนจักร (ไม่ใช่โลโก้ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์) เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้:

  • กิจกรรมหรืองานพิธีที่เกี่ยวข้องกับชื่อศาสนจักรได้รับอุปถัมภ์อย่างเป็นทางการจากหน่วยศาสนจักร (ตัวอย่างเช่น โปรแกรมการประชุมศีลระลึก)

  • ใช้ชื่อหน่วยท้องที่นำหน้าชื่อศาสนจักร (ตัวอย่างเช่น สาขาแคมโปโรซาของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย)

  • ตัวพิมพ์ต้องไม่เลียนแบบหรือคล้ายคลึงกับโลโก้ตัวอักษรทางการของศาสนจักร

โลโก้ตัวอักษรและสัญลักษณ์ จะใช้โลโก้ตัวอักษรและสัญลักษณ์ของศาสนจักร (ดูภาพประกอบด้านบน) เฉพาะเมื่อฝ่ายประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองอนุมัติเท่านั้น จะไม่ใช้เป็นองค์ประกอบตกแต่ง ทั้งจะไม่ใช้ในเรื่องส่วนตัว เชิงพาณิชย์ หรือส่งเสริมการขาย

หากมีข้อสงสัยให้สอบถามไปที่:

Intellectual Property Office

50 East North Temple Street

Salt Lake City, UT 84150-0005

โทรศัพท์: 1-801-240-3959 หรือ 1-800-453-3860 ต่อ 2-3959

แฟกซ์: 1-801-240-1187

อีเมล: cor-intellectualproperty@ChurchofJesusChrist.org

38.8.9

การสื่อสารกับประธานสเตคและอธิการจากลูกจ้างศาสนจักรและอาสาสมัคร

เมื่อลูกจ้างศาสนจักรและอาสาสมัครจำเป็นต้องติดต่อประธานสเตคหรืออธิการ พวกเขาติดต่อเลขาธิการของผู้นำโดยตรงเว้นแต่เป็นเรื่องเร่งด่วนมากหรือไม่พึงเปิดเผย นี่ก็เพื่อให้ประธานสเตคและอธิการได้มุ่งเน้นหน้าที่รับผิดชอบมากมายที่พวกเขาเท่านั้นจะทำได้

ลูกจ้างศาสนจักรและอาสาสมัคร ได้แก่ ตัวแทนของแผนกต่างๆ โปรแกรมและสถานศึกษา การดำเนินงานสวัสดิการและการพึ่งพาตนเอง และธุรกิจในเครือศาสนจักรทั้งหมด

กรณีไม่ได้เรียกเลขาธิการหรือเขาไม่ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ผู้นำอาจได้รับการติดต่อโดยตรง

38.8.10

คอมพิวเตอร์

สำนักงานใหญ่ของศาสนจักรหรือสำนักงานภาคเป็นผู้จัดหาและบริหารจัดการคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอาคารประชุมของศาสนจักร ผู้นำและสมาชิกใช้แหล่งช่วยเหล่านี้สนับสนุนจุดประสงค์ต่างๆ ของศาสนจักร รวมทั้งงานประวัติครอบครัว

ศาสนจักรต้องได้รับอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ทั้งหมดในคอมพิวเตอร์เหล่านี้อย่างถูกต้อง

ประธานสเตคสอดส่องดูแลการจัดวางและการใช้คอมพิวเตอร์ในสเตครวมทั้งในศูนย์ประวัติครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสเตคพึงแน่ใจว่ามีการอัปเดตและซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์เหล่านี้ดังระบุไว้ใน 33.10

38.8.11

อุปกรณ์ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์คือความคุ้มครองที่กฎหมายให้แก่ผู้สร้างผลงานชิ้นแรกสุดซึ่งแสดงให้เห็นในรูปแบบที่จับต้องได้ (รวมทั้งดิจิทัล) เช่น:

  • ผลงานด้านวรรณกรรม ดนตรี การละคร และศิลปะการเต้นรำ

  • ผลงานศิลปะ ภาพถ่าย และประติมากรรม

  • ผลงานด้านโสตและโสตทัศนอุปกรณ์ (เช่น ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ซีดี และดีวีดี)

  • โปรแกรมหรือเกมคอมพิวเตอร์

  • อินเทอร์เน็ตและฐานข้อมูลอื่นๆ

กฎหมายว่าด้วยงานสร้างสรรค์และการอนุญาตให้ใช้งานเหล่านี้ต่างกันไปในแต่ละประเทศ นโยบายศาสนจักรดังระบุไว้ในหมวดนี้สอดคล้องกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่บังคับใช้ในประเทศส่วนใหญ่ เพื่อให้เข้าใจง่าย หมวดนี้จะเรียกสิทธิ์ของผู้สร้างผลงานว่า “ลิขสิทธิ์” แต่บางประเทศอาจเรียกสิทธิ์เหล่านี้ต่างออกไป

สมาชิกศาสนจักรควรทำตามกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งหมดอย่างเคร่งครัด โดยทั่วไป เฉพาะเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นสามารถอนุญาตให้ทำดังนี้กับผลงานของตน:

  • คัดลอก (ทำสำเนา)

  • แจกจ่าย

  • แสดงในที่สาธารณะ

  • เปิดให้ชมในที่สาธารณะ

  • สร้างสรรค์ดัดแปลงจากต้นฉบับ

การใช้ผลงานในลักษณะเหล่านี้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ถือว่าทำผิดนโยบายศาสนจักร การใช้ดังกล่าวอาจทำให้ศาสนจักรหรือผู้ใช้ต้องรับผิดตามกฎหมายด้วย

ผู้ใช้ผลงานควรสันนิษฐานว่าผลงานมีลิขสิทธิ์คุ้มครอง โดยปกติผลงานที่จัดพิมพ์จะมีหมายเหตุลิขสิทธิ์ เช่น “© 1959 โดย จอห์น โด” (สำหรับการบันทึกเสียง สัญลักษณ์คือ ℗) แต่ไม่จำเป็นต้องมีข้อความสงวนลิขสิทธิ์สำหรับความคุ้มครองทางกฎหมาย ในทำนองเดียวกัน ข้อเท็จจริงที่ว่าสิ่งพิมพ์ไม่มีการตีพิมพ์อีกหรือถูกโพสต์บนอินเทอร์เน็ตไม่ได้หมายความว่าไม่มีลิขสิทธิ์ จึงไม่ควรทำสำเนา แจกจ่าย แสดง เปิดเผย หรือดัดแปลงจากต้นฉบับโดยไม่ได้รับอนุญาต

สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของศาสนจักร (Intellectual Property Office หรือ IPO) ช่วยเดินเรื่องขอใช้อุปกรณ์หรือโปรแกรมศาสนจักรที่มีลิขสิทธิ์ รวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็นลิขสิทธิ์ของ Intellectual Reserve, Inc (IRI) IRI เป็นนิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไร แยกเป็นเอกเทศ และเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาของศาสนจักร ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ของศาสนจักรที่ “Terms of Use” บน ChurchofJesusChrist.org.

คำถามและคำตอบต่อไปนี้จะช่วยให้สมาชิกเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์เมื่อใช้อุปกรณ์ลิขสิทธิ์ทั้งที่โบสถ์และที่บ้าน หากสมาชิกมีคำถามที่ไม่ได้ตอบไว้ในแนวทางเหล่านี้ ให้ติดต่อ IPO:

Intellectual Property Office

50 East North Temple Street

Salt Lake City, UT 84150-0005

โทรศัพท์: 1-801-240-3959 หรือ 1-800-453-3860 ต่อ 2-3959

แฟกซ์: 1-801-240-1187

อีเมล: cor-intellectualproperty@ChurchofJesusChrist.org

ข้าพเจ้าจะทำสำเนาสื่อการเรียนการสอนของศาสนจักรได้หรือไม่? ท่านสามารถทำสำเนาสื่อการเรียนการสอนของศาสนจักรไว้ใช้ที่โบสถ์ ที่บ้าน และในครอบครัวได้โดยไม่หวังผลในเชิงพาณิชย์ เว้นแต่ระบุเป็นอื่น เงื่อนไขการใช้ที่มากับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของศาสนจักรระบุว่าจะใช้เนื้อหาบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเหล่านี้อย่างไร แต่จะไม่ใช้สื่อการเรียนการสอนของศาสนจักรเพื่อหวังผลในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก IPO

ข้าพเจ้าจะทำสำเนาเพลงได้หรือไม่? มีกฎหมายลิขสิทธิ์พิเศษที่ใช้กับเพลง ท่านอาจทำสำเนาเพลงจากแหล่งต่อไปนี้ไว้ใช้ที่โบสถ์ ที่บ้าน และในครอบครัวโดยไม่หวังผลในเชิงพาณิชน์ ยกเว้นมีหมายเหตุระบุไว้ในเพลงสวดหรือเพลงเด็กว่าห้ามทำสำเนา:

การทำสำเนาเพลงที่พิมพ์ออกมาหรือเพลงที่บันทึกเสียงไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ถือว่าทำผิดนโยบายศาสนจักร

ข้าพเจ้าจะทำสำเนาสื่อที่ศาสนจักรไม่ได้เป็นเจ้าของได้หรือไม่? โดยทั่วไปแล้วไม่ได้ กฎหมายลิขสิทธิ์ควบคุมการใช้สื่อที่มีเจ้าของ โดยปกติมีข้อจำกัดว่าสาธารณชนต้องทำตามเงื่อนไขก่อนทำสำเนาสื่อที่ไม่ได้เป็นของศาสนจักร ข้อจำกัดเหล่านี้มักเขียนไว้ในหน้าต้นๆ ของสิ่งพิมพ์ สมาชิกควรทำตามกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งหมดอย่างเคร่งครัด

ข้าพเจ้าจะจัดแสดงผลงานโสตทัศน์เชิงพาณิชย์ในอาคารศาสนจักรได้หรือไม่? โดยทั่วไปแล้วไม่ได้ สมาชิกศาสนจักรไม่ควรฝ่าฝืนคำเตือนและข้อจำกัดที่วางไว้เกี่ยวกับผลงานโสตทัศน์เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้รวมถึงภาพยนตร์ วีดิทัศน์อื่น และเพลง โดยทั่วไปแล้วการใช้ผลงานโสตทัศน์เชิงพาณิชย์ที่งานพิธีของศาสนจักรต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

ข้าพเจ้าจะดาวน์โหลดหรือทำสำเนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมอื่นไว้ใช้ที่โบสถ์ได้หรือไม่? โดยทั่วไปแล้วไม่ได้ จะทำสำเนาหรือดาวน์โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์อื่นไม่ได้เว้นแต่ซื้อใบอนุญาตทั้งหมดมาอย่างถูกต้อง

ต้องขออนุญาตในเรื่องใดบ้างก่อนนำเสนอผลงานเพลงและผลงานละคร? สมาชิกจะแสดงผลงานที่ศาสนจักรหรือ IRI เป็นเจ้าของในอาณาบริเวณของศาสนจักรได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานใหญ่ของศาสนจักร แต่หากศาสนจักรไม่ได้เป็นเจ้าของผลงานที่มีลิขสิทธิ์ สมาชิกต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนจึงจะแสดงผลงานทั้งหมดหรือบางส่วนในอาณาบริเวณของศาสนจักรได้ โดยปกติเจ้าของลิขสิทธิ์จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าภาคหลวงแม้จะไม่คิดค่าจัดแสดง ทั้งหมดนี้ต้องได้รับอนุมัติจากผู้นำฐานะปุโรหิตระดับท้องที่

38.8.12

สื่อการเรียนการสอนหลักสูตร

ศาสนจักรจัดทำสื่อการเรียนการสอนต่างๆ เพื่อช่วยให้สมาชิกเรียนรู้และดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ สื่อเหล่านี้ได้แก่พระคัมภีร์ ข่าวสารการประชุมใหญ่สามัญ นิตยสาร คู่มือ หนังสือ และแหล่งช่วยอื่นๆ ผู้นำกระตุ้นให้สมาชิกใช้พระคัมภีร์และแหล่งช่วยอื่นตามต้องการเพื่อศึกษาพระกิตติคุณที่บ้าน

การเรียนรู้และการสอนพระกิตติคุณควรมุ่งเน้นที่พระผู้ช่วยให้รอดและหลักคำสอนของพระองค์ เพื่อช่วยให้เน้นเรื่องนี้ในชั้นเรียนศาสนจักรผู้นำต้องแน่ใจว่าครูใช้สื่อที่ศาสนจักรอนุมัติ ดูข้อมูลเกี่ยวกับสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่อนุมัติใน คำแนะนำสำหรับหลักสูตร

38.8.13

ทำเนียบต่างๆ

ศาสนจักรสนับสนุนสมาชิกและผู้นำให้ใช้ทำเนียบสมาชิกที่ศาสนจักรจัดทำ ทำเนียบเหล่านี้มีอยู่ใน Ward Directory and Map บน ChurchofJesusChrist.org และในแอปเครื่องมือสมาชิก ทำเนียบจะมีข้อมูลติดต่อสมาชิกในเบื้องต้น ผู้นำสเตคและผู้นำวอร์ดสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียกของพวกเขา และดูข้อมูลนี้ในระบบแหล่งช่วยผู้นำและพนักงานได้ด้วย

สมาชิกสามารถจำกัดการมองเห็นข้อมูลติดต่อดิจิทัลของตนได้ โดยเลือกระดับความเป็นส่วนตัวในโปรไฟล์ครัวเรือนของพวกเขา

ผู้นำสเตคและผู้นำวอร์ดควรเคารพการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่สมาชิกเลือก และใช้ข้อมูลเพื่อจุดประสงค์ที่ศาสนจักรอนุมัติเท่านั้น

โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องพิมพ์ทำเนียบสเตคและทำเนียบวอร์ดออกมา หากผู้นำเห็นว่าจำเป็นจริงๆ เขาจะพิมพ์ทำเนียบออกมาโดยใช้ Ward Directory and Map บน ChurchofJesusChrist.orgเท่านั้น ทำเนียบเหล่านี้จะไม่ระบุเพศ อายุ หรือวันเดือนปีเกิดของสมาชิก

ไม่ควรพิมพ์รายชื่อสมาชิกมาใช้กับงานที่ไม่ใช่ของศาสนจักร

38.8.14

เครื่องแต่งกายและรูปลักษณ์ภายนอก

พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างชายและหญิงตามรูปลักษณ์ของพระองค์ (ดู ปฐมกาล 1:26–27; อับราฮัม 4:27) ร่างกายมนุษย์เป็นของประทานศักดิ์สิทธิ์

ศาสนจักรสนับสนุนให้สมาชิกแสดงความเคารพต่อร่างกายในการเลือกเครื่องแต่งกายและรูปลักษณ์ที่เหมาะสม สิ่งที่เหมาะสมจะต่างกันไปตามวัฒนธรรมและโอกาสต่างๆ ตัวอย่างเช่น สำหรับการประชุมศีลระลึก แต่ละบุคคลแต่งกายสุภาพเรียบร้อยที่สุดสำหรับวันอาทิตย์เพื่อแสดงความเคารพต่อศาสนพิธีศีลระลึก (ดู 18.9.3) เราใช้หลักธรรมเดียวกันนี้กับการเข้าพระวิหาร (ดู 27.1.5) สานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์จะรู้ว่าจะแต่งกายและดูแลความสะอาดของเสื้อผ้าหน้าผมให้ดีที่สุดอย่างไร

สมาชิกและผู้นำไม่ควรตัดสินผู้อื่นจากเครื่องแต่งกายและรูปลักษณ์ภายนอก พวกเขาควรรักทุกคนตามที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงบัญชา (ดู มัทธิว 22:39; ยอห์น 13:34–35) เราควรต้อนรับทุกคนที่การประชุมและกิจกรรมต่างๆ ของศาสนจักร (ดู 38.1.1)

เมื่อออกใบรับรองพระวิหารและให้การเรียกในวอร์ดและสเตค ผู้นำพิจารณาความมีค่าควรและการนำทางของพระวิญญาณ (ดู 26.3, 30.1.1 และ 31.1.1)

38.8.15

การเตรียมมากเกินเหตุหรือการคิดแต่จะเอาตัวรอด

ศาสนจักรส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง และสนับสนุนให้สมาชิกเตรียมทางวิญญาณและทางร่างกายเพื่อพร้อมเผชิญความท้าทายของชีวิต ดู 22.1

แต่ผู้นำศาสนจักรแนะนำไม่ให้เตรียมมากเกินเหตุหรือมากเกินควรสำหรับเหตุเภทภัยที่อาจเกิดขึ้น บางครั้งความพยายามดังกล่าวเรียกว่าการคิดแต่จะเอาตัวรอด การพยายามเตรียมควรเกิดจากศรัทธาไม่ใช่ความกลัว

ผู้นำศาสนจักรแนะนำสมาชิกไม่ให้เป็นหนี้เพื่อสะสมอาหาร แต่สมาชิกควรค่อยๆ สะสมเสบียงไว้ที่บ้านและเก็บเงินสำรองทีละน้อย ดู 22.1.4 และ “Food Storage” (Gospel Topics, topics.ChurchofJesusChrist.org).

38.8.16

วันอดอาหาร

สมาชิกจะอดอาหารเวลาใดก็ได้ แต่ปกติจะถือวันสะบาโตแรกของเดือนเป็นวันอดอาหาร

โดยปกติวันอดอาหารประกอบด้วยการสวดอ้อนวอน ไม่กินและดื่มเป็นเวลา 24 ชั่วโมง (หากร่างกายทนไหว) และการถวายเงินบริจาคอดอาหารด้วยน้ำใจเอื้อเฟื้อ เงินบริจาคอดอาหารเป็นเงินช่วยเหลือคนขัดสน (ดู 22.2.2)

บางครั้งจะจัดการประชุมทั่วศาสนจักรหรือระดับท้องที่ในวันสะบาโตแรกของเดือน เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝ่ายประธานสเตคจะกำหนดวันสะบาโตวันอื่นเป็นวันอดอาหาร

38.8.17

การพนันและลอตเตอรี่

ศาสนจักรต่อต้านและแนะนำไม่ให้เล่นการพนันทุกรูปแบบ รวมถึงการพนันกีฬาและลอตเตอรี่ที่รัฐสนับสนุน

38.8.18

ผู้พูดหรือผู้สอนรับเชิญ

ผู้พูดและผู้สอนสำหรับการประชุมและกิจกรรมส่วนใหญ่ของศาสนจักรควรเป็นสมาชิกวอร์ดหรือสเตคในท้องที่

ผู้พูดหรือผู้สอนรับเชิญคือคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของวอร์ดหรือสเตค ต้องได้รับอนุมัติจากอธิการก่อนจะเชิญผู้พูดมาร่วมการประชุมหรือกิจกรรมวอร์ด ต้องได้รับอนุมัติจากประธานสเตคก่อนจะเชิญผู้พูดมาร่วมการประชุมและกิจกรรมต่างๆ ของสเตค

อธิการหรือประธานสเตคคัดกรองผู้พูดหรือผู้สอนรับเชิญอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้อาจรวมถึงการติดต่ออธิการของบุคคลนั้นด้วย

อธิการหรือประธานสเตคต้องแน่ใจว่า:

  • การนำเสนอสอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนจักร

  • การนำเสนอไม่มีหัวข้อที่คาดเดา (หัวข้อควรสอดคล้องกับที่กล่าวไว้ในการประชุมใหญ่สามัญ)

  • ผู้พูดหรือผู้สอนรับเชิญไม่ได้รับค่าจ้าง ไม่เกณฑ์คนเข้าร่วม และไม่หาลูกค้าหรือลูกศิษย์

  • ศาสนจักรไม่จ่ายค่าเดินทางให้ไม่ว่าจะด้วยเงินทุนงบประมาณของหน่วยท้องที่หรือการบริจาคส่วนตัว

  • การนำเสนอเป็นไปตามแนวทางการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของศาสนจักร (ดู 35.5.2)

38.8.19

การย้ายถิ่นฐาน

สมาชิกที่ยังอยู่ในประเทศบ้านเกิดมักจะมีโอกาสเสริมสร้างและเพิ่มพลังให้ศาสนจักรที่นั่น แต่การย้ายถิ่นฐานไปอยู่อีกประเทศหนึ่งเป็นการเลือกส่วนบุคคล

สมาชิกที่ย้ายไปอยู่อีกประเทศหนึ่งควรเชื่อฟังกฎหมายทั้งหมดที่บังคับใช้ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:21)

ผู้สอนศาสนาไม่ควรเสนอตัวอุปถัมภ์การย้ายถิ่นฐานของผู้อื่น ทั้งไม่ควรขอให้บิดามารดา ญาติพี่น้อง หรือคนอื่นๆ ทำเช่นนั้น

ศาสนจักรไม่อุปถัมภ์การย้ายถิ่นฐานผ่านการจ้างงานของศาสนจักร

สมาชิกศาสนจักรให้เวลา พรสวรรค์ และความเป็นเพื่อนเพื่อต้อนรับผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้อพยพในฐานะสมาชิกของชุมชน (ดู มัทธิว 25:35; ดู 38.8.35 ในคู่มือนี้ด้วย)

38.8.20

อินเทอร์เน็ต

38.8.20.1

แหล่งอินเทอร์เน็ตทางการของศาสนจักร

ศาสนจักรมีเว็บไซต์ บล็อก และบัญชีโซเชียลมีเดียทางการ แหล่งช่วยเหล่านี้ระบุไว้เป็นทางการชัดเจนเพราะใช้โลโก้ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ของศาสนจักร (ดู 38.8.8) อีกทั้งเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายตลอดจนนโยบายความเป็นส่วนตัวและทรัพย์สินทางปัญญาของศาสนจักรด้วย

38.8.20.2

การใช้อินเทอร์เน็ตของสมาชิกในการเรียกต่างๆ ของศาสนจักร

สมาชิกจะไม่สร้างเว็บไซต์ บล็อก หรือบัญชีโซเชียลมีเดียในนามศาสนจักรหรือเพื่อเป็นตัวแทนทางการของศาสนจักร ทัศนะ หลักคำสอน นโยบาย และระเบียบปฏิบัติของศาสนจักร แต่พวกเขาอาจสร้างเว็บไซต์ บล็อก หรือบัญชีโซเชียลมีเดียเพื่อช่วยเรื่องการเรียกของพวกเขา เมื่อสร้าง สมาชิกควรปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้:

  • การสร้างเว็บไซต์ บล็อก หรือบัญชีโซเชียลมีเดียต้องได้รับอนุมัติจากประธานสเตค (สำหรับแหล่งช่วยสเตค) หรืออธิการ (สำหรับแหล่งช่วยวอร์ด) ก่อน

  • จะไม่ใช้หรือเลียนแบบโลโก้ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ของศาสนจักร (ดู 38.8.8)

  • แหล่งช่วยออนไลน์ควรมีจุดประสงค์และเป้าหมาย และตั้งชื่อตามนั้น ชื่ออาจมีชื่อวอร์ดหรือสเตครวมอยู่ด้วย แต่จะไม่มีชื่อทางการของศาสนจักรอยู่ในนั้น

  • สมาชิกจะไม่บอกกล่าวหรือบอกเป็นนัยด้วยวิธีใดๆ ว่าเนื้อหา ภาพ หรือข้อมูลอื่นๆ ของแหล่งช่วยออนไลน์ได้รับการอุปถัมภ์หรือรับรองจากศาสนจักรหรือเป็นตัวแทนทางการของศาสนจักร แต่ควรมีคำสงวนสิทธิ์ (disclaimer) ระบุว่านี่ไม่ใช่ผลงานทางการที่ศาสนจักรอุปถัมภ์

  • เนื้อหาทั้งหมดควรเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายและควรกลั่นกรองอย่างดี

  • แหล่งช่วยออนไลน์ควรระบุข้อมูลติดต่อด้วย

  • ควรมีผู้บริหารมากกว่าหนึ่งคนรับผิดชอบแหล่งช่วยออนไลน์ ทั้งนี้เพื่อจะให้ความต่อเนื่องได้เมื่อการเรียกหรืองานมอบหมายของบุคคลเปลี่ยน และเพื่อไม่ให้คนๆ เดียวต้องรับภาระเรื่องการอัปเดตและดูแลแหล่งช่วย

  • จะไม่โพสต์งานศิลป์ วีดิทัศน์ เพลง หรือข้อมูลอื่นของศาสนจักรเว้นแต่ Terms of Use ของเว็บไซต์ทางการของศาสนจักรหรือสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของศาสนจักรอนุญาตไว้ชัดเจน ไม่ใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่นเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเนื้อหาเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่มีลิขสิทธิ์ใน 38.8.11

  • เมื่อใช้ภาพ วีดิทัศน์ หรือข้อมูลส่วนตัว ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของเนื้อหาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาจได้รับความยินยอมผ่านแบบฟอร์มการเผยแพร่ ประกาศสาธารณะ ป้ายประกาศเหตุการณ์ที่ระบุ หรือการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อจำเป็น ควรทำตามกฎหมายความเป็นส่วนตัวของประเทศ

  • แหล่งช่วยออนไลน์ไม่ควรซ้ำกันกับเครื่องมือหรือฟีเจอร์ที่มีอยู่แล้วบน ChurchofJesusChrist.orgเครื่องมือสมาชิก หรือแหล่งช่วยอื่นของศาสนจักร

  • ผู้นำและผู้สอนศาสนาควรประสานงานกันเพื่อป้องกันการสื่อสารซ้ำซ้อน

  • ควรถอนแหล่งช่วยออนไลน์ออกเมื่อไม่ต้องใช้อีก มีเดียสำคัญ (เช่นภาพถ่ายและวีดิทัศน์) ควรเก็บไว้ในประวัติของวอร์ดหรือสเตค

ดูแนวทางเพิ่มเติมใน internet.ChurchofJesusChrist.org.

38.8.20.3

การใช้อินเทอร์เน็ตส่วนตัวและโซเชียลมีเดีย

อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียมีประโยชน์มากมาย หนึ่งในประโยชน์เหล่านี้คือโอกาสที่จะแบ่งปันประจักษ์พยานถึงพระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูของพระองค์ บล็อก โซเชียลมีเดีย และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอื่นๆ ช่วยให้สมาชิกได้ส่งเสริมข่าวสารแห่งสันติ ความหวัง และปีติที่มากับศรัทธาในพระเยซูคริสต์

ศาสนจักรส่งเสริมให้สมาชิกแบ่งปันเนื้อหาที่ยกระดับจิตใจ นอกจากนี้พวกเขาควรเป็นแบบอย่างของความสุภาพในการปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์ทั้งหมด รวมทั้งโซเชียลมีเดีย และควรหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (ดู 3 นีไฟ 11:29–30; หลักคำสอนและพันธสัญญา 136:23)

สมาชิกควรหลีกเลี่ยงถ้อยคำทั้งหมดที่มีอคติต่อผู้อื่น (ดู 38.6.14) พวกเขาพยายามเป็นเหมือนพระคริสต์ต่อผู้อื่นตลอดเวลา รวมทั้งทางออนไลน์ และแสดงความเคารพอย่างจริงใจต่อบุตรธิดาทุกคนของพระผู้เป็นเจ้า

สมาชิกจะไม่ใช้ภาพหรือคำพูดข่มขู่ กลั่นแกล้ง หยามเหยียด ทำร้าย และจาบจ้วงล่วงเกินทางออนไลน์ หากเกิดการข่มขู่ทางออนไลน์ด้วยการกระทำที่ผิดกฎหมาย ควรติดต่อผู้บังคับใช้กฎหมายทันที

สมาชิกไม่ควรบอกเป็นนัยว่าข่าวสารของพวกเขาเป็นตัวแทนศาสนจักรหรือศาสนจักรอุปถัมภ์

38.8.21

อุปกรณ์อินเทอร์เน็ต ดาวเทียม และวีดิทัศน์

อุปกรณ์อินเทอร์เน็ต ดาวเทียม และวีดิทัศน์ของศาสนจักรจะใช้เพื่อจุดประสงค์ทางศาสนจักรโดยไม่หวังผลในเชิงพาณิชย์เท่านั้น การใช้นอกเหนือจากนี้ต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายประธานสเตคหรือฝ่ายอธิการ

จะไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อเข้าไปใช้หรือบันทึกโปรแกรมที่ศาสนจักรไม่ได้อุปถัมภ์ และจะไม่ใช้แหล่งช่วยของศาสนจักร เช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าไปใช้หรือบันทึกโปรแกรมดังกล่าว

เฉพาะผู้ได้รับการอบรมให้ทำงานกับอุปกรณ์ดังกล่าวเท่านั้นจึงจะทำได้ อุปกรณ์ทั้งหมดต้องล็อกให้แน่นหนาเมื่อไม่ใช้ ห้ามนำอุปกรณ์ออกจากอาคารไปใช้ส่วนตัว

38.8.22

กฎหมายบ้านเมือง

สมาชิกควรเชื่อฟัง ยกย่อง และสนับสนุนกฎหมายในประเทศที่อาศัยอยู่หรือเดินทางไป (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:21–22; หลักแห่งความเชื่อข้อ 12) ทั้งนี้รวมถึงกฎหมายห้ามเผยแผ่ศาสนาด้วย

38.8.23

ที่ปรึกษากฎหมายสำหรับเรื่องต่างๆ ของศาสนจักร

เมื่อจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายสำหรับเรื่องต่างๆ ของศาสนจักร ผู้นำศาสนจักรควรติดต่อที่ปรึกษากฎหมายของศาสนจักร ในสหรัฐและแคนาดาให้ประธานสเตคติดต่อ Office of General Counsel ของศาสนจักร:

1-800-453-3860 ต่อ 2-6301

1-801-240-6301

นอกสหรัฐและแคนาดาให้ประธานสเตคติดต่อที่ปรึกษากฎหมายระดับภาคที่สำนักงานภาค

38.8.23.1

ความพัวพันหรือเอกสารในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย

ผู้นำศาสนจักรไม่ควรนำตัวเองเข้าไปพัวพันกับคดีแพ่งหรือคดีอาญาเพื่อช่วยสมาชิกในหน่วยโดยไม่ปรึกษากับที่ปรึกษากฎหมายของศาสนจักรก่อน นโยบายเดียวกันนี้นำมาใช้กับการพูดคุยหรือเขียนถึงทนายความหรือบุคลากรในศาล รวมทั้งผ่านอีเมลด้วย

ผู้นำควรพูดคุยกับที่ปรึกษากฎหมายของศาสนจักรหากในตำแหน่งของพวกเขา พวกเขา:

  • เชื่อว่าพวกเขาควรเป็นพยานหรือสื่อสารในเรื่องกฎหมาย

  • กระบวนการทางกฎหมายเรียกร้องให้เป็นพยานหรือสื่อสารในเรื่องกฎหมาย

  • ได้รับคำสั่งให้มอบหลักฐาน

  • ได้รับการขอร้องให้มอบเอกสารหรือข้อมูลด้วยความสมัครใจ

  • ได้รับการขอร้องให้สื่อสารกับทนายความหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย รวมถึงการตัดสินลงโทษหรือการพิจารณาทัณฑ์บน

แม้จะปรารถนาดีเพียงใดก็ตามผู้นำศาสนจักรที่บอกข้อมูลในกระบวนการพิจารณาตามฎหมายอาจถูกเข้าใจผิดและเสียหายได้ การบอกข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นภัยอย่างยิ่งต่อผู้เสียหายและครอบครัวของพวกเขา การทำตามนโยบายศาสนจักรช่วยป้องกันไม่ให้ศาสนจักรเข้าไปพัวพันกับเรื่องกฎหมายโดยไม่สมควรเช่นกัน

38.8.23.2

คำให้การในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย

ผู้นำศาสนจักรจะไม่เป็นพยานในนามของศาสนจักรในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายใดๆ โดยไม่ได้รับอนุมัติจาก Office of General Counsel ก่อน นโยบายดังกล่าวนำมาใช้กับการตัดสินลงโทษและการพิจารณาทัณฑ์บนด้วย ผู้นำศาสนจักรจะไม่มอบหลักฐานเป็นวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรในตำแหน่งผู้นำของพวกเขาโดยไม่ได้รับการอนุมัตินี้

ผู้นำศาสนจักรไม่ควรแย้มหรือบอกเป็นนัยว่าคำให้การของพวกเขาในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายแสดงถึงจุดยืนของศาสนจักร

ผู้นำศาสนจักรไม่ควรมีอิทธิพลต่อคำให้การของพยานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย

ข้อมูลติดต่อที่ปรึกษากฎหมายของศาสนจักรมีอยู่ใน 38.8.23

38.8.24

การใช้ตู้จดหมาย

ในหลายประเทศถือว่าการวางพัสดุใดๆ ที่ไม่ชำระค่าไปรษณียากรไว้ในหรือบนตู้จดหมายตามที่พักอาศัยคือการละเมิดกฎข้อบังคับการไปรษณีย์ ข้อจำกัดนี้นำมาใช้กับพัสดุของศาสนจักร เช่น ใบปลิว จดหมายข่าว หรือใบประกาศ ผู้นำศาสนจักรควรแนะนำสมาชิกและผู้สอนศาสนาว่าอย่าวางพัสดุดังกล่าวไว้ในหรือบนตู้จดหมาย

38.8.25

การติดต่อสื่อสารของสมาชิกกับสำนักงานใหญ่ของศาสนจักร

ศาสนจักรไม่สนับสนุนให้สมาชิกโทรศัพท์ อีเมล หรือเขียนจดหมายถึงเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่หากมีคำถามเรื่องหลักคำสอน ความท้าทายส่วนตัว หรือคำร้อง การตอบส่วนตัวจะทำให้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ทำหน้าที่ของท่านให้ลุล่วงได้ยาก ศาสนจักรสนับสนุนให้สมาชิกติดต่อผู้นำระดับท้องที่รวมทั้งประธานสมาคมสงเคราะห์หรือประธานโควรัมเอ็ลเดอร์ของพวกเขาเมื่อแสวงหาการชี้นำทางวิญญาณ (ดู 31.3)

ในกรณีส่วนใหญ่จดหมายจากสมาชิกถึงเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่จะถูกส่งกลับมาให้ผู้นำระดับท้องที่ ประธานสเตคผู้ต้องการความกระจ่างเรื่องหลักคำสอนหรือเรื่องสำคัญอื่นๆ ของศาสนจักรจะเขียนถึงฝ่ายประธานสูงสุดในนามของสมาชิก

38.8.26

งานอาชีพของสมาชิก

สมาชิกศาสนจักรควรหางานอาชีพที่สอดคล้องกับหลักธรรมพระกิตติคุณเพื่อพวกเขาจะขอพรจากพระเจ้าได้ด้วยมโนธรรมที่ดี นี่เป็นเรื่องส่วนตัวที่สุดท้ายแล้วต้องปล่อยให้อยู่ในดุลพินิจและการพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนของสมาชิก

38.8.27

สมาชิกพิการ

ศาสนจักรสนับสนุนให้ผู้นำและสมาชิกตอบสนองความต้องการของทุกคนที่อยู่ในหน่วยของตน สมาชิกพิการมีคุณค่าและสามารถเอื้อประโยชน์ได้อย่างมีความหมายในหลายๆ ด้าน ความพิการอาจเป็นด้านสติปัญญา สังคม อารมณ์ หรือร่างกาย

ศาสนจักรสนับสนุนสมาชิกให้ทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการให้ความหวัง ความเข้าใจ และความรักต่อคนพิการ ผู้นำควรทำความรู้จักผู้พิการเหล่านี้ แสดงความสนใจและความห่วงใยอย่างแท้จริง

ผู้นำระบุชื่อสมาชิกที่อาจต้องการความเอาใจใส่ดูแลเพิ่มเติมเพราะบิดาหรือมารดา คู่สมรส บุตร หรือพี่น้องมีความพิการ การดูแลคนพิการในครอบครัวเป็นงานที่ให้ผลคุ้มค่าและท้าทายด้วย

ผู้นำค้นหาและดูแลช่วยเหลือสมาชิกพิการที่อาศัยอยู่ในบ้านพักหรือสถานสงเคราะห์ห่างจากสมาชิกครอบครัว

38.8.27.1

การเพิ่มความตระหนักรู้และความเข้าใจ

ผู้นำ ครู และสมาชิกคนอื่นๆ พยายามเข้าใจผู้พิการแต่ละคน ความเข้มแข็ง และความต้องการของพวกเขา ทั้งยังสามารถเพิ่มความเข้าใจของตนได้โดยพูดคุยกับผู้พิการและสมาชิกครอบครัวของพวกเขาด้วย แหล่งช่วยมีอยู่ที่ disability.ChurchofJesusChrist.org.

38.8.27.2

การให้ความช่วยเหลือ

ผู้นำประเมินความต้องการของผู้พิการและผู้ดูแล ผู้นำเหล่านี้พิจารณาว่าจะใช้แหล่งช่วยของวอร์ดหรือสเตคตอบสนองความต้องการตามความเหมาะสมได้อย่างไร ผู้นำสนับสนุนสมาชิกให้ช่วยเหลือ แสดงน้ำใจด้วยความรักและมิตรภาพ

ฝ่ายอธิการหรือฝ่ายประธานสเตคอาจเรียกผู้เชี่ยวชาญความพิการของวอร์ดหรือสเตคเพื่อช่วยเหลือบุคคล ครอบครัว ครู และผู้นำคนอื่นๆ (ดู 38.8.27.9)

ผู้นำอาจระบุแหล่งช่วยชุมชนที่เหมาะสมซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้พิการและครอบครัวของพวกเขาได้

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้พิการใน disability.ChurchofJesusChrist.org. ผู้นำอาจติดต่อหน่วยงานสนับสนุนครอบครัวเช่นกัน (หากมี; ดูข้อมูลติดต่อใน 31.3.6 )

ผู้นำและสมาชิกไม่ควรพยายามอธิบายว่าเหตุใดบางคนพิการหรือเหตุใดครอบครัวมีบุตรพิการ อีกทั้งไม่ควรพูดเป็นนัยว่าความพิการเป็นการลงโทษจากพระผู้เป็นเจ้า (ดู ยอห์น 9:2–3) หรือเป็นสิทธิพิเศษ

38.8.27.3

การจัดศาสนพิธีให้

ดู 38.2.4

38.8.27.4

การจัดหาโอกาสให้รับใช้และมีส่วนร่วม

สมาชิกพิการหลายคนสามารถรับใช้ในงานมอบหมายของศาสนจักรได้แทบทุกงาน ผู้นำพิจารณาความพิการ สภาวการณ์ และความปรารถนาของแต่ละบุคคลร่วมกับการสวดอ้อนวอน แล้วให้โอกาสรับใช้ตามความเหมาะสม ผู้นำปรึกษากับผู้พิการและบิดามารดาของเขาด้วย อีกทั้งพิจารณาผลกระทบของการเรียกในศาสนจักรต่อผู้พิการและครอบครัวหรือผู้ดูแล (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:15)

เมื่อคิดจะให้งานมอบหมายหรือการเรียกในศาสนจักรแก่ผู้ดูแลคนพิการ ผู้นำประเมินสภาวการณ์ของผู้ดูแลอย่างละเอียด

ผู้นำและครูควรให้สมาชิกพิการมีส่วนร่วมในการประชุม ชั้นเรียน และกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มที่ ควรปรับบทเรียน คำพูด และวิธีสอนให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคล ดูข้อมูลเกี่ยวกับการปรับบทเรียนใน disability.ChurchofJesusChrist.org.

ฝ่ายอธิการอาจเชิญสมาชิกวอร์ดคนหนึ่งมาช่วยผู้พิการในการประชุมหรือกิจกรรม และอาจเรียกครูหลายๆ คนมาช่วยชั้นเรียนที่มีสมาชิกพิการ ครูช่วยกันตอบสนองความต้องการของสมาชิกชั้นเรียนทุกคน

หากผู้พิการไม่สามารถมีส่วนร่วมในการประชุม ชั้นเรียน หรือกิจกรรมได้ ผู้นำและครูอาจปรึกษากับผู้พิการหรือครอบครัวว่าจะตอบสนองความต้องการของเขาอย่างไร ประธานสเตคหรืออธิการอาจอนุมัติให้จัดชั้นเรียนหรือโปรแกรมพิเศษสำหรับสมาชิกพิการ (ดู 38.8.27.5) หากผู้พิการไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมของศาสนจักรได้ ผู้นำและครูอาจจัดหาคู่มือบทเรียนให้ หรือบันทึกเสียงให้ฟัง หรือถ่ายทอด

การถ่ายทอดเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งการประชุมศีลระลึกและพิธีศพทำให้เฉพาะผู้ไม่สามารถเข้าร่วมด้วยตนเองได้ (ดู 29.7) ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับส่วนศีลระลึกใน 18.9.3

ผู้นำสนับสนุนชายพิการผู้ดำรงฐานะปุโรหิตให้มีส่วนร่วมในศาสนพิธีเมื่อเห็นเหมาะสม เริ่มต้นในเดือนมกราคมของปีที่อายุครบ 12 ปี ผู้ดำรงฐานะปุโรหิตและเยาวชนหญิงที่รับบัพติศมาและการยืนยันแล้วและมีค่าควรอาจรับบัพติศมาและการยืนยันแทนคนตายในพระวิหาร ดูแนวทางเกี่ยวกับการรับศาสนพิธีพระวิหารของสมาชิกพิการใน 27.2.1.3 และ 27.3.1.2

38.8.27.5

การจัดชั้นเรียน โปรแกรม หรือหน่วยพิเศษ

พึงสนับสนุนสมาชิกพิการหรือมีความต้องการพิเศษให้เข้าร่วมการประชุมวันอาทิตย์ในวอร์ดบ้านของพวกเขาเว้นแต่สมาชิกอาศัยอยู่ในสถานดูแลหรืออยู่ในโปรแกรมบำบัดตามบ้านพักที่จัดโปรแกรมต่างๆ ของศาสนจักร (ดู 37.6)

หน่วยและกลุ่ม ศาสนจักรอาจก่อตั้งวอร์ดหรือสาขาสำหรับสมาชิกที่มีความต้องการพิเศษเช่นสมาชิกหูหนวกและใช้ภาษามือ (ดู 37.1) ผู้อนุมัติคือฝ่ายประธานสูงสุดเท่านั้น

หรืออาจขอให้วอร์ดหนึ่งดูแลกลุ่มคนพิการเหล่านั้นเช่นคนที่ใช้ภาษามือ ดูข้อมูลเกี่ยวกับบันทึกสมาชิกภาพของผู้เข้าร่วมหน่วยหรือกลุ่มดังกล่าวใน 33.6.11

สมาชิกหูหนวกที่อยู่ไกลจากหน่วยคนหูหนวกอาจเข้าร่วมประชุมทางออนไลน์ พวกเขาควรได้รับอนุญาตจากอธิการของหน่วยนั้น ผู้นำวอร์ดท้องที่ต้องแน่ใจว่าสมาชิกหูหนวกได้รับการดูแลและมีโอกาสรับส่วนศีลระลึกเป็นประจำ

ชั้นเรียน สมาชิกพิการเข้าชั้นเรียนวันอาทิตย์กับสมาชิกในวอร์ดของพวกเขา อย่างไรก็ดี เมื่อต้องตอบสนองความต้องการของสมาชิกผู้ใหญ่หรือเยาวชนที่มีความพิการคล้ายๆ กัน วอร์ดหรือสเตคอาจจัดชั้นเรียนโรงเรียนวันอาทิตย์พิเศษ (ดู 13.3.2)

โปรแกรมกิจกรรมผู้พิการ เมื่อต้องตอบสนองความต้องการของสมาชิกผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา วอร์ด กลุ่มวอร์ด สเตค หรือกลุ่มสเตคอาจจัดโปรแกรมกิจกรรมผู้พิการ โปรแกรมนี้จะเสริมการปฏิบัติศาสนกิจ พิธีนมัสการของศาสนจักรในวันอาทิตย์ และกิจกรรมต่างๆ ในหน่วยท้องที่

โดยปกติโปรแกรมกิจกรรมผู้พิการใช้กับบุคคลที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ควรทำทุกวิถีทางเพื่อรวมสมาชิกอายุน้อยกว่า 18 ปีไว้ในวอร์ดและสเตคของพวกเขา ในสถานการณ์ไม่ปกติ ผู้นำอาจจัดกิจกรรมเสริมให้เยาวชนโดยเริ่มต้นในเดือนมกราคมของปีที่พวกเขาอายุครบ 12 ปี

เมื่อหลายๆ วอร์ดเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมผู้พิการ ประธานสเตคมอบหมายให้อธิการตัวแทนสอดส่องดูแลโปรแกรม เมื่อหลายสเตคเข้าร่วม ฝ่ายประธานภาคมอบหมายให้ประธานสเตคตัวแทนสอดส่องดูแลโปรแกรม

อธิการตัวแทนหรือประธานสเตคตัวแทนปรึกษากับอธิการหรือประธานสเตคท่านอื่นที่เข้าร่วมเพื่อพิจารณาว่าจะจัดหาเงินทุนให้โปรแกรมเหล่านี้อย่างไร

หัวหน้ากิจกรรมผู้พิการ สมาชิกผู้ใหญ่อาจได้รับเรียกให้เป็นหัวหน้ากิจกรรมผู้พิการ ผู้นำเหล่านี้วางแผนและดำเนินโปรแกรมกิจกรรมผู้พิการ พวกเขาปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญความพิการของวอร์ดและสเตค (ดู 38.8.27.9) เพื่อเชิญสมาชิกพิการเข้าร่วม พวกเขาปรึกษากันเกี่ยวกับวิธีตอบสนองความต้องการของสมาชิกเหล่านั้น

หัวหน้ากิจกรรมผู้พิการได้รับการเรียกและการวางมือมอบหน้าที่ภายใต้การกำกับดูแลของอธิการตัวแทนหรือประธานสเตคตัวแทน ประธานสเตคอาจมอบหมายให้สมาชิกสภาสูงคนหนึ่งรับใช้เป็นหัวหน้ากิจกรรมผู้พิการ

ผู้นำที่รับใช้ผู้พิการวัยใดก็ตามต้องรับการอบรมให้ครบที่ ProtectingChildren.ChurchofJesusChrist.org. ดูข้อกำหนดความปลอดภัยเพิ่มเติมสำหรับผู้นำใน Activities for Members with Disabilities

เมื่อได้รับเชิญหัวหน้ากิจกรรมผู้พิการจะเข้าร่วมการประชุมผู้นำวอร์ดหรือสเตค

แนวทางสำหรับโปรแกรมกิจกรรมผู้พิการ โปรแกรมกิจกรรมผู้พิการจัดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้เข้าร่วมพัฒนาทางวิญญาณ สังคม ร่างกาย และสติปัญญา (ดู ลูกา 2:52) ผู้นำกำหนดความถี่ของกิจกรรม อีกทั้งพิจารณาจำนวนผู้เข้าร่วม ระยะทาง และสภาวการณ์อื่นๆ ด้วย

บางคนอาจไม่สามารถเข้าร่วมได้เพราะสภาวการณ์ที่ซับซ้อนทางการแพทย์ ร่างกาย สติปัญญา หรือพฤติกรรม ผู้นำหาวิธีอื่นตอบสนองความต้องการของพวกเขา

การเข้าร่วมและมาตรการความปลอดภัย ต้องมีผู้ใหญ่ที่เชื่อถือได้อย่างน้อยสองคนอยู่ที่กิจกรรมทุกครั้ง ผู้ใหญ่สองคนนี้จะเป็นชายสองคน หญิงสองคน หรือคู่สมรสก็ได้ โดยทั่วไปต้องมีผู้ใหญ่ดูแลกิจกรรมสำหรับสมาชิกพิการมากกว่ากิจกรรมอื่น

ผู้ใหญ่ที่ช่วยเรื่องกิจกรรมต้องรับการอบรมให้ครบที่ ProtectingChildren.ChurchofJesusChrist.org. พวกเขาต้องได้รับอนุมัติจากอธิการของพวกเขาก่อนเข้าร่วม ดูข้อกำหนดความปลอดภัยเพิ่มเติมใน “Activities for Members with Disabilities

หากเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หน้าที่รับผิดชอบทันทีของผู้นำคือคุ้มครองและช่วยเหลือผู้อาจได้รับผลกระทบ ดูข้อมูลเกี่ยวกับการตอบสนองการทารุณกรรมที่น่าสงสัยใน 38.6.2.1 และ abuse.ChurchofJesusChrist.org.

38.8.27.6

ล่ามสำหรับสมาชิกที่หูหนวกหรือหูตึง

สมาชิกที่หูหนวกหรือหูตึงเป็นฝ่ายเริ่มทำงานกับผู้นำเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการสื่อสาร สมาชิกและผู้นำทำงานด้วยกันเพื่อให้แน่ใจว่ามีล่าม

ล่ามควรอยู่ในจุดที่สมาชิกมองเห็นพวกเขาพร้อมๆ กับผู้พูดได้ ล่ามไม่จำเป็นต้องอยู่บนยกพื้น

ในระหว่างศาสนพิธีหรือการสัมภาษณ์ ล่ามนั่งหรือยืนใกล้ๆ ผู้ประกอบศาสนพิธีหรือดำเนินการสัมภาษณ์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็นล่ามศาสนพิธีและการให้พรใน 38.2.1

หากมีล่ามพอ พวกเขาจะผลัดกันทุก 30 นาทีโดยประมาณเพื่อไม่ให้เหนื่อยล้า

ในการเตรียมรับสถานการณ์ที่อ่อนไหวเช่นการสัมภาษณ์ส่วนตัวหรือสภาสมาชิกภาพศาสนจักร ผู้นำปรึกษากับสมาชิกหูหนวก เมื่อสมาชิกต้องการล่าม ผู้นำจะหาล่ามที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัวเพื่อรักษาความลับ

หลักการเดียวกันเหล่านี้นำมาใช้กับสมาชิกที่หูหนวกหรือหูตึงและไม่ใช้ภาษามือแต่ต้องการล่ามปากเปล่าเพื่อช่วยพวกเขาอ่านริมฝีปาก

ผู้นำอาจจัดชั้นเรียนวอร์ดหรือชั้นเรียนสเตคเพื่อสอนภาษามือที่ใช้ในพื้นที่ของตน แหล่งช่วยที่เป็นประโยชน์คือ Dictionary of Sign Language Terms for The Church of Jesus Christ of Latter-day Saints

38.8.27.7

ความเป็นส่วนตัว

ผู้นำควรเคารพความเป็นส่วนตัวของสมาชิกพิการทั้งในระหว่างและนอกการประชุมผู้นำที่ต้องพูดถึงความต้องการของผู้พิการ ผู้นำไม่บอกผลวินิจฉัยหรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต

38.8.27.8

สัตว์นำทาง

อธิการและประธานสเตคอาจพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ผู้พิการใช้สุนัขนำทางที่ถูกฝึกมาอย่างดีในอาคารประชุมหรือไม่ โดยทั่วไปศาสนจักรไม่อนุญาตให้นำสัตว์ชนิดอื่น รวมทั้งสัตว์บำบัดอารมณ์ (สัตว์เลี้ยงเพื่อปลอบประโลมใจ) เข้ามาในอาคารประชุมหรืออยู่ในกิจกรรมที่ศาสนจักรอุปถัมภ์ ยกเว้นกฎหมายเจาะจงให้ทำเช่นนั้น (โดยทั่วไปในสหรัฐ ศาสนจักรไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมายที่ต้องอนุญาตให้สุนัขนำทางหรือสัตว์บำบัดอารมณ์เข้ามาในอาคารนมัสการ) อธิการและประธานสเตคทำการตัดสินใจในระดับท้องที่ โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้พิการและความต้องการของผู้อื่นในที่ประชุม

ดูแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สัตว์นำทางในบริเวณสิ่งอำนวยความสะดวกของศาสนจักรใน 27.1.3 และ disability.ChurchofJesusChrist.org.

38.8.27.9

ผู้เชี่ยวชาญความพิการ

ฝ่ายอธิการหรือฝ่ายประธานสเตคอาจเรียกผู้เชี่ยวชาญความพิการคนหนึ่งของวอร์ดหรือสเตค ผู้เชี่ยวชาญช่วยให้สมาชิกพิการและผู้ดูแลได้เข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมต่างๆ ของศาสนจักร และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญรับใช้สมาชิกและผู้นำในวิธีต่อไปนี้:

  • ทำความรู้จักผู้พิการแต่ละคนและครอบครัวของพวกเขา

  • ตอบคำถามและข้อกังวลเกี่ยวกับความพิการจากผู้ดูแล ผู้นำ และคนอื่นๆ

  • ช่วยให้บุคคลเข้าถึงข้อมูล การประชุม และกิจกรรมต่างๆ ของศาสนจักร อาจจะช่วยผ่านการใช้เทคโนโลยีและในวิธีอื่น (ดู 38.8.27.10)

  • ระบุโอกาสที่มีความหมายให้สมาชิกพิการได้รับใช้

  • ระบุความต้องการเฉพาะด้านของครอบครัว และระบุแหล่งช่วยในชุมชน วอร์ด และสเตคถ้าเห็นเหมาะสม

ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยสมาชิกพิการและผู้ดูแลแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับความพิการให้กับผู้อื่น

38.8.27.10

แหล่งช่วย

แหล่งช่วยสำหรับสมาชิกพิการ ครอบครัวและผู้ดูแล และสำหรับผู้นำและครูมีอยู่ที่ disability.ChurchofJesusChrist.org. เว็บไซต์นี้จะให้:

  • ข้อมูลเพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจในเรื่องความท้าทายที่ผู้พิการประสบ

  • แหล่งช่วยเพื่อช่วยให้สมาชิกพิการและครอบครัวพบการปลอบประโลมในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

  • รายชื่อสื่อวัสดุอุปกรณ์ของศาสนจักรในรูปแบบที่สมาชิกพิการเข้าถึงได้ (ดู store.ChurchofJesusChrist.orgด้วย)

หากมีข้อสงสัยประการใดให้สอบถามไปที่:

Members with Disabilities

50 East North Temple Street

Salt Lake City, UT 84150-0024

โทรศัพท์: 1-801-240-2477 หรือ 1-800-453-3860 ต่อ 2-2477

อีเมล: disability@ChurchofJesusChrist.org

38.8.28

การปฏิบัติศาสนกิจต่อสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากความผิดทางอาญาและการจำคุก

ศาสนจักรสนับสนุนให้ผู้นำทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการให้ความหวัง ความเข้าใจ และความรักต่อผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำผิดทางอาญาและผู้ถูกจำคุก (ดู มัทธิว 25:34–36, 40)

ประธานสเตคกำกับดูแลความพยายามปฏิบัติศาสนกิจในเรือนจำ ความพยายามเหล่านี้รวมถึงการสนับสนุนผู้ใหญ่และเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวหรือเพิ่งถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำหรือคุก งานนี้รวมถึงการดูแลครอบครัวและเด็กที่บิดาหรือมารดาหรือคนที่พวกเขารักถูกจำคุกด้วย

ผู้นำที่มีเรือนจำหรือคุกอยู่ภายในอาณาเขตหน่วยของตนควรดำเนินการให้ทราบโอกาสและความต้องการในการปฏิบัติศาสนกิจ ผู้นำจะติดต่อ Prison Ministry Division ของศาสนจักรเพื่อทราบแหล่งช่วยและแนวทาง:

อีเมล: PrisonMinistry@ChurchofJesusChrist.org

โทรศัพท์: 1-801-240-2644 หรือ 1-800-453-3860 ต่อ 2-2644

38.8.29

ศาสนาอื่น

หลายศาสนามีคำสอนมากมายที่สร้างแรงบันดาลใจ ทรงคุณค่า และคู่ควรได้รับความเคารพสูงสุด ผู้สอนศาสนาและสมาชิกคนอื่นๆ ต้องรู้สึกไวและเคารพความเชื่อตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของผู้อื่น อีกทั้งหลีกเลี่ยงการทำให้ขุ่นเคืองใจด้วย

ประธานสเตคและประธานคณะเผยแผ่ผู้มีคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับศาสนาอื่นควรติดต่อฝ่ายประธานภาค ผู้นำระดับท้องที่คนอื่นๆ ที่มีคำถามเช่นนั้นควรติดต่อประธานสเตคหรือประธานคณะเผยแผ่

38.8.30

กิจกรรมการเมืองและพลเรือน

ศาสนจักรสนับสนุนให้สมาชิกมีส่วนร่วมในเรื่องการเมืองและการปกครอง ในหลายประเทศอาจได้แก่:

  • การลงคะแนนเสียง

  • การเข้าร่วมหรือรับใช้ในพรรคการเมือง

  • การให้เงินสนับสนุน

  • สื่อสารกับเจ้าหน้าที่พรรคและผู้สมัคร

  • เข้าร่วมการประท้วงที่ถูกกฎหมายอย่างสันติ

  • รับใช้ในตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งในการปกครองส่วนท้องถิ่นและระดับประเทศ

ศาสนจักรสนับสนุนให้สมาชิกเข้าร่วมอุดมการณ์อันทรงคุณค่าเพื่อทำให้ชุมชนของสมาชิกน่าอยู่และเหมาะแก่การเลี้ยงดูครอบครัว

ตามกฎหมายท้องถิ่น ศาสนจักรสนับสนุนให้สมาชิกลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ศึกษาประเด็นต่างๆ และผู้สมัครอย่างถี่ถ้วน หลักธรรมที่เข้ากับพระกิตติคุณอาจอยู่ในพรรคการเมืองหลายๆ พรรค วิสุทธิชนยุคสุดท้ายมีข้อผูกมัดพิเศษในการค้นหาและสนับสนุนผู้นำที่ซื่อสัตย์ เป็นคนดี และมีปัญญา (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 98:10)

ศาสนจักรเป็นกลางเกี่ยวกับพรรคการเมือง เวทีการเมือง และผู้สมัครตำแหน่งทางการเมือง ศาสนจักรไม่ลงนามรับรองพรรคการเมืองหรือผู้สมัครคนใด อีกทั้งไม่แนะนำสมาชิกว่าจะลงคะแนนเสียงอย่างไรด้วย

ในกรณียกเว้นเมื่อเกี่ยวข้องกับประเด็นทางศีลธรรมหรือแนวทางปฏิบัติของศาสนจักร ศาสนจักรจะแสดงจุดยืนในเรื่องการเมือง ในกรณีดังกล่าวศาสนจักรอาจเข้าไปมีส่วนในวาทกรรมทางการเมืองเพื่อแสดงทัศนะของตน เฉพาะฝ่ายประธานสูงสุดเท่านั้นสามารถมอบอำนาจให้:

  • แสดงจุดยืนของศาสนจักรเกี่ยวกับประเด็นทางศีลธรรม

  • มอบหมายให้ศาสนจักรสนับสนุนหรือคัดค้านการออกกฎหมายบางข้อ

  • บอกมุมมองของศาสนจักรเกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย

ผู้นำศาสนจักรระดับท้องที่ไม่ควรจัดกลุ่มให้สมาชิกมีส่วนในเรื่องการเมือง ทั้งไม่ควรพยายามวางกฎเกณฑ์ว่าสมาชิกจะมีส่วนร่วมอย่างไร

สมาชิกศาสนจักรผู้แสวงหาตำแหน่งราชการที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งไม่ควรบอกเป็นนัยว่าศาสนจักรหรือผู้นำศาสนจักรรับรองพวกเขา ผู้นำและสมาชิกศาสนจักรควรหลีกเลี่ยงการแถลงหรือการประพฤติที่อาจตีความได้ว่าศาสนจักรสนับสนุนพรรคการเมือง เวทีหาเสียง นโยบาย หรือผู้สมัครใดๆ

แม้เมื่อแสดงจุดยืนเรื่องการเมือง ศาสนจักรไม่ขอให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมาจากการเลือกตั้งออกเสียงหรือแสดงจุดยืนบางอย่าง สมาชิกผู้เป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งมาจากการเลือกตั้งต้องตัดสินใจด้วยตนเอง เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะไม่เห็นพ้องต้องกันหรือเห็นด้วยกับจุดยืนที่ศาสนจักรแถลงต่อสาธารณชน พวกเขาไม่พูดแทนศาสนจักร

การเลือกและสังกัดทางการเมืองไม่ควรเป็นหัวข้อการสอนหรือการสนับสนุนใดๆ ในสภาวะแวดล้อมของศาสนจักร ผู้นำต้องแน่ใจว่าการประชุมและกิจกรรมต่างๆ ของศาสนจักรมุ่งเน้นที่พระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์

สมาชิกไม่ควรตัดสินกันในเรื่องการเมือง วิสุทธิชนยุคสุดท้ายที่ซื่อสัตย์สามารถเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองต่างๆ และลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครหลายคนได้ ทุกคนควรรู้สึกถึงการต้อนรับในสภาวะแวดล้อมของศาสนจักร

จะไม่ใช้บันทึกศาสนจักร ทำเนียบสมาชิก และข้อมูลคล้ายๆ กันเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง

จะไม่ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของศาสนจักรเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง แต่อาจใช้สำหรับการลงคะแนนเลือกตั้งหรือการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกว่า (ดู 35.5.2.3)

38.8.31

ความเป็นส่วนตัวของสมาชิก

ผู้นำศาสนจักรจำเป็นต้องปกป้องความเป็นส่วนตัวของสมาชิก จะไม่ใช้บันทึก ทำเนียบ และข้อมูลคล้ายๆ กันของศาสนจักรเพื่อจุดประสงค์ส่วนตัว หวังผลในเชิงพาณิชย์ หรือจุดประสงค์ทางการเมือง (ดู 38.8.13 ด้วย)

ผู้นำวอร์ดและผู้นำสเตคไม่ควรแบ่งปันหรือเก็บข้อมูลความลับของศาสนจักรไว้นอกแอปพลิเคชัน ระบบ หรือบริการอินเทอร์เน็ตที่ศาสนจักรจัดให้ ตัวอย่างข้อมูลความลับของศาสนจักรได้แก่:

  • สถานะสมาชิกภาพ

  • ความต้องการทางโลก

  • ข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ

ควรส่งการสื่อสารจากบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่อ้างถึงกฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลให้ Church Data Privacy Office ทันที

อีเมล: DataPrivacyOfficer@ChurchofJesusChrist.org.

ผู้นำวอร์ดและผู้นำสเตคไม่ควรตอบคำขอเหล่านี้

ดูข้อประกาศความเป็นส่วนตัวของศาสนจักรได้ที่ “Privacy Notice” บน ChurchofJesusChrist.org. สมาชิกอาจขอให้ผู้นำวอร์ดหรือผู้นำสเตคช่วยให้พวกเขาเข้าไปอ่านนโยบายได้

38.8.32

งานเขียนที่ตีพิมพ์เป็นส่วนตัว

สมาชิกไม่ควรขอให้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ เจ้าหน้าที่ระดับสามัญ หรือสาวกเจ็ดสิบภาคเป็นผู้ประพันธ์ร่วมหรือลงนามรับรองหนังสือของศาสนจักรหรืองานเขียนอื่นๆ ของศาสนจักร

38.8.33

การบันทึก การถอดความ หรือการสตรีมข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ เจ้าหน้าที่ระดับสามัญ และสาวกเจ็ดสิบภาค

สมาชิกไม่ควรบันทึก ถอดความ หรือถ่ายทอดข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ เจ้าหน้าที่ระดับสามัญ และสาวกเจ็ดสิบภาค แต่สามารถถ่ายทอดบางการประชุมที่ผู้นำเหล่านี้พูดโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของอธิการและประธานสเตค ดูข้อมูลใน 29.7

สมาชิกอาจบันทึกการถ่ายทอดการประชุมใหญ่สามัญด้วยอุปกรณ์ที่บ้านเพื่อใช้ส่วนตัวโดยไม่หวังผลในเชิงพาณิชย์

38.8.34

การเรียกชื่อศาสนจักรและสมาชิกของศาสนจักร

พระเจ้าประทานชื่อศาสนจักรโดยการเปิดเผยต่อศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธในปี 1838 ว่า “เพราะจะเรียกศาสนจักรของเราในวันเวลาสุดท้ายดังนี้, แม้ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 115:4) การเรียกชื่อศาสนจักรและสมาชิกของศาสนจักรดังอธิบายไว้ด้านล่างบ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างพระเยซูคริสต์กับสมาชิกศาสนจักรของพระองค์

ควรเรียกชื่อเต็มของศาสนจักรทุกครั้งที่ทำได้ หลังจากเรียกชื่อเต็มของศาสนจักรในครั้งแรกแล้วหากต้องเรียกชื่อให้สั้นลง คำต่อไปนี้ถูกต้องและขอให้ใช้:

  • ศาสนจักร

  • ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์

  • ศาสนจักรที่ได้รับการฟื้นฟูของพระเยซูคริสต์

เมื่อเรียกชื่อสมาชิกศาสนจักร คำต่อไปนี้ถูกต้องและควรใช้:

  • สมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย

  • วิสุทธิชนยุคสุดท้าย (ชื่อที่พระเจ้าประทานแก่ผู้คนแห่งพันธสัญญาของพระองค์ในยุคสุดท้าย)

  • สมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์

ศาสนจักรไม่แนะนำให้เรียกสมาชิกด้วยชื่อเรียกอื่นเช่น “มอรมอน” หรือ “แอลดีเอส”

มอรมอน ใช้เป็นวิสามานยนามได้ เช่นพระคัมภีร์มอรมอน และใช้เป็นคำคุณศัพท์ในคำสมัยก่อนได้เช่น “ผู้บุกเบิกมอรมอน”

คำว่า ลัทธิมอรมอน ไม่ถูกต้องและไม่ส่งเสริมให้ใช้ เมื่อพูดถึงหลักคำสอน วัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของศาสนจักรรวมกัน “พระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูของพระเยซูคริสต์” เป็นคำที่ถูกต้องและดีกว่า

38.8.35

ผู้ลี้ภัย

คนจำนวนมากหนีจากบ้านมาขอให้ช่วยบรรเทาทุกข์จากความรุนแรง สงคราม การข่มเหงทางศาสนา และสถานการณ์คุกคามชีวิต ความรับผิดชอบส่วนหนึ่งของสมาชิกศาสนจักรในการดูแลคนตกทุกข์ได้ยาก (ดู โมไซยาห์ 4:26) คือให้เวลา พรสวรรค์ และความเป็นเพื่อนเพื่อต้อนรับผู้ลี้ภัยในฐานะสมาชิกของชุมชน ดู มัทธิว 25:35; ChurchofJesusChrist.org/refugees.

38.8.36

การขอเงินช่วยเหลือจากศาสนจักร

โปรแกรมต่างๆ ที่ศาสนจักรวางไว้จะให้เงินช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากและตามเหตุอันควร

อธิการเป็นผู้บริหารจัดการช่วยเหลือสมาชิกที่ขัดสนของศาสนจักร (ดู 22.3.2) อธิการทำตามหลักธรรมและนโยบายที่วางไว้เพื่อช่วยให้ใช้เงินทุนศาสนจักรอย่างถูกต้อง (ดู 22.4 และ 22.5)

ศาสนจักรสนับสนุนสมาชิกที่ขัดสนให้พูดคุยกับอธิการของพวกเขาแทนที่จะติดต่อสำนักงานใหญ่ของศาสนจักรหรือขอเงินจากผู้นำหรือสมาชิกศาสนจักรท่านอื่น อธิการจะขอให้ผู้นำจากโควรัมเอ็ลเดอร์และสมาคมสงเคราะห์ช่วยประเมินความต้องการ

38.8.37

งานวิจัยในศาสนจักร

จุดประสงค์ของงานวิจัยในศาสนจักรคือเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนเรื่องที่ผู้นำระดับสามัญของศาสนจักรพิจารณาหารือ แผนกวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research Division) เป็นหน่วยงานวิจัยหน่วยเดียวที่ได้รับมอบอำนาจจากศาสนจักร CRD อาจทำสัญญากับหน่วยงานภายนอกเพื่อทำการวิจัยด้วย

เมื่อนักวิจัยที่ได้รับมอบอำนาจจากศาสนจักรติดต่อสมาชิกหรือผู้นำ พวกเขาจะให้ข้อมูลติดต่อของลูกจ้าง CRD ด้วย ลูกจ้างคนนี้สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับงานวิจัยได้

CRD พยายามปกป้องอัตลักษณ์และคำตอบของผู้เข้าร่วมงานวิจัย บุคคลจะเลิกเข้าร่วมเมื่อใดก็ได้ จะเลือกไม่ตอบคำถามบางข้อหรือทุกข้อก็ได้

บิดามารดาหรือผู้ปกครองต้องให้ความยินยอมก่อนเชิญบุตรอายุน้อยกว่า 18 ปีให้เข้าร่วมการศึกษาวิจัย

ผู้นำระดับท้องที่ไม่ควรอนุมัติงานวิจัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนจักร รวมถึงการใช้สมาชิกเป็นผู้ถูกวิจัยด้วย

CRD ปฏิบัติตามกฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลทั้งหมด ผู้นำระดับท้องที่ควรปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ด้วยและไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิกแก่นักวิจัยและหน่วยงานวิจัยที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ

งานวิจัยบางชิ้นต้องการให้เก็บข้อมูลในการประชุมต่างๆ ของศาสนจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการประชุมเป็นจุดสนใจของการศึกษาวิจัย ในกรณีดังกล่าว CRD จะทำงานกับผู้นำระดับท้องที่เพื่อให้แน่ใจว่าการปรากฏตัวของนักวิจัยไม่ดึงความสนใจไปจากการประชุม

เพื่อตรวจสอบการขอวิจัยใดก็ตาม ให้ติดต่อแผนกวิจัยเชิงสหสัมพันธ์:

โทรศัพท์: 1-801-240-2727 หรือ 1-800-453-3860 ต่อ 2-2727

อีเมล: research@ChurchofJesusChrist.org

38.8.38

การเคารพข้อจำกัดการแบ่งปันพระกิตติคุณของท้องที่

ศาสนจักรทำงานตามพระบัญชาของพระเยซูคริสต์ให้นำพระกิตติคุณไปทั่วโลก (ดู มัทธิว 28:19) ผู้สอนศาสนารับใช้เฉพาะในประเทศที่รัฐบาลท้องถิ่นรับรองและต้อนรับพวกเขาอย่างเป็นทางการ

ศาสนจักรและสมาชิกเคารพกฎหมายและข้อกำหนดทั้งหมดเกี่ยวกับงานเผยแผ่ศาสนา ตัวอย่างเช่นในบางภูมิภาคของโลก ศาสนจักรส่งผู้สอนศาสนาไปรับใช้เฉพาะงานด้านมนุษยธรรมหรืองานพิเศษจำเพาะอื่นๆ ผู้สอนศาสนาเหล่านี้ไม่เผยแผ่ศาสนา ศาสนจักรไม่ส่งผู้สอนศาสนาไปบางประเทศ

38.8.39

ความปลอดภัยในหน่วยดำเนินงานสวัสดิการและการพึ่งพาตนเองของศาสนจักร

หน่วยดำเนินงานสวัสดิการและการพึ่งพาตนเองหลายหน่วยของศาสนจักรมีอุปกรณ์และเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหากใช้ไม่ถูกวิธี ประธานสเตคตัวแทน (หรือคนที่พวกเขามอบหมาย) และผู้จัดการของหน่วยดำเนินงานเหล่านี้ควรทำให้แน่ใจว่าลูกจ้างและอาสาสมัครปลอดภัย

คนงานควรได้รับคำแนะนำอยู่เสมอในแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัย ควรตรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเป็นระยะๆ พร้อมทั้งแก้ไขสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ควรมีการตรวจตราอยู่เสมอเพื่อให้แน่ใจว่าคนงานปฏิบัติตามคำแนะนำ ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อย่างถูกวิธี และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นอันตราย

โดยปกติคนทำงานที่หน่วยดำเนินงานเหล่านี้ต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป คนที่ทำงานกับอุปกรณ์ควรเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีและมีประสบการณ์ในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้นจะทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า

หากเกิดอุบัติเหตุ ผู้จัดการหน่วยดำเนินงานจะรายงานเรื่องนี้ต่อ:

  • Welfare and Self-Reliance Services (หน่วยงานสวัสดิการและการพึ่งพาตนเอง): 1-801-240-3001 หรือ 1-800-453-3860 ต่อ 2-3001

  • Risk Management Division ที่สำนักงานใหญ่ของศาสนจักร (ดูข้อมูลติดต่อใน 20.7.6.3)

38.8.40

พระคัมภีร์

38.8.40.1

พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับแก้ไข

ศาสนจักรระบุชื่อพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของพระเจ้าในพระคัมภีร์มอรมอนและการเปิดเผยยุคปัจจุบัน (ดู หลักแห่งความเชื่อข้อ 8) จากนั้นจึงเลือกพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับที่แนะนำให้กับหลายภาษาที่สมาชิกพูด

ในบางภาษาศาสนจักรจัดพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลเอง ฉบับที่ศาสนจักรจัดพิมพ์จะอิงกับต้นฉบับไบเบิลมาตรฐาน ตัวอย่างได้แก่:

  • ฉบับคิงเจมส์ในภาษาอังกฤษ

  • Reina-Valera (2009) ในภาษาสเปน

  • Almeida (2015) ในภาษาโปรตุเกส

พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับที่ศาสนจักรจัดพิมพ์จะมีเชิงอรรถ ดรรชนีหัวข้อ และสิ่งช่วยศึกษาอื่นๆ

เมื่ออยู่ในวิสัยที่ทำได้ สมาชิกควรใช้พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับที่แนะนำหรือที่ศาสนจักรจัดพิมพ์ในชั้นเรียนและการประชุมต่างๆ ของศาสนจักร ทั้งนี้เพื่อช่วยคงความชัดเจนไว้ในการสนทนาและเข้าใจหลักคำสอนตรงกัน พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับอื่นอาจเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาส่วนตัวหรือการศึกษาเชิงวิชาการ

38.8.40.2

การแปลพระคัมภีร์

พระเจ้าทรงบัญชาให้ศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกเก็บรักษาพระคัมภีร์ไว้ให้ปลอดภัย (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 42:56) สภาของฝ่ายประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองควบคุมดูแลการแปลพระคัมภีร์ของศาสนจักรอย่างใกล้ชิด การใช้กระบวนการแปลที่อนุมัติแล้วจะช่วยให้หลักคำสอนถูกต้องและอนุรักษ์หลักฐานยืนยันที่มาของต้นฉบับ

ฝ่ายประธานภาคส่งคำขออย่างเป็นทางการไปให้แผนกสหสัมพันธ์ศาสนจักรหากจะขอให้แปลพระคัมภีร์ใหม่

38.8.40.3

พระคัมภีร์ภาษาสมัยใหม่

สภาของฝ่ายประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองไม่อนุญาตให้แปลหรือเขียนข้อความเดิมของพระคัมภีร์ขึ้นใหม่ให้เป็นภาษาสมัยใหม่หรือไม่เป็นทางการ คำแนะนำนี้ไม่ใช้กับสิ่งพิมพ์ของศาสนจักรสำหรับเด็ก

38.8.40.4

การหาซื้อพระคัมภีร์

พระคัมภีร์เป็นเล่ม รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับที่แนะนำบางฉบับ หาซื้อได้จากแผนกจัดจำหน่ายของศาสนจักร พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับที่แนะนำอาจหาได้จากร้านขายหนังสือในท้องที่ ทางออนไลน์ และแอปพลิเคชันไบเบิลในโทรศัพท์เช่นกัน ข้อความอิเล็กทรอนิกส์และเสียงบันทึกของฉบับที่ศาสนจักรจัดพิมพ์และฉบับที่แนะนำบางฉบับมีอยู่ในแอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณและที่ scriptures.ChurchofJesusChrist.org. แหล่งช่วยเหล่านี้มี รายชื่อพระคัมภีร์ ให้อ่านตามภาษาด้วย

38.8.41

การขอข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้

ในโลกทุกวันนี้ผู้คนเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูลได้ง่าย สิ่งนี้สามารถเป็นพรใหญ่หลวงสำหรับคนที่พยายามศึกษาหาความรู้ แต่แหล่งข้อมูลหลายแหล่งเชื่อถือไม่ได้และไม่จรรโลงใจ บางแหล่งพยายามยั่วยุให้เกิดความโกรธ ความขัดแย้ง ความกลัว หรือทฤษฎีสมคบคิดที่ไม่มีมูล (ดู 3 นีไฟ 11:30; โมไซยาห์ 2:32) ด้วยเหตุนี้จึงสำคัญที่สมาชิกศาสนจักรต้องใช้ปัญญาขณะแสวงหาความจริง

สมาชิกของศาสนจักรควรค้นหาและแบ่งปันเฉพาะแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้ เชื่อถือได้ และเป็นความจริงเท่านั้น พวกเขาควรหลีกเลี่ยงแหล่งที่คาดเดาหรือเขียนตามข่าวลือ การนำทางของพระวิญญาณบริสุทธิ์ พร้อมด้วยการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะช่วยให้สมาชิกแยกแยะระหว่างความจริงกับความเท็จได้ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 11:12; 45:57) ในเรื่องหลักคำสอนและนโยบายศาสนจักร แหล่งที่เชื่อถือได้คือพระคัมภีร์ คำสอนของศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตอยู่ และ คู่มือทั่วไป

38.8.42

การสัมมนาและการชุมนุมที่คล้ายกัน

ศาสนจักรเตือนสมาชิกไม่ให้มีการสัมมนาและการชุมนุมคล้ายๆ กันที่:

  • ดูหมิ่น เย้ยหยัน หรือปฏิบัติไม่เหมาะสมต่อเรื่องศักดิ์สิทธิ์

  • อาจจะทำให้ศาสนจักรเสียหาย เบี่ยงเบนจากพันธกิจของศาสนจักร หรือเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพของสมาชิกและผู้นำศาสนจักร

สมาชิกต้องไม่ยอมให้ใช้ตำแหน่งหรือสถานะในศาสนจักรของตนส่งเสริมหรือบอกเป็นนัยว่าเห็นชอบกับการชุมนุมดังกล่าว

ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน 35.5.2, 38.6.12 และ 38.7.8 ดู เจคอบ 6:12 ด้วย

38.8.43

การสนับสนุนช่วยเหลือสมาชิกในโรงพยาบาลและศูนย์ดูแล

ผู้นำให้การสนับสนุนสมาชิกในโรงพยาบาลและศูนย์ดูแลภายในหน่วยของตน พวกเขาทำตามแนวทางที่สถานพยาบาลเหล่านั้นกำหนด

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติศีลระลึกให้กับสมาชิกในสถานพยาบาลเหล่านี้ใน 18.9.1 ดูข้อมูลเกี่ยวกับการก่อตั้งวอร์ดหรือสาขาใน 37.6

38.8.44

กิจกรรมที่ต้องเสียภาษี

ผู้นำวอร์ดและผู้นำสเตคต้องแน่ใจว่ากิจกรรมศาสนจักรระดับท้องที่ไม่ทำให้ศาสนจักรเสียสถานะยกเว้นภาษี ดูแนวทางใน 34.8.1

38.8.45

ภาษี

สมาชิกศาสนจักรต้องเชื่อฟังกฎหมายภาษีของประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่ (ดู หลักแห่งความเชื่อ 1:12; หลักคำสอนและพันธสัญญา 134:5) สมาชิกที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายภาษีสามารถคัดค้านได้ตามที่กฎหมายของประเทศของพวกเขาอนุญาต

สมาชิกศาสนจักรทำผิดกฎหมายและคำสอนของศาสนจักรหากพวกเขา:

  • จงใจไม่ชำระหรือไม่ยอมชำระภาษีที่ต้องชำระ

  • สร้างข้อโต้แย้งที่ไร้สาระเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระภาษี

  • ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาสุดท้ายในการดำเนินคดีภาษีที่เรียกร้องให้พวกเขาชำระภาษี

สมาชิกเหล่านี้จะไม่มีสิทธิ์ถือใบรับรองพระวิหาร พวกเขาจะไม่ได้รับการเรียกสู่ตำแหน่งผู้นำในศาสนจักร

ต้องจัดสภาสมาชิกภาพหากสมาชิกถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานละเมิดกฎหมายภาษี (ดู 32.6.1.5)

38.8.46

นโยบายการเดินทาง

ชายและหญิงจะไม่เดินทางไปร่วมกิจกรรม การประชุม หรืองานมอบหมายของศาสนจักรด้วยกันตามลำพังเว้นแต่แต่งงานกันแล้วหรือเป็นโสดทั้งคู่ ดูนโยบายการเดินทางอื่นๆ ใน 20.7.7

38.9

ทหารสัมพันธ์และการรับใช้ของอนุศาสนาจารย์

ประธานสเตคและอธิการช่วยทำให้พรของการมีส่วนร่วมในศาสนจักรมาถึงสมาชิกที่อยู่ในกรมทหาร โปรแกรมทหารสัมพันธ์และการรับใช้ของอนุศาสนาจารย์ของศาสนจักรประกอบด้วย:

  • การสนับสนุนจากสเตคและวอร์ด

  • การปฐมนิเทศของศาสนจักรสำหรับสมาชิกที่เข้าประจำการกองทัพ

  • การจัดตั้งวอร์ด สาขา หรือกลุ่มทหารวิสุทธิชนยุคสุดท้าย

  • การลงนามรับรองและการสนับสนุนจากอนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้าย

  • ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสวมการ์เม้นท์ระหว่างเป็นทหาร

  • การสนับสนุนจากคู่ผู้สอนศาสนาอาวุโสที่ได้รับมอบหมายให้ไปฐานทัพที่เลือกให้

38.9.1

การเป็นผู้นำด้านทหารสัมพันธ์ระดับสเตค

หากฐานทัพหรือสมาชิกที่เป็นทหารอยู่ในสเตค ฝ่ายประธานสเตคมีหน้าที่รับผิดชอบดังระบุไว้ในหมวดนี้ หากฐานทัพตั้งอยู่ในคณะเผยแผ่ไม่ใช่สเตค ประธานคณะเผยแผ่จะทำหน้าที่รับผิดชอบเหล่านี้ให้ครบถ้วน

สมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานสเตคสอดส่องดูแลการปฐมนิเทศก่อนประจำการกองทัพในสเตค ต้องแน่ใจว่าสมาชิกทุกคนที่จะเข้ารับราชการทหารได้รับการปฐมนิเทศ เลขาธิการสเตคจะช่วยประสานงานการปฐมนิเทศครั้งนี้ (ดู 38.9.3)

38.9.1.1

พิธีศาสนจักรในฐานทัพ

หากจัดพิธีศาสนจักรในฐานทัพ ประธานของสเตคที่ฐานทัพตั้งอยู่จะจัดตั้งอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ให้กับบุคลากรทางทหารและครอบครัว (ดู 38.9.4):

  • วอร์ดที่มีฝ่ายอธิการ (เมื่อฝ่ายประธานสูงสุดมอบอำนาจ)

  • สาขาที่มีฝ่ายประธานสาขา

  • กลุ่มทหารที่มีหัวหน้ากลุ่มทหารและผู้ช่วย

ประธานสเตคเรียก วางมือมอบหน้าที่ และสอดส่องดูแลผู้นำของหน่วยเหล่านี้ เขาให้ข้อมูลติดต่อผู้นำเหล่านี้กับ Military Relations and Chaplain Services Division ของศาสนจักร โดยกำหนดให้วอร์ดหนึ่งสนับสนุนกลุ่มทหารแต่ละกลุ่ม

ประธานสเตคทำงานกับ Military Relations and Chaplain Services Division เพื่อให้จดหมายแต่งตั้งแก่อธิการ ประธานสาขา หรือหัวหน้ากลุ่มแต่ละคน จดหมายดังกล่าวระบุหน้าที่รับผิดชอบของเขา มอบอำนาจให้เขาควบคุมดูแลหน่วยและดำเนินการประชุม ทั้งนี้ควรมอบสำเนาจดหมายให้อนุศาสนาจารย์ฐานทัพด้วย

กองทัพสหรัฐต้องการให้อนุศาสนาจารย์บริหารดูแลพิธีทางศาสนาที่จัดในฐานทัพ หากมีอนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายประจำฐานทัพ โดยปกติเขาจะสอดส่องดูแลหน่วยศาสนจักรที่ประชุมกันที่นั่น อนุศาสนาจารย์ไม่เป็นประธานในพิธีนมัสการเว้นแต่เขาเป็นอธิการ ประธานสาขา หรือหัวหน้ากลุ่ม แต่คาดหวังให้เขาเข้าร่วมและมีส่วนร่วม

สมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานสเตคประสานงานกับอนุศาสนาจารย์อาวุโสประจำฐานทัพแต่ละฐานในสเตค ต้องแน่ใจว่าอธิการของวอร์ดที่มีอาณาเขตล้อมรอบฐานทัพจะทำเช่นเดียวกัน ผู้นำเหล่านี้แจ้งอนุศาสนาจารย์ให้ทราบเรื่องตารางการประชุมของวอร์ด สถานที่ประชุม และบุคคลที่ติดต่อได้ ทั้งนี้เพื่ออนุศาสนาจารย์จะสามารถให้ข้อมูลนี้แก่สมาชิกที่ฐานทัพได้

38.9.1.2

อนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายในสเตค

ประธานสเตคสัมภาษณ์อนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายแต่ละคนที่อยู่ในสเตคปีละครั้ง เพื่อทราบความเป็นอยู่และความมีค่าควรของอนุศาสนาจารย์ในการรับใช้ ประธานสเตคสัมภาษณ์คู่สมรสของอนุศาสนาจารย์แต่ละคนแยกต่างหากปีละครั้งด้วย

อนุศาสนาจารย์กับคู่สมรสควรมีการเรียกในวอร์ดหรือสเตค อนุศาสนาจารย์ที่ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคจะรับใช้ในตำแหน่งผู้นำ เช่น ในสภาสูงหรือเป็นประธานดูแลวอร์ดทหาร สาขาทหาร หรือกลุ่มทหาร แต่การเรียกนี้ต้องไม่ขัดแย้งกับหน้าที่ทหารของเขา

อนุศาสนาจารย์อาจช่วยเหลือประธานสเตคในวิธีต่อไปนี้:

  • รายงานในการประชุมสภาสเตคเกี่ยวกับการประชุมหน่วยต่างๆ ของศาสนจักรที่ฐานทัพ รายงานเหล่านี้ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกใหม่และสมาชิกที่กลับมาด้วย

  • รับใช้เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้นำทางทหารกับประธานสเตค

  • ช่วยประธานสเตคระบุชื่อสมาชิกในกองทัพเพื่อเรียกเป็นหัวหน้ากลุ่มทหาร

  • ช่วยเหลือเรื่องการพยายามเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สมาชิกใหม่และสมาชิกที่กลับมาในกองทัพ

  • ช่วยเตรียมสมาชิกในกองทัพให้พร้อมรับศาสนพิธีศักดิ์สิทธิ์และรักษาพันธสัญญาของพวกเขา

38.9.2

การเป็นผู้นำด้านทหารสัมพันธ์ระดับวอร์ด

สมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายอธิการพบกับสมาชิกวอร์ดก่อนพวกเขาไปเป็นทหาร เขาต้องแน่ใจว่าสมาชิกมีโอกาสเข้ารับการปฐมนิเทศจากศาสนจักรก่อนประจำการกองทัพ (ดู 38.9.3)

ดูข้อมูลเกี่ยวกับบันทึกสมาชิกภาพสำหรับสมาชิกที่จะเข้าเป็นทหารใน 33.6.9 สมาชิกบางคนได้รับมอบหมายให้ไปพื้นที่ห่างไกลหรือถูกเคลื่อนย้ายกำลังไปอยู่เขตสงคราม ในกรณีเหล่านี้ อธิการติดต่อ Military Relations and Chaplain Services Division ของศาสนจักรเพื่อขอแนวทางเกี่ยวกับบันทึกสมาชิกภาพ (ดู 38.9.10)

ผู้นำในวอร์ดบ้านควรเขียนจดหมายติดต่อกับสมาชิกวอร์ดแต่ละคนที่เข้าประจำการกองทัพเป็นประจำ

อธิการประสานงานกับอนุศาสนาจารย์อาวุโสประจำฐานทัพแต่ละฐานในวอร์ด

38.9.3

การปฐมนิเทศของศาสนจักรก่อนประจำการกองทัพ

การปฐมนิเทศของศาสนจักรก่อนประจำการกองทัพช่วยให้สมาชิกที่จะเข้าประจำการได้เรียนรู้สิ่งที่คาดหวังเกี่ยวกับพิธีทางศาสนาและกิจกรรมของศาสนจักรในกองทัพ การปฐมนิเทศจะจัดในระดับสเตคหรือวอร์ดก็ได้

สมาชิกในฝ่ายประธานสเตคหรือฝ่ายอธิการเรียกครูที่จะให้การปฐมนิเทศก่อนประจำการกองทัพ ถ้าเลือกได้ครูคนนี้ควรจะผ่านประสบการณ์ทางทหารเมื่อไม่นานมานี้ หากไม่มีครูดังกล่าว ประธานสเตคหรืออธิการติดต่อขอคำแนะนำจาก Military Relations and Chaplain Services Division

ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน “Pre–Military Service Church Orientation” บน ChurchofJesusChrist.org.

38.9.4

หน่วยศาสนจักรสำหรับสมาชิกที่เป็นทหาร

โดยปกติสมาชิกในกองทัพจะเข้าร่วมในวอร์ดที่ตั้งอยู่ใกล้ฐานทัพของพวกเขา แต่ประธานสเตคหรือประธานคณะเผยแผ่อาจจัดตั้งวอร์ด สาขา หรือกลุ่มทหารให้บุคลากรทางทหารและครอบครัวที่ฐานทัพในสภาวการณ์ต่อไปนี้

  • ไม่มีวอร์ดในระยะที่เดินทางจากฐานทัพไปได้

  • บุคลากรทางทหารไม่เข้าใจภาษาที่พูดกันในวอร์ดท้องที่

  • บุคลากรทางทหารไม่สามารถออกจากฐานทัพได้เพราะข้อกำหนดการฝึกหรือข้อจำกัดอื่น

  • หน่วยทหารของสมาชิกถูกหรือจะถูกเคลื่อนย้ายกำลังไปที่ใดที่หนึ่งต่อไปนี้:

    • ไม่มีศาสนจักร

    • หน่วยท้องที่ของศาสนจักรไม่สามารถรองรับสมาชิกได้เพราะภาษาต่างกัน

    • ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมในท้องที่ได้

  • สมาชิกอยู่ในหน่วยทหารกองหนุนหรือหน่วยป้องกันราชอาณาจักร (Reserve or National Guard units) และเข้ารับการฝึกในวันหยุดเสาร์อาทิตย์หรือการฝึกอบรมประจำปี

วอร์ดและสาขาที่ฐานทัพก่อตั้งโดยใช้ระเบียบปฏิบัติที่ระบุไว้ใน บทที่ 37

โดยปกติจะตั้งวอร์ดและสาขาเพื่อสนับสนุนทั้งสมาชิกทหารและครอบครัวของพวกเขา และอาจตั้งวอร์ดหรือสาขาสำหรับสมาชิกทหารที่ไม่มีครอบครัวเช่นกัน อาจตั้งหน่วยดังกล่าวให้สมาชิกที่เข้ารับการฝึกขั้นพื้นฐานหรือขั้นสูงหรือทำงานมอบหมายในพื้นที่ห่างไกล โดยปกติกองทัพไม่อนุญาตให้สมาชิกศาสนจักรที่ไม่เกี่ยวข้องกับกองทัพอยู่ในวอร์ดหรือสาขาที่ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของฐานทัพ

หากจำนวนสมาชิกหรือหากสภาวการณ์อื่นไม่เหมาะจะก่อตั้งวอร์ดหรือสาขาที่ฐานทัพ ประธานสเตคหรือประธานคณะเผยแผ่จะตั้งกลุ่มทหารแทน กลุ่มทหารเป็นหน่วยเล็กๆ ของศาสนจักรที่จัดการประชุมและดูแลสมาชิก หัวหน้ากลุ่มไม่มีกุญแจฐานะปุโรหิต เพราะเหตุนี้เขาจึงไม่ได้รับอนุญาตให้รับส่วนสิบและเงินบริจาค ให้คำปรึกษาสมาชิกเกี่ยวกับบาปร้ายแรง จำกัดเอกสิทธิ์สมาชิกภาพ หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ต้องใช้กุญแจ (ดู 37.7) ดูข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มทหารใน “Service Member Groups and Responsibilities of Group Leaders” บน ChurchofJesusChrist.org.

เมื่อตั้งหน่วยศาสนจักรที่ฐานทัพ ผู้นำหน่วยประสานงานกับอนุศาสนาจารย์อาวุโสประจำฐานทัพเพื่อจัดการเรื่องเวลาประชุมและการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่ฐาน หากไม่มีอนุศาสนาจารย์ประจำฐานทัพ ประธานสเตคหารือกับผู้บังคับการ

38.9.5

หัวหน้ากลุ่มในพื้นที่ห่างไกลหรือเขตสงคราม

โดยปกติประธานสเตคหรือประธานคณะเผยแผ่เรียกและวางมือมอบหน้าที่ให้หัวหน้ากลุ่มทหาร แต่อาจทำเช่นนั้นไม่ได้ในพื้นที่ห่างไกลหรือเขตสงคราม เนื่องด้วยหัวหน้ากลุ่มไม่ได้รับกุญแจฐานะปุโรหิตพร้อมการเรียก จึงอนุญาตให้ตั้งหัวหน้ากลุ่มได้โดยไม่ต้องวางมือมอบหน้าที่ ผู้นำฐานะปุโรหิตที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นสามารถตั้งผู้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคที่มีค่าควรให้รับใช้เป็นหัวหน้ากลุ่ม เขาตรวจสอบความมีค่าควรของชายดังกล่าวกับอธิการและประธานสเตคของชายนั้นก่อน หากมีอนุศาสนาจารย์แอลดีเอสในพื้นที่ ผู้นำฐานะปุโรหิตสามารถมอบอำนาจให้เขาเรียกและวางมือมอบหน้าที่หัวหน้ากลุ่มได้

หัวหน้ากลุ่มทหารในพื้นที่ห่างไกลจะขอรับวัสดุอุปกรณ์ของศาสนจักรได้โดยติดต่อ Military Relations and Chaplain Services Division ของศาสนจักร (ดู 38.9.10)

บางครั้งสมาชิกทหารถูกเคลื่อนย้ายกำลังไปอยู่ไกลจากสมาชิกศาสนจักรคนอื่นๆ หากสมาชิกทหารดำรงฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคหรือเป็นปุโรหิตในฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน อธิการอาจมอบอำนาจให้เขาปฏิบัติและรับส่วนศีลระลึก หากมีสมาชิกมากกว่าหนึ่งคน ณ จุดเคลื่อนย้ายกำลัง ควรเรียกหัวหน้ากลุ่ม

Military Relations and Chaplain Services Division ของศาสนจักรควรได้รับแจ้งเมื่อเรียกหัวหน้ากลุ่ม จดหมายแต่งตั้งจะส่งไปให้หัวหน้ากลุ่มคนนี้ (ดู 38.9.1.1)

38.9.6

การรับใช้เป็นผู้สอนศาสนาและข้อผูกมัดทางทหาร

สำหรับประเทศที่บังคับเกณฑ์ทหาร โดยทั่วไปสมาชิกศาสนจักรต้องทำเรื่องเกณฑ์ทหารให้จบก่อนจึงจะรับใช้งานเผยแผ่ได้ บางประเทศอาจให้เลื่อนเกณฑ์ทหารออกไปจนกว่าจะรับใช้เป็นผู้สอนศาสนาจบ ประธานสเตคและอธิการควรทราบข้อกำหนดของประเทศตนเป็นอย่างดีเพื่อจะสามารถแนะนำสมาชิกได้อย่างถูกต้อง สมาชิกที่อยู่ในหน่วยทหารกองหนุนหรือหน่วยป้องกันราชอาณาจักรสามารถรับใช้งานเผยแผ่ได้หลังจากสำเร็จการฝึกขั้นพื้นฐานและขั้นสูงแล้ว

ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน “Missionary Service and Military Obligations” บน ChurchofJesusChrist.org.

38.9.7

อนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้าย

Military Relations and Chaplain Services Division ของศาสนจักรให้การลงนามรับรองจากส่วนกลางสำหรับอนุศาสนาจารย์ชายและหญิงที่รับใช้ในสถานที่ราชการและไม่ใช่สถานที่ราชการ สถานที่เหล่านี้ได้แก่:

  • กองทัพ

  • โรงพยาบาล

  • องค์กรดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

  • เรือนจำ

  • ศูนย์กักกัน

  • กรมตำรวจและหน่วยดับเพลิง

  • หน่วยตระเวนชายแดน

  • องค์การพลเรือนและองค์การทหารผ่านศึก

  • วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย

แต่ละองค์กรวางข้อกำหนดด้านการศึกษาและการปฏิบัติศาสนกิจให้กับอนุศาสนาจารย์ของตน องค์กรส่วนใหญ่ต้องให้ศาสนจักรลงนามรับรองก่อนบุคคลจึงจะรับใช้เป็นอนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้ายได้ Military Relations and Chaplain Services Division ของศาสนจักรลงนามรับรองอนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้าย จดหมายลงนามรับรองจากอธิการและประธานสเตคไม่เพียงพอและไม่ควรจัดเตรียมจดหมายให้

อนุศาสนาจารย์วิสุทธิชนยุคสุดท้าย:

  • รับใช้คนทุกศาสนา รวมทั้งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย

  • พึงแน่ใจว่าแต่ละบุคคลมีเสรีภาพทางศาสนา

  • ช่วยอำนวยความสะดวกหรือรองรับความต้องการด้านศาสนาของคนที่พวกเขารับใช้

ดูข้อมูลเพิ่มเติมใน “Latter-day Saint Chaplains” บน ChurchofJesusChrist.org.

38.9.8

การสวมการ์เม้นท์ระหว่างเป็นทหาร

ดู 38.5.6

38.9.9

คู่ผู้สอนศาสนาอาวุโส

คู่สามีภรรยาที่เป็นทหารเกษียณอาจได้รับเรียกให้รับใช้เป็นผู้สอนศาสนาทหารสัมพันธ์ ณ ฐานทัพที่เลือกให้ พวกเขาช่วยเหลือผู้นำฐานะปุโรหิตระดับท้องที่ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สมาชิกใหม่และสมาชิกที่กลับมา อีกทั้งให้การสนับสนุนครอบครัวของทหารที่ถูกเคลื่อนย้ายกำลังในช่วงแยกจากครอบครัวเช่นกัน

38.9.10

ข้อมูลอื่น

ดูข้อมูลเกี่ยวกับบันทึกสมาชิกภาพของสมาชิกทหารใน 33.6.9

ดูข้อมูลเกี่ยวกับปิตุพรสำหรับสมาชิกทหารใน 38.2.10.3

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งตั้งสมาชิกทหารในพื้นที่ห่างไกลใน 38.2.9.6

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการออกใบรับรองพระวิหารในพื้นที่ห่างไกลใน 26.3.2

หากผู้นำศาสนจักรมีคำถามเกี่ยวกับทหารสัมพันธ์ พวกเขาจะติดต่อ:

Military Relations and Chaplain Services Division

50 East North Temple Street, Room 2411

Salt Lake City, UT 84150-0024

โทรศัพท์: 1-801-240-2286

อีเมล: pst-military@ChurchofJesusChrist.org