หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
15–21 พฤศจิกายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 133–134: “เจ้าจงเตรียมรับการเสด็จมาของเจ้าบ่าว”


“15–21 พฤศจิกายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 133–134: ‘เจ้าจงเตรียมรับการเสด็จมาของเจ้าบ่าว’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“15–21 พฤศจิกายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 133–134” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2021

ภาพ
หญิงพรหมจารีย์ที่มีปัญญาห้าคน

เจ้าบ่าวมา โดยเอลิซาเบธ กิบบอนส์

15–21 พฤศจิกายน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 133–134

“เจ้าจงเตรียมรับการเสด็จมาของเจ้าบ่าว”

ความจริงใดใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 133–134 ที่ท่านรู้สึกว่าจะช่วยชั้นเรียนท่านมากที่สุด? ไตร่ตรองร่วมกับการสวดอ้อนวอนถึงความต้องการของพวกเขาขณะที่ท่านศึกษาสัปดาห์นี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ท่านอาจเขียนคำว่า สดับฟัง บนกระดานและเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนสิ่งที่เขาเชื่อว่าเราจำเป็นต้องฟังในสมัยของเราข้างข้อต่างๆ จาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 133–134 ขอให้พวกเขาแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับข้อเหล่านั้น (ช่วยสมาชิกชั้นเรียนมุ่งเน้นไปที่หลักธรรมของหลักคำสอนแทนที่จะเป็นความคิดเห็นทางการเมือง)

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 133:1–19; 37–39

พระเจ้าทรงต้องการให้เราเตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์

  • ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจอย่างไรว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะชำระตนให้บริสุทธิ์เพื่อช่วยคนอื่นๆ เตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอด? ท่านอาจเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 133:1–19, 37–39 และเขียนคำแนะนำสองรายการ ได้แก่พระดำรัสแนะนำของพระเจ้าเกี่ยวกับวิธีชำระตนให้บริสุทธิ์หนึ่งรายการและคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเตรียมโลกให้พร้อมรับการเสด็จกลับมาของพระผู้ช่วยให้รอดอีกหนึ่งรายการ การ “ออกไปจากบาบิโลน” (ข้อ 5) และ “หลบหนีไปยังไซอัน” มีความหมายทางวิญญาณอย่างไร? (ข้อ 12) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชำระให้บริสุทธิ์ดู “ทำ (ชำระ) ให้บริสุทธิ์ (การ)” ในคู่มือพระคัมภีร์ (scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 133:19–53

การเสด็จมาครั้งที่สองจะเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับคนชอบธรรม

  • ในการศึกษาพระคัมภีร์ที่บ้าน สมาชิกชั้นเรียนของท่านอาจพบข้อที่มีความหมายในภาคนี้ที่ทำให้พวกเขาตั้งตารอคอยการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอด เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันข้อเหล่านี้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้ชั้นเรียนค้นคว้า ข้อ 19–53 เป็นคู่โดยมองหาเหตุผลในการตั้งตารอคอยการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ ขณะที่ชั้นเรียนแบ่งปันข้อที่พวกเขาพบ กระตุ้นให้พวกเขาพูดว่าพระผู้ช่วยให้รอด “ทรงไถ่พวกเขา, และทรงแบกพวกเขา, และทรงอุ้มพวกเขา” อย่างไร (ข้อ 53) นี่อาจเป็นโอกาสดีที่จะร้องเพลงสวดเพลงหนึ่งด้วยกันเกี่ยวกับเดชานุภาพการไถ่ของพระผู้ช่วยให้รอด เช่น “ฉันรู้พระผู้ไถ่ทรงพระชนม์” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 59) มี “เพลงแห่งปีติอันเป็นนิจ” (ข้อ 33) อะไรอีกที่ช่วยให้เรารู้สึกถึง “ความการุณย์รักแห่งพระเจ้า [ของเรา] ”? (ข้อ 52)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 134

“การปกครองได้รับการจัดตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้าเพื่อประโยชน์ของมนุษย์”

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเรียนรู้จาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 134 ท่านอาจใส่คำถามทำนองนี้ในภาชนะหรือเขียนไว้บนกระดาน: พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้การปกครองเป็นประโยชน์ต่อบุตรธิดาของพระองค์อย่างไร? เราควรทำอย่างไรหากกฎหมายทางโลกขัดแย้งกับกฎสวรรค์? หน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองของเราคืออะไร? เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเลือกคำถามหนึ่งข้อและใช้ ภาค 134 เพื่อตอบคำถาม กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นปัญหาหรือทัศนะทางการเมืองที่เจาะจง

  • เสรีภาพในการ “นมัสการโดยวิธีใด, ณ สถานที่ใด, หรือสิ่งใดก็ได้ที่ [เรา] จะนมัสการ” (หลักแห่งความเชื่อ 1:11) เป็นเอกสิทธิ์ที่พระเจ้าทรงต้องการให้ทุกคนมี ถ้าท่านรู้สึกว่าจะเป็นประโยชน์ต่อชั้นเรียนในการพูดเกี่ยวกับหลักธรรมเรื่องเสรีภาพทางศาสนา ท่านอาจจะอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 134:49 ด้วยกัน ข้อเหล่านี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับบทบาทของการปกครองในการคุ้มครองเสรีภาพทางศาสนา? เราจะส่งเสริมเสรีภาพทางศาสนาเพื่อคนอื่นและตัวเราเองได้อย่างไร? สมาชิกชั้นเรียนอาจพบข้อคิดที่จะช่วยตอบคำถามนี้ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ศิลามุมเอกของเสรีภาพทางศาสนา

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์สอนว่า

“มีศิลามุมเอกของอิสรภาพทางศาสนาอยู่สี่มุมซึ่งเราในฐานะวิสุทธิชนยุคสุดท้ายต้องพึ่งพาและปกป้อง

“มุมที่หนึ่งคืออิสรภาพที่จะเชื่อ ไม่มีใครควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ ข่มเหงหรือโจมตีจากบุคคลหรือทั้งจากรัฐเพราะสิ่งที่เขาหรือเธอเชื่อเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า …

“มุมที่สองคืออิสรภาพที่จะแบ่งปันศรัทธาและความเชื่อของเรากับผู้อื่น … ในฐานะบิดา มารดา ผู้สอนศาสนาเต็มเวลาและสมาชิกผู้สอนศาสนา เราพึ่งพาอิสรภาพทางศาสนาเพื่อสอนหลักคำสอนของพระเจ้าในครอบครัวของเราและทั่วโลก

“มุมที่สามคืออิสรภาพที่จะจัดตั้งองค์กรทางศาสนา ศาสนจักร และนมัสการอย่างสันติกับผู้อื่น หลักแห่งความเชื่อข้อสิบเอ็ดประกาศว่า ‘เราอ้างเอกสิทธิ์แห่งการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพตามการวินิจฉัยจากมโนธรรมของเราเอง, และยอมให้มนุษย์ทั้งปวงมีเอกสิทธิ์เช่นเดียวกัน, ให้พวกเขานมัสการโดยวิธีใด, ณ สถานที่ใด, หรือสิ่งใดก็ได้ที่พวกเขาจะนมัสการ.’ …

“มุมที่สี่คืออิสรภาพที่จะดำเนินชีวิตตามศรัทธาของเรา—การใช้ศรัทธาโดยอิสระไม่เพียงในบ้านและอาคารนมัสการแต่ในที่สาธารณะด้วย” (“ธำรงไว้ซึ่งสิทธิ์เสรี ปกป้องอิสรภาพด้านศาสนา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 112)

ปรับปรุงการสอนของเรา

สอนว่า “เพราะเหตุใด” “ถ้า [สมาชิกชั้นเรียน] เข้าใจแผนนิรันดร์ของพระบิดาบนสวรรค์สำหรับความสุขของบุตรธิดาพระองค์ เหตุผลสำหรับหลักธรรมพระกิตติคุณและพระบัญญัติจะเห็นชัดขึ้นและแรงจูงใจให้เชื่อฟังจะเพิ่มขึ้น” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 20)