เซมินารี
มัทธิว 11:28–30


มัทธิว 11:28–30

“เราจะให้ท่านทั้งหลายได้หยุดพัก”

ภาพ
พระเยซูทรงปลอบมารีย์กับมารธา

ระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจ พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนกฎที่สูงกว่าของพระกิตติคุณและทรงรักษาคนป่วย ขณะแรงกดดันต่อต้านพระผู้ช่วยให้รอดและคำสอนของพระองค์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พระองค์ทรงประณามความชั่วร้ายและทรงสัญญาว่าทุกคนที่มาหาพระองค์จะได้พักผ่อน บทเรียนนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ท่านได้ว่าพระเจ้าจะทรงช่วยท่านในความท้าทายและภาระที่ท่านมี

ภาระและความท้าทายของท่าน

วาดภาพคนอย่างง่ายแทนวัยรุ่นคนหนึ่ง วาดเป้บนหลังภาพคนอย่างง่ายเพื่อแทนภาระและความเครียดที่วัยรุ่นสมัยนี้ประสบ เขียนภาระหรือความเครียดอย่างน้อยห้าอย่างลงใน บน หรือรอบๆ เป้

ภาพ
ภาพคนอย่างง่ายกําลังแบกเป้
  • จากคะแนนหนึ่งถึงห้า ห้าเท่ากับดีมากและหนึ่งเท่ากับไม่ดีเลย ท่านรู้สึกว่าท่านรับมือกับภาระและเหตุการณ์เครียดๆ ของท่านได้ดีเพียงใด?

หากท่านรับมือได้ไม่ดี ท่านอาจใช้เวลาสักครู่ตอนนี้ทูลเชิญพระบิดาบนสวรรค์ให้ทรงช่วยท่านค้นหาหลักธรรมที่สามารถช่วยท่านรับมือกับภาระบางอย่างที่ท่านแบกอยู่ตอนนี้ อ่าน มัทธิว 11:28–30 เพื่อมองหาความจริงที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนซึ่งอาจจะช่วยคนที่แบกภาระหนักอึ้งได้

มัทธิว 11:28–30 เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ท่านอาจทำเครื่องหมายข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนให้ชัดเจนเพื่อจะหาเจอได้ง่าย

  • ท่านพบความจริงอะไรบ้าง?

  • ความจริงเหล่านี้อาจจะช่วยคนที่กำลังมีเวลายากๆ ได้อย่างไร?

“จงเอาแอกของเราแบกไว้”

บางครั้งคำหรือวลีในพระคัมภีร์อาจเข้าใจยาก การเรียนรู้ความหมายของคำและวลีสามารถช่วยให้เราเรียนรู้สิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้เรารู้ ฝึกเรียนรู้กับวลี “จงเอาแอกของเราแบกไว้” (มัทธิว 11:29)

ภาพ
ชายขี่เกวียนเทียมวัว

แอกคือ “อุปกรณ์สวมรอบคอสัตว์หรือมนุษย์เพื่อเทียมหรือลากไปพร้อมๆ กัน” (คู่มือพระคัมภีร์, “แอก,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org) สัตว์ในภาพนี้เทียมแอกอยู่

เอ็ลเดอร์เอ็ดเวิร์ด ดูเบแห่งสาวกเจ็ดสิบเล่าประสบการณ์ต่อไปนี้:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เอ็ดเวิร์ด ดูเบ

ในเดือนธันวาคมปี 2015 ที่เมืองมัดซิวา ซิมบับเว ข้าพเจ้ากับนาอูมี [ภรรยาข้าพเจ้า] เห็นชายคนหนึ่งไถนากับวัวสองตัว ข้าพเจ้าแปลกใจที่เห็นสัตว์ตัวหนึ่งเป็นวัวตัวใหญ่และอีกตัวเป็นวัวตัวเล็ก ข้าพเจ้างงมาก และพูดออกมาด้วยความสงสัยว่า “ทำไมชาวนาใช้สัตว์ตัวไม่เท่ากันสองตัวเทียมแอกไถนา?”

คุณแม่ของนาอูมีซึ่งยืนอยู่ใกล้ๆ ชี้ไปที่แอก ข้าพเจ้ามองดูใกล้ๆ และเห็นสาย [เชือกหรือโซ่] โยงแอกกับวัวตัวเล็ก วัวตัวใหญ่ลากน้ำหนักทั้งหมด ส่วนวัวตัวเล็กจิ๋วกำลังถูกฝึก กำลังเรียนรู้วิธีไถนา

(Edward Dube, “Learn of Me,” Liahona, Oct. 2020, Africa Southeast Local Pages, ChurchofJesusChrist.org)

  • ความสัมพันธ์ของเรากับพระผู้ช่วยให้รอดอาจจะเหมือนความสัมพันธ์ของวัวตัวใหญ่กับวัวตัวเล็กอย่างไร?

  • การรู้ความหมายของ แอก ทำให้ท่านเข้าใจลึกซึ้งขึ้นอย่างไรเกี่ยวกับความรู้สึกที่พระคริสต์ทรงมีต่อท่าน?

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

การทำและรักษาพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ใส่แอกเทียมเรากับพระเจ้าพระเยซูคริสต์

(เดวิด เอ. เบดนาร์, “ทนแบกสัมภาระได้โดยง่าย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 88)

  • ท่านคิดว่าการทำและรักษาพันธสัญญาใส่แอกเทียมเรากับพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร?

เอ็ลเดอร์ดูเบอธิบายว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เอ็ดเวิร์ด ดูเบ

เมื่อใส่แอกเทียมเรากับพระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงแบกภาระ และเรามีส่วนในปีติของงานนั้น พระดำรัสเชื้อเชิญของพระเจ้าให้เราแต่ละคนเรียนรู้จากพระองค์เป็นแหล่งแน่นอนเพียงแหล่งเดียวซึ่งทำให้เกิดสันติ ปีติ และให้คำตอบแก่จิตใจที่ว้าวุ่น

(Edward Dube, “Learn of Me,” Liahona, Oct. 2020, Africa Southeast Local Pages, ChurchofJesusChrist.org)

  • การเรียนรู้จากพระเยซูคริสต์ปีนี้ได้ช่วยท่านแบกภาระของท่านและทำให้ท่านเกิดสันติและปีติอย่างไร?

การมาหาพระคริสต์และรับการหยุดพักของพระองค์

1. ทำกิจกรรม ก หรือ ข ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ทำตามคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ท่านเลือก

กิจกรรม ก: “จงมาหาเรา” (มัทธิว 11:28) ฉันจะมาหาพระคริสต์ได้อย่างไร?

เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือของพระผู้ช่วยให้รอดและการหยุดพักที่พระองค์ทรงมอบให้ เราต้องมาหาพระองค์

  • หากมีคนถามท่านว่าการมาหาพระคริสต์หมายความว่าอย่างไร ท่านจะตอบว่าอย่างไร?

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์ (1928–2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองระบุหลายวิธีที่เราจะมาหาพระคริสต์ได้

ภาพ
เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์

เมื่อเราเสมอต้นเสมอปลายในการสวดอ้อนวอนทุกเช้าค่ำ ศึกษาพระคัมภีร์ทุกวัน สังสรรค์ในครอบครัวทุกสัปดาห์ และเข้าพระวิหารเป็นประจำ เราตอบรับอย่างแข็งขันต่อการเชื้อเชิญให้ “มาหาพระองค์”

(ริชาร์ด จี. สก็อตต์, “ทำให้การใช้ศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 92)

ท่านอาจจะดู “Come unto Christ: 2014 Theme Song” (4:48) เพื่อดูตัวอย่างของคนที่มาหาพระผู้ช่วยให้รอด วีดิทัศน์เรื่องนี้อยู่บน ChurchofJesusChrist.org

2. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • ท่านได้ทำอะไรบ้างเพื่อมาใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้น? (อาจรวมถึงพันธสัญญาที่ท่านทำและรักษา)

  • ท่านรู้สึกว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อมาหาพระคริสต์อย่างเต็มที่มากขึ้นและเข้าถึงความช่วยเหลือของพระองค์?

กิจกรรม ข: “เราจะให้ท่านทั้งหลายได้หยุดพัก” (มัทธิว 11:28) พระคริสต์จะทรงยกภาระของฉันได้อย่างไร?

แบบอย่างอันทรงพลังที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำให้ภาระเบาลงมีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์มอรมอน แอลมากับผู้คนของเขาถูกจับเป็นเชลย ถูกบังคับให้ทำงาน และถูกข่มเหงอย่างรุนแรง

อ่าน โมไซยาห์ 24:12–16 ท่านอาจต้องการดูวีดิทัศน์เรื่อง “Chapter 17: Alma and His People Escape” ตั้งแต่ช่วงเวลา 0:01 ถึง 1:29 ด้วย วีดิทัศน์เรื่องนี้อยู่บน ChurchofJesusChrist.org

3. บันทึกคำตอบของคำถามต่อไปนี้และเขียนแนวคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้นลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถช่วยท่านแบกภาระของท่าน?

  • ผู้คนของแอลมาทำอะไรเพื่อเข้าถึงความช่วยเหลือของพระผู้ช่วยให้รอด?

  • การเข้าใจบทบาทของเราในการเอื้อมไปหาพระผู้ช่วยให้รอดอาจจะช่วยคนที่กำลังประสบความท้าทายได้อย่างไร?

ลองคิดถึงประสบการณ์ของท่านเองหรือประสบการณ์ของคนที่ท่านรู้จักและบันทึกเวลาที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงยกภาระ บันทึกสิ่งที่ท่านหรือคนรู้จักทำเพื่อเอื้อมไปหาพระผู้ช่วยให้รอดและวิธีที่พระองค์ทรงช่วยเหลือด้วย

เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?

พระเยซูคริสต์ทรงช่วยเราอย่างไรเมื่อเรามาหาพระองค์?

เอ็ลเดอร์จอห์น เอ. แม็คคูนแห่งสาวกเจ็ดสิบอธิบายพรบางอย่างที่เกิดขึ้นได้เมื่อเรามาหาพระเยซูคริสต์

ภาพ
จอห์น เอ. แม็คคูน

เมื่อเรายอมรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ “มาหาเรา” (มัทธิว 11:28) พระองค์จะทรงให้ความช่วยเหลือ การปลอบโยน และสันติสุขที่จำเป็น … แม้ในการทดลองอันยากที่สุด เราสามารถรู้สึกถึงอ้อมกอดอันอบอุ่นแห่งความรักของพระองค์เมื่อเราวางใจพระองค์และยอมรับพระประสงค์ของพระองค์

(จอห์น เอ. แม็คคูน, “มาหาพระคริสต์—ดำเนินชีวิตเฉกเช่นวิสุทธิชนยุคสุดท้าย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 36)

วีดิทัศน์เรื่อง “Living with Depression” (3:13) ให้ตัวอย่างวิธีที่พระเยซูคริสต์สามารถช่วยเราแม้จะหมายความว่าพระองค์ยังไม่ทรงปลดปล่อยเราจากการทดลองยากๆ