พันธสัญญาใหม่ 2023
24–30 กรกฎาคม กิจการของอัครทูต 16–21: “พระ‍เจ้า​ทรง​เรียก​เรา​ไป​ประ‌กาศ​ข่าว‍ประ‌เสริฐ​”


“24–30 กรกฎาคม กิจการของอัครทูต 16–21: ‘พระเจ้าทรงเรียกเราไปประกาศข่าวประเสริฐ,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“24–30 กรกฎาคม กิจการของอัครทูต 16–21,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

ภาพ
เปาโลสอนบนเนินเขา

24–30 กรกฎาคม

กิจการของอัครทูต 16–21

“พระเจ้าทรงเรียกเราไปประกาศข่าวประเสริฐ”

ขณะที่ท่านอ่านเกี่ยวกับความพยายามของเปาโลในการสั่งสอนพระกิตติคุณ พระวิญญาณอาจทรงกระตุ้นเตือนท่านด้วยความคิดหรือความรู้สึก จดการกระตุ้นเตือนเหล่านี้ และวางแผนทำตามนั้น

บันทึกความประทับใจของท่าน

หนึ่งในพระดำรัสสุดท้ายของพระเจ้าต่อเหล่าอัครสาวกคือพระบัญญัติที่ว่า “เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ และ​สอน​พวก‍เขา​ให้​ถือ​รักษา​สิ่ง​สาร‌พัด​ที่​เรา​สั่ง​พวก‍ท่าน​ไว้” (มัทธิว 28:19–20) แม้เหล่าอัครสาวกไม่ได้สั่งสอนชน ทุก ชาติ แต่ กิจการของอัครทูต 16–21 แสดงให้เห็นว่าเปาโลกับคู่ของท่านสร้างความก้าวหน้าอย่างมากในการสถาปนาศาสนจักร พวกเขาสอน ให้บัพติศมา และประสาทของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ พวกเขาแสดงปาฏิหาริย์ แม้ถึงกับทำให้ชายคนหนึ่งคืนชีพ และบอกล่วงหน้าเรื่องการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่ (กิจการของอัครทูต 20:7–12, 28–31) และงานที่พวกเขาเริ่มไว้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงอัครสาวกที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับสานุศิษย์ผู้อุทิศตนเช่นท่าน ผู้ที่ช่วยทำให้งานมอบหมายของพระผู้ช่วยให้รอดเกิดสัมฤทธิผลอย่างที่เปาโลนึกไม่ถึง บางทีท่านอาจจะรู้จักคนที่ไม่รู้จักพระบิดาบนสวรรค์ของพวกเขาหรือพระกิตติคุณของพระองค์ บางทีท่านอาจรู้สึก “เดือดร้อนวุ่นวายใจ” อยากแบ่งปันสิ่งที่ท่านรู้เกี่ยวกับพระองค์ (กิจการของอัครทูต 17:16) หากท่านทำตามแบบอย่างความอ่อนน้อมถ่อมตนและการเชื่อฟังของเปาโลในการแบ่งปันพระกิตติคุณ ท่านอาจพบคนที่ “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดใจ” (กิจการของอัครทูต 16:14)

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

กิจการของอัครทูต 16–21

พระวิญญาณจะทรงนำทางฉันเมื่อฉันพยายามแบ่งปันพระกิตติคุณ

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธประกาศว่า “ไม่มีใครสั่งสอนพระกิตติคุณได้หากไม่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ [2007], 359) ขณะที่ท่านอ่าน กิจการของอัครทูต 16–21 ให้พิจารณาว่าเหตุใดคำกล่าวของศาสดาพยากรณ์จึงเป็นความจริง สังเกตกรณีที่พระวิญญาณทรงช่วยเหลือเปาโลและสหายของเขา พรใดเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาทำตามพระวิญญาณ? ท่านเคยรู้สึกเมื่อใดว่าพระวิญญาณกระตุ้นเตือนท่านขณะท่านพยายามแบ่งปันพระกิตติคุณ?

กิจการของอัครทูต 16–21

ฉันสามารถประกาศพระกิตติคุณได้ทุกสภาวการณ์

การถูกโยนเข้าเรือนจำเพราะสั่งสอนพระกิตติคุณอาจดูเหมือนเป็นเหตุสมควรให้หยุดสั่งสอน แต่สำหรับเปาโลกับสิลาสแล้ว นั่นเป็นโอกาสทำให้นายคุกคนหนึ่งเปลี่ยนใจเลื่อมใส (ดู กิจการของอัครทูต 16:16–34) ตลอด กิจการของอัครทูต 16–21 ให้มองหาตัวอย่างอื่นที่แสดงให้เห็นว่าเปาโลเต็มใจแบ่งปันพยานของเขากับทุกคน ท่านคิดว่าเหตุใดเขาจึงองอาจกล้าหาญและไร้ความกลัว? ท่านเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของเปาโล?

มีข่าวสารอีกมากมายเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณใน กิจการของอัครทูต 16–21 ขณะที่ท่านศึกษาบทเหล่านี้ ให้มองหาบางบทที่ประยุกต์ใช้กับท่านได้เป็นพิเศษ

ดู ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “งานเผยแผ่ศาสนา: แบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจท่าน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 15–18 ด้วย

ภาพ
อุ้มทารก

เราแต่ละคนเป็นลูกของพระผู้เป็นเจ้า

กิจการของอัครทูต 17:16–34

“เราเป็นเชื้อสายของพระเจ้า”

ในกรุงเอเธนส์ เปาโลพบคนที่มีความเห็นและทัศนะทางศาสนาต่างกัน พวกเขาอยาก “ฟังสิ่งใหม่ๆ” เสมอ และสิ่งที่เปาโลมอบให้เป็นสิ่งใหม่สำหรับพวกเขา (ดู กิจการของอัครทูต 17:19–21) พวกเขานมัสการเทพเจ้าหลายองค์ รวมทั้งเทพเจ้าที่พวกเขาเรียกว่า “พระเจ้าที่ไม่รู้จัก” (กิจการของอัครทูต 17:23) แต่พวกเขาเชื่อว่าเทพเจ้ามีอำนาจหรืออิทธิฤทธิ์ ไม่ได้มีชีวิตอยู่ มีตัวตน และไม่ใช่พระบิดาของเราแน่นอน ไตร่ตรองสิ่งที่เปาโลพูดเพื่อช่วยให้พวกเขารู้จักพระผู้เป็นเจ้า การเป็น “เชื้อสายของพระเจ้า” มีความหมายต่อท่านอย่างไร? (กิจการของอัครทูต 17:29) ในความเห็นของท่าน การเป็นลูกของพระผู้เป็นเจ้าต่างจากการเป็นเพียงงานสร้างชิ้นหนึ่งของพระองค์อย่างไร? การเข้าใจความจริงนี้ส่งผลต่อวิธีที่ท่านมองเห็นตนเองและผู้อื่นอย่างไร?

หากท่านยืนอยู่ข้างเปาโลขณะเขากำลังเป็นพยาน ท่านจะบอกชาวกรีกสมัยโบราณว่าอย่างไรเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์ของเรา? ท่านรู้จักใครบ้างไหมที่อาจจะได้ประโยชน์จากการได้ฟังประจักษ์พยานของท่าน?

ดู โรม 8:16; 1 ยอห์น 5:2 ด้วย

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

กิจการของอัครทูต 16–21เพื่อให้ครอบครัวท่านเข้าใจ กิจการของอัครทูต 16–21 ลึกซึ้งขึ้น ท่านอาจจะศึกษาแผนที่ท้ายโครงร่างนี้ โดยมองหาเมืองที่เปาโลสั่งสอนพระกิตติคุณในบทเหล่านี้ ปัจจุบันเรามีแหล่งช่วยอะไรบ้างที่จะช่วยนำพระกิตติคุณไปสู่ทุกประชาชาติ?

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ครอบครัวของท่านแบ่งปันพระกิตติคุณ ท่านอาจฉายวีดิทัศน์ตั้งแต่หนึ่งเรื่องขึ้นไปในหมวด “การแบ่งปันพระกิตติคุณ” ของคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ

กิจการของอัครทูต 17:10–12; 18:24–28เราจะเป็นเหมือนวิสุทธิชนในข้อเหล่านี้ได้อย่างไร? “[รับ] พระวจนะด้วยความอยากรู้” หมายความว่าอย่างไร? (กิจการของอัครทูต 17:11) เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อ “ชำนาญมากในเรื่องพระคัมภีร์”? (กิจการของอัครทูต 18:24)

กิจการของอัครทูต 19:1–7ข้อเหล่านี้สามารถช่วยให้ครอบครัวของท่านมีการสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของการรับบัพติศมาและการยืนยัน เพื่อให้เข้าใจความจริงใน กิจการของอัครทูต 19:1–7 มากขึ้น ท่านอาจสนทนาบางสิ่งที่ไม่มีประโยชน์หากไม่มีสิ่งอื่นๆ เช่น โทรศัพท์มือถือที่ไม่มีแบตเตอรี่ หรือท่านอาจแบ่งปันคำสอนนี้จากศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ “บัพติศมาด้วยน้ำเป็นบัพติศมาเพียงครึ่งเดียว และไม่เกิดประโยชน์อันใดหากปราศจากอีกครึ่งที่เหลือ ซึ่งก็คือการบัพติศมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์” (คำสอน: โจเซฟ สมิธ [2007], 102) เหตุใดบัพติศมาจึง “ไม่เกิดประโยชน์อันใด” หากไม่ได้รับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์? (ดู 3 นีไฟ 27:19–20; โมเสส 6:59–61)

กิจการของอัครทูต 19:18–20ขณะที่ท่านอ่าน กิจการของอัครทูต 19:18–20 ให้สังเกตคุณค่าของทรัพย์สินที่ผู้คนเต็มใจสละเพื่อน้อมรับพระกิตติคุณ (ดู ข้อ 19) มีทรัพย์สมบัติทางโลกหรือกิจกรรมทางโลกที่เราต้องสละเพื่อรับพรจากสวรรค์หรือไม่?

กิจการของอัครทูต 20:32–35ครอบครัวท่านเคยประสบคำสอนของพระคริสต์ที่ว่า “การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ” เมื่อใด? (กิจการของอัครทูต 20:35) มีใครไหมที่จะได้ประโยชน์จากการรับใช้ เวลา หรือของประทานที่ครอบครัวท่านจะให้ได้? ให้ครอบครัวสนทนาแนวคิดบางอย่างและวางแผนรับใช้คนบางคน เรารู้สึกอย่างไรเมื่อเรารับใช้ผู้อื่น? เหตุใดการให้จึงเป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “ฉันลูกพระผู้เป็นเจ้าหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 2–3

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

บันทึกความประทับใจ “เมื่อท่านบันทึกความประทับใจทางวิญญาณ ท่านแสดงให้พระเจ้าเห็นว่าท่านเห็นคุณค่าการกำกับดูแลของพระองค์ และพระองค์จะประทานพรแก่ท่านด้วยการเปิดเผยที่บ่อยขึ้น” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด,12; ดู หน้า 30 ด้วย)

ภาพ
แผนที่การเดินทางเผยแผ่ศาสนาของเปาโล

การเดินทางเผยแผ่ศาสนาของอัครสาวกเปาโล