การเสน่หาเพศเดียวกัน
กฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศนำมาใช้กับคนที่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันหรือไม่?


“กฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศนำมาใช้กับคนที่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันหรือไม่?” พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน: บุคคล (2020)

“กฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศนำมาใช้กับคนที่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันหรือไม่?” พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน: บุคคล

กฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศนำมาใช้กับคนที่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันหรือไม่?

กฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศนำมาใช้กับทุกคน

ความบริสุทธิ์ทางเพศเป็นส่วนจำเป็นในแผนของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อความสุขของเรา ฝ่ายประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองประกาศดังนี้

“พระบัญญัติข้อแรกที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่อาดัมและเอวาเกี่ยวข้องกับศักยภาพของคนทั้งสองที่จะเป็นบิดามารดาในฐานะสามีและภรรยา เราประกาศว่าพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าที่ให้บุตรธิดาของพระองค์ขยายเผ่าพันธุ์และเพิ่มพูนให้เต็มแผ่นดินโลกยังมีผลบังคับ เราขอประกาศต่อไปว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาว่าอำนาจการสร้างอันศักดิ์สิทธิ์นั้นจะต้องใช้ระหว่างชายและหญิงผู้ซึ่งแต่งงานตามกฎหมายในฐานะสามีและภรรยาเท่านั้น” (“ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก”)

“กฎของพระเจ้าเรื่องความบริสุทธิ์ทางเพศคือ:

  • การละเว้นความสัมพันธ์ทางเพศนอกการสมรสระหว่างชายหญิงตามกฎของพระผู้เป็นเจ้า

  • ความซื่อสัตย์ต่อคู่ครองในการสมรส” (“ความบริสุทธิ์ทางเพศและความซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง,” คู่มือทั่วไป: การรับใช้ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย 38.6.5)

ในบริบทของการสมรสระหว่างชายกับหญิง การแสดงออกทางเพศเป็นแง่มุมสำคัญของความผูกพันระหว่างคู่สมรส อย่างไรก็ตามหากเราแสดงออกนอกขอบเขตที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ เราไม่เพียงทำลายความสามารถของเราในการเลือกได้ดีเท่านั้น แต่เรายังปฏิเสธรูปแบบที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้เพื่อความสุขนิรันดร์ของเราด้วย

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ อธิบายว่า: “อำนาจในการสร้างชีวิตมนุษย์คืออำนาจสูงสุดที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่บุตรธิดาของพระองค์ การใช้อำนาจนี้ประกาศิตไว้ในพระบัญญัติข้อแรก แต่พระบัญญัติสำคัญอีกข้อหนึ่งให้ไว้เพื่อห้ามใช้สิ่งนี้ในทางที่ผิด การที่เราเน้นเรื่องกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศอธิบายจากความเข้าใจของเราถึงจุดประสงค์ของอำนาจแห่งการให้กำเนิดเพื่อทำให้แผนของพระผู้เป็นเจ้าเกิดสัมฤทธิผล …

“นอกพันธะการแต่งงาน การใช้อำนาจการให้กำเนิดทุกรูปแบบไม่ว่าในระดับใดก็ตามเป็นการลดคุณค่าและการกระทำที่ออกนอกลู่นอกทางต่อคุณลักษณะอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชายและหญิง” (“The Great Plan of Happiness,” Ensign, พ.ย. 1993, 74)

ความบริสุทธิ์ทางเพศและสื่อลามก

“เพราะเขาคิดในใจฉันใด เขาเป็นฉันนั้น” (สุภาษิต 23:7)

“ศาสนจักรประณามสื่อลามกทุกรูปแบบ การใช้สื่อลามกทุกประเภททำลายชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และสังคม อีกทั้งขับพระวิญญาณของพระเจ้าออกไป สมาชิกศาสนจักรพึงหลีกเลี่ยงสื่อลามกทุกรูปแบบและต่อต้านการผลิต การเผยแพร่ และการใช้สื่อลามก” (“สื่อลามก,” คู่มือทั่วไป, 38.6.11)

การมองเห็นรูปภาพทางเพศที่โจ่งแจ้ง แม้ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เป็นการละเมิดพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าเช่นกัน การกระตุ้นทางเพศก่อให้เกิดผลกระทบที่มีพลังต่อเรา แม้เพียงการดูรูปภาพหรือความนึกคิดเกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศก็สามารถทำให้เรารู้สึกพึงพอใจและปรารถนามากกว่าเดิม เพื่อส่งเสริมการกระตุ้นนี้ สื่อลามกทำให้ความอ่อนไหวต่อกฎแห่งศีลธรรมของพระผู้เป็นเจ้าอ่อนแอลง ที่สำคัญที่สุด เป็นการทำให้พระวิญญาณขุ่นเคือง ทำให้บุคคลนั้นปราศจากการนำทางและการคุ้มครองจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

ศาสนจักรจัดหาแหล่งช่วยต่อไปนี้เพื่อช่วยอธิการและประธานสเตคให้คำปรึกษาแก่สมาชิกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสื่อลามก:

  • Help for Me, ChurchofJesusChrist.org

  • Counseling Resources, ChurchofJesusChrist.org

  • Addiction Recovery Program, ChurchofJesusChrist.org

  • ให้คุณธรรมประดับความนึกคิดของท่าน (จุลสาร)

เมื่อเราใช้สิทธิ์เสรีของเราเลือกทำตามกฎของพระผู้เป็นเจ้า วิญญาณของเราจะเข้มแข็งยิ่งขึ้น หากเราพบว่าตนเองอ่อนแอทางวิญญาณ ซึ่งบางครั้งเราทุกคนก็เป็นเช่นนั้น พระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์จะทรงช่วยเหลือเรา โดยผ่านการกลับใจ เราสามารถกลับคืนสู่ชีวิตที่มีอุปนิสัยของการชนะใจตนเอง

การกลับใจ

คนที่มีรสนิยมทางเพศลักษณะใดก็ตามที่ฝ่าฝืนกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศสามารถคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าผ่านการกลับใจ

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์อธิบายดังนี้:

“บางท่านที่ได้ฟังข่าวสารนี้จำต้องกลับใจจากบาปทางเพศหรือบาปอื่นๆ พระผู้ช่วยให้รอดมักได้รับการกล่าวว่าเป็นนายแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ และพระนามนี้มีทั้งสัญลักษณ์และความสำคัญอย่างแท้จริง เราทุกคนประสบกับความเจ็บปวดที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือบาดแผลทางร่างกาย เมื่อเราเจ็บปวด โดยปกติเราจะแสวงหาการบรรเทาความเจ็บและขอบคุณยาหรือการรักษาที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานของเรา ลองนึกว่าบาปเป็นบาดแผลทางวิญญาณที่ทำให้รู้สึกผิดหรือเหมือนกับที่แอลมาอธิบายให้โคริแอนทอนว่าเป็น ‘ความสำนึกผิดจากมโนธรรม’ (แอลมา 42:18) ความรู้สึกผิดในวิญญาณคือความเจ็บปวดที่มีต่อร่างกาย—เป็นการเตือนถึงอันตราย และเป็นการป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม การชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดทำให้มียาบรรเทาความเจ็บปวดที่สามารถรักษาบาดแผลทางวิญญาณและกำจัดความรู้สึกผิด อย่างไรก็ตาม ยานี้จะใช้ได้โดยผ่านหลักธรรมแห่งศรัทธาในพระเจ้าพระเยซูคริสต์ การกลับใจและการเชื่อฟังอย่างต่อเนื่อง ผลของการกลับใจอย่างแท้จริงคือสันติสุขแห่งมโนธรรม การปลอบโยน การเยียวยาและการเริ่มใหม่” (“เราเชื่อในการเป็นคนบริสุทธิ์,” เลียโฮนา, พฤษภาคม 2013, 44)

การกลับใจเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงของใจ ของประทานอันล้ำค่าของการกลับใจและการให้อภัยอยู่ในวิสัยที่ทำได้เพราะการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ สิ่งเหล่านั้นสามารถชำระล้างทุกอย่างให้สะอาดและเสริมกำลังความสามารถของเราในการใช้สิทธิ์เสรีเพื่อเป็นประโยชน์