จงตามเรามา
16–22 กันยายน 2 โครินธ์ 8–13: ‘พระเจ้าทรงรักคนที่ให้ด้วยใจยินดี’


“16–22 กันยายน 2 โครินธ์ 8–13: ‘พระเจ้าทรงรักคนที่ให้ด้วยใจยินดี’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“16–22 กันยายน 2 โครินธ์ 8–13” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2019

ภาพ
พระเยซูทรงสนทนากับเด็กเล็ก

16–22 กันยายน

2 โครินธ์ 8–13

“พระเจ้าทรงรักคนที่ให้ด้วยใจยินดี”

การบันทึกความประทับใจทางวิญญาณจะช่วยให้ท่านจดจำสิ่งที่ท่านเรียนรู้ระหว่างศึกษาพระคัมภีร์ ท่านอาจจะเขียนในสมุดบันทึกการศึกษา ทำหมายเหตุไว้ตรงช่องว่างริมหน้าพระคัมภีร์ เพิ่มหมายเหตุในแอปพลิเคชั่นคลังค้นคว้า หรือบันทึกเสียงความคิดของท่าน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ท่านจะทำอะไรหากท่านได้ยินว่าวิสุทธิชนกลุ่มหนึ่งในอีกเขตหนึ่งกำลังลำบากยากไร้ นั่นเป็นสถานการณ์ที่เปาโลพูดกับวิสุทธิชนชาวโครินธ์ใน 2 โครินธ์ 8–9 เขาหวังจะชักชวนวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้บริจาคบางส่วนแก่วิสุทธิชนที่ขัดสน แต่นอกเหนือจากที่ขอให้บริจาค คำพูดของเปาโลมีความจริงที่ลึกซึ้งอยู่ในนั้นเกี่ยวกับการให้ “แต่‍ละ‍คนจงให้ตามที่เขาคิด‍หมายไว้ในใจ ไม่ใช่ให้ด้วยความเสีย‍ดาย ไม่ใช่ให้ด้วยความจำ‍ใจ เพราะว่าพระ‍เจ้าทรงรักคนที่ให้ด้วยใจยินดี” (2 โครินธ์ 9:7) ในสมัยของเรา ยังคง มี วิสุทธิชนทั่วโลกที่ต้องการความช่วยเหลือ บางครั้งส่วนใหญ่ที่เราทำเพื่อพวกเขาได้คืออดอาหารและบริจาคเงินอดอาหาร ในกรณีอื่นๆ เราอาจจะให้แก่บุคคลนั้นโดยตรง ไม่ว่าการเสียสละของเราเป็นแบบใด เราควรสำรวจเจตนาในการให้ของเรา การเสียสละของเราเป็นการแสดงความรักหรือไม่ ความรักนั่นเองที่ทำให้ผู้ให้รู้สึกยินดี

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

2 โครินธ์ 8:1–15; 9:5–15

ฉันสามารถแบ่งปันสิ่งที่มีด้วยใจยินดีเพื่อเป็นพรแก่คนยากจนและคนขัดสน

มีขัดสนมากมายทั่วโลก เราจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้อย่างไร เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ให้คำแนะนำดังนี้ “ไม่ว่าจะรวย หรือ จน เราต้อง ‘ทำสุดกำลังของเรา’ เมื่อผู้อื่นต้องความช่วยเหลือ [ดู มาระโก 14:6, 8] … “[พระผู้เป็นเจ้า] จะทรงช่วยท่านและนำทางท่านในการเป็นสานุศิษย์ที่มีการุณยธรรม หากท่านต้องการและสวดอ้อนวอนหาวิธีรักษาพระบัญญัติที่พระองค์ประทานแก่เราครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างจริงจัง” (“เราทั้งหลายไม่ได้เป็นขอทานหรอกหรือ” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 41)

อ่าน 2 โครินธ์ 8:1–15; 9:6–15 โดยจดบันทึกหลักธรรมที่เปาโลสอนเกี่ยวกับการดูแลคนยากจนและคนขัดสน คำแนะนำของเปาโลสร้างแรงบันดาลใจให้ท่านอย่างไร ท่านอาจจะสวดอ้อนวอนขอการนำทางว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นพรแก่คนขัดสน พึงแน่ใจว่าได้บันทึกความประทับใจที่ท่านได้รับและทำตามนั้น

ดู โมไซยาห์ 4:16–27; แอลมา 34:27–29; เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “เราเลือกการอดอาหารอย่างนี้มิใช่หรือ?” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 22–25; ลินดา เค. เบอร์ตัน, “เราเป็นแขกแปลกหน้า,” เลียโฮนา, พ.ค. 2016, 13–15 ด้วย

2 โครินธ์ 11

ศาสดาปลอมมุ่งหมายจะหลอก

อาจจะช่วยให้ท่านเข้าใจ บทนี้ ได้หากรู้ว่า “อัครทูตปลอม” อยู่ในบรรดาวิสุทธิชนชาวโครินธ์ (2 โครินธ์ 11:13) ท่านเรียนรู้อะไรจาก ข้อ 13–15 เกี่ยวกับคนที่สอนหลักคำสอนเท็จ ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์ที่แท้จริงขณะท่านอ่านเกี่ยวกับประสบการณ์ของเปาโลในการเป็นผู้ปฏิบัติศาสนกิจของพระคริสต์ (ดู ข้อ 23–33)

2 โครินธ์ 11:3; 13:5–8

ฉันควร “พิจารณา” ความซื่อสัตย์ของฉันในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

เพราะปัจจุบันมีคนมากมายพยายามนำเราออก “จากความบริสุทธิ์ต่อพระคริสต์” (2 โครินธ์ 11:3) ท่านจึงอาจจะยอมรับคำเชื้อเชิญของเปาโลให้ “พิจารณาตัวเองดูว่าท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในความเชื่อหรือไม่” (2 โครินธ์ 13:5) ตัวอย่างเช่น ท่านอาจจะไตร่ตรองว่าท่านจะขจัดอะไรออกจากชีวิตท่านซึ่งจะช่วยให้ท่านจดจ่อกับพระคริสต์ หรือท่านอาจจะทำ “กิจกรรมคุณลักษณะ” ใน สั่งสอนกิตติคุณของเรา หน้า 137

2 โครินธ์ 12:2–4

“สวรรค์ชั้นที่สาม” คืออะไรและใครคือคนที่ “ถูกรับขึ้นไป” บนนั้น

ในข้อเหล่านี้ เปาโลกำลังพูดเกี่ยวกับตัวเขาเอง โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวเขาโดยตรง—อาจจะเพื่อหลีกเลี่ยงการโอ้อวดเรื่องนิมิตอันน่าอัศจรรย์ของเขา วลี “สวรรค์ชั้นที่สาม” หมายถึงอาณาจักรซีเลสเชียล (ดู คพ. 76:96–98)

2 โครินธ์ 12:5–10

พระคุณของพระผู้ช่วยให้รอดมากพอจะช่วยให้ฉันพบความเข้มแข็งในความอ่อนแอ

เราไม่รู้ว่า “หนามในเนื้อ” ของเปาโลคืออะไร แต่เชื่อมโยงได้กับความปรารถนาจะขจัดหนามของเขา เราทุกคนมีความท้าทายและปัญหาที่พระเจ้าไม่ทรงเห็นสมควรจะขจัดออกจากชีวิตเรา นึกถึงความท้าทายของท่านขณะที่ท่านอ่าน 2 โครินธ์ 12:5–10 เปาโลสอนอะไรเกี่ยวกับความอ่อนแอ พระคุณของพระผู้เป็นเจ้าเพียงพอกับท่านมีความหมายต่อท่านอย่างไร ท่านเคยประสบเดชานุภาพที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้ท่านเข้มแข็งอย่างไร

ดู โมไซยาห์ 23:21–24; 24:10–15; อีเธอร์ 12:27; โมโรไน 10:32–33 ด้วย

2 โครินธ์ 13:1

เปาโลหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาพูดถึง “พยานสักสองหรือสามปาก”

ในสมัยพันธสัญญาเดิมต้องมีพยานสองหรือสามปากจึงจะกล่าวหาใครบางคนได้ (ดู เฉลยธรรมบัญญัติ 19:15) เปาโลอ้างการปฏิบัตินี้เมื่อเขากล่าวถึงการไปเยือนโครินธ์ครั้งที่สาม ตัวอย่างปัจจุบันของหลักธรรมการมีพยานหลายปากรวมถึงพยานสามคนของพระคัมภีร์มอรมอน ประจักษ์พยานของพระเยซูคริสต์ที่ให้ไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิลและพระคัมภีร์มอรมอน และการปฏิบัติของผู้สอนศาสนา ผู้สอนประจำบ้าน และผู้เยี่ยมสอนขณะเป็นพยานด้วยกันเป็นคู่

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว

ขณะที่ท่านอ่านพระคัมภีร์กับครอบครัว พระวิญญาณจะทรงช่วยให้ท่านรู้ว่าจะเน้นและสนทนาหลักธรรมใดจึงจะตรงตามความต้องการของครอบครัวท่าน ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะบางประการ:

2 โครินธ์ 8–9

ท่านพบอะไรในบทเหล่านี้ที่ดลใจครอบครัวท่านให้ยื่นมือช่วยเหลือคนยากจนและคนขัดสน อาจเป็นเวลาดีที่จะวางแผนและรับใช้คนขัดสนด้วยกันเป็นครอบครัว

2 โครินธ์ 9:6–7

ครอบครัวท่านรู้จักคนที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ “ให้ด้วยใจยินดี” หรือไม่ เราจะทำให้การรับใช้ผู้อื่นเป็นเรื่องน่ายินดีมากขึ้นได้อย่างไร

2 โครินธ์ 10:3–7

ท่านจะสอนครอบครัวท่านเกี่ยวกับการ “สู้รบ” กับความชั่วร้ายได้อย่างไร ครอบครัวท่านอาจจะอยากสร้างกำแพงหรือป้อมปราการด้วยเก้าอี้หรือผ้าห่ม กิจกรรมนี้จะนำไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับวิธีทำลายสิ่งที่นำเราออกห่างจากพระผู้เป็นเจ้าและ “ยึด‍กุมความคิดทุก‍ประ‌การให้มาเชื่อ‍ฟังพระ‍คริสต์” เราใช้ “อาวุธ” อะไรควบคุมความคิดของเรา (ดู เอเฟซัส 6:11–18)

2 โครินธ์ 11:3

ครอบครัวท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อจดจ่อมากขึ้นกับ “ความบริสุทธิ์ต่อพระคริสต์”

สำหรับแนวคิดการสอนเด็กเพิ่มเติม ดู โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

บันทึกความประทับใจ เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์กล่าวว่า “ความรู้ที่บันทึกไว้อย่างดีเป็นความรู้จะมีประโยชน์ได้ในยามต้องการ … [การบันทึกคำแนะนำทางวิญญาณ] ทำให้ท่านได้รับแสงสว่างมากขึ้น” (“Acquiring Spiritual Knowledge,” Ensign, Nov. 1993, 88; ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 1230 ด้วย)

ภาพ
คนหนุ่มสาวช่วยโครงการบำเพ็ญประโยชน์

“แต่‍ละ‍คนจงให้ตามที่เขาคิด‍หมายไว้ในใจ ไม่ใช่ให้ด้วยความเสีย‍ดาย ไม่ใช่ให้ด้วยความจำ‍ใจ เพราะว่าพระ‍เจ้าทรงรักคนที่ให้ด้วยใจยินดี” (2 โครินธ์ 9:7)