เซมินารี
มัทธิว 4:1–11 ภาค 1


มัทธิว 4:1–11 ภาค 1

พระเยซูคริสต์ทรงต้านทานการล่อลวงของซาตาน

ภาพ
Christ standing on a rocky ledge as He rebukes Satan who appears below Him. The painting depicts the event wherein Satan tried to tempt Christ after Christ’s forty day fast in the wilderness. Christ is commanding Satan to depart from His presence.

หลังจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงรับบัพติศมา พระองค์เสด็จเข้าไปในแดนทุรกันดารเพื่อประทับอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 4:1 [ในเชิงอรรถงานแปลของโจเซฟ สมิธ ]) ซาตานล่อลวงพระองค์ แต่พระองค์ทรงต้านทานการล่อลวงเหล่านั้น ในบทเรียนนี้ท่านสามารถระบุหลักธรรมที่ช่วยให้ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการต้านทานการล่อลวงของซาตาน

เราล้วนเผชิญการล่อลวง

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่านหรือในแผ่นกระดาษให้วาดภาพคนอย่างง่ายโดยใช้เส้นเดียวที่แสดงถึงบุคคลวัยเดียวกับท่าน ถัดจากภาพคนให้เขียนสิ่งล่อลวงสองหรือสามอย่างที่บุคคลนี้อาจเผชิญ

  • เหตุใดบุคคลนี้อาจยอมแพ้ต่อสิ่งล่อลวงเหล่านี้?

  • ชีวิตพวกเขาจะดีขึ้นอย่างไรหากสามารถต้านทานสิ่งล่อลวงเหล่านี้?

  • ท่านเคยได้รับพรอะไรบ้างเมื่อท่านต้านทานการล่อลวง?

ขณะท่านศึกษาวันนี้ให้นึกถึงการล่อลวงที่ท่านเผชิญ แสวงหาการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะท่านค้นหาสิ่งที่เรียนรู้ได้จากแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดว่าจะต้านทานการล่อลวงเหล่านี้และในอนาคตอย่างไร

พระเยซูคริสต์ทรงเผชิญและต้านทานการล่อลวง

พระคัมภีร์สอนว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงประสบการล่อลวงทุกประเภท “แต่มิทรงเอาพระทัยใส่สิ่งเหล่านั้น” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:22; ดู โมไซยาห์ 15:5; แอลมา 7:11 ด้วย)

ประสบการณ์หนึ่งเกิดขึ้นหลังพระองค์ทรงรับบัพติศมา เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปในแดนทุรกันดารเพื่อประทับอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 4:1 [ใน ในเชิงอรรถงานแปลของโจเซฟ สมิธ]  ) หลังจากพระเยซูทรงสนทนากับพระผู้เป็นเจ้าเป็นเวลา 40 วัน ซาตานมาล่อลวงพระองค์ (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 4:2 [ในเชิงอรรถงานแปลของโจเซฟ สมิธ   ]) โดยศึกษาเหตุการณ์นี้ในพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด เราจะได้เรียนรู้วิธีต้านทานการล่อลวงที่เผชิญจากแบบอย่างของพระองค์

สำหรับเรื่องราวนี้ งานแปลของโจเซฟ สมิธเปลี่ยนแปลงแก้ไขและให้คำชี้แจงที่สามารถช่วยให้เราเข้าใจพระคัมภีร์ชัดเจนขึ้น (ท่านอาจต้องการทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับงานแปลของโจเซฟ สมิธในบทเรียน “การศึกษาพระคัมภีร์”)

ขณะท่านใช้งานแปลของโจเซฟ สมิธในกิจกรรมต่อไปนี้ ให้สังเกตว่าการใช้งานแปลนี้เพิ่มความเข้าใจของท่านในพระคัมภีร์อย่างไร ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความประทับใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์และบันทึกการกระตุ้นเตือนที่ได้รับ

อ่าน มัทธิว 4:1–11 อย่างถี่ถ้วน รวมถึงการแก้ไขที่มีอยู่ในงานแปลของโจเซฟ สมิธ ระบุวิธีทำให้ข้อความนี้สมบูรณ์: _________________ ช่วยให้เราต้านทานการล่อลวงได้

ท่านอาจใช้แผนภูมิต่อไปนี้เพื่อช่วยท่าน

สิ่งที่ซาตานล่อลวงให้พระเยซูทรงทำ

พระเยซูทรงตอบสนองต่อการล่อลวงอย่างไร

มัทธิว 4:1–4

มัทธิว 4:5–7

มัทธิว 4:8–11

1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ท่านอาจเพิ่มการกระตุ้นเตือนหรือความประทับใจที่ได้รับจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

  • ท่านระบุหลักธรรมอะไรบ้างจากแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอด?

  • หลักธรรมเหล่านี้สามารถช่วยให้ท่านเข้าถึงพลังอำนาจของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อช่วยให้ท่านและผู้อื่นต้านทานการล่อลวงอย่างไร?

  • การใช้งานแปลของโจเซฟ สมิธในการศึกษาพระคัมภีร์อาจช่วยปรับปรุงการศึกษาของท่านและช่วยให้ท่านรู้จักพระผู้ช่วยให้รอดดีขึ้นได้อย่างไร?

ทบทวนภาพวาดที่ท่านสร้างขึ้นในตอนต้นของบทเรียนและหลักธรรมที่ท่านระบุไว้จากแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดใน มัทธิว 4:1–11

2.

  • ท่านรู้สึกว่าหลักธรรมใดจะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับบุคคลที่ท่านวาด? เพราะเหตุใด?

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่ท่านอาจแบ่งปันกับบุคคลนี้? สิ่งนี้จะช่วยพวกเขาอย่างไร?

พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยเราได้ในการล่อลวงที่เราเผชิญ

นึกถึงการล่อลวงที่ท่านเผชิญ บางครั้งเราอาจรู้สึกผิดหรือมีบาปเพียงเพราะเรารู้สึกถูกล่อลวง อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือตระหนักว่าการล่อลวงในตัวของมันเองไม่ใช่บาป—แต่การกระทำอันเกิดจากการล่อลวงต่างหากเป็นบาป เพราะพระผู้ช่วยให้รอดพระองค์เองทรงถูกล่อลวงเช่นกันแต่ยังทรงไร้บาป เราจึงรู้ว่าพระองค์ทรงสามารถช่วย (ช่วยเหลือหรือสนับสนุน) เราได้ในการล่อลวงที่เราเผชิญ (ดู ฮีบรู 2:18; 4:15–16)เอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเตือนความจำเราว่า

ภาพ
Elder Ulisses Soares, Quorum of the Twelve Apostles official portrait.

สำหรับคนที่ตกอยู่ในการล่อลวงไม่ว่าด้วยเหตุผลใดและกำลังหมกมุ่นกับการกระทำที่ไม่ชอบธรรม ข้าพเจ้ารับรองกับท่านว่ามีทางหันกลับ มีความหวังในพระคริสต์

(ยูลิซีส ซวาเรส, “แสวงหาพระคริสต์ในความนึกคิดทุกอย่าง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 84)

3.

  • แนวคิดที่มีประโยชน์ที่สุดที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดในบทเรียนนี้คืออะไร? เหตุใดจึงมีประโยชน์ต่อท่าน?

  • โดยไม่ต้องอธิบายการล่อลวงที่เฉพาะเจาะจงของท่าน ท่านรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจให้ทำสิ่งใดที่จะทำให้พึ่งพาพระผู้ช่วยให้รอดเต็มที่มากขึ้นเพื่อช่วยท่านต้านทานการล่อลวง?

ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?

งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 4:1–2, 5–6, 8–9, 11 โจเซฟ สมิธตรวจแก้อะไรใน มัทธิว 4:1–11 ในงานแปลที่ได้รับการดลใจของเขา?

[ถ้อยคำตัวเอนแสดงถึงการแก้ไขที่ได้รับการดลใจโดยโจเซฟ สมิธ]

1 เวลานั้น พระวิญญาณทรง, เข้าไปในแดนทุรกันดาร, เพื่อไปประทับอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า.

2 และเมื่อพระองค์ทรงอดอาหารสี่สิบวันสี่สิบคืน, และทรงสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า, ภายหลังพระองค์ก็ทรงหิว, และทรงถูกทิ้งไว้ให้มารล่อลวง.

5 เวลานั้น พระวิญญาณทรงรับพระเยซู เข้าไปในนครศักดิ์สิทธิ์, และ พระวิญญาณ ทรงวางพระองค์ ไว้บน ยอดพระวิหาร.

6 ครั้นแล้วมารจึงมาหาพระองค์และกล่าว, หากท่านเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า, จงกระโจนลงไปเถิด : เพราะมีเขียนไว้ว่า, พระองค์จะทรงมอบหมายบรรดาเทพของพระองค์เกี่ยวกับท่าน : และในมือพวกเขา พวกเขาจะรองรับท่าน, ด้วยเกรงว่า ณ ขณะใดขณะหนึ่งเท้าของท่านจะโถมเข้ากระแทกศิลา.

8 และ อนึ่ง, พระเยซูทรงอยู่ในพระวิญญาณ, และพระวิญญาณ ทรงนำพระองค์ขึ้นไปบนภูเขาสูงลิบลิ่ว, และให้พระองค์ทอดพระเนตรอาณาจักรทั้งปวงของโลกและรัศมีภาพของอาณาจักรเหล่านั้น.

9 และ มารมาหาพระองค์อีก, และกล่าว, สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เราจะ ให้ ท่าน, หากท่านจะน้อมกายลงนมัสการเรา.

11 และบัดนี้พระเยซูทรงทราบว่ายอห์นถูกโยนเข้าเรือนจำ, และพระองค์ทรงส่งเหล่าเทพ, และ, ดูเถิด, พวกท่าน มาปฏิบัติต่อเขา.

เหตุใดการระมัดระวังความคิดของฉันจึงสำคัญในการต้านทานการล่อลวง?

เอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายวิธีหนึ่งที่เราสามารถปฏิบัติตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อต้านทานการล่อลวง ดู “แสวงหาพระคริสต์ในความนึกคิดทุกอย่าง” ตั้งแต่ช่วงเวลา 10:56 ถึง 12:37 (มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org) หรืออ่านข้อความต่อไปนี้

ภาพ
Elder Ulisses Soares, Quorum of the Twelve Apostles official portrait.

ขณะเตรียมทำพระพันธกิจบนแผ่นดินโลกให้สำเร็จ พระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างความสำคัญของการแน่วแน่ต่อต้านทุกอย่างที่อาจเหนี่ยวรั้งเราไม่ให้บรรลุจุดประสงค์นิรันดร์ หลังจากศัตรูโจมตีไม่เป็นผลหลายครั้งเพื่อพยายามทำให้พระองค์หันเหจากพระพันธกิจ พระผู้ช่วยให้รอดทรงเลิกการสนทนาทันทีโดยตรัสว่า: “จงไปให้พ้นเจ้าซาตาน … แล้วมารจึงไปจากพระ‍องค์ และมีเหล่าทูต‍สวรรค์มาปรน‌นิ‌บัติพระ‍องค์”

พี่น้องทั้งหลาย ท่านนึกออกไหมว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราได้ความเข้มแข็งและความกล้าหาญมาจากพระผู้ช่วยให้รอดและพูดว่า “ไม่” และ “ไปให้พ้น” ต่อความนึกคิดไม่ดีงามที่เข้ามาในจิตใจเราตั้งแต่แรก? จะส่งผลอะไรต่อความปรารถนาของใจเรา? การกระทำของเราหลังจากนั้นจะทำให้เราใกล้ชิดพระผู้ช่วยให้รอดและยอมให้อิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่ต่อเนื่องในชีวิตเราอย่างไร? ข้าพเจ้ารู้ว่าในการทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอด เราจะหลีกเลี่ยงเรื่องสลดใจและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาและความไม่ลงรอยในครอบครัว อารมณ์และความโน้มเอียงทางลบ ความอยุติธรรมและการกระทำทารุณกรรม การตกเป็นทาสของการเสพติดสิ่งชั่วร้าย และสิ่งใดก็ตามที่จะขัดกับพระบัญญัติของพระเจ้า

(ยูลิซีส ซวาเรส, “แสวงหาพระคริสต์ในความนึกคิดทุกอย่าง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 84–85)

เหตุใดฉันจึงต้องการต้านทานการล่อลวง?

พระคัมภีร์จะช่วยฉันเอาชนะการล่อลวงได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์เคลลีย์ อาร์. จอห์นสันแห่งสาวกเจ็ดสิบอธิบายว่า

โดยผ่านการเตรียมพร้อม พระผู้ช่วยให้รอดทรงมีพลังอำนาจมากขึ้นและทรงสามารถต้านทานการล่อลวงทั้งหมดของซาตานได้ เมื่อเราทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดและเตรียมพร้อมผ่านการศึกษาพระคำของพระผู้เป็นเจ้าและทำให้ศรัทธาลึกซึ้งยิ่งขึ้น เราจะดึงพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้ามาใช้เพื่อต้านทานการล่อลวงได้เช่นกัน

(เคลลีย์ อาร์. จอห์นสัน, “พลังอำนาจอันยั่งยืน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 113)