จงตามเรามา
25 พฤศจิกายน–1 ธันวาคม 1 และ 2 เปโตร: ‘ชื่น‍ชม​ยินดี ด้วย​ความ​ยินดี​เป็น​ล้น​พ้น​สุด​จะ​พรรณ‌นา’


“25 พฤศจิกายน–1 ธันวาคม 1 และ 2 เปโตร: ‘ชื่น‍ชม​ยินดี ด้วย​ความ​ยินดี​เป็น​ล้น​พ้น​สุด​จะ​พรรณ‌นา’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“25 พฤศจิกายน–1 ธันวาคม 1 และ 2 เปโตร,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2019

ภาพ
พระเยซูคริสต์ทรงประกาศพระกิตติคุณในโลกวิญญาณ

พระคริสต์ทรงประกาศพระกิตติคุณในโลกวิญญาณ, โดย โรเบิร์ต ที. แบร์เร็ตต์

พฤศจิกายน 25–1 ธันวาคม

1 และ 2 เปโตร

“ชื่น‍ชม​ยินดี ด้วย​ความ​ยินดี​เป็น​ล้น​พ้น​สุด​จะ​พรรณ‌นา”

เริ่มศึกษา 1 และ 2 เปโตรด้วยการสวดอ้อนวอน จำไว้ว่าการเตรียมสอนที่ดีที่สุดจะมาจากประสบการณ์การศึกษาส่วนตัวของท่านและการศึกษากับครอบครัว

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ให้ดูภาพใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว เชื้อเชิญให้เด็กบอกท่านบางสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเปโตร เตือนพวกเขาว่าเปโตรเป็นผู้นำของศาสนจักรหลังจากพระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์ และอธิบายว่า 1 เปโตรและ 2 เปโตรคือจดหมายที่ท่านเขียนถึงสมาชิกศาสนจักรในสมัยของท่าน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กเล็ก

1 เปโตร 1:6–7; 3:14

ฉันมีความสุขได้แม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก

พิจารณาว่าท่านสามารถสอนข้อเหล่านี้ได้อย่างไรในวิธีที่จะช่วยเด็กหันไปหาพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อพวกเขาเผชิญความทุกข์ยาก

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่ยากลำบากที่พระเยซูทรงอดทน เช่นการถูกตรึงกางเขน อธิบายว่าเราจะมีช่วงเวลายากลำบากในชีวิต อ่าน 1 เปโตร 1:6–7; 3:14 ด้วยกัน และแบ่งปันประสบการณ์เมื่อท่านเผชิญ “การทดสอบความเชื่อ” ของท่าน หรือท่านอาจแบ่งปันคำสวดอ้อนวอนของศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธในคุกลิเบอร์ตี้และการปลอบโยนที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่ท่าน (ดู คพ. 121:1–8; 123:17) การมีศรัทธาในพระเยซูช่วยเราพบปีติระหว่างช่วงเวลายากลำบากอย่างไร

    ภาพ
    โจเซฟ สมิธในคุกลิเบอร์ตี้

    โจเซฟ สมิธในคุกลิเบอร์ตี้ โดย เกรก เค. โอลเซ็น

  • ร่วมกันร้องเพลงที่สอนวิธีพบความสุข เช่น “ฉันจะทำตามแผนของพระเจ้า” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 86–87)

1 เปโตร 2:9–12

พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้ฉันเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น

เปาโลสอนว่าเราเป็น “ประชากรของพระเจ้า” และคุณความดีของเราสามารถ “สรรเสริญพระเจ้า” ได้

กิจกรรมที่ทำได้

  • บรรยายสิ่งที่โดดเด่นจากสภาพแวดล้อมของพวกเขาหรือให้ดูภาพสิ่งเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น พระวิหารโดดเด่นจากตึกรอบๆ หรือภูเขาสูงตระหง่านเหนือหุบเขา อธิบายว่าเมื่อเรารักษาพระบัญญัติ เราโดดเด่นและคนอื่นสามารถเห็นแบบอย่างของเราได้ พูดถึง “คุณงามความดี” บางอย่างที่ท่านเห็นเด็กทำ อธิบายว่าคุณงามความดีเหล่านี้ “สรรเสริญพระเจ้า”—ช่วยให้ผู้อื่นรักพระผู้เป็นเจ้าและปรารถนาจะรับใช้พระองค์มากขึ้น

  • ทำหน้ากิจกรรมกับเด็กให้ครบถ้วน ผู้คนที่พวกเขาเห็นในภาพสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร

1 เปโตร 3:18–20; 4:6

บรรดาวิญญาณในโลกวิญญาณเรียนรู้พระกิตติคุณ

หลังจากพระเยซูสิ้นพระชนม์ พระองค์เสด็จไปโลกวิญญาณและทรงส่งวิญญาณที่ชอบธรรมไปสอนวิญญาณอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับพระกิตติคุณ

กิจกรรมที่ทำได้

  • บอกเด็กเกี่ยวกับคนที่ท่านรู้จักซึ่งสิ้นชีวิตแล้ว อธิบายว่าเมื่อผู้คนตายไป วิญญาณของพวกเขาออกจากร่างกายและไปยังโลกวิญญาณ อ่าน 1 เปโตร 3:19 อธิบายว่าเมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์ พระองค์เสด็จไปโลกวิญญาณ ที่นั่น พระองค์ทรงขอให้วิญญาณที่ชอบธรรมสอนพระกิตติคุณแก่วิญญาณอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับพระกิตติคุณ (ดู คพ. 138:30)

  • วางเก้าอี้เป็นแถวกลางห้องเพื่อทำเป็นแนวกั้น ขอให้เด็กบางคนยืนอยู่ฝั่งหนึ่งเพื่อแสดงถึงวิญญาณในโลกวิญญาณผู้ที่ไม่ได้รับบัพติศมาระหว่างชีวิตบนแผ่นดินโลกของพวกเขา ให้เด็กอีกคนหนึ่งถือกระดาษแผ่นใหญ่ที่เขียนว่า “บัพติศมาแทนคนตาย” และขอให้เขาเอาแนวกั้นออกไป แล้วอธิบายว่าสมาชิกศาสนจักรที่มีอายุ 12 ปีหรือมากกว่าสามารถไปพระวิหารและรับบัพติศมาแทนบรรพชนของพวกเขาที่ไม่ได้รับบัพติศมาขณะอยู่บนแผ่นดินโลก จากนั้นบรรพชนเหล่านี้สามารถยอมรับพระกิตติคุณในโลกวิญญาณได้

  • ช่วยเด็กกรอกแผนภูมิสืบสกุลอย่างเรียบง่าย

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กโต

1 เปโตร 3:12–17; 4:13–14, 16

ฉันสามารถพบปีติและสันติสุขได้แม้ในช่วงเวลายากลำบาก

เด็กที่ท่านสอนอาจเคยประสบกับการถูกล้อเลียนหรือเยาะเย้ยเพราะสิ่งที่พวกเขาเชื่อ ข้อเหล่านี้สามารถช่วยพวกเขาในช่วงเวลาเหล่านั้นได้

กิจกรรมที่ทำได้

  • สรุปเรื่องราวสองสามเรื่องเกี่ยวกับการที่พระเยซูทรงถูกข่มเหง—ดู ตัวอย่างเช่น มัทธิว 12:9–14 หรือ ลูกา 22:47–54 ถามเด็กว่าพวกเขาเคยถูกล้อเลียนหรือเยาะเย้ยเพราะพวกเขาดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระกิตติคุณหรือไม่ จากนั้นร่วมกันอ่าน 1 เปโตร 3:12–14; 4:13–14, 16 ขอให้เด็กมองหาสิ่งที่เปโตรพูดถึงเกี่ยวกับการทนทุกข์ “เพราะทำสิ่งถูกต้อง” เหตุใดเราจึงสามารถมีความสุขได้เมื่อคนอื่นเยาะเย้ยเราเพราะเราทำสิ่งที่ถูกต้อง

  • เชิญสมาชิกวอร์ดคนหนึ่งมาแบ่งปันประสบการณ์เมื่อเขาพบปีติหรือสันติสุขระหว่างการทดลอง หรือแบ่งปันว่าศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธพบสันติสุขอย่างไรเมื่อท่านอยู่ในคุกลิเบอร์ตี้ (ดู คพ. 121:1–8; 123:17) เราจะพบปีติและสันติสุขระหว่างการทดลองของเราได้อย่างไร

1 เปโตร 3:15

ฉันควรพร้อมแบ่งปันพระกิตติคุณเสมอ

เด็กที่ท่านสอนจะมีโอกาสมากมายตลอดชีวิตพวกเขาในการตอบคำถามผู้อื่นเกี่ยวกับความเชื่อของพวกเขา พิจารณาว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้พวกเขา “พร้อม​เสมอ ที่​จะ​อธิบาย”

กิจกรรมที่ทำได้

  • เล่าถึงครั้งหนึ่งที่มีคนถามท่านเกี่ยวกับศาสนจักร และบรรยายว่าท่านรู้สึกพร้อมจะตอบคำถามหรือไม่ ขอให้เด็กพูดถึงช่วงเวลาใดก็ได้ที่มีคนถามพวกเขาเกี่ยวกับศาสนจักร อ่าน 1 เปโตร 3:15 ด้วยกัน เราจะทำตามคำแนะนำของเปโตรในข้อนี้ได้อย่างไร

  • ด้วยความช่วยเหลือจากเด็กๆ คิดคำถามสองสามข้อที่ผู้คนอาจจะถามเกี่ยวกับคำสอนของศาสนจักร ขอให้เด็กผลัดกันอธิบายว่าพวกเขาจะตอบคำถามเหล่านี้อย่างไรเพื่อพวกเขาจะ “พร้อมเสมอ”

1 เปโตร 3:18–20; 4:6

วิญญาณในโลกวิญญาณเรียนรู้พระกิตติคุณ

ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าเมื่อคนชอบธรรมตาย พวกเขาไปที่โลกวิญญาณเพื่อสอนพระกิตติคุณแก่คนที่ไม่ได้รับพระกิตติคุณขณะอยู่บนแผ่นดินโลก

กิจกรรมที่ทำได้

  • วาดรูปวงกลมบนกระดานโดยมีเส้นขีดตรงกลาง เขียน เมืองบรมสุขเกษม ในฝั่งหนึ่งของวงกลมและ เรือนจำวิญญาณ ในอีกฝั่งหนึ่ง เชิญเด็กคนหนึ่งอ่าน 1 เปโตร 3:18–20; 4:6 (ดู 1 เปโตร 4:6, ในคู่มือพระคัมภีร์, สำหรับการแก้ไขใหม่จากงานแปลของโจเซฟ สมิธ) อธิบายว่าเมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์ พระองค์เสด็จไปเมืองบรมสุขเกษมของวิญญาณ พระองค์ทรงสั่งให้วิญญาณที่ชอบธรรมซึ่งอยู่ที่นั่นสอนพระกิตติคุณแก่บรรดาวิญญาณที่อยู่ในเรือนจำวิญญาณ

  • เชิญผู้ปกครองหรือพี่ชายหรือพี่สาวของเด็กคนหนึ่งมาบอกเกี่ยวกับการไปพระวิหารและทำงานแทนบรรพชนคนหนึ่งของพวกเขา

  • เชื้อเชิญให้เด็กกรอกแผนภูมิสืบสกุลอย่างเรียบง่าย

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันแผนภูมิสืบสกุลของพวกเขากับสมาชิกครอบครัวและขอให้พวกเขาช่วยใส่รายชื่อเพิ่ม

ปรับปรุงการสอนของเรา

พยายามเข้าใจเด็กที่ท่านสอน ท่านรู้จักเด็กที่ท่านสอน ดังนั้นดัดแปลงแนวคิดในโครงร่างนี้ตามความจำเป็นเพื่อตอบรับความต้องการของพวกเขา ท่านสามารถใช้กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่แนะนำไว้ในโครงร่างนี้ ไม่ใช่แค่กิจกรรมที่เขียนไว้สำหรับเด็กกลุ่มอายุที่ท่านสอน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 7)