เซมินารี
ฟีลิปปี 3


ฟีลิปปี 3

“ข้าพเจ้าถือว่าทุกสิ่งเป็นการขาดทุน … เพื่อว่าข้าพเจ้าจะได้พระคริสต์เป็นกำไร”

ภาพ
1st illustration: A warm loving image of Christ, eyes looking out towards the reader. 2nd illustration: stars and the galaxy

ท่านจะยอมเสียสละอะไรเพื่อติดตามพระเยซูคริสต์และเป็นสานุศิษย์ของพระองค์? อัครสาวกเปาโลเสียสละมากมายเมื่อเขาเลือกติดตามพระผู้ช่วยให้รอด รวมทั้งฐานะที่ทรงอิทธิพลของเขาในสังคมชาวยิวในฐานะชาวฟาริสี (ดูฟิลิปปี 3:5) บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจความสำคัญของการเสียสละเพื่อมารู้จักกับพระเยซูคริสต์

ยอมให้เกิดความเงียบ คำถามที่มีประสิทธิภาพอาจต้องใช้เวลาในการตอบ ให้เวลานักเรียนไตร่ตรองคำถาม ถ้านักเรียนไม่ตอบคำถามในทันที ให้หลีกเลี่ยงการล่อลวงที่จะจบความเงียบเร็วเกินไปด้วยการตอบคำถาม เวลาที่นักเรียนใช้ในการไตร่ตรองคำถามสามารถนำไปสู่การดลใจและการให้ประจักษ์พยานที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

การเตรียมของนักเรียน: ถ้าเป็นไปได้ เชิญนักเรียนให้รวบรวมเรื่องราวจากสมาชิกในครอบครัวหรือบรรพชนผู้เสียสละเพื่อติดตามพระเยซูคริสต์ กระตุ้นให้นักเรียนเตรียมมาแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้กับเพื่อนร่วมชั้น

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ท่านจะให้สิ่งใด?

ท่านอาจใช้เรื่องราวต่อไปนี้เพื่อเริ่มชั้นเรียน หรือหยิบยกเรื่องราวที่นักเรียนเตรียมมาแบ่งปัน

อ่านเรื่องราวต่อไปนี้โดยประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดเกี่ยวกับชายหนุ่มผู้แบ่งปันกับประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ (1910–2008) เกี่ยวกับการเสียสละที่เขาพร้อมจะทำเพื่อเป็นสมาชิกของศาสนจักร

ภาพ
Official Portrait of President Dallin H. Oaks taken March 2018.

หลายปีที่ผ่านมาผู้ฟังการประชุมใหญ่ได้ยินเรื่องราวของชายหนุ่มผู้พบพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูขณะศึกษาอยู่ในสหรัฐ เมื่อชายคนนี้กำลังจะกลับถิ่นฐานบ้านเกิด ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ถามเขาว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเขากลับไปบ้านในฐานะชาวคริสต์คนหนึ่ง “ครอบครัวผมจะผิดหวัง” ชายหนุ่มคนนั้นตอบ “พวกเขาคงเนรเทศผมและถือว่าผมตายไปแล้ว ถ้าพูดถึงอนาคตและงานอาชีพ โอกาสของผมคงถูกปิดตาย”“คุณเต็มใจจ่ายราคาสูงเช่นนั้นเพื่อพระกิตติคุณหรือ?” ประธานฮิงค์ลีย์ถาม

(ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “การเสียสละ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 21)

  • ท่านคิดว่าชายหนุ่มตอบอย่างไร? เพราะเหตุใด?

ให้เวลานักเรียนอย่างเพียงพอในการตอบคำถามถัดไป ท่านอาจเชิญให้นักเรียนร่วมไตร่ตรองอย่างเงียบๆ และบันทึกคำตอบของตนก่อนที่จะแบ่งปันคำตอบกับชั้นเรียน

  • สิ่งใดที่อาจผลักดันให้ใครสักคนเสียสละอย่างมากเพื่อติดตามพระเยซูคริสต์?

เมื่อท่านศึกษา ฟีลิปปี 3 ให้พิจารณาสิ่งที่ท่านเสียสละเพื่อพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์และวิธีที่ท่านได้รับพรให้ทำเช่นนั้น ในทางกลับกัน การเสียสละเพื่อเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอาจเป็นแนวคิดที่ไม่คุ้นชินสำหรับท่าน ไม่ว่าสภาวการณ์ของท่านจะเป็นอย่างไร พระผู้ช่วยให้รอดทรงกระตือรือร้นที่จะช่วยให้ท่านก้าวหน้า ตลอดบทเรียนนี้ ให้ความสนใจกับความคิดและความรู้สึกจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจบทบาทที่การเสียสละมีต่อชีวิตท่าน

พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์คุ้มกับการเสียสละทุกอย่าง

จำไว้ว่าก่อนการเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเยซูคริสต์ของเปาโลบนถนนแห่งกรุงดามัสกัส (ดู กิจการ 9) เขาเป็นชาวฟาริสี เป็นคนเคร่งศาสนาและมีฐานะทางสังคมในหมู่ชาวยิว (ดู ฟีลิปปี 3:5) เนื่องจากเขาเลือกติดตามพระเยซูคริสต์และใช้ชีวิตของเขาไปกับการสอนพระกิตติคุณ เขาจึงประสบกับการกดขี่ข่มเหง ความยากลำบาก ความเจ็บปวดทางกาย และความเครียดทางอารมณ์อย่างรุนแรง (ดู 2 โครินธ์ 11:23–28) เราอ่านใน ฟีลิปปี 3:7–17 แล้วว่าเปาโลรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการละทิ้งชีวิตในอดีตของเขาเพื่อติดตามพระเยซูคริสต์และพรที่เกิดขึ้นอันเป็นผลที่ตามมา

นักเรียนอาจต้องการความช่วยเหลือในการทำความเข้าใจบางคำในช่วงพระคัมภีร์ ท่านอาจเขียนคำจำกัดความต่อไปนี้บนกระดานหรือคอยช่วยเหลือนักเรียนระหว่างที่ศึกษา

อ่าน ฟีลิปปี 3:7–14 แล้วมองหาสิ่งที่เปาโลเต็มใจจะสละเพื่อที่จะรู้จักและติดตามพระเยซูคริสต์ &#160

ท่านอาจแบ่งนักเรียนเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กเพื่อทำกิจกรรมต่อไปนี้ ให้ความสนใจกับนักเรียนที่อาจต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในการเขียนเรียบเรียงข้อพระคัมภีร์ใหม่ด้วยถ้อยคำของตนเอง

เลือกข้อพระคัมภีร์หรือวลีจาก ฟีลิปปี 3:7–14 แล้วเขียนเรียบเรียงข้อความของเปาโลใหม่ด้วยถ้อยคำของท่านเอง ตัวอย่างเช่น วิธีหนึ่งที่จะเรียบเรียงข้อความจาก ฟีลิปปี 3:7 ใหม่คือ “สิ่งที่เคยสำคัญสำหรับข้าพเจ้าในตอนนี้ บัดนี้ไม่มีความหมายอะไรกับข้าพเจ้าเพราะพระเยซูคริสต์” เมื่อท่านทำเสร็จแล้วให้ตอบคำถามต่อไปนี้

  • พรบางประการที่เปาโลได้รับจากการเสียสละเพื่อพระเจ้ามีอะไรบ้าง?

  • พรบางประการใดบ้างที่เขายังคงมุ่งมั่นที่จะได้รับผ่านการเสียสละของเขา?

  • เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมข้อใดจากแบบอย่างของเปาโลในการเสียสละ?

หลักธรรมข้อหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้จากตัวอย่างของเปาโลคือ ถ้าเราสละทุกอย่างที่อาจเรียกร้องจากเราในการติดตามพระเยซูคริสต์และมุ่งหน้าด้วยศรัทธา เราจะได้มารู้จักพระองค์และได้ชีวิตนิรันดร์ ท่านอาจเขียนหลักธรรมข้อนี้ลงในพระคัมภีร์ของท่านหรือในสมุดบันทึกการศึกษา

ใช้เวลาไตร่ตรองว่าหลักธรรมข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับท่านอย่างไร

  • ท่านมีความคิด คำถาม หรือความรู้สึกอะไรบ้าง?

เชื้อเชิญให้นักเรียนที่เต็มใจมาตอบคำถามก่อนหน้านี้ หากนักเรียนยังไม่มีโอกาสในช่วงต้นบทเรียนเพื่อแบ่งปันเรื่องราวของสมาชิกในครอบครัวหรือบรรพชนที่เสียสละเพื่อพระกิตติคุณ ท่านอาจเชิญนักเรียนให้ทำเช่นนั้นในตอนนี้

หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอย่างเพิ่มเติมของการเสียสละ ให้ใช้แนวคิดภายใต้ “ตัวอย่างจากพระคัมภีร์มอรมอน” ในหมวด “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” ของบทเรียน ท่านอาจแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวและประจักษ์พยานเช่นกัน

การเสียสละส่วนตัว

นึกถึงคำถามที่ประธานฮิงค์ลีย์ให้ไว้ในตอนต้นบทเรียนเกี่ยวกับความเต็มใจของชายหนุ่มที่จะเสียสละมากมายเพื่อพระกิตติคุณ อ่านเรื่องราวที่เหลือที่แบ่งปันโดยประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์

ภาพ
Official Portrait of President Dallin H. Oaks taken March 2018.

ชายหนุ่มตอบทั้งน้ำตา “พระกิตติคุณเป็นความจริงไม่ใช่หรือครับ?” เมื่อได้รับคำยืนยันกลับมา เขาตอบว่า “แล้วเรื่องอื่นจะสำคัญอะไรอีกล่ะครับ?” นั่นคือวิญญาณแห่งการเสียสละในบรรดาสมาชิกใหม่หลายคนของเรา

(ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “การเสียสละ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 21)

  • ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับชายหนุ่มคนนี้?

  • พระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด การปฏิบัติศาสนกิจ และการชดใช้เป็นตัวอย่างสูงสุดของการเสียสละอย่างไร?

  • ท่านมีความคิดหรือความรู้สึกอย่างไรเมื่อท่านไตร่ตรองถึงสิ่งที่พระเยซูคริสต์เต็มพระทัยที่จะเสียสละให้ท่าน?

ก่อนที่นักเรียนจะทำกิจกรรมต่อไปนี้ อาจเป็นประโยชน์ที่จะให้นักเรียนพิจารณาถึงการเสียสละที่เป็นไปได้ซึ่งอาจถูกขอให้ทำเร็วๆ นี้ และแบ่งปันตัวอย่างให้กันและกัน นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถเขียนเป็นข้อๆ บนกระดานถึงสิ่งที่เยาวชนเสียสละเพื่อติดตามพระเยซูคริสต์

นึกถึงห้าปีข้างหน้าในชีวิตท่านและเขียนจดหมายถึงตัวท่านเองในอนาคต ใส่รายละเอียดต่อไปนี้ในจดหมายของท่าน:

  1. สิ่งที่ท่านอาจต้องเสียสละในอีกห้าปีข้างหน้าเพื่อจะได้รู้จักกับพระเจ้าได้ดีขึ้นและเตรียมสำหรับชีวิตนิรันดร์

  2. อุปสรรคที่ท่านอาจพบเมื่อท่านเสียสละและ “บากบั่นมุ่งไป … เพื่อจะได้รับรางวัล” ( ฟีลิปปี 3:14)

  3. สิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเสียสละและพรที่จะเกิดขึ้นอันเป็นผลที่ตามมา

  4. การเสียสละสามารถช่วยให้เราเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร?

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ฟีลิปปี 3:14 เปาโลหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาพูดว่า “ข้าพเจ้าบากบั่นมุ่งไปสู่หลักชัย”?

เอ็ลเดอร์เอ็ดเวิร์ด ดูเบแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนดังนี้

ภาพ
Official Portrait of Elder Edward Dube. Photographed March 2017.

การบาก‍บั่นมุ่งไปสู่หลัก‍ชัยคือการดำเนินต่อไปอย่างซื่อสัตย์บน “ทางคับแคบและแคบนี้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์” [ 2 นีไฟ 31:18 ] กับพระผู้ช่วยให้รอดและพระบิดาในสวรรค์ของเรา เปาโลมองความทุกข์ยากของเขาว่า “ไม่ควรจะเอาไปเปรียบกับศักดิ์‍ศรีซึ่งจะเผยให้แก่เราในอนา‌คต” [ โรม 8:18 ; และดู 2 โครินธ์ 1:3–7 ด้วย] จดหมายของเปาโลถึงชาวฟีลิปปีที่เขาเขียนเมื่อถูกคุมขังในเรือนจำ เป็นจดหมายที่แสดงความชื่นชมยินดีและปีติอย่างท่วมท้น และให้กำลังใจเราทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลายากลำบากของความไม่แน่นอนเช่นนี้ …

น่าสนใจตรงที่เปาโลกระตุ้นให้เรามุ่งหน้า ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้เราลืมสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง—ความกลัวในอดีต ความสนใจในอดีต ความล้มเหลวในอดีต และความโศกเศร้าในอดีต

(เอ็ดเวิร์ด ดูเบ, “บากบั่นมุ่งไปสู่หลักชัย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 90, 91)

ข้าพเจ้าจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าพเจ้าต้องเสียสละอะไรเพื่อใกล้ชิดพระเยซูคริสต์มากขึ้น?

เอ็ลเดอร์แลร์รีย์ อาร์. ลอว์เรนซ์แห่งสาวกเจ็ดสิบสอนว่า เวลาที่เหมาะสมต่อการพิจารณาด้วยความคารวะถึงความเสียสละที่เราสามารถทำเพื่อพระเจ้าได้คือระหว่างที่อยู่ในศาสนพิธีศีลระลึก

ภาพ
Official Portrait of Elder Larry R. Lawrence. Photographed March 2017.

ในบรรยากาศของความคารวะนี้ เมื่อความคิดของเราหันไปสู่สวรรค์ พระเจ้าจะทรงบอกเราอย่างนุ่มนวลว่าเราต้องทำอะไรในลำดับต่อไป เช่นเดียวกันกับท่าน ข้าพเจ้าได้รับข่าวสารมากมายจากพระวิญญาณตลอดหลายปีที่ผ่านมาเพื่อแสดงให้ข้าพเจ้ารู้ว่าจะพัฒนาได้อย่างไร …

บางทีพระวิญญาณอาจจะบอกท่านว่าท่านต้องให้อภัยใครบางคน หรือท่านอาจจะได้รับข่าวสารว่าท่านต้องเลือกภาพยนตร์ที่ท่านดูหรือเพลงที่ท่านฟังให้มากกว่านี้ ท่านอาจรู้สึกดีในการเป็นคนซื่อสัตย์มากขึ้นในการดำเนินธุรกิจของท่านหรือเผื่อแผ่มากขึ้นในการบริจาคอดอาหาร ทุกอย่างอยู่ในวิสัยที่ทำได้ไม่สิ้นสุด

(แลร์รีย์ อาร์. ลอว์เร็นซ์, “ข้าพเจ้ายังขาดอะไรอีกบ้าง? เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 3435)

อะไรคือการเสียสละบางอย่างที่สมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายทำเพื่อติดตามพระผู้ช่วยให้รอด?

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ในฝ่ายประธานสูงสุดระบุถึงการเสียสละมากมายจากสมาชิกศาสนจักรที่ได้รับการฟื้นฟูของพระเจ้า ท่านสามารถอ่านคำปราศรัยของท่านเรื่อง “การเสียสละ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 19–22, หรือรับชมวีดิทัศน์ “เสียสละ” (16:30) มีให้รับชมได้ที่ ChurchofJesusChrist.org

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

ฟีลิปปี 2:6–11

หลังจากนักเรียนตอบคำถามว่าพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด การปฏิบัติศาสนกิจ และการชดใช้เป็นตัวอย่างสูงสุดของการเสียสละอย่างไร ให้อ่าน ฟีลิปปี 2:6–11 และเชิญชวนให้นักเรียนค้นหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเสียสละสิ่งใดและพระบิดาบนสวรรค์ประทานพรพระองค์ด้วยสิ่งใดอันเป็นผลที่ตามมา

ตัวอย่างจากพระคัมภีร์มอรมอน

ตัวอย่างจากพระคัมภีร์มอรมอนที่แสดงให้เห็นถึงหลักธรรมของการเสียสละคือครอบครัวของลีไฮที่เดินทางไปยังแผ่นดินแห่งคำสัญญา นึกถึงเลมันและเลมิวเอลที่พร่ำบ่นและขาดศรัทธาในพระบัญชาของพระเจ้าให้ออกจากดินแดนมรดกของตน (ดู 1 นีไฟ 2:11–13) นีไฟอาจสงสัยในพระบัญชาให้ออกจากเยรูซาเล็มด้วย แต่เขาก็เสียสละต่อไปด้วยการ “ร้องทูลพระเจ้า” (ดู 1 นีไฟ 2:16)

อ่าน 1 นีไฟ 2:16–20 และจดรายการหรือทำเครื่องหมายพรที่นีไฟได้รับจากการเชื่อฟังและการเสียสละของเขา

นักเรียนอาจได้รับประโยชน์เช่นกันจากการเรียนรู้เกี่ยวกับบิดาของกษัตริย์ลาโมไนและความเต็มใจของเขาที่จะสละบาปทั้งหมดเพื่อรู้จักพระเจ้า (ดู แอลมา 22:15–23)

&#160

&#160 &#160 เชิญชวนให้นักเรียนนึกถึงตัวอย่างในสมัยปัจจุบันของการเสียสละที่พวกเขาเคยพบเห็น