จงตามเรามา
19–25 สิงหาคม 1 โครินธ์ 1–7: ‘ให้​เป็น‍น้ำ‍หนึ่ง‍ใจ‍เดียว‍กัน​’


“19–25 สิงหาคม 1 โครินธ์ 1–7: ‘ให้​เป็น‍น้ำ‍หนึ่ง‍ใจ‍เดียว‍กัน’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“19–25 สิงหาคม 1 โครินธ์ 1–7” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2019

ภาพ
โครินธ์

โครินธ์ กรีซตอนใต้ ลานประชาคมและศูนย์ราชการ ภาพวาดโดยบาลาค บาลอก

19–25 สิงหาคม

1 โครินธ์ 1–7

“ให้​เป็น‍น้ำ‍หนึ่ง‍ใจ‍เดียว‍กัน​”

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์สอนว่าคนส่วนใหญ่ “มา [ที่โบสถ์] แสวงหาประสบการณ์ทางวิญญาณ” (“ครูที่มาจากพระเจ้า,” เลียโฮนา, ก.ค 1998, 29) เมื่อท่านอ่าน 1 โครินธ์ 1–7 ให้พิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยสร้างประสบการณ์ทางวิญญาณในชั้นเรียนของท่าน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนสิ่งที่พวกเขาปฏิบัติตามสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากพระคัมภีร์ ขอให้สมาชิกชั้นเรียนสองสามคนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

1 โครินธ์ 1:10–173

สมาชิกศาสนจักรของพระคริสต์ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน

  • การสนทนาสองสามบทแรกของ 1 โครินธ์ อาจเป็นโอกาสที่จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นท่ามกลางสมาชิกวอร์ด ท่านอาจเริ่มโดยการขอให้สมาชิกชั้นเรียนพูดเกี่ยวกับสมาคม กลุ่ม หรือทีมที่พวกเขาเป็นสมาชิกซึ่งมีความสามัคคีกันเป็นอย่างมาก เหตุใดกลุ่มนี้จึงรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างมาก จากนั้นท่านอาจสำรวจคำสอนบางข้อของเปาโลเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกันใน 1 โครินธ์ 1:10–13; 3:1–11 ข้อเหล่านี้และประสบการณ์ของเราสอนอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่ช่วยสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันและสิ่งที่อาจทำลายความเป็นหนึ่งเดียวกัน พรใดมาสู่คนที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เรื่องราวที่แบ่งปันโดยประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจช่วยในการสนทนานี้ได้เช่นกัน

  • เปาโลใช้ภาพของตึกเพื่อกระตุ้นความเป็นหนึ่งเดียวกันใน 1 โครินธ์ 3:9–17 แนวเทียบนี้จะช่วยให้ชั้นเรียนของท่านเข้าใจความเป็นหนึ่งเดียวกันได้ดีขึ้นอย่างไร ตัวอย่างเช่น หลังจากอ่านข้อเหล่านี้ด้วยกัน ท่านอาจให้แท่งไม้หนึ่งแท่งกับสมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนและให้ช่วยกันสร้างบางสิ่ง เราเป็น “ตึก​ของ​พระ‍องค์” ในแง่ใด (1 โครินธ์ 3:9) พระผู้เป็นเจ้ากำลังทรงสร้างเราแต่ละคนอย่างไร เรากำลังสร้างอะไรด้วยกันในฐานะเพื่อนวิสุทธิชน เราจะทำอะไรได้บ้างในฐานะวอร์ดที่เป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งลำพังเราคนเดียวไม่สามารถทำได้

1 โครินธ์ 1:17–31; 2; 3:18–20

เพื่อทำให้งานของพระผู้เป็นเจ้าประสบผลสำเร็จ เราต้องการพระปรีชาญาณของพระผู้เป็นเจ้า

  • บางคนรู้สึกว่าไม่มีคุณสมบัติพอที่จะรับใช้ในศาสนจักรเพราะพวกเขาขาดการศึกษาหรือการฝึกอาชีพ บางคนรู้สึกค่อนข้างมีคุณสมบัติเพราะพวกเขา มี การศึกษาและการฝึกอาชีพ ความเห็นทั้งสองอย่างสะท้อนความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เรามีคุณสมบัติอย่างแท้จริงสำหรับงานของพระผู้เป็นเจ้า ต่อไปนี้คือแนวคิดเพื่อช่วยชั้นเรียนพึ่งพาพระผู้พระผู้เป็นเจ้า: แบ่งสมาชิกชั้นเรียนเป็นกลุ่ม และขอให้พวกเขาอ่าน 1 โครินธ์ 1:17–31; 2; หรือ 3:18–20 โดยมองหาคำเช่น มีปัญญา และ โง่ จากนั้นพวกเขาอาจแบ่งปันในกลุ่มของพวกเขาว่าข้อเหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับการมีปัญญาในงานของพระเจ้า มีสิ่งใดบ้างเกี่ยวกับพระกิตติคุณที่อาจดูโง่สำหรับบางคน สิ่งเหล่านี้แสดงถึงปัญญาหรือพระปรีชาญาณของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร บางทีสมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งพวกเขาวางใจในปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าแทนที่จะวางใจปัญญาของตนเองเพื่อทำงานของพระองค์ให้สำเร็จ

1 โครินธ์ 6:9–20

ร่างกายของเราศักดิ์สิทธิ์

  • เพื่อเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับข้อเหล่านี้ ท่านอาจเขียนคำถามทำนองนี้บนกระดาน: พระเจ้าทรงมองร่างกายเราอย่างไร ต่างจากวิธีที่ซาตานต้องการให้เรานึกถึงร่างกายเราอย่างไร ร่างกายของเราเป็นวิหาร​ของ​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์​หมายความว่าอย่างไร เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ใน 1 โครินธ์ 6:9–20 (ดู คพ. 88:15; 3:8–9 ด้วย)

  • การสนทนาของท่านเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของร่างกายเราอาจรวมถึงการสนทนาเกี่ยวกับกฏความบริสุทธิ์ทางเพศ อาจช่วยได้เป็นพิเศษเพราะในฐานะวิสุทธิชนยุคสุดท้ายเรามักมีโอกาสอธิบายความเชื่อของเราเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ทางเพศแก่คนที่อาจไม่มีความเชื่่อเหล่านั้น บางทีท่านอาจถามสมาชิกชั้นเรียนของท่านว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากเปาโล—เช่นเดียวกับจากแหล่งช่วยอื่นๆ ของศาสนจักร —ที่จะช่วยพวกเขาอธิบายกับผู้อื่นได้ว่าเหตุใดความบริสุทธิ์ทางเพศจึงสำคัญ แหล่งช่วยเหล่านี้อาจรวมถึงรายการที่ระบุไว้ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

บอกสมาชิกชั้นเรียนของท่านว่าหากพวกเขาต้องการแนวคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่จะเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นกับคู่สมรส ครอบครัว หรือวอร์ด หัวข้อเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกันยังมีเพิ่มเติมใน 1 โครินธ์ 8–11

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

1 โครินธ์ 1–7

แบบอย่างของความเป็นหนึ่งเดียวกัน

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์สอนดังนี้

“ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญให้คุกเข่าก่อนเข้านอนกับครอบครัวที่ข้าพเจ้าเป็นแขกในบ้านของพวกเขา ลูกคนสุดท้องเป็นคนสวดอ้อนวอน เขาสวดอ้อนวอนเหมือนผู้ประสาทพรสำหรับทุกคนในครอบครัว ออกชื่อทีละคน ข้าพเจ้าลืมตาขึ้นมาแวบหนึ่งเพื่อดูสีหน้าลูกคนอื่นๆ กับพ่อแม่ ข้าพเจ้าบอกได้ว่าพวกเขาผสานศรัทธาและใจในคำสวดอ้อนวอนของเด็กชายตัวน้อย

“พี่น้องสตรีสมาคมสงเคราะห์จำนวนหนึ่งสวดอ้อนวอนด้วยกันขณะเตรียมตัวไปเยี่ยมหญิงหม้ายวัยสาวเป็นครั้งแรก ซึ่งสามีของเธอเสียชีวิตกะทันหัน พวกเธอต้องการทราบว่าจะต้องทำอะไรและทำอย่างอย่างไรเพื่อช่วยกันจัดบ้านไว้รับครอบครัวและเพื่อนๆ ที่จะมาร่วมพิธีศพ … คำสวดอ้อนวอนของพวกเธอได้รับคำตอบ เมื่อพวกเธอมาถึงบ้าน พี่น้องสตรีแต่ละคนแยกย้ายไปทำงานให้เสร็จ บ้านเรียบร้อยอย่างรวดเร็วจนบางคนเสียใจที่ไม่สามารถทำอะไรได้อีก พวกเธอกล่าวถ้อยคำปลอบโยนได้อย่างเหมาะสม พวกเธอมอบการรับใช้ของพระเจ้าเสมือนใจผูกพันเป็นหนึ่งเดียว” (“ใจเราผูกพันเป็นหนึ่งเดียว,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 84–85)

พรของความบริสุทธิ์ทางเพศ

ที่การประชุมการให้ข้อคิดทางวิญญาณทั่วโลกสำหรับคนหนุ่มสาว ซิสเตอร์เว็นดี้ ดับเบิลยู. เนลสันกล่าวว่า

“ความบริสุทธิ์ส่วนตัวเป็นกุญแจสู่รักแท้ ยิ่งความคิดและความรู้สึกของท่าน คำพูดและการกระทำของท่านบริสุทธิ์เท่าใด ความสามารถของท่านในการให้และได้รับรักแท้ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น …

“โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกถึงความรักของพวกเขา พระเจ้าทรงต้องการให้สามีและภรรยามีส่วนในความอัศจรรย์และปีติของความสัมพันธ์ทางเพศในการแต่งงาน …

“… อะไรก็ตามที่เชื้อเชิญพระวิญญาณเข้ามาสู่ชีวิตท่าน และเข้ามาสู่ชีวิตคู่สมรสของท่านและการแต่งงานของท่าน จะเพิ่มความสามารถของท่านที่จะประสบกับความสัมพันธ์ทางเพศในการแต่งงาน … ในทางตรงกันข้าม อะไรก็ตาม ที่ทำให้พระวิญญาณไม่พอพระทัยจะลดความสามารถในการเป็นหนึ่งเดียวกับคู่สมรสของท่าน …

“ความสัมพันธ์ทางเพศในการแต่งงานที่ได้รับการรับรองจากพระวิญญาณได้รับพรจากพระเจ้าและชำระให้บริสุทธิ์” (“Love and Marriage,” Worldwide Devotional for Young Adults, Jan. 8, 2017, broadcasts.lds.org)

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์สอนว่า:

“ความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์สงวนไว้สำหรับคู่สามีภรรยาเท่านั้นเพราะเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของการแต่งงานโดยสมบูรณ์ ความสมบูรณ์และการแต่งงานที่ได้รับแต่งตั้งและกำหนดขอบเขตโดยพระผู้เป็นเจ้า …

“แต่การแต่งงานโดยสมบูรณ์นี้ ซึ่งได้แก่คำมั่นสัญญาอันเด็ดเดี่ยวระหว่างชายกับหญิงจะมาด้วยความใกล้ชิดและความยั่งยืนที่พันธสัญญาแต่งงานให้เท่านั้น ด้วยคำสัญญาศักดิ์สิทธิ์และคำปฏิญาณถึงทุกสิ่งที่พวกเขามี—ใจและความคิดของเขา ตลอดชีวิตของพวกเขาและตลอดทั้งความฝันของพวกเขา” (“Personal Purity,” Ensign, Nov. 1998, 76)

เอ็ลเดอร์ เดวิด เอ. เบดนาร์ อธิบายว่า “ความสัมพันธ์ [ทางเพศ] ไม่ได้มีไว้เพื่อแสวงหาความสนใจใคร่รู้ ตอบสนองความต้องการ นันทนาการหรือความบันเทิงที่กระทำอย่างเห็นแก่ตัว ไม่ได้เป็นชัยชนะที่ต้องได้มาหรือเป็นเพียงการกระทำอย่างหนึ่งที่ต้องทำ ในทางกลับกัน สิ่งเหล่านี้คือการแสดงออกที่ลึกซึ้งอย่างหนึ่งของธรรมชาติและศักยภาพอันสูงส่งของเราในความเป็นมรรตัยและเป็นวิธีเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่พันธะทางอารมณ์และทางวิญญาณระหว่างสามีภรรยา เราคือผู้ที่ได้รับพรด้วยสิทธิ์เสรีทางศีลธรรมและได้รับนิยามจากการสืบทอดอันสูงส่งว่าเป็นบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า—ไม่ใช่โดยพฤติกรรมทางเพศ เจตคติร่วมสมัย หรือปรัชญาทางโลก” (“เราเชื่อในการเป็นคนบริสุทธิ์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 42)

วิธีคงความบริสุทธิ์ทางเพศ

  • “ความบริสุทธิ์ทางเพศ: อะไรคือขีดจำกัด” “I Choose to Be Pure” (วีดิทัศน์), LDS.org

  • “ความบริสุทธิ์ทางเพศ,” เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน (2011), 35–37

ปรับปรุงการสอนของเรา

แสดงประจักษ์พยานถึงพระเยซูคริสต์ เมื่อท่านสอน ให้นึกถึงตัวอย่างของเปาโลที่ว่า เขา “มาเพื่อประ‌กาศ​ความ​ล้ำ‍ลึก​ของ​พระ‍เจ้า … ไม่‍ได้มาด้วยถ้อย‍คำหวาน‍หูหรือด้วยความฉลาดปราด‍เปรื่อง” (1 โครินธ์ 2:1) ประจักษ์พยานอันเรียบง่ายของท่านเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดสามารถมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้ง