การเสน่หาเพศเดียวกัน
ฉันจะเข้าใจและใช้ศัพท์ตลอดจนคำที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเพศทางเลือก LGBTQ ได้อย่างไร?


“ฉันจะเข้าใจและใช้ศัพท์ตลอดจนคำที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเพศทางเลือก LGBTQ ได้อย่างไร?” พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน: ครอบครัวและเพื่อน (2020)

“ฉันจะเข้าใจและใช้ศัพท์ตลอดจนคำที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเพศทางเลือก LGBTQ ได้อย่างไร?” พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน: ครอบครัวและเพื่อน

ฉันจะเข้าใจและใช้ศัพท์ตลอดจนคำที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเพศทางเลือก LGBTQ ได้อย่างไร?

ศัพท์เฉพาะ

รสนิยมทางเพศอาจหมายถึงเสน่หาทางอารมณ์ เชิงรักใคร่ หรือทางเพศตลอดจนการรับรู้อัตลักษณ์ สำหรับบางคน เป็นประโยชน์ที่จะแยกความแตกต่างระหว่างเสน่หาทางเพศ เสน่หาทางอารมณ์ และอัตลักษณ์ มากกว่าที่จะจัดกลุ่มเหล่านั้นไว้ด้วยกันว่า “รสนิยมทางเพศ”

ชื่อเฉพาะที่พบมากที่สุดคือเลสเบียน (หญิงที่เสน่หาหญิง) เกย์ (ชายที่เสน่หาชาย) และรักร่วมสองเพศ (ชายหรือหญิงที่เสน่หาทั้งสองเพศ) หญิงบางคนอาจใช้ศัพท์ว่า เกย์ ในการอธิบายเพศของพวกเธอเองได้เช่นกัน บางคนอาจใช้ชื่อเฉพาะอื่นๆ และบางคนที่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันเลือกที่จะไม่ใช้ชื่อเฉพาะเหล่านั้นเพื่ออธิบายตนเอง วิธีที่คนเลือกระบุอัตลักษณ์อาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

ความเสน่หาไม่ใช่อัตลักษณ์ คนสามารถเลือกว่าจะระบุอัตลักษณ์อย่างไร มีสมาชิกศาสนจักรที่แข็งขัน ถือใบรับรองพระวิหารที่เป็นปัจจุบันผู้ที่ปฏิบัติตามกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศและระบุตนว่าเป็นเกย์ เลสเบียน หรือรักร่วมสองเพศ มีสมาชิกศาสนจักรที่แข็งขันผู้ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันและไม่เคยเลือกระบุตนโดยใช้ชื่อเฉพาะเหล่านั้น อัตลักษณ์เบื้องต้นของเราจะเป็นลูกของพระผู้เป็นเจ้าเสมอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศหรือการรับรู้ทางเพศผิดปกติ โปรดดู Transgender: Understanding Yourself และ Transgender: Supporting Others, ChurchofJesusChrist.org

รสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ

พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน (SSA) หมายถึงเสน่หาทางอารมณ์ ทางกาย เชิงรักใคร่ หรือทางเพศกับคนเพศเดียวกัน หากท่านประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน ท่านอาจจะเลือกหรือไม่เลือกใช้ชื่อเฉพาะรสนิยมทางเพศเพื่ออธิบายตัวท่านเอง อย่างไรก็ดี พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันเป็นศัพท์เฉพาะที่พูดถึงประสบการณ์ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ เว็บไซต์นี้ใช้ศัพท์คำนี้เพื่อรวมถึงคนที่ไม่สะดวกใจจะใช้ชื่อเฉพาะ ไม่ได้มีเจตนาปฏิเสธว่าเกย์ เลสเบียน หรือรักร่วมสองเพศมีอยู่จริง

พฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันต่างกับการรับรู้ทางเพศผิดปกติมาก ตัวอย่างเช่น คนที่ประสบการรับรู้ทางเพศผิดปกติอาจจะประสบหรือไม่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกัน และส่วนใหญ่คนที่ประสบพฤติกรรมเสน่หาเพศเดียวกันไม่ปรารถนาจะเปลี่ยนเพศของตน จากมุมมองทางด้านจิตวิทยาและด้านศาสนา สองอย่างนี้ต่างกัน