พันธสัญญาใหม่ 2023
27 พฤศจิกายน–3 ธันวาคม 1–3 ยอห์น; ยูดา: “พระ‍เจ้า​ทรง​เป็น​ความ​รัก”


“27 พฤศจิกายน–3 ธันวาคม 1–3 ยอห์น; ยูดา: ‘พระเจ้าทรงเป็นความรัก,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“27 พฤศจิกายน–3 ธันวาคม 1–3 ยอห์น; ยูดา,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

ภาพ
พระเยซูคริสต์ทรงแย้มพระสรวลขณะประทับกับเด็กที่ยิ้มแย้มแจ่มใส

ความรักที่สมบูรณ์แบบ โดย เดล พาร์สัน

27 พฤศจิกายน–3 ธันวาคม

1–3 ยอห์น; ยูดา

“พระเจ้าทรงเป็นความรัก”

ขณะที่ท่านอ่านสาส์นของยอห์นและยูดา จงแสวงหาการดลใจว่าท่านจะแสดงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร บันทึกความประทับใจเหล่านี้และทำตามนั้น

บันทึกความประทับใจของท่าน

เมื่อยอห์นและยูดาเขียนสาส์นของพวกเขา หลักคำสอนที่เสื่อมทรามได้เริ่มชักนำวิสุทธิชนจำนวนมากให้ละทิ้งความเชื่อ ผู้สอนเท็จบางคนถึงกับสงสัยว่าพระเยซูคริสต์ทรงปรากฏ “เป็นมนุษย์” จริงหรือ (ดูตัวอย่างใน 1 ยอห์น 4:1–3; 2 ยอห์น 1:7) ผู้นำศาสนจักรจะทำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เช่นนี้? ด้วยเหตุนี้อัครสาวกยอห์นจึงตอบสนองโดยแบ่งปันสาส์นฉบับแรกของเขาโดยให้พยานส่วนตัวถึงพระผู้ช่วยให้รอดดังนี้ “นี่เป็นประจักษ์พยานซึ่งเราให้เกี่ยวกับสิ่งที่มีมาตั้งแต่ปฐมกาล ซึ่งเราได้ยิน ได้เห็นกับตา ได้พินิจดู และจับต้องด้วยมือของเรานั้นคือพระวาทะแห่งชีวิต” (ดู 1 ยอห์น 1:1) จากนั้นยอห์นจึงสอนเรื่องความรักอันได้แก่ ความรักที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อเราและความรักที่เราควรมีต่อพระองค์และบุตรธิดาของพระองค์ ท้ายที่สุด ยอห์นก็เป็นพยานในเรื่องนั้นเช่นกัน เขาเคยประสบกับความรักของพระผู้ช่วยให้รอดด้วยตนเอง (ดู ยอห์น 13:23; 20:2) และเขาต้องการให้วิสุทธิชนรู้สึกถึงความรักแบบเดียวกันนั้น ประจักษ์พยานและคำสอนของยอห์นเกี่ยวกับความรักมีความจำเป็นเช่นเดียวกันในทุกวันนี้ เมื่อศรัทธาในพระเยซูคริสต์ถูกตั้งคำถามและมีคำสอนเท็จมากมาย การอ่านสาส์นของยอห์นสามารถช่วยให้เราเผชิญความยากลำบากในปัจจุบันด้วยความกล้าหาญ เพราะ “ในความรักนั้นไม่มีความกลัว แต่ความรักที่สมบูรณ์นั้นก็ขับไล่ความกลัวออกไปเสีย” (1 ยอห์น 4:18)

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

1 ยอห์น; 2 ยอห์น

พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นความสว่าง และพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นความรัก

ถ้าท่านต้องเลือกหนึ่งหรือสองคำอธิบายถึงพระผู้เป็นเจ้า ท่านจะใช้คำว่าอะไร? ในสาส์นของเขา ยอห์นมักใช้คำว่า “แสงสว่าง” และ “ความรัก” (ดูตัวอย่างเช่น 1 ยอห์น 1:5; 2:8–11; 3:16, 23–24; 4:7–21) ขณะที่ท่านอ่านสาส์นสองฉบับแรกของยอห์น ให้ไตร่ตรองประสบการณ์ที่ยอห์นมีกับความสว่างและความรักของพระผู้ช่วยให้รอด ตัวอย่างเช่น พิจารณาสิ่งที่ยอห์นเรียนรู้จากคำสอนของพระเยซูใน ยอห์น 3:16–17; 12:35–36, 46; 15:9–14; 19:25–27 ท่านเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างคำสอนเหล่านี้กับสิ่งที่ 1 ยอห์น สอนเกี่ยวกับความสว่างและความรักของพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่? ประสบการณ์อะไรสอนท่านว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นความสว่างและความรัก?

1 ยอห์น; 2 ยอห์น

“ถ้าเรารักกันและกัน พระเจ้าก็สถิตอยู่ในเรา”

ท่านยังจะพบคำเช่น “ดำรงอยู่” และ “สถิต” ซ้ำๆ ตลอดสาส์นของยอห์น มองหาคำเหล่านี้ โดยเฉพาะเมื่อท่านอ่าน 1 ยอห์น 2–4 และ 2 ยอห์น ท่านคิดว่าการ “ดำรงอยู่” หรือ “สถิต” ของพระผู้เป็นเจ้าและหลักคำสอนของพระองค์หมายความว่าอย่างไร? (ดู 2 ยอห์น 1:9) การมีพระผู้เป็นเจ้าทรง “ดำรงอยู่” หรือ “สถิต” ในตัวท่านหมายความว่าอย่างไร?

1 ยอห์น 2:243:3

ฉันสามารถเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์

เป้าหมายของการเป็นเหมือนพระคริสต์ดูเหมือนสูงส่งเกินไปสำหรับท่านหรือไม่? จงพิจารณาคำแนะนำที่ให้กำลังใจของยอห์น “ลูกทั้ง‍หลายเอ๋ย จงอยู่ในพระ‍องค์ เพื่อว่าเมื่อพระ‍องค์ทรงปรา‌กฏ เราจะได้มีความมั่น‍ใจ … [และ] เราจะเป็นเหมือนอย่างพระองค์” (1 ยอห์น 2:28; 3:2) ท่านพบอะไรใน 1 ยอห์น 2:243:3 ที่ให้ความมั่นใจและการปลอบโยนแก่ท่านในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์? ขณะที่ท่านศึกษาสาส์นของยอห์น ให้มองหาหลักธรรมหรือคำแนะนำที่สามารถช่วยท่านขณะพยายามเป็นเหมือนพระคริสต์มากขึ้น

ดู โมโรไน 7:48; หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:67–68; สก็อตต์ ดี. ไวทิงก์, “การเป็นเหมือนพระองค์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 12–14 ด้วย

1 ยอห์น 4:12

“ไม่มีมนุษย์คนใด … เคยเห็นพระผู้เป็นเจ้าไม่ว่าเวลาใด” อย่างนั้นหรือ?

งานแปลของโจเซฟ สมิธ, 1 ยอห์น 4:12 ชี้แจงว่า “ไม่มีมนุษย์คนใดเคยเห็นพระผู้เป็นเจ้าไม่ว่าเวลาใดก็ตาม เว้นแต่คนเหล่านั้นที่เชื่อ” (ใน 1 ยอห์น 4:12; ดู ยอห์น 6:46; 3 ยอห์น 1:11 ด้วย) พระคัมภีร์บันทึกหลายกรณีที่พระผู้เป็นเจ้าพระบิดาทรงแสดงองค์ให้ประจักษ์ต่อผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา รวมทั้งยอห์นด้วย (ดู วิวรณ์ 4; ดู กิจการของอัครทูต 7:55–56; 1 นีไฟ 1:8; หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:23; โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:16–17 ด้วย)

1 ยอห์น 5

เมื่อฉันใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์และบังเกิดใหม่ ฉันสามารถชนะโลกได้

ขณะที่ท่านอ่าน 1 ยอห์น 5 จงมองหาสิ่งที่เราต้องทำเพื่อชนะโลกและได้รับชีวิตนิรันดร์ การชนะโลกน่าจะเหมือนอะไรในชีวิตท่าน? ท่านอาจจะหาคำตอบและข้อคิดในข่าวสารของเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นเรื่อง “การชนะโลก” (เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 58–62)

ยูดา 1

“[สร้าง] ตัวท่านด้วยศรัทธาอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของท่าน”

ยูดา 1:10–19 สอนอะไรท่านเกี่ยวกับคนที่ต่อสู้กับพระผู้เป็นเจ้าและงานของพระองค์? ท่านเรียนรู้อะไรจาก ข้อ 20–25 เกี่ยวกับวิธีรักษาศรัทธาในพระเยซูคริสต์ให้เข้มแข็ง?

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

1 ยอห์น 2:8–11เพื่อช่วยให้ครอบครัวท่านไตร่ตรองคำสอนของยอห์น ให้ไปรวมกันในห้องมืดเพื่อที่สมาชิกครอบครัวจะได้ประสบความแตกต่างระหว่างเดิน “ในความมืด” กับเดิน “ในความสว่าง” ความเกลียดชังทำให้เราเดินในความมืดและสะดุดอย่างไร? ความรักที่มีต่อกันนำความสว่างเข้ามาในชีวิตเราอย่างไร?

1 ยอห์น 3:21–22อะไรในข้อเหล่านี้เพิ่ม “ความมั่นใจ” ที่เรามีในพระผู้เป็นเจ้าและในความสามารถที่จะได้รับคำตอบการสวดอ้อนวอนของเรา?

ภาพ
ครอบครัวคุกเข่าสวดอ้อนวอนด้วยกัน

การรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าช่วยเราชนะโลก

1 ยอห์น 5:2–3มีพระบัญญัติข้อใดหรือไม่ที่เราคิดว่า “เป็นภาระหนักเกินไป” หรือทำตามได้ยาก? ความรักที่เรามีต่อพระผู้เป็นเจ้าเปลี่ยนความรู้สึกที่เรามีต่อพระบัญญัติของพระองค์อย่างไร?

3 ยอห์น 1:4“​ประ‌พฤติ​ตามความจริง” หมายความว่าอย่างไร? ท่านอาจใช้โอกาสนี้บอกสมาชิกในครอบครัวว่าท่านเคยเห็นพวกเขาดำเนินชีวิตตามความจริงอย่างไรและพูดถึงปีติที่สิ่งนี้นำมาสู่ท่าน สมาชิกในครอบครัวอาจสนุกกับการเขียนหรือวาดภาพความจริงที่พวกเขาได้เรียนรู้บนรอยเท้ากระดาษ และใช้สิ่งเหล่านี้ทำเป็นเส้นทางที่ครอบครัวของท่านสามารถเดินไปด้วยกันได้

ยูดา 1:3–4มีอันตรายทางวิญญาณใดหรือไม่ที่ “แอบแฝงเข้ามาใน” ชีวิตเราและครอบครัว? (ยูดา 1:4) เราจะทำตามคำตักเตือนของยูดาให้ “ต่อสู้เพื่อหลักความเชื่อ” และต่อต้านอันตรายเหล่านี้ได้อย่างไร? (ยูดา 1:3) เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ “สันติสุขและความรักจงเพิ่มพูน” ในครอบครัวเรา? (ยูดา 1:2)

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “เมื่อมีรักหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 76–77

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

หาความรักของพระผู้เป็นเจ้า ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดสอนว่า “พระกิตติคุณเป็นพระกิตติคุณแห่งความรัก—รักพระผู้เป็นเจ้าและรักกัน” (“God’s Love for His Children,” Ensign, May 1988, 59) ขณะที่ท่านอ่านพระคัมภีร์ ให้จดบันทึกหลักฐานแสดงความรักของพระผู้เป็นเจ้า

ภาพ
พระคริสต์ทรงดำเนินไปตามฝั่งทะเลสาบ

เดินกับเรา โดย เกรก เค. โอลเซ็น